ภาษาสันสกฤตอย่างง่าย บทที่ 44


- สรรพนามชี้เฉพาะ

- กริยาย่อย อดีตกาล กรรมวาจก

 

ในบทนี้มีเรื่องสรรพนามอีกสองตัว และการใช้กริยาย่อย ที่มีโครงสร้างเป็นคุณศัพท์ แต่สามารถแสดงกาลของนามได้ การใช้ไม่ยาก แต่ต้องใช้บ่อยๆ เพราะมีกฎกติกาที่หลากหลาย

ก. สรรนามชี้เฉพาะ (demonstrative pronoun) 

สรรพนามชี้เฉพาะ มีด้วยกันหลายคำในภาษาสันสกฤต เป็นการเน้นว่า สิ่ง/คนนี้ หรือ สิ่ง/คนนั้น นั่นเอง เนื่องจากมีการใช้มาก จึงย่อมแจกรูปพิเศษไปบ้าง การแจกรูปนั้นแตกต่างกันไปตามเพศเช่นเดียวกับนาม ได้แก่ อยมฺ และ อเสา

1. อยมฺ ayám คำนี้นักไวยากรณ์อินเดียเรียกว่า อิทมฺ idám (ออกเสียงว่า อิดัม) มีความหมายว่า นี้ หรือนั้น ในภาษาบาลี ก็มีศัพท์คล้ายๆ กัน เช่น อิมานิ. แจก ปุ. อยมฺ, สฺตรี อิยมฺ iyám, นปุ. อิทมฺ

पुमान्

एकः

द्वौ

बहवः

 स्त्रीः

एकः

द्वौ

बहवः

 नपुंसकम्

एकः

द्वौ

बहवः

प्रथमा

अयम्

इमौ

इमे

 प्रथमा

इयम्

इमे

इमाः

 प्रथमा

इदम्

इमे

इमानि

द्वितीया

इमम्

इमौ

इमान्

 द्वितीया

इमाम्

इमे

इमाः

 द्वितीया

इदम्

इमे

इमानि

तृतीया

अनेन

आभ्याम्

एभिः

 तृतीया

अनया

आभ्याम्

आभिः

 तृतीया

अनेन

आभ्याम्

एभिः

चतुर्थी

अस्मै

आभ्याम्

एभ्यः

 चतुर्थी

अस्यै

आभ्याम्

आभ्यः

 चतुर्थी

अस्मै

आभ्याम्

एभ्यः

पञ्चमी

अस्मात्

आभ्याम्

एभ्यः

 पञ्चमी

अस्याः

आभ्याम्

आभ्यः

 पञ्चमी

अस्मात्

आभ्याम्

एभ्यः

षष्ठी

अस्य

अनयोः

एषाम्

 षष्ठी

अस्याः

अनयोः

आसाम्

 षष्ठी

अस्य

अनयोः

एषाम्

सप्तमी

अस्मिन्

अनयोः

एषु

 सप्तमी

अस्याम्

अनयोः

आसु

 सप्तमी

अस्मिन्

अनयोः

एषु

2. สรรพนาม อเสา asaú คำนี้นักไวยากรณ์อินเดียเรียกว่า อทสฺ มีความหมายคล้ายกับ อยมฺ แต่เน้นเรียกสิ่งที่อยู่ไกลออกไป. ปุ. ใช้ อเสา สตรี อเสา นปุ. ใช้ อทสฺ มีส่วนที่เหมือนและต่างกัน ขอให้ดูในตารางก็แล้วกัน แล้วลองสังเกตว่าส่วนใดแตกต่าง หรือเหมือนอย่างไร

पुमान् एकः द्वौ बहवः  स्त्रीः एकः  द्वौ बहवः नपुं  एकः  द्वौ बहवः
प्र. असौ अमू अमी  प्र. असौ  अमू अमूः प्र.  अदः  अमू अमूनि
द. अमुम् अमू अमून्  द. अमूम्  अमू अमूः द.  अदः  अमू अमूनि
त. अमुना अमूभ्याम् अमीभिः  त. अमुया  अमूभ्याम् अमूभिः त.  अमुना  अमूभ्याम् अमीभिः
च. अमुष्मै अमूभ्याम् अमीभ्यः  च. अमुष्यै  अमूभ्याम् अमूभ्यः च.  अमुष्मै  अमूभ्याम् अमीभ्यः
प. अमुष्मात् अमूभ्याम् अमीभ्यः  प. अमुष्याः  अमूभ्याम् अमूभ्यः प.  अमुष्मात्  अमूभ्याम् अमीभ्यः
ष. अमुष्य अमुयोः अमीषाम्  ष. अमुष्याः  अमुयोः अमूषाम् ष.  अमुष्य  अमुयोः अमीषाम्
स. अमुष्मिन् अमुयोः अमीषु  स. अमुष्याम्  अमुयोः अमूषु स.  अमुष्मिन्  अमुयोः अमीषु

 

3. ยังมีสรรพนามีอีกตัวหนึ่ง ที่แจกรูปไม่ครบวิภักติ ได้แก่ เอน (ena). มีเฉพาะกรรมการก กรณการก สัมพันธการก และอธิกรณการก ดังนี้.

  • กรรมการก เอกพจน์ ปุ. เอนมฺ นปุ. เอนทฺ สตรี. เอานามฺ; ทวิพจน์.  ปุ. เอเนา. สตรี, นปุ. เอเน พหุพจน์ ปุ. เอนานฺ,  นปุ. เอนานิ, สตรี. เอนาสฺ
  • กรณการก เอกพจน์ ปุ. นปุ. เอเนน สตรี. เอนยา
  • สัมพันธการก อธิกรณการก ทวิพจน์ ทุกลิงค์ แจก เอนโยสฺ

ลองเขียนตารางเอาเองนะครับ

เอน นี้ไม่มีการเน้นเสียง ใช้ในสถานการณ์ที่ไม่เน้น และใช้เมื่อเรียกบุคคลหรือสิ่งของด้วยสรรพนาม อยมฺ หรื เอษ แล้วเท่านั้น ตัวอย่างเช่น อเนน กาวฺยมธีตเมนํ วฺยากรณมธฺยาปย “(อเนน กาวฺยมฺ อธีตมฺ, เอนมฺ วฺยากรณมฺ อธฺยาปย) คนนี้อ่านกาวยะแล้ว(อธีตมฺ) จงสอนไวยากรณ์แก่เขา.

 

ข. กริยาย่อย อดีตกาล กรรมวาจก (past passive participle)

กริยาย่อยในภาษาสันสกฤต มีมากเกือบเท่ากับกาล (tense) โดยแบ่งเป็นรูปอาตมเนบท และปรัสไมบท ด้วย แต่ไม่แบ่งพจน์หรือเพศ เพราะใช้ในรูปของคุณศัพท์ การแจกรูปจึงเป็นไปตามนามที่มันขยายนั้น. นี่เป็นการอธิบายแบบฝรั่ง ซึ่งตรงกับไวยากรณ์ของเขา สำหรับภาษาสันสกฤต เรียกว่า กฤตฺ ชนิดลงปัจจัย ต เท่านั้นเอง. ทั้งนี้มีกฎ หรือรายละเอียดดังนี้

1. การใช้กริยาย่อยอดีตกาล กรรมวาจก สร้างได้ง่ายมาก นั่นคือ การเติม ปัจจัย ต หรือ น เข้ากับธาตุ เท่านั้น. จบ. เมื่อนำไปใช้กับนามปุลลิงค์ หรือนปุงสกลิงค์ สามารถแจกรูปได้เลย แต่สำหรับนามสตรีลิงค์ใช้ยืดเสียง ต เป็น ตา เสียก่อน แล้วแจกรูปในแบบ อาการานต์เพศหญิง เช่น ภู (เป็น, มี) = ภูต bhūtá. เป็นเพศหญิง = ภูตา bhūtā́

กริยาย่อยเหล่านี้ โดยทั่วไปเมื่อใช้ธาตุจำพวกสกรรม ก็ที่มีความหมายในเชิงกรรมวาจก เช่น อุกฺต uktá (วจฺ+ตลดรูป อุจฺ+ต แปลง จฺ > กฺ = อุกฺต) หมายถึง ที่ถูกกล่าว ศฺรุต śrutá ที่ถูกได้ยิน (ศฺรุ + ต) ตัวอย่าง จากพระสูตรมหายาน เอวํ มยา/เม ศฺรุตํ  ข้าพเจ้าสดับแล้วดังนี้

แต่หากใช้ธาตุที่เป็นอกรรม เช่น คมฺ ไป, ภู เป็น, ปตฺ ตก ก็จะเป็นเพียงแสดงกริยาในอดีตปกติ เช่น คต gatá ผู้ไปแล้ว, ภูต bhūtá ผู้เกิดแล้ว มีแล้ว ปติต patitá ที่ตกแล้ว

โดยทฤษฎีว่าอย่างนั้น คือ เติม ต หลัง ธาตุเป็นอันจบพิธี แต่ธาตุหลายตัว ต้องมีกรรมวิธี หรือต้องใช้รูปพิเศษ เช่น คมฺ ต้องใช้รูป ค (ค+ต = คต)ชีวฺ ต้องแทรก อิ ก่อนเติม ต (ชีวฺ+อิ+ต = ชีวิต jīvitá) ทา เป็น ท แทรก ตฺ ก่อนเติม ต = ทตฺต दत्त
 dattá แต่ธาตุเหล่านี้ใช้บ่อย อ่านไป เรียนไป ก็จำได้เอง

การใช้กริยาย่อยเหล่านี้ โดยทั่วไปใช้ขยายคำนาม แต่อาจใช้เสมือนกริยาหลัก(อดีตกาล)ของประโยคก็ได้ เช่น ส คตะ. เขาไปแล้ว ในที้นี่ คต แจกรูปเหมือน อะ การานต์ ปุลลิงค์ ความหมายก็คือ ส คโต ภวติ เขาเป็นผู้ไปแล้ว. นั่นคือ เสมือนว่ามีกริยา เป็น (อสฺ หรือ ภู อยู่ด้วย นั่นเอง). มยา ปตฺตฺรํ ลิขิตมฺ จดหมายเขียนแล้วโดยข้าพเจ้า. กริยาเหล่านี้มักใช้เป็นนามปนุงสกลิงค์ เช่น ทตฺตมฺ ของขวัญ (ของที่ถูกให้) ทุคฺธมฺ น้ำนม (สิ่งที่ถูกรีด) และอาการนามอื่นๆ . * แต่ที่ใช้ด้วยความหมายปัจจุบันก็มี เช่น สฺถิต (จาก สฺถา) หมายถึง ที่ยืน/ตั้งอยู่

2. กลุ่มที่เติม น

1) ธาตุที่ลงท้ายสระอา และมีสระ อิ หรือ อุ   เช่น

  •    ปีน pīná (จาก ปฺยา หรือ ปี) บวม, อ้วน
  •    หีน hīná (จาก หา) ถูกทิ้ง
  •    มฺลาน mlāná (จาก มฺลา) เหี่ยวแห้ง
  •    กฺษีณ kṣīṇá (จาก กฺษิ) ทำลาย
  •    ศูน śūna (จาก ศฺวา หรือ ศฺวิ) บวม
  •    ลูน lūna (จาก ลู) ตัด
  • 2) ธาตุที่ลงท้าย ฤ และเสียงประเภทเดียวกัน (เรียกว่า ธาตุ ฤ) ก่อนเติม น จะเปลี่ยน ฤ เป็น อีรฺ หรือ อูรฺ เช่นเดียวกับปัจจุบันกาล กรรมวาจก เช่น 2กฺฤ > กีรฺณ, ตฺฤ > ตีรฺณ, 1ปฺฤ > ปูรฺณ pūrṇá

    3) ธาตุที่ลงท้าย ชฺ (ซึ่งมีจำนวนไม่มากนัก) และเมื่อสนธิกับ น, ช จะเปลี่ยนเป็น คฺ เช่น ภญฺชฺ > ภคฺน แตก. 1ภุชฺ > ภุคฺน โค้ง,งอ, มชฺชฺ > มคฺน จม. รุชฺ > รุคฺณ ป่วย. วิชฺ > วิคฺน (กลัว)  นอกจากนี้ยังมีธาตุที่แสดงฐาน ค ก่อน น ได้แก่  ลคฺ > ลคฺน (เชื่อม) วฺรศฺจฺ > วฺฤกฺณ

    4) ธาตุจำนวนหนึ่ง ที่ลงท้ายด้วย ทฺ (และเปลี่ยน ทฺ เป็น นฺ) เช่น สทฺ > สนฺน, นิสทฺ> นิษณ, ภิทฺ > ภินฺน

    (กลุ่มนี้ ยกเว้น ขาทฺ > ขาทิต กิน, ภทฺ > ภกฺต, มุทฺ > มุทิตยินดี, รุทฺ > รุทิตร้องไห้, วทฺ > อุทิต พูด. วิทฺ > วิทิต รู้)

    อนึ่ง บางธาตุมีสองรูป เช่น √ตฺวรฺ (เร่ง, รีบ) เติม น เป็น ตูรฺณ तूर्ण หรือเติม ต (แทรก อิ) เป็น ตฺวริต ; √วิทฺ (ได้รับ) : วินฺน विन्न หรือ วิตฺต वित्त ก็ได้

     

    คำศัพท์ประจำบท

    ธาตุ

    • √อีกฺษฺ + อุป (อุเปกฺษเต) ทอดทิ้ง
    • 2√กฺฤ + วิ (วิกิรติ) กระจาย หว่าน
    • คณย + อว (นามธาตุ. อวคณยติ) ดูถูก (เฉพาะ คณฺ หรือ คณย แปลว่า นับ)
      √จรฺ + อุทฺ (บอกเหตุ,) อุจฺจารยติ ประกาศ กล่าว
    • √ตฺฤ + อว (อวตรติ) ลง
    • √ตฺฤ + อุทฺ (อุตฺตรติ) ผุดขึ้น ปรากฏ
    • √ปี หรือ √ปฺยา (ปฺยายเต) อ้วน
    • √ภกฺษฺ (ภกฺษยติ) กิน
    • √ภญฺชฺ ทำให้แตก, แตก
    • √ภุชฺ + อุปสนุก สำราญ
    • √ภู + ปริ (ปริภวติ) ดูถูก
    • √มชฺชฺ (มชฺชติ) จม
    • √ยุชฺ (บอกเหตุ. โยชยติ) เทียม(เกวียน),
    • √ลคฺ (ลคติ) ติด ห้อย
    • √สทฺ (สีทติ) นั่ง วาง ตั้งมั่น หมดแรง พ่ายแพ้

    นาม

    • อศฺวิเนา ปุ. ทวิ. เทพอัศวิน (เรียกเป็นคู่เสมอ)
    • อาจาร ปุ. การเดินและสนทนา, วิถีชีวิต, การประกอบพิธีกรรม
    • ฤณ นปุ. หนี้
    • ไกลาส ปุ. เขาไกรลาส
    • กฺษุธฺ ส. ความหิว
    • พฺรหฺมจรฺย นปุ. ชีวิตที่ถือพรหมจรรย์, การเป็นนักบวชที่เข้าเรียนทางศาสนา
    • โภชน นปุ. มื้อ, อาหาร
    • ภุชฺยุ ปุ. ชื่อบุคคลในพระเวท
    • มธุปรฺก ปุ. เครื่องดื่มอย่างหนึ่งมีรสหวาน
    • มุกฺตา ส. ไข่มุก
    • รากฺษส ปุ. ยักษ์ ราษส
    • ลาภ ปุ. การได้รับ, สิ่งที่ได้รับ
    • วิวาห ปุ. การแต่งงาน
    • วฺยาธิ ปุ. ความไม่สบายไข้
    • ศกฏ ปุ. เกวียน รถ
    • ศยฺยา ส. ที่นอน
    • หล ปุ.,นปุ. คันไถ
    • หาร ปุ. สาย โซ่ พวงมาลัย

    คุณศัพท์

    • กฺษีณ (กริยาย่อย อดีต ของ 2กฺษิ) ลดลง เสื่อมลงหมดตัว
    • ตีวฺร (ส. –อา) ยิ่งใหญ่ แข็งแรง รุนแรง
    • ปีน (กริยาย่อย อดีต ของ ปี) อ้วน
    • พฺรหฺมจารินฺ การเรียนความรู้อันศักดิ์สิทธิ์. ปุ. นักเรียนวิชาพราหมณ์
    • หีน (กริยาย่อย อดีต) ถูกทิ้ง, ขาดแคลน (หากใช้กับกรณการก หมายถึง ปราศจาก)

     

    แบบฝึก

    ๑. แปลสันสกฤตเป็นไทย

    ๒. แปลไทยเป็นสันสกฤต

    ๑. จงให้ยาโดยไวแก่ผู้ป่วยเหล่านี้ (ใช้ กริยาย่อย อดีต กรรมวาจกของ ตฺวรฺ)

    ๒. นี้คือ เขาไกลาสแห่งนั้น ที่พระศิวะอาศัยข้างบน (แปลงเป็นประโยค ยะ ตะ เสียก่อน)

    ๓. เพื่อจะบรรลุ (ลาภ สัมประทานการก) ถึงโลกนี้และโลกนั้น (ใช้สัมพันธการก) นักบวชจะถวายการสังเวยสำหรับฉัน (ใช้ ยชฺ บอกเหตุ.)

    ๔. ดอกไม้ทั้งหลายในพวงมาลัยทั้งหลายของสตรีเหล่านี้เหี่ยว

    ๕. โดยพระราชาองค์นั้น ผู้ได้รับการสรรเสริญแล้วจากเรา เรายินดีแล้วกับอัญมณีเหล่านี้

    ๖. ชาวนาเทียมโคอ้วนสองตัวเข้ากับคันไถแล้ว

    ๗. พราหมณ์ผู้มีความรู้ผุดขึ้นแล้ว (กริยาย่อย อดีต กรรมวาจก) จากน้ำ

    ๘. พระราชินีเสด็จมาที่นี่ (กริยาย่อย อดีต กรรมวาจก) 

    ๙. สร้อยแห่งไข่มุกทั้งหลายห้อย (กริยาย่อย อดีต กรรมวาจก) บนคอของสาวผู้นี้

    ๑๐. บาปใดบุคคลผู้หมดตัวไม่ได้กระทำ?

    ๑๑. สวนนี้เต็มไปด้วยหญิงชายทั้งหลาย

     

หมายเลขบันทึก: 558141เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2014 22:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2014 19:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

สวัสดีปีใหม่ครับอาจารย์ ;)...

มาลงชื่อไว้ก่อน ขอบพระคุณสำหรับบทเรียนค่ะ

สุข..สวัสดีปีใหม่ครับอาจารย์

อยากถามอ. ว่า คำว่า "สามัคคี" เป็นศัพท์บาลีหรือสันสกฤตครับ แยกศัพท์ให้ดูหน่อยนะครับ ขอบคุณครับ

สวัสดีปีใหม่ครับอาจารย์...ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยบันดาลพรให้อาจารย์มีความสุข (ใจ + กาย) ตลอดไปนะครับ...

สวัสดีปีใหม่ และขอบพระคุณมากครับ อาจารย์ Wasawat Deemarn

ขอความสุขสวัสดีและโชคทั้งหลายมาทักทายอาจารย์เสมอๆ นะครับ

สวัสดีปีใหม่ด้วยเลยครับ คุณ ศรี บรมอีศวรี

สวัสดีปีใหม่และขอบพระคุณครับ อาจารย์ อ.นุ

สวัสดีปีใหม่และขอบพระคุณครับ คุณ จัตุเศรษฐธรรม


สวัสดีครับ คุณ ส.รตนภักดิ์

สามัคคี เป็นคำบาลีครับ สามคฺคี

เข้าใจว่ามาจาก สมฺ(บรรจบ รวม) + อคฺร(ทั้งมวล)

''√ปี หรือ √ปฺยา (ปฺยายเต) = อ้วน'' ธาตุนี้หมวดที่ 4 นะคะ มิใช่กรรมวาจก ?

- √ภกฺษฺ (ภกฺษยติ) = กิน ,หมวด 10 ใช่ไหมคะ ?

  • √ภญฺชฺ = ทำให้แตก, แตก
  • √ภุชฺ + อุป = สนุก,สำราญ

สองตัวนี้ครูไม่ยกกริยาสมบูรณ์ให้หนูดู เลยต้องไปเปิดหาในพจนานุกรมเอาเอง

ได้ความว่าธาตุ √ภญฺชฺ ตัวนี้เป็นหมวดที่ 4 คือ ภญฺยเต ?

ส่วนธาตุ √ภุชฺ + อุป เจอมาเป็นหมวดเจ็ด แบบไม่มีอุปสรรคนำหน้า คือ भुङ्क्ते

หรือว่าเฉพาะธาตุสองตัวที่หนูยกมานี้ยังไม่ต้องไปสนใจหมวดธาตุคะ ในแบบฝึกคงต้องการให้เราเอาธาตุเฉพาะพวกนี้มาทำเป็น กริยาย่อย อดีตกาล กรรมวาจก หรือเปล่าเอ่ย ?

ขอบคุณค่ะ ..

√ภู + ปริ (ปริภวติ) = ดูถูก, หมวดที่ 1 ?

√มชฺชฺ (มชฺชติ) = จม , หมวดที่ 1 ?

√ลคฺ (ลคติ) = ติด ห้อย , หมวดที่ 1 ?

√สทฺ (สาทติ) นั่ง วาง ตั้งมั่น หมดแรง พ่ายแพ้ ,หมวดที่ 1 ?

ภู หมวด 1 แน่นอนครับ จะเติมอุปสรรคอะไร ก็ต้องถือแบบหมวด 1

มชฺชฺ หมวด 6 ครับ

ลคฺ หมวด 1 (ลคฺนา มาจากธาตุนี้)

สทฺ หมวด 1/6 เป็น สีทติ sīdati นะครับ ในบทเรียนเขียนผิด

เหมือนจะตอบแล้ว ทำไมหาย

ภู 1

มชฺชฺ 6 ครับ

ลคฺ หมวด 1 (ที่มาของคำว่า ลคฺนา)

สทฺ > สีทติ หมวด 1/6 ครับ (แก้ สาทติ เป็น สีทติ ด้วย)

วรฺธมานฺฤณำ ราชนฺปริภูตาศฺรจ ศตฺรวะ

ชนยนฺติ ภยํ ตีวรํ วฺยาธยศฺรจาปฺยุเปกฺษตาะ

1.) ยานิ กรฺมาเอยสฺมิ โลเก กฺริยนฺเต เตษำ ผลํ กรฺตฺรามุษฺมิํ โลก อุปภุชฺยเต

2.) โภ อสาวหมฺ ทตฺยุจฺจารยนฺครียโส'ภิวาทเยตฺ

3.) อยํ นะ ปิตา รถาทวตีรฺณาะ สรฺวยา สห สฎภาษมาณาสฺติษฺ..ติ

4.) อาจาเรณาหินั ปุมำสํ วิทฺทำสมปฺยวคณายนฺติ สนฺตะ

5.) อุทเธา มคฺนํ มิคฺรยมาณำภุชฺยุมฺศฺริวฺเนา นาโวทหรตามฺ

6.) ปรฺมยะ กษุธา สีท ... ภิกษุภฺโย'นนํ ปฺรยจฺ

7.) ปถฺยสฺมากํ รโถ ภคฺนะ

8.) ยุธฺยมานานมฺฤนนงฺหะ ปศฺย

9.) ภวตา วิกีรฺณำ ธานฺยมิเม วิหคา ภกฺษยนฺติ

10.) อาภิร .. ปาณี ปฺรกฺษาลย

11.) ทฺทมฺ อสนมิมา อาปะ สฺนานายายํ มยุปรฺก ทฺทํ โภชนมิมานิ วสฺพาณียํ ศยฺเยติ คฺฤหสฺโถ

ติถิํ คฺฤหสฺโถ ' ติธิํ คฺฤหมาคจฺ ..นฺตํ วเทตฺ

วรฺธมานมฺฤณำ ราชนฺปริภูตาศฺจ ศตฺรวะ.

ชนยนฺติ ภยํ ตีวฺรํ วฺยาธยศฺจาปฺยุเปกฺษิตาะ.

1.) ยานิ กรฺมาณฺยสฺมึ โลเก กฺริยนฺเต เตษำ ผลํ กรฺตฺรามุษฺมิํ โลก อุปภุชฺยเต.

2.) โภ อสาวหมฺ ทตฺยุจฺจารยนฺครียโส'ภิวาทเยตฺ.

3.) อยํ นะ ปิตา รถาทวตีรฺณะ สขฺยา สห สํภาษมาณสฺติษฺฐติ.

4.) อาจาเรณ หีนํ ปุมำสํ วิทฺวำสมปฺยวคณยนฺติ สนฺตะ.

5.) อุทเธา มคฺนํ มิคฺรยมาณํ ภุชฺยุมศฺวิเนา นาโวทหรตามฺ.

6.) เอภฺยะ กฺษุธา สีททฺภฺโย ภิกษุภฺโย'นฺนํ ปฺรยจฺฉ.

7.) ปถฺยสฺมากํ รโถ ภคฺนะ.

8.) ยุธฺยมานานมูนนฑุหะ ปศฺย.

9.) ภวตา วิกีรฺณํ ธานฺยมิเม วิหคา ภกฺษยนฺติ.

10.) อาภิรทฺภิะ ปาณี ปฺรกฺษาลย.

11.) อิทมฺ อาสนมิมา อาปะ สฺนานายายํ มยุปรฺก อิทํ โภชนมิมานิ วสฺตฺราณียํ ศยฺเยติ คฺฤหสฺโถ'ติถิํ คฺฤหมาคจฺฉนฺตํ วเทตฺ.

*ระวังเรื่อง ณ, -ทฺภฺย, ปฺย มักจะมาจาก อิ+อะ

พวกกริยาย่อย กริยาบอกเหตุ กรรมวาจก ไม่สนใจหมวดธาตุครับ

โดยเฉพาะพวก 2 3 5 7 8 9 นี่ยุ่งยาก

มาส่งแล้วนะคะ ข้อไหนที่เว้นไว้คือทำไม่ได้ (เยอะเลย)  ส่วนใหญ่จะแยกสนธิไม่ได้ รวมทั้งโศลกด้วย ยากจริงๆยอมเขาเลย

วรฺธมานมฺฤณำ ราชนฺปริภูตาศฺจ ศตฺรวะ.

ชนยนฺติ ภยํ ตีวฺรํ วฺยาธยศฺจาปฺยุเปกฺษิตาะ.

1.) ยานิ กรฺมาณฺยสฺมึ โลเก กฺริยนฺเต เตษำ ผลํ กรฺตฺรามุษฺมิํ โลก อุปภุชฺยเต.= ในพิธีกรรมใดที่ถูกทำในโลกนี้ โลกก็ย่อมสำราญไปกับผลนั้นโดยผู้ทำ

2.) โภ อสาวหมฺ ทตฺยุจฺจารยนฺครียโส'ภิวาทเยตฺ.

3.) อยํ นะ ปิตา รถาทวตีรฺณะ สขฺยา สห สํภาษมาณสฺติษฺฐติ.

4.) อาจาเรณ หีนํ ปุมำสํ วิทฺวำสมปฺยวคณยนฺติ สนฺตะ.

5.) อุทเธา มคฺนํ มิคฺรยมาณํ ภุชฺยุมศฺวิเนา นาโวทหรตามฺ.

6.) เอภฺยะ กฺษุธา สีททฺภฺโย ภิกษุภฺโย'นฺนํ ปฺรยจฺฉ. = จงให้อาหารแก่ผู้ที่นั่งเหล่านั้นเพราะความหิว

7.) ปถฺยสฺมากํ รโถ ภคฺนะ.=รถ (รถสฺ) ของฉัน (อสฺมากํ) เสีย (ภคฺนะ) บนถนน (ปถิ)

8.) ยุธฺยมานานมูนนฑุหะ ปศฺย. = จงดูวัวเหล่านั้นที่กำลังต่อสู้กัน

9.) ภวตา วิกีรฺณํ ธานฺยมิเม วิหคา ภกฺษยนฺติ.

10.) อาภิรทฺภิะ ปาณี ปฺรกฺษาลย. = ท่านจงล้าง( ปฺรกฺษาลย) มือทั้งสอง (ปาณี) ด้วยน้ำ (อทฺภิสฺ) #หาอาภิสฺไม่เจอค่ะ

11.) อิทมฺ อาสนมิมา อาปะ สฺนานายายํ มยุปรฺก อิทํ โภชนมิมานิ วสฺตฺราณียํ ศยฺเยติ คฺฤหสฺโถ'ติถิํ คฺฤหมาคจฺฉนฺตํ วเทตฺ.

น้ำ อปฺ แจกพหุอย่างเดียว กรณการก เป็น อทฺภิสฺ

http://www.gotoknow.org/posts/556946

2.) โภสฺ อเสา อหมฺ อิติ อุจฺจารยนฺ ครียสสฺ อภิวาทเยตฺ. (ดูเทวนาครีอีกที)

(บุคคล)พึงอภิวาทผู้มีเกียรติ โดยกล่าว(อุจฺจารยนฺ) ว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นเช่นนั้น (คืออะไรก็ว่าไป)...

3.) อยํ นะ ปิตา รถาตฺ อวตีรฺณะ สขฺยา สห สํภาษมาณสฺ ติษฺฐติ.

นี้ บิดาของเรา ผู้ลงจากรถ ยืนอยู่ สนทนากับเพื่อนคนหนึ่ง

4.) อาจาเรณ หีนํ ปุมำสํ วิทฺวำสมฺ อปิ อวคณยนฺติ สนฺตะ.

คนดีทั้งหลายย่อมดูถูก คนที่ปราศจากความประพฤติที่ดี แม้ว่ามีความรู้

5.) อุทเธา ภคฺนํ มฺริยมาณํ ภุชฺยุมฺ อศฺวิเนา นาวา อุทหรตามฺ. (ดูเทวนาครีอีกที)

อัศวินทั้งสอง ช่วยชีวิตภุชยุ ผู้กำลังจะตาย กำลังจม ในน้ำ ด้วยเรือ. 

9.) ภวตา วิกีรฺณํ ธานฺยมิเม วิหคา ภกฺษยนฺติ.

9.) ภวตา วิกีรฺณํ ธานฺยมฺ อิเม วิหคาสฺ ภกฺษยนฺติ.

นกทั้งหลายเหล่านั้นกินข้าวเปลือกที่หว่านโดยท่าน

11.) อิทมฺ อาสนมิมา อาปะ สฺนานายายํ มธุปรฺก อิทํ โภชนมิมานิ วสฺตฺราณียํ ศยฺเยติ คฺฤหสฺโถ'ติถิํ คฺฤหมาคจฺฉนฺตํ วเทตฺ.

11.) อิทมฺ อาสนมฺ, อิมาสฺ อาปะ สฺนานาย, อยํ มธุปรฺกสฺ, อิทํ โภชนมฺ, อิมานิ วสฺตฺราณี อิยํ ศยฺยา อิติ คฺฤหสฺถสฺ อติถิํ คฺฤหมฺ อาคจฺฉนฺตํ วเทตฺ.

คฤหัสถ์พึงกล่าวกะแขก ผู้มา(ที่)บ้าน ว่า, นี้ที่นั่ง นี้น้ำเพื่ออาบ นี่้น้ำหวาน นี้อาหาร เหล่านี้เสื้อหา นี่ที่นอน 

บางตัวเทวนาครีไม่ค่อยชัด ;)

วรฺธมานมฺ ฤณํ ราชนฺ ปริภูตาศฺ จ ศตฺรวะ.

ชนยนฺติ ภยํ ตีวฺรํ วฺยาธยศฺ จ อปิ อุเปกฺษิตาะ.

(ราชนฺ) ข้าแต่พระราชา, (วรฺธมานมฺ ฤณํ) หนี้ที่เพิ่มขึ้น และ (ปริภูตาศฺ จ ศตฺรวะ) ศัตรูทั้งหลายที่ถูกดูหมิ่น 

และไข้(วยาธิ) แม้ที่ถูกทอดทิ้งไว้ (อุเปกฺษิตาะ) ย่อมก่อให้เกิด (ชนยนฺติ) ภัยอันใหญ่หลวง (ภยํ ตีวฺรํ)

พยายามหาประธาน กริยา กรรม ก็พอจะแปลได้ครับ

ควรท่องประโยคแบบฝึกหัดเหล่านี้ไว้ เผื่อคราวหน้าจะได้นึกออก

๑. จงให้ยาโดยไวแก่ผู้ป่วยเหล่านี้ (ใช้ กริยาย่อย อดีต กรรมวาจกของ ตฺวรฺ) = เอภฺโย วฺยาธิเตภฺย เอาษธํ ตูรฺณํ ยจฺฉ

๒. นี้คือ เขาไกลาสแห่งนั้น ที่พระศิวะอาศัยข้างบน (แปลงเป็นประโยค ยะ ตะ เสียก่อน) = โย คิโร ศิว อุป วสติ, สะ ไกลาโส'ยมฺ

๓. เพื่อจะบรรลุ (ลาภ สัมประทานการก) ถึงโลกนี้และโลกนั้น (ใช้สัมพันธการก) นักบวชจะถวายการสังเวยสำหรับฉัน (ใช้ ยชฺ บอกเหตุ.) = โลกาย จสฺมายมุษฺไม , พฺรหฺมจรฺยํ เท ยาชยติ

๔. ดอกไม้ทั้งหลายในพวงมาลัยทั้งหลายของสตรีเหล่านี้เหี่ยว = อาสำ สฺตฺรีณำ สฺรชฺสุ มิลานาะ สุมนำสิ

๕. โดยพระราชาองค์นั้น ผู้ได้รับการสรรเสริญแล้วจากเรา เรายินดีแล้วกับอัญมณีเหล่านี้ = แต่งไม่ถูกค่ะ

๖. ชาวนาเทียมโคอ้วนสองตัวเข้ากับคันไถแล้ว = หเลน กฺฤษกะ ปีเนา คาวาวโยชยตฺ

๗. พราหมณ์ผู้มีความรู้ผุดขึ้นแล้ว (กริยาย่อย อดีต กรรมวาจก) จากน้ำ = อทฺภฺโย'ธีโต พฺรหฺมจรฺย อุตฺตีรฺณะ

๘. พระราชินีเสด็จมาที่นี่ (กริยาย่อย อดีต กรรมวาจก) = อิยํ เทวฺยาคตะ

๙. สร้อยแห่งไข่มุกทั้งหลายห้อย (กริยาย่อย อดีต กรรมวาจก) บนคอของสาวผู้นี้ = กณฺฐยสฺยา กนฺยายำ มุกฺตาภฺโย ไคฺรเวยกำ ลคตํ

๑๐. บาปใดบุคคลผู้หมดตัวไม่ได้กระทำ? = แต่งไม่ถูกค่ะ

๑๑. สวนนี้เต็มไปด้วยหญิงชายทั้งหลาย = แต่งไม่ถูกค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท