การประชุมเชิงปฏิบัติการ ต่อยอดการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวชุมชน จ.ชุมพร


สวัสดีครับชาว Blog ทุกท่าน

             วันศุกร์ที่ 3 มกราคม 2557 นี้  ผมในนามมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศได้ร่วมกับเครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพรจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อต่อยอดการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทุนมนุษย์ในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการท่องเที่ยวให้สามารถดำเนินการต่อยอดองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและชุมชน ณ  ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระดับอำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร   โดยกลุ่มคนที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ได้คัดเลือกบางส่วนจากผู้เข้าร่วมประชุมโครงการจัดทำแนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  

             ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า Blog นี้จะเป็นสื่อกลางในการร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อต่อยอดแนวทางการการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวชุมชนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นรุูปธรรม  จึงขอทุกท่านร่วมแสดงความคิดเห็นแนวทางต่าง ๆ ผ่าน Blog นี้ร่วมกันครับ 

 

หมายเลขบันทึก: 558245เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2014 01:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มกราคม 2014 01:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ทีมงานวิชาการ ChiraAcademy

การประชุมเชิงปฏิบัติการ

ต่อยอดการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวชุมชน

วันศุกร์ที่ 3 มกราคม 2557

ณ ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระดับอำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร

โครงการนี้เป็นโครงการที่ต่อยอดจากโครงการจัดทำแนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวชุมชนของกลุ่มผู้เข้าร่วมประชุมปฏิบัติการเชิงลึก เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2556 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมดิโอวาเลย์ จ.สุราษฎร์ธานี จากโครงการต่อยอด 3 V ที่ชื่อโครงการ จากภูผาสู่มหานที ได้ถูกนำมาต่อยอดให้เกิดการทำงานเชิงบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรมที่แสดงถึงความร่วมมือในการทำงานและการสร้างสัมพันธภาพที่ดีจากหลายภาคส่วนเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวชุมชนให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน

จังหวัดชุมพร ประตูสู่ภาคใต้ที่ไม่ได้มีดีแค่เมืองผ่านที่มีสวนผลไม้ และทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงาน แต่ชุมพรถือได้ว่าเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงชุมชนที่มีการรวมกลุ่มกันอย่างเหนียวแน่น และมีความน่าสนใจเนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีการทำการเกษตรแบบผสมผสานตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง การทำธนาคารต้นไม้ การทำโฮมสเตย์ที่เกาะพิทักษ์ การล่องแพที่พะโต๊ะ และพิพิธภัณฑ์ที่ชุมพร ที่ทอนอม ศูนย์การเรียนรู้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ คุณจินตนา ไพบูลย์ และศูนย์การเรียนรู้ลุงนิล เป็นต้น

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้กล่าวถึงที่มาของการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้เพราะต้องการให้เกิดความต่อเนื่อง และการพัฒนาคนให้สำเร็จได้นั้นต้องสามารถเข้าไปนั่งในใจคนได้ เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการสร้างเครือข่ายร่วมกัน

วัตถุประสงค์ของการมาในครั้งนี้จึงเพื่อขอรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มท่องเที่ยวชุมชน จ.ชุมพร ถึงความต้องการที่แท้จริงว่าถ้าจะพัฒนาโครงการต่อเนื่องโดยเน้นการท่องเที่ยวชุมชน และการท่องเที่ยวเชิงกีฬาเพื่อก้าวสู่อาเซียน จะทำอะไรต่อไป ให้ลองคิดถึงเป้าหมายที่จะต้องก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งการทำให้เกิดผลได้อย่างแท้จริงจึงควรเน้นที่ความต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

อยากให้ดูตัวอย่างของประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ที่ไม่ได้เน้นการบริการอย่างเดียว แต่เน้นที่การสร้างความยั่งยืนด้วย ดังนั้นประเทศไทยก็ควรมุ่งสู่การสร้างความยั่งยืน เน้นให้เกิดการสร้างความสมดุลและการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี การท่องเที่ยวในประเทศไทย คนไทยต้องได้ประโยชน์จากการกระจายรายได้ในครั้งนี้

1. ให้การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวชุมชนเป็นหลักของประเทศ

2. นักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 50 ล้านคน

3. การพัฒนาที่มุ่งสู่ความยั่งยืน ที่ต้องไม่หยุดการเรียนรู้ อย่างชุมพรก็ใช้วัฒนธรรมชุมชนสร้างมูลค่าเพิ่มจากกรณีศึกษาที่แท้จริง

คุณปิยะวิทย์ ได้กล่าวถึงว่าจังหวัดชุมพรนั้นนับได้ว่าเมืองเมืองเกษตรที่แท้จริง ซึ่งสภาเกษตรกรจังหวัดชุมพร ได้มีการทำเรื่องคุณภาพสินค้าการเกษตร และได้จัดให้มีโครงการศูนย์การเรียนรู้อยู่ในแผนของสภาเกษตรกรได้ และได้ให้การสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ทั้งในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้กล่าวถึงโครงการในครั้งนี้ที่เป็นความต่อเนื่องจากการจัดประชุมที่สุราษฎร์ธานี จึงถือว่าเป็นการ Follow up สู่ Phase 2 และ Phase 3 และที่เน้นมากคือการทำงานร่วมกันของตัวละคร 4 กลุ่มเพื่อสร้างการทำงานบูรณาการ อันประกอบด้วย กลุ่มผู้นำท้องถิ่น กลุ่มข้าราชการประจำ กลุ่มผู้ประกอบการ และกลุ่มนักวิชาการ

จ.ชุมพร ถือได้ว่าเป็นเมืองที่โรแมนติกมาก เกาะพิทักษ์เป็นอีกแบบอย่างที่ดี ซึ่งถ้าพัฒนาสิ่งแวดล้อม และการอำนวยความสะดวกด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ก็สามารถเป็นตัวอย่างของอาเซียนได้ดีทีเดียว

ที่สำคัญคือแผนของจังหวัดต้องสามารถเชื่อมกันกับการพัฒนาของชุมชนให้ได้ ทำให้คนไทยมีปัญญา มองตามความเป็นจริง สร้างสรรค์ไอเดียใหม่ ๆ และมุ่งสู่ความต่อเนื่อง ก็สามารถทำให้โครงการประสบความสำเร็จได้ และผลที่ได้รับก็จะกลับคืนสู่สังคมไทยอย่างแท้จริง

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ ได้ให้มุมมองว่าการทำโครงการอะไรต่าง ๆ ขึ้นมา รัฐควรจะมองเห็นด้วย จะสามารถช่วยสนับสนุนได้อีกทางหนึ่ง และสิ่งสำคัญของการพัฒนาในชุมชนควรใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ Learning how to learn ของ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ คือถ้าเรียนรู้แล้วต้องรู้จักแบ่งปันด้วย และต้องเรียนรู้อยู่ทุกวัน การพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การเจอคนใหม่ ๆ การถ่ายทอดกระบวนการก็เพื่อให้เกิดความงอกงามใหม่ ๆ ทำอย่างไรถึงให้ทุกท่านมีประโยชน์ในครั้งนี้

การให้ความรู้ ต้องให้เครื่องมือ และให้โอกาส และการเชื่อมโยงสู่ภาครัฐ ให้รู้ว่าอะไรเป็นจุดเด่น และอะไรเป็นจุดด้อย อย่างเช่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความแห้งแล้งแต่ก็เป็นภาคที่มีความคิดสร้างสรรค์ ส่วนภาคใต้ก็มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติมาก แต่ยังขาดความคิดสร้างสรรค์อยู่ ดังนั้นการมีเครือข่ายทางด้านการศึกษา และภาครัฐ ชุมชน เกษตรกร ผู้ประกอบการ และสภาต่าง ๆ ก็สามารถทำเรื่องท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและชุมชนให้เข้มแข็งได้ และชุมพรก็จะมีการกินดีอยู่ดีขึ้นในทุกระดับ

อาจารย์จีระเดช ดิสกะประกาย ได้ยกตัวอย่างของเมืองพัทยาที่แต่ก่อนเป็นเพียงป่า และหญ้าธรรมดา แต่ปัจจุบันกลับเป็นเมืองที่สมบูรณ์มาก แต่ถ้าไม่อนุรักษ์ซึ่งรากเหง้า และปล่อยให้ชาวต่างชาติอย่างเช่น รัสเซีย มาทำธุรกิจมากขึ้น จนเหมือนไม่ใช่รากฐานที่แท้จริงแล้ว พัทยาอีกไม่นานก็คงกลับมาเป็นป่าหญ้าเหมือนเดิม เพราะแก่นวัฒนธรรมที่แท้จริงหายไป
อัตลักษณ์ที่แท้จริงหายไป

จังหวัดชุมพร นั้นมีคนพื้นเพอยู่ อย่างเกาะพิทักษ์เป็นแหล่งที่ชุมชนมีดั้งเดิมต้องรักษาไว้ให้ดี สิ่งสำคัญคือให้วัฒนธรรมอยู่กับที่ แต่ให้นักท่องเที่ยวเคลื่อนที่ เราต้องทำให้เขารู้ว่า เรามีอะไรดี และเมื่อไร เราต้องเป็นต้นแบบของรัฐ ให้เป็นเรื่องเป็นราว

การแสดงความคิดเห็น

อาจารย์อำนาจจากแม่โจ้

ที่เป็นอยู่เป็นมากกว่าเครือข่ายท่องเที่ยวชุมชนคือกำลังจะเป็นสมาคมท่องเที่ยวจังหวัดชุมพร เริ่มจากเครือข่ายจากภูผาสู่มหานที มีการทำเรื่องธนาคารต้นไม้ เกษตรอินทรีย์ ท่องเที่ยวชุมชนปี 52 ที่พะโต๊ะ สู่การขับเคลื่อนเป็นรูปแบบเครือข่าย และจะขับเคลื่อนสู่การตั้งสมาคมการท่องเที่ยวจังหวัดชุมพร คิดว่าท่องเที่ยวชุมชนจะเป็นทางรอดของภาคใต้ การท่องเที่ยว จะมีทั้งสมาชิกใหม่และสมาชิกเก่าเป็นตัวขับเคลื่อนงาน และได้รับงบประมาณจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และททท. เป็นตัวเสริม มีการได้รับรางวัลกินรี จาก ททท. สมาคมฯ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยจะมุ่งเน้นที่เกษตรอินทรีย์และมาตรฐานความปลอดภัย มีแผนการพัฒนากิจกรรมเพื่อชุมชน การพัฒนาและประชาสัมพันธ์ การพัฒนาบุคลากร การติดตามและประเมินการท่องเที่ยว

คุณองศา

จุดอ่อนคือการทำอย่างต่อเนื่อง และการประสานกันในทอนอม การวางแผนจัดการชุมชนให้เป็นสิ่งสำคัญมากกว่าการท่องเที่ยวกระแสหลัก และใช้ชื่อย่อที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง

การสร้างความรู้ ความมั่นใจ และทัศนคติ แต่ก่อนจะต่อต้านการวิจัยเพราะไม่อยากให้งานวิจัยเป็นเพียงกระดาษ แต่ให้เป็นการท่องเที่ยวโดยชุมชนและเพื่อชุมชน ที่แท้จริง งานวิจัยที่อยากให้เกิดจึงอยากให้ร่วมกับชุมชนเพื่อให้เกิดประโยชน์เต็มที่ไม่ใช่แค่ให้ประชาชนมาเซ็นชื่อ แล้วได้กำไรไปเท่านั้น แต่สิ่งที่อยากได้คือจะต้องฝึกและพัฒนาชาวบ้านไปด้วย

คุณพิชญ์ภูรี

สิ่งที่ทำวิจัยที่ผ่านมานั้นมาจากสิ่งที่ชุมชนเป็นอยู่และได้เสนอมา และต้องยอมรับว่าชุมชนคือความจริง และที่พบคือเจ้าหน้าที่ไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างแท้จริง

คุณวรวัฒน์ ตัวแทนจากท่องเที่ยวและกีฬาจ.ชุมพร

ทำไมชุมชนโตช้า เพราะไม่มีสารบบด้านการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวจะเจริญได้ต้องอยู่ที่ชุมชน

จ.ชุมพรถือว่าเป็นโฮมสเตย์ที่มีรายได้เป็น 50% ของโฮมสเตย์ทั่วประเทศ อย่างที่เกาะพิทักษ์และท้องตมใหญ่จ.ชุมพร มีรายได้เยอะมาก อยากให้เอาความคิดนี้ไปสร้างให้เกิด Model ของชุมพรให้เขามาดูงานเรา พลักดันความคิดให้เป็นความจริง

คุณวัชรินทร์ แถลงการณ์

เรื่ององค์ความรู้ที่ชุมชนมีการรวบรวมและแลกเปลี่ยนมานาน สามารถพูดในทางเดียวกันได้เกือบทุกคน แต่องค์ความรู้ที่เสนอไปที่ผ่าน ๆ มานั้นถูกกรองไว้ไม่ได้ถูกกลับมาใช้พัฒนาที่ชุมชนเลย

ที่ชุมพรนั้นมีจุดเด่นหลายอย่างที่ควรนำเสนอเพื่อสร้างแผนการในอนาคต อาทิ

- มีทรัพยากรธรรมชาติที่ดีมาก และชุมชนมีบทบาทในการอนุรักษ์และริเริ่ม

- มีวิถีเกษตรแบบพอเพียงใช้เงินลงทุนน้อย แต่สามารถสร้างกำไรได้ แนวคิดเหลือกินเหลือใช้จึงขาย

- การอนุรักษ์ต้นน้ำ กลางน้ำ และทะเล ตัวอย่างในทอนอมถือเป็นตัวอย่างด้านการจัดการดูแลน้ำที่ดีในอาเซียน เสนอให้ภาครัฐเป็นตัวอย่าง และสนับสนุนให้เป็นแหล่งศึกษาดูงานของอาเซียน นับได้ว่าเป็นตัวอย่างของชุมชนที่บริหารจัดการเอง โดยไม่ใช้งบประมาณภาครัฐ

- ที่ทอนอม เกาะพิทักษ์นับได้ว่าเป็นโฮมสเตย์มีรายได้กว่า 50 % ของการท่องเที่ยวโฮมสเตย์ในไทย จะทำอย่างไรไม่ให้เสียเครือข่าย

- ต้องการการท่องเที่ยวที่รักษาวิถีชีวิตของเรา ไม่อยากเน้นที่ปริมาณ แต่เน้นให้คนมาเรียนรู้ดูงานของเรา เน้นการสัมผัสวิถีชีวิตที่แท้จริงเพื่อเรียนรู้

คุณกมลภพ ทองเอียง เลขาฯชมรมมัคคุเทศก์

การจัดระบบท่องเที่ยวเน้นแผนงานกีฬาจ.ชุมพร การจัดลำดับความสำคัญพื้นที่ท่องเที่ยว การสร้างเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ พื้นที่เป็นอย่างไร มีข้อดีอย่างไร ก่อนที่จะประชาสัมพันธ์

การดำเนินตามรอยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทิศทางการท่องเที่ยวจะเป็นแบบใด และธรรมชาติเป็นแบบใด เสนออะไร จุดเด่นมีอะไรบ้าง

การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ แต่ก่อนที่ทอนตมเสื่อมโทรมมาก แต่ปัจจุบันสามารถอวดคนได้แล้ว ซึ่งกว่าจะสำเร็จได้ต้องทำแผนแม่บทก่อน ชมรมมัคคคุเทศก์พร้อมที่จะทำแผนแม่บทประจำปีเพื่อเป็นการบังคับทางพฤตินัย

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ทฤษฎีในวันนี้เสมือนกับขนมปังและแยมที่ต้องมีการผสมกันจากองค์ความรู้ที่ได้ทำวิจัยไว้ จึงอยากให้เน้นองค์ความรู้เรื่อง การพัฒนาทุนทางจริยธรรม คุณธรรม การพัฒนาเพื่อสร้างความยั่งยืน ความสามารถในการบริหารจัดการ การสร้างโอกาสให้ชุมชนมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ การพัฒนาภาษาอังกฤษ อาเซียน และรัสเซีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลี การสร้างความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างนวัตกรรม การสร้างผู้นำ การให้มีนโยบาย Integrate นักท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม การสร้างความหลากหลายทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศ ผู้นำชุมชนมีภาวะผู้นำอย่างไรจะได้แลกเปลี่ยนกัน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และการบริหารเครือข่าย การทำการตลาดและประชาสัมพันธ์ ยุทธศาสตร์สู่ชุมชนและท้องถิ่น การพัฒนาท่องเที่ยวชุมชนสู่มาตรฐานสากลเป็น Benchmark ได้ การพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของ SMEs

ผู้ใหญ่หรั่ง

ศักยภาพของชุมพรมหาศาล ความจริงแล้วไม่ชอบงานวิจัยเท่าไหร่เพราะมีแต่กระดาษ ไม่ได้นำมาใช้จริง มองชุมชนเหมือนไม่มีความรู้ ไม่รู้ว่าจะขับเคลื่อน ได้อย่างแท้จริงหรือไม่ เวลาเสนอการท่องเที่ยวเพื่อชุมชนในการจัดทำมาตรฐานกลางภาครัฐต้องรับฟังบ้าง ไม่ไช่เสนอแต่บอกว่าทำอันอื่นแล้ว เขียนแล้ว จึงอยากให้มีการรวมกลุ่มทางความคิด และอยากให้คิดตามที่ชุมชนเสนอไปบ้าง อยากให้เน้นการบูรณาการและสร้างเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ขึ้นมาให้ได้

ชุมพรเป็นประตูสู่ภาคใต้แต่ยังไม่มีห้องรับแขก

อ.อำนาจ จากแม่โจ้

ขอถามว่าปลายทางของงานชิ้นนี้ต้องการอะไร

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ปีแรกเป็นงานวิจัย ปีที่สองมีการจัดทำ Pre-Planning และ Deepening Workshop ปีที่สามจึงอยากให้เกิดผลที่แท้จริง มีการรวมตัวกันเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ และอยากให้ชุมพรสามารถสร้างแบรนด์ ในภาคใต้ได้

การทำงานแบบ Local Global ให้ช่วยกันเอาชนะอุปสรรค และการสร้างเครือข่ายทั้ง 4 กลุ่มให้เกิดขึ้น ให้เดินร่วมกัน และมีความต่อเนื่อง สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ ทัศนคติและค่านิยม ฟัง คิดและแก้ปัญหาร่วมกัน

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

แผนแม่บทที่ทำโดยชุมชน และงานที่ทำต่าง ๆ ของชุมชนจะเสนอสู่ข้างบน เพราะทุกอย่างต้องเป็นขั้นเป็นตอน

อาจารย์จีระเดช ดิสกะประกาย

เข้ามาในภาคใต้ ห้องรับแขกอยู่ที่ไหน การมีความพร้อม ที่จะสร้างแผนแม่บทต้องมีความชัดเจนที่สามารถทำให้เป็นต้นแบบได้ อย่างเช่น บ้านทุกบ้านต้องสะอาด ตราบใดที่ยังไม่เริ่มก็ยังไม่โต และถ้าเริ่มแล้วก็ต้องมีรูปแบบ ถ้าชุมพรเป็นตัวอย่างที่ดีของภาคใต้ ภาคอื่นก็จะทำตาม

อุปนายกสมาคมท่องเที่ยว

นับได้ว่าเป็นความหวังหนึ่งที่เข้าทางกับสิ่งที่ชุมชนทำอยู่ โดยเฉพาะการกระจายรายได้ การสร้างมูลค่าเพิ่ม การพัฒนาคน การอนุรักษ์ทรัพยากรให้อยู่อย่างยั่งยืน

การท่องเที่ยวนับว่าเป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดรายได้อย่างยั่งยืน แต่สิ่งที่อยากฝากไว้คือแหล่งท่องเที่ยวไม่ได้รับการบูรณะเลย แผนงานมาจากไหนไม่สามารถตรวจสอบได้ ถ้าจะปฏิรูปต้องทำเองสร้างเอง ตรวจรับเอง ตรวจสอบเอง และดูแลเอง ให้ชุมชนบริหารจัดการด้วยตัวเอง และแผนแม่บทที่ทำแล้วก็ให้มีเครือข่ายแต่ละด้านเข้ามาเสริม

ครูนิล

มีความภาคภูมิใจที่ได้ดำเนินตามรอยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ตั้งปณิธานไว้ว่า จะเพาะกล้าเศรษฐกิจพอเพียงให้งอกงามบนผืนแผ่นดินนี้

อีกโครงการที่ภูมิใจคือการชวนลูกหลานมาพัฒนาบ้านเกิดเดินตามรอยเท้าพ่อ พัฒนากลุ่มเยาวชนให้รู้รักษ์บ้านเกิดสวนลุงนิล

คุณองศา

การรวมกันของอาจารย์จีระและอาจารย์ภราเดช ทำให้มีความหวัง สิ่งที่ทำต้องสามารถตอบโจทย์ได้ว่าอาจารย์จีระมาทำอะไรให้คนชุมพร

เป้าหมาย คือทำให้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นหน่วยงานรัฐกระแสหลัก ใช้การท่องเที่ยวเพื่อยับยั้งการสูญเสียที่ดิน รักษาที่ดินทำกินให้ได้ ใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือพัฒนาคุณภาพชีวิต เติมจุดแข็งของกันและกัน และยกฐานความจริงเป็นเครื่องมือที่จับต้องได้

ทีมงานวิชาการ ChiraAcademy

สรุปการประชุมเชิงปฏิบัติการ

ต่อยอดการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวชุมชน

วันศุกร์ที่ 3 มกราคม 2557

ณ ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระดับอำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร

โครงการนี้เป็นโครงการที่ต่อยอดจากโครงการจัดทำแนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวชุมชนของกลุ่มผู้เข้าร่วมประชุมปฏิบัติการเชิงลึก เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2556 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมดิโอวาเลย์ จ.สุราษฎร์ธานี จากโครงการต่อยอด 3 V ที่ชื่อโครงการ จากภูผาสู่มหานที ได้ถูกนำมาต่อยอดให้เกิดการทำงานเชิงบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรมที่แสดงถึงความร่วมมือในการทำงานและการสร้างสัมพันธภาพที่ดีจากหลายภาคส่วนเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวชุมชนให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน

จังหวัดชุมพร ประตูสู่ภาคใต้ที่ไม่ได้มีดีแค่เมืองผ่านที่มีสวนผลไม้ และทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงาน แต่ชุมพรถือได้ว่าเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงชุมชนที่มีการรวมกลุ่มกันอย่างเหนียวแน่น และมีความน่าสนใจเนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีการทำการเกษตรแบบผสมผสานตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง การทำธนาคารต้นไม้ การทำโฮมสเตย์ที่เกาะพิทักษ์ การล่องแพที่พะโต๊ะ และพิพิธภัณฑ์ที่ชุมพร ที่ทอนอม ศูนย์การเรียนรู้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ คุณจินตนา ไพบูลย์ และศูนย์การเรียนรู้ลุงนิล เป็นต้น

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้กล่าวถึงที่มาของการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้เพราะต้องการให้เกิดความต่อเนื่อง และการพัฒนาคนให้สำเร็จได้นั้นต้องสามารถเข้าไปนั่งในใจคนได้ เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการสร้างเครือข่ายร่วมกัน

วัตถุประสงค์ของการมาในครั้งนี้จึงเพื่อขอรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มท่องเที่ยวชุมชน จ.ชุมพร ถึงความต้องการที่แท้จริงว่าถ้าจะพัฒนาโครงการต่อเนื่องโดยเน้นการท่องเที่ยวชุมชน และการท่องเที่ยวเชิงกีฬาเพื่อก้าวสู่อาเซียน จะทำอะไรต่อไป ให้ลองคิดถึงเป้าหมายที่จะต้องก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งการทำให้เกิดผลได้อย่างแท้จริงจึงควรเน้นที่ความต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

อยากให้ดูตัวอย่างของประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ที่ไม่ได้เน้นการบริการอย่างเดียว แต่เน้นที่การสร้างความยั่งยืนด้วย ดังนั้นประเทศไทยก็ควรมุ่งสู่การสร้างความยั่งยืน เน้นให้เกิดการสร้างความสมดุลและการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี การท่องเที่ยวในประเทศไทย คนไทยต้องได้ประโยชน์จากการกระจายรายได้ในครั้งนี้

1. ให้การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวชุมชนเป็นหลักของประเทศ

2. นักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 50 ล้านคน

3. การพัฒนาที่มุ่งสู่ความยั่งยืน ที่ต้องไม่หยุดการเรียนรู้ อย่างชุมพรก็ใช้วัฒนธรรมชุมชนสร้างมูลค่าเพิ่มจากกรณีศึกษาที่แท้จริง

คุณปิยะวิทย์ ได้กล่าวถึงว่าจังหวัดชุมพรนั้นนับได้ว่าเมืองเมืองเกษตรที่แท้จริง ซึ่งสภาเกษตรกรจังหวัดชุมพร ได้มีการทำเรื่องคุณภาพสินค้าการเกษตร และได้จัดให้มีโครงการศูนย์การเรียนรู้อยู่ในแผนของสภาเกษตรกรได้ และได้ให้การสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ทั้งในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้กล่าวถึงโครงการในครั้งนี้ที่เป็นความต่อเนื่องจากการจัดประชุมที่สุราษฎร์ธานี จึงถือว่าเป็นการ Follow up สู่ Phase 2 และ Phase 3 และที่เน้นมากคือการทำงานร่วมกันของตัวละคร 4 กลุ่มเพื่อสร้างการทำงานบูรณาการ อันประกอบด้วย กลุ่มผู้นำท้องถิ่น กลุ่มข้าราชการประจำ กลุ่มผู้ประกอบการ และกลุ่มนักวิชาการ

จ.ชุมพร ถือได้ว่าเป็นเมืองที่โรแมนติกมาก เกาะพิทักษ์เป็นอีกแบบอย่างที่ดี ซึ่งถ้าพัฒนาสิ่งแวดล้อม และการอำนวยความสะดวกด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ก็สามารถเป็นตัวอย่างของอาเซียนได้ดีทีเดียว

ที่สำคัญคือแผนของจังหวัดต้องสามารถเชื่อมกันกับการพัฒนาของชุมชนให้ได้ ทำให้คนไทยมีปัญญา มองตามความเป็นจริง สร้างสรรค์ไอเดียใหม่ ๆ และมุ่งสู่ความต่อเนื่อง ก็สามารถทำให้โครงการประสบความสำเร็จได้ และผลที่ได้รับก็จะกลับคืนสู่สังคมไทยอย่างแท้จริง

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ ได้ให้มุมมองว่าการทำโครงการอะไรต่าง ๆ ขึ้นมา รัฐควรจะมองเห็นด้วย จะสามารถช่วยสนับสนุนได้อีกทางหนึ่ง และสิ่งสำคัญของการพัฒนาในชุมชนควรใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ Learning how to learn ของ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ คือถ้าเรียนรู้แล้วต้องรู้จักแบ่งปันด้วย และต้องเรียนรู้อยู่ทุกวัน การพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การเจอคนใหม่ ๆ การถ่ายทอดกระบวนการก็เพื่อให้เกิดความงอกงามใหม่ ๆ ทำอย่างไรถึงให้ทุกท่านมีประโยชน์ในครั้งนี้

การให้ความรู้ ต้องให้เครื่องมือ และให้โอกาส และการเชื่อมโยงสู่ภาครัฐ ให้รู้ว่าอะไรเป็นจุดเด่น และอะไรเป็นจุดด้อย อย่างเช่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความแห้งแล้งแต่ก็เป็นภาคที่มีความคิดสร้างสรรค์ ส่วนภาคใต้ก็มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติมาก แต่ยังขาดความคิดสร้างสรรค์อยู่ ดังนั้นการมีเครือข่ายทางด้านการศึกษา และภาครัฐ ชุมชน เกษตรกร ผู้ประกอบการ และสภาต่าง ๆ ก็สามารถทำเรื่องท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและชุมชนให้เข้มแข็งได้ และชุมพรก็จะมีการกินดีอยู่ดีขึ้นในทุกระดับ

อาจารย์จีระเดช ดิสกะประกาย ได้ยกตัวอย่างของเมืองพัทยาที่แต่ก่อนเป็นเพียงป่า และหญ้าธรรมดา แต่ปัจจุบันกลับเป็นเมืองที่สมบูรณ์มาก แต่ถ้าไม่อนุรักษ์ซึ่งรากเหง้า และปล่อยให้ชาวต่างชาติอย่างเช่น รัสเซีย มาทำธุรกิจมากขึ้น จนเหมือนไม่ใช่รากฐานที่แท้จริงแล้ว พัทยาอีกไม่นานก็คงกลับมาเป็นป่าหญ้าเหมือนเดิม เพราะแก่นวัฒนธรรมที่แท้จริงหายไป
อัตลักษณ์ที่แท้จริงหายไป

จังหวัดชุมพร นั้นมีคนพื้นเพอยู่ อย่างเกาะพิทักษ์เป็นแหล่งที่ชุมชนมีดั้งเดิมต้องรักษาไว้ให้ดี สิ่งสำคัญคือให้วัฒนธรรมอยู่กับที่ แต่ให้นักท่องเที่ยวเคลื่อนที่ เราต้องทำให้เขารู้ว่า เรามีอะไรดี และเมื่อไร เราต้องเป็นต้นแบบของรัฐ ให้เป็นเรื่องเป็นราว

การแสดงความคิดเห็น

อาจารย์อำนาจจากแม่โจ้

ที่เป็นอยู่เป็นมากกว่าเครือข่ายท่องเที่ยวชุมชนคือกำลังจะเป็นสมาคมท่องเที่ยวจังหวัดชุมพร เริ่มจากเครือข่ายจากภูผาสู่มหานที มีการทำเรื่องธนาคารต้นไม้ เกษตรอินทรีย์ ท่องเที่ยวชุมชนปี 52 ที่พะโต๊ะ สู่การขับเคลื่อนเป็นรูปแบบเครือข่าย และจะขับเคลื่อนสู่การตั้งสมาคมการท่องเที่ยวจังหวัดชุมพร คิดว่าท่องเที่ยวชุมชนจะเป็นทางรอดของภาคใต้ การท่องเที่ยว จะมีทั้งสมาชิกใหม่และสมาชิกเก่าเป็นตัวขับเคลื่อนงาน และได้รับงบประมาณจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และททท. เป็นตัวเสริม มีการได้รับรางวัลกินรี จาก ททท. สมาคมฯ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยจะมุ่งเน้นที่เกษตรอินทรีย์และมาตรฐานความปลอดภัย มีแผนการพัฒนากิจกรรมเพื่อชุมชน การพัฒนาและประชาสัมพันธ์ การพัฒนาบุคลากร การติดตามและประเมินการท่องเที่ยว

คุณองศา

จุดอ่อนคือการทำอย่างต่อเนื่อง และการประสานกันในทอนอม การวางแผนจัดการชุมชนให้เป็นสิ่งสำคัญมากกว่าการท่องเที่ยวกระแสหลัก และใช้ชื่อย่อที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง

การสร้างความรู้ ความมั่นใจ และทัศนคติ แต่ก่อนจะต่อต้านการวิจัยเพราะไม่อยากให้งานวิจัยเป็นเพียงกระดาษ แต่ให้เป็นการท่องเที่ยวโดยชุมชนและเพื่อชุมชน ที่แท้จริง งานวิจัยที่อยากให้เกิดจึงอยากให้ร่วมกับชุมชนเพื่อให้เกิดประโยชน์เต็มที่ไม่ใช่แค่ให้ประชาชนมาเซ็นชื่อ แล้วได้กำไรไปเท่านั้น แต่สิ่งที่อยากได้คือจะต้องฝึกและพัฒนาชาวบ้านไปด้วย

คุณพิชญ์ภูรี

สิ่งที่ทำวิจัยที่ผ่านมานั้นมาจากสิ่งที่ชุมชนเป็นอยู่และได้เสนอมา และต้องยอมรับว่าชุมชนคือความจริง และที่พบคือเจ้าหน้าที่ไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างแท้จริง

คุณวรวัฒน์ ตัวแทนจากท่องเที่ยวและกีฬาจ.ชุมพร

ทำไมชุมชนโตช้า เพราะไม่มีสารบบด้านการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวจะเจริญได้ต้องอยู่ที่ชุมชน

จ.ชุมพรถือว่าเป็นโฮมสเตย์ที่มีรายได้เป็น 50% ของโฮมสเตย์ทั่วประเทศ อย่างที่เกาะพิทักษ์และท้องตมใหญ่จ.ชุมพร มีรายได้เยอะมาก อยากให้เอาความคิดนี้ไปสร้างให้เกิด Model ของชุมพรให้เขามาดูงานเรา พลักดันความคิดให้เป็นความจริง

คุณวัชรินทร์ แถลงการณ์

เรื่ององค์ความรู้ที่ชุมชนมีการรวบรวมและแลกเปลี่ยนมานาน สามารถพูดในทางเดียวกันได้เกือบทุกคน แต่องค์ความรู้ที่เสนอไปที่ผ่าน ๆ มานั้นถูกกรองไว้ไม่ได้ถูกกลับมาใช้พัฒนาที่ชุมชนเลย

ที่ชุมพรนั้นมีจุดเด่นหลายอย่างที่ควรนำเสนอเพื่อสร้างแผนการในอนาคต อาทิ

- มีทรัพยากรธรรมชาติที่ดีมาก และชุมชนมีบทบาทในการอนุรักษ์และริเริ่ม

- มีวิถีเกษตรแบบพอเพียงใช้เงินลงทุนน้อย แต่สามารถสร้างกำไรได้ แนวคิดเหลือกินเหลือใช้จึงขาย

- การอนุรักษ์ต้นน้ำ กลางน้ำ และทะเล ตัวอย่างในทอนอมถือเป็นตัวอย่างด้านการจัดการดูแลน้ำที่ดีในอาเซียน เสนอให้ภาครัฐเป็นตัวอย่าง และสนับสนุนให้เป็นแหล่งศึกษาดูงานของอาเซียน นับได้ว่าเป็นตัวอย่างของชุมชนที่บริหารจัดการเอง โดยไม่ใช้งบประมาณภาครัฐ

- ที่ทอนอม เกาะพิทักษ์นับได้ว่าเป็นโฮมสเตย์มีรายได้กว่า 50 % ของการท่องเที่ยวโฮมสเตย์ในไทย จะทำอย่างไรไม่ให้เสียเครือข่าย

- ต้องการการท่องเที่ยวที่รักษาวิถีชีวิตของเรา ไม่อยากเน้นที่ปริมาณ แต่เน้นให้คนมาเรียนรู้ดูงานของเรา เน้นการสัมผัสวิถีชีวิตที่แท้จริงเพื่อเรียนรู้

คุณกมลภพ ทองเอียง เลขาฯชมรมมัคคุเทศก์

การจัดระบบท่องเที่ยวเน้นแผนงานกีฬาจ.ชุมพร การจัดลำดับความสำคัญพื้นที่ท่องเที่ยว การสร้างเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ พื้นที่เป็นอย่างไร มีข้อดีอย่างไร ก่อนที่จะประชาสัมพันธ์

การดำเนินตามรอยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทิศทางการท่องเที่ยวจะเป็นแบบใด และธรรมชาติเป็นแบบใด เสนออะไร จุดเด่นมีอะไรบ้าง

การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ แต่ก่อนที่ทอนตมเสื่อมโทรมมาก แต่ปัจจุบันสามารถอวดคนได้แล้ว ซึ่งกว่าจะสำเร็จได้ต้องทำแผนแม่บทก่อน ชมรมมัคคคุเทศก์พร้อมที่จะทำแผนแม่บทประจำปีเพื่อเป็นการบังคับทางพฤตินัย

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ทฤษฎีในวันนี้เสมือนกับขนมปังและแยมที่ต้องมีการผสมกันจากองค์ความรู้ที่ได้ทำวิจัยไว้ จึงอยากให้เน้นองค์ความรู้เรื่อง การพัฒนาทุนทางจริยธรรม คุณธรรม การพัฒนาเพื่อสร้างความยั่งยืน ความสามารถในการบริหารจัดการ การสร้างโอกาสให้ชุมชนมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ การพัฒนาภาษาอังกฤษ อาเซียน และรัสเซีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลี การสร้างความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างนวัตกรรม การสร้างผู้นำ การให้มีนโยบาย Integrate นักท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม การสร้างความหลากหลายทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศ ผู้นำชุมชนมีภาวะผู้นำอย่างไรจะได้แลกเปลี่ยนกัน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และการบริหารเครือข่าย การทำการตลาดและประชาสัมพันธ์ ยุทธศาสตร์สู่ชุมชนและท้องถิ่น การพัฒนาท่องเที่ยวชุมชนสู่มาตรฐานสากลเป็น Benchmark ได้ การพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของ SMEs

ผู้ใหญ่หรั่ง

ศักยภาพของชุมพรมหาศาล ความจริงแล้วไม่ชอบงานวิจัยเท่าไหร่เพราะมีแต่กระดาษ ไม่ได้นำมาใช้จริง มองชุมชนเหมือนไม่มีความรู้ ไม่รู้ว่าจะขับเคลื่อน ได้อย่างแท้จริงหรือไม่ เวลาเสนอการท่องเที่ยวเพื่อชุมชนในการจัดทำมาตรฐานกลางภาครัฐต้องรับฟังบ้าง ไม่ไช่เสนอแต่บอกว่าทำอันอื่นแล้ว เขียนแล้ว จึงอยากให้มีการรวมกลุ่มทางความคิด และอยากให้คิดตามที่ชุมชนเสนอไปบ้าง อยากให้เน้นการบูรณาการและสร้างเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ขึ้นมาให้ได้

ชุมพรเป็นประตูสู่ภาคใต้แต่ยังไม่มีห้องรับแขก

อ.อำนาจ จากแม่โจ้

ขอถามว่าปลายทางของงานชิ้นนี้ต้องการอะไร

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ปีแรกเป็นงานวิจัย ปีที่สองมีการจัดทำ Pre-Planning และ Deepening Workshop ปีที่สามจึงอยากให้เกิดผลที่แท้จริง มีการรวมตัวกันเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ และอยากให้ชุมพรสามารถสร้างแบรนด์ ในภาคใต้ได้

การทำงานแบบ Local Global ให้ช่วยกันเอาชนะอุปสรรค และการสร้างเครือข่ายทั้ง 4 กลุ่มให้เกิดขึ้น ให้เดินร่วมกัน และมีความต่อเนื่อง สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ ทัศนคติและค่านิยม ฟัง คิดและแก้ปัญหาร่วมกัน

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

แผนแม่บทที่ทำโดยชุมชน และงานที่ทำต่าง ๆ ของชุมชนจะเสนอสู่ข้างบน เพราะทุกอย่างต้องเป็นขั้นเป็นตอน

อาจารย์จีระเดช ดิสกะประกาย

เข้ามาในภาคใต้ ห้องรับแขกอยู่ที่ไหน การมีความพร้อม ที่จะสร้างแผนแม่บทต้องมีความชัดเจนที่สามารถทำให้เป็นต้นแบบได้ อย่างเช่น บ้านทุกบ้านต้องสะอาด ตราบใดที่ยังไม่เริ่มก็ยังไม่โต และถ้าเริ่มแล้วก็ต้องมีรูปแบบ ถ้าชุมพรเป็นตัวอย่างที่ดีของภาคใต้ ภาคอื่นก็จะทำตาม

อุปนายกสมาคมท่องเที่ยว

นับได้ว่าเป็นความหวังหนึ่งที่เข้าทางกับสิ่งที่ชุมชนทำอยู่ โดยเฉพาะการกระจายรายได้ การสร้างมูลค่าเพิ่ม การพัฒนาคน การอนุรักษ์ทรัพยากรให้อยู่อย่างยั่งยืน

การท่องเที่ยวนับว่าเป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดรายได้อย่างยั่งยืน แต่สิ่งที่อยากฝากไว้คือแหล่งท่องเที่ยวไม่ได้รับการบูรณะเลย แผนงานมาจากไหนไม่สามารถตรวจสอบได้ ถ้าจะปฏิรูปต้องทำเองสร้างเอง ตรวจรับเอง ตรวจสอบเอง และดูแลเอง ให้ชุมชนบริหารจัดการด้วยตัวเอง และแผนแม่บทที่ทำแล้วก็ให้มีเครือข่ายแต่ละด้านเข้ามาเสริม

ครูนิล

มีความภาคภูมิใจที่ได้ดำเนินตามรอยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ตั้งปณิธานไว้ว่า จะเพาะกล้าเศรษฐกิจพอเพียงให้งอกงามบนผืนแผ่นดินนี้

อีกโครงการที่ภูมิใจคือการชวนลูกหลานมาพัฒนาบ้านเกิดเดินตามรอยเท้าพ่อ พัฒนากลุ่มเยาวชนให้รู้รักษ์บ้านเกิดสวนลุงนิล

คุณองศา

การรวมกันของอาจารย์จีระและอาจารย์ภราเดช ทำให้มีความหวัง สิ่งที่ทำต้องสามารถตอบโจทย์ได้ว่าอาจารย์จีระมาทำอะไรให้คนชุมพร

เป้าหมาย คือทำให้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นหน่วยงานรัฐกระแสหลัก ใช้การท่องเที่ยวเพื่อยับยั้งการสูญเสียที่ดิน รักษาที่ดินทำกินให้ได้ ใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือพัฒนาคุณภาพชีวิต เติมจุดแข็งของกันและกัน และยกฐานความจริงเป็นเครื่องมือที่จับต้องได้

ขอบคุณท่านอาจารย์มากค่ะ วิถีชุมชน มีวัฒนธรรม แทรกอยู่มากมาย หลากหลาย แตกต่างกันไปตามบริบทของพื้นที่ นะคะ ทั้งศิลปะ วัฒนธราม ธรรมชาติ สิ่งแวดลอม (เพชรบุรีมี ป่าเขียว เกลียวคลื่น ศิลปะ พื้นบ้าน การละเล่น พื้นที่นะคะ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท