ภาษาสันสกฤตอย่างง่าย บทที่ 43


บทนี้จะว่าด้วยการแจกนามอปกติ หลายตัว ซึ่งพบได้บ่อยในวรรณคดีสันสกฤตแบบแผน ผู้ที่เพิ่งเรียนไวยากรณ์สันสกฤตอาจรู้สึกว่ามีคำแจกรูปนอกแบบจำนวนมากเหลือเกิน แต่หากได้เรียนไวยากรณ์พระเวทแล้ว จะพบว่ามีความหลากหลายกว่านี้หลายเท่า ดังนั้น เรียนไปเถอะ อย่าบ่นเลย อิอิ อุอุ

(โปรดสังเกต เครื่องหมายเน้นเสียงด้วย)

1. อมฺพา (ambā́) ส. แปลว่า แม่ รูปพิเศษคือ อาลปนะ ใช้ว่า อมฺพ

2. สขิ (sákhi) ปุ. แปลว่าเพื่อน คำนี้มีรูปพิลึกพิลั่นมาก คงจะมีหลายเค้ามาก่อน แจกรูปดังนี้

पुमान् एकः द्वौ बहवः
प्रथमा सखा सखायौ | सखाया सखायः
सम्बोधनम् सखे सखायौ सखायः
द्वितीया सखायम् सखायौ सखीन्
तृतीया सख्या सखिभ्याम् सखिभिः
चतुर्थी सख्ये सखिभ्याम् सखिभ्यः
पञ्चमी सख्युः सखिभ्याम् सखिभ्यः
षष्ठी सख्युः सख्योः सखीनाम्
सप्तमी सख्यौ सख्योः सखिषु

โปรดสังเกตว่า สขิ แจกรูปคล้าย อา และ อิ การานตฺ แต่ก็มีผิดเพี้ยนไป ลองพิจารณา ว่าวิภักติไหน คล้ายเค้าไหน ทบทวนความจำนะครับ

นอกจากนี้ยังมีคำว่า ปติ (páti) ปุ. แปลว่า เจ้า เจ้านาย จะแจกปกติ (แบบเดียวกับ อคฺนิ). แต่เมื่อแปลว่า สามี จะแจกแบบ สขิ นี้

(ให้ลองแจกดูนะครับ)

3. นามนปุงสกลิงค์ ต่อไปนี้ มีรูปอ่อนเฉพาะตัว

อกฺษนฺ (akṣán) หรือ อกฺษิ (ákṣi) ดวงตา. >

อสฺถนฺ (asthán) หรือ อสฺถิ (ásthi) กระดูก. >

ทธนฺ (dadhán) หรือ ทธิ (dádhi) นมเปรี้ยวหรือลิ่มนม. >

สกฺถิ (sakthán) หรือ สกฺถนฺ (sákthi)ขาอ่อน. >

(โปรดสังเกตเสียงเน้น จะย้ายที่)

บางตำราถือว่าเค้าเดิมคือรูป อิ, บางเล่มก็ว่า ถ้าเดิมเป็นรูป อนฺ การแจกรูปนามเหล่านี้ วิภักติที่ 3-7 เอกพจน์ จะใช้เค้าอ่อน (อกฺษฺณฺ, อสฺถฺนฺ, ทธฺนฺ, สกฺถฺนฺ) ที่เหลือจะใช้เค้า ที่มี -อิ  ยกตัวอย่าง อกฺษนฺ

नपुंसकम् एकः द्वौ बहवः
प्रथमा अक्षि अक्षी | अक्षिणी अक्षीणी
सम्बोधनम् अक्षे अक्षी | अक्षिणी अक्षीणी
द्वितीया अक्षि अक्षी | अक्षिणी अक्षीणी | अक्षाणी
तृतीया अक्ष्णा अक्षिभ्याम् अक्षिभिः
चतुर्थी अक्ष्णे अक्षिभ्याम् अक्षिभ्यः
पञ्चमी अक्ष्णः अक्षिभ्याम् अक्षिभ्यः
षष्ठी अक्ष्णः अक्ष्णोः अक्ष्णाम्
सप्तमी अक्ष्णि | अक्षणि अक्ष्णोः अक्षिषु

4. ลกฺษฺมี (lakṣmī́) ส. พระนางลักษมี  แจกพิเศษเฉพาะ กรรตุการก เอกพจน์ เป็น ลกฺษฺมีสฺ

5. สฺตฺรี (strī́) ส. ผู้หญิง แจกรูปพิเศษ เพราะมีหลายเค้า จำผังไปเลยก็แล้วกัน

त्रीः एकः द्वौ बहवः
प्रथमा स्त्री स्त्रियौ स्त्रियः
सम्बोधनम् स्त्रि स्त्रियौ स्त्रियः
द्वितीया स्त्रीम् | स्त्रियम् स्त्रियौ स्त्रीः | स्त्रियः
तृतीया स्त्रिया स्त्रीभ्याम् स्त्रीभिः
चतुर्थी स्त्रियै स्त्रीभ्याम् स्त्रीभ्यः
पञ्चमी स्त्रियाः स्त्रीभ्याम् स्त्रीभ्यः
षष्ठी स्त्रियाः स्त्रियोः स्त्रीणाम्
सप्तमी स्त्रियाम् स्त्रियोः स्त्रीषु

 

6. อปฺ (áp) ส. น้ำ ศัพท์นี้แจกเฉพาะพหูพจน์ และเปลี่ยน ปฺ เป็น ทฺ เมื่ออยู่หน้า ภฺ ส่วน กรรตุการก พหุ แจกพิเศษเป็น อาปสฺ ที่เหลืองก็ได้แก่ อปสฺ, อทฺภิสฺ, อทฺภฺยสฺ, อปามฺ, อปฺสุ

स्त्रीः एकः द्वौ बहवः
प्रथमा     आपः
सम्बोधनम्     आपः
द्वितीया     अपः
तृतीया     अद्भिः
चतुर्थी     अद्भ्यः
पञ्चमी     अद्भ्यः
षष्ठी     अपाम्
सप्तमी     अप्सु

7. ทิวฺ (dív) ส. ท้องฟ้า (ภาษาเก่าใช้เป็น ปุลลิงค์) แจกยุ่งยากเหมือนกัน (บ้างก็ว่าเค้าเดิมคือ ทฺเยา) แจกพิเศษ กรรตุ เอก. ทฺเยาสฺ ทวิ. ทฺยาเวา พหุ.ทฺยาวสฺ (ก็มี). ปกติในการแจก เค้าคือ ทิวฺ. หากอยู่หน้าวิภักติพยัญชนะ เค้าจะเป็น ทฺยุ. เช่น กรรม. เอก. ทิวมฺ, กรรตุ/กรรม. พหุ. ทิวสฺ, กรณ.พหุ. ทฺยุภิสฺ (การกและพจน์อื่นๆ ไม่ปรากฏ). หมายเหตุ. คำนี้อย่าสับสนกับธาตุ ทิวฺ 

स्त्रीः एकः द्वौ बहवः
प्रथमा द्यौः द्यावौ | दिवौ द्यावः | दिवः
सम्बोधनम् द्यौः   दिवः
द्वितीया द्याम् | दिवम् द्यावौ | दिवौ दिवः
तृतीया दिवा   द्युभिः
चतुर्थी द्यवे | दिवे   द्युभ्यः
पञ्चमी द्योः | दिवः   द्युभ्यः
षष्ठी द्योः | दिवः   दिवाम्
सप्तमी द्यवि | दिवि   द्युषु

8. ศัพท์ ไร (raí) ปุ. (มีบ้างที่เป็น ส.) ความมั่งคั่ง, สมบัติ. แจกพิเศษ เอกพจน์ เป็น ราสฺ รายมฺ รายา ราเย รายสฺ รายิ. ทวิพจน์ แจก ราเยา ราภฺยามฺ, พหุ รายสฺ ราภิสฺ เป็นต้น (ที่่เหลือลองแจกเอง)

9. ศัพท์ อนฑฺวหฺ anaḍvah หรือ อนฑุหฺ anaḍúh (จาก อนสฺ + วหฺ การลากเกวียน) ปุ. โคตัวผู้ (ox) เค้าแข็งคือ อนฑฺวาหฺ เค้ากลาง อนฑุทฺ และเค้าอ่อน อนฑุหฺ การแจก กรรตุการก อนฑฺวานฺ, อาลปนะ อนฑฺวนฺ

पुमान् एकः द्वौ बहवः
प्रथमा अनड्वान् अनड्वाहौ अनड्वाहः
सम्बोधनम् अनड्वन् अनड्वाहौ अनड्वाहः
द्वितीया अनड्वाहम् अनड्वाहौ अनडुहः
तृतीया अनडुहा अनडुद्भ्याम् अनडुद्भिः
चतुर्थी अनडुहे अनडुद्भ्याम् अनडुद्भ्यः
पञ्चमी अनडुहः अनडुद्भ्याम् अनडुद्भ्यः
षष्ठी अनडुहः अनडुहोः अनडुहाम्
सप्तमी अनडुहि अनडुहोः अनडुत्सु

10. ศัพท์ ปนฺถนฺ pánthan ปุ. ถนน, ทาง ใช้เค้าแข็งทั้งหมด (ไม่ลดรูป แต่แยกเค้า) วิภักติที่แจกพิเศษคือ กรรตุ.เอก. ปนฺถาสฺ. วิภักติพยัญชนะ ใช้เค้า ปถิ, วิภักติสระ ใช้เค้า ปถฺ เช่น ปนฺถานมฺ, ปเถ ปถสฺ, ปถิภฺยามฺ. [สำหรับคำว่า มนฺถนฺ ปุ. ไม้กวน และ ฤภุกฺษนฺ ปุ. พระนามของพระอินทร์ ให้แจกตามแบบ ปนุถนฺ นี้]

11. ศัพท์ ปุํสฺ ปุ. ผู้ชาย แจกพิเศษมาก มีเค้าแข็ง คือ ปุมำสฺ, กลาง ปุมฺ และ อ่อน ปุํสฺ. ตัวอย่างการแจก เอกพจน์ ปุมานฺ, ปุมำสมฺ, ปุสา ฯลฯ อาลปนะ ปุมนฺ, ทวิพจน์ ปุมำเสา, ปุมฺภฺยามฺ, ปุํโสสฺ, พหุพจน์, ปุมำสฺ, ปุํสสฺ, ปุมฺภิสฺ, ... ปุํสุ.

पुमान् एकः द्वौ बहवः
प्रथमा पुमान् पुमांसौ पुमांसः
सम्बोधनम् पुमन् पुमांसौ पुमांसः
द्वितीया पुमांसम् पुमांसौ पुंसः
तृतीया पुंसा पुम्भ्याम् पुम्भिः
चतुर्थी पुंसे पुम्भ्याम् पुम्भ्यः
पञ्चमी पुंसः पुम्भ्याम् पुम्भ्यः
षष्ठी पुंसः पुंसोः पुंसाम्
सप्तमी पुंसि पुंसोः पुंसु

12. ศัพท์ ชรา járā́ ส. ความแก่ อาจใช้ตัวแทนที่สร้างจากรูปที่มีสระการานต์ จาก ชรสฺ เช่น ชรยา หรือ ชรสา

13. ศัพท์ หฺฤทฺ hṛ́d นปุ. หัวใจ ไม่แจก กรรตุ. อาลปนะ หรือ กรรมวาจก. (ยกเว้นในสมาส) หากแจกในวิภักติทั้งสามนั้น ใช้รูป หฺฤทย นปุ.

नपुंसकम् एकः द्वौ बहवः
प्रथमा      
सम्बोधनम्      
द्वितीया     हृदः
तृतीया हृदा हृद्भ्याम् हृद्भिः
चतुर्थी हृदे हृद्भ्याम् हृद्भ्यः
पञ्चमी हृदः हृद्भ्याम् हृद्भ्यः
षष्ठी हृदः हृदोः हृदाम्
सप्तमी हृदि हृदोः हृत्सु

14. ศัพท์ ปทฺ ปุ. เท้า จะได้รูป ปาทฺ ในเค้าแข็ง และเค้ากลางในสมาสด้วย. ตัวอย่างการแจก กรรตุ.เอก. ปาทฺ, กรรม. ปาทมฺ, กรณ. ปทา ฯลฯ ส่วนในสมาส จาก ทฺวิปทฺ (มีสองเท้า) กรรม.เอก. ทฺวิปาทมฺ กรรม.พหุ. ทฺวิปทสฺ, กรณ.พหุ. ทฺวิปาทฺภิสฺ [เค้าปาท ปุ. เท้า มีการแจกครบวิภักติ ในอะการานต์]

15. ศัพท์ หนฺ “ฆ่า” เมื่อเป็นส่วนท้ายของสมาส จะได้ –หา ใน กรรตุ.เอก. และ นฺ หายไปในเค้ากลาง, อ หายไปในเค้าอ่อน. (สำหรับอธิกรณ. เอก. ไม่ลดเสียง อะ ก็ได้) ทีนี้ เมื่อ อ หายไป หฺ กับ นฺ ชิดกัน จะแปลงกลับไ-ปสู่รูปเดิมคือ ฆฺนฺ {ศัพท์นี้ เชื่อว่าเดิมคือ ฆนฺ ghan แต่ในสมัยหลัง แยกเป็นสองรูป คือ ghan และ han <เสียง g หายไป> อันเป็นเรื่องของภาษาศาสตร์เชิงประวัติ ซึ่งจะพบในการแจกธาตุ ฆนฺ ตัวนี้} เช่น พฺรหฺมหนฺ ปุ. การฆ่าพราหมณ์ รูป กรรตุ.เอก. คือ พฺรหฺมหา, กรรม.เอก. พฺรหฺมหณมฺ กรณ.เอก. พฺรหฺมฆฺนาฯลฯ [หากมี เสียงคอ หครือ ริมฝีปากคั่น น จะไม่เปลี่ยนเป็น ณ] อธิกรณ.เอก. พฺรหฺมฆฺนิ หรือ หฺรหฺมหณิ, อาลปนะ. พฺรหฺมนฺ. ทวิพจน์ พฺรหฺมหเณา, พฺรหฺมหภฺยามฺ ฯลฯ พหุพจน์ กรรตุ. พฺรหฺมหณสฺ, กรรม. พฺรหฺมฆฺนสฺ ฯลฯ

16. ศัพท์ ปูษนฺ ปุ. (ชื่อเฉพาะ) และ อรฺยมนฺ ปุ. (ชื่อเฉพาะ) ทั้งสองเป็นนามของดวงอาทิตย์ กรรตุ.เอก. ใช้ยืดเสียง อะ อา แล้วลบ นฺ ทิ้ง ส่วนวิภักติอื่นๆ คงเดิม เช่น ปูษา. กรรตุ. ปูษณมฺ กรรม. ปูษฺณา (เค้าคือ ปูษฺณฺ) กรฺณ.

 

ศัพท์

ธาตุ

  • √ฤ ไป. บอกเหตุ (arpayati) ส่ง, วาง, ยื่นมือ, ให้
  • √คุหฺ (guhati). บอกเหตุ guhayati ซ่อน
  • √ตฺฤปฺ ตฺฤปฺยติ ยินดี หรือพอใจ, ทำให้ตัวเองพอใจ
  • √ลปฺ + วิ (วิลปติ) บ่น, ตำหนิ

นาม

  • อกฺษนฺ akṣan (อกฺษิ ákṣi) นปุ. ดวงตา
  • อทฺโรห adroha ปุ. ความซื่อสัตย์
  • อสุร ásura ปุ. อสูร
  • จิตฺต cittá นปุ. ความคิด จิตใจ ข้อสังเกต
  • เทวตา devátā ส. เทวดา
  • ทธฺยญฺจฺ dadhyáñc (รูปอ่อนใช้ ทธีจฺ) ปุ. ชื่อเฉพาะในพระเวท
  • ปทฺ pád ปุ. เท้า
  • ปาลน pālana นปุ. การคุ้มครอง
  • มานว mānavá ปุ. มนุษย์, คน
  • วฺรต vratá นปุ. หน้าที่ คำสาบาน

คุณศัพท์

  • กาณ kāṇá ปุ.นปุ. กาณา ส. ผู้มีตาเดียว (ตาบอดข้างเดียว)
  • จตุษฺปทฺ cátuṣpad มีสี่เท้า (เค้าเดียวกันทุกเพศ) สัตว์สี่เท้า
  • ทฺวิปทฺ dvipád ปุ. มีสองเท้า, สัตว์สองเท้า
  • นิยต yata ปุ.นปุ, นิยตา ส.(กริยาย่อยของ นิ-ยมฺ) คงที่ ถาวร
  • ศิว śivá ปุ.นปุ. ศิวา ส. เมตตา เอื้อเฟื้อ เป็นมงคล

 แบบฝึกหัด

1. แปลสันสกฤตเป็นไทย

2. แปลไทยเป็นสันสกฤต

  1. การประชุมของเหล่าชายและหญิงเกิดขึ้นแล้วบนถนน
  2. ในพระเวท พวกเขาเรียกดวงอาทิตย์ว่า ปูษนฺ มิตฺร (ปุ.) อรฺยมนฺ และสวิตฺฤ
  3. น้ำก็ถูกนับ (ใช้ คณย กรรมวาจก) ในบรรดาเทวดาทั้งหลาย ในบทสวดฤคเวท (ฤจสฺ) และในยชุรเวท (ยชุสฺ นปุ.)
  4. ข้าแต่พระศิวะ โปรดจงเมตตา ต่อสัตว์สองเท้า และสัตว์สี่เท้า (พหูพจน์)
  5. ความคิดของฤษีทั้งหลาย ก็คือ (ใช้ อิติ) ไฟถูกพบในน้ำ (ใช้ วฺฤตฺ)
  6. อสูรถูกสังหารแล้วโดยมฆวัน ด้วยกระดูกของ ทัธยัญจ์
  7. ใครรู้จักหนทางแห่งลม? (แต่งเป็นกรรมวาจก)
  8. ดูก่อน มารดา, จงทำให้ลูกพอใจ (ตฺฤปฺ บอกเหตุ) กับนมเปรี้ยว
  9. จงนำอาหาร (ใช้ อา-นี บอกเหตุ. พหุ.) จากบ้านของเพื่อนเรา
  10. เหล่ามรุตเป็นเพื่อนของมฆวัน
หมายเลขบันทึก: 556946เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2013 20:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 ธันวาคม 2013 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)

เคยคิดจะเรียนย้อนหลังตั้งแต่บทที่ 1 แต่ไม่มีพื้นฐานแม้แต่น้อยนิดจึงจอดตั้งแต่บทที่หนึ่งค่ะ

ถึงบทที่ 43 แล้วเหรอครับ ผมยังจอดอยู่ที่บทที่หนึ่งเหมือนกันครับ

เย้ๆ ขอบพระคุณสำหรับบทเรียนคร้าา

ท่านอาจารย์ หายไปไหนนานเลย นะคะ ตามมาให้กำลังใจค่ะ

สวัสดีครับ

ขอบคุณที่ติดตามครับ

สงสัยผมต้องไปขยายความบทที่ 1 ซะแล้ว ;)

พี่ขอชมอย่างเดียวนะคะ ไม่คิดว่าพี่จะสามารถเรียนได้ค่ะ ไม่ง่ายเลยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

มาสวัสดีปีใหม่ค่ะ สุขกายสุขใจ สุขภาพแข็งแรงนะคะ

ปตฺเยา ภกฺติรฺกฺรตํ สฺพีณามทฺรีหี มนฺพิณำ วรฺตมฺ
ปฺรชานำ ปาลนํ ไจว นิยตํ ภูภฺฤตำ วรฺตมฺ
1.) พลวนฺตาวน..เหา ลางฺคลํ วไหตามฺ
2.) ศิวาสฺเต ปนฺยานะ
3.)ล.. มีรฺวิ.. รฺภารฺยา
4.).. ปุภานฺปรํ พฺรหฺม ธฺยายติ
5.)พา.. ชคทชยตฺ
6.) เกน ปถา ภวานฺสรฺวยา สหาคจฺฉตฺ
7.)ปทา มามสฺปฺฤศตฺสรฺวา
8.)ปุมฺภิะ สห สฺพีราคมยทฺราชา
9.)เห ยุวนฺปนฺถานํ เม ทรฺศย
10.) อ .. ปาเทา.. ลยตฺเยษ ปริวฺราฎฺ
11.) สฺโพ ปตฺเย.. ปกาณยรฺปยติ
12.)..โย น กิํจิตฺปศฺยติ ตํ กาณำ วทนฺติ
13.) ทฺเยาะ ปิตา ปฺฤถิวี จ มาตา โว ร..
14.).. ปุมำโส .. ปาปํ คูหยนฺติ
15.) พฺรหฺม.. น สฎภาเษต น จ ตมธฺยาปเยทฺยาชเยทฺทา
16.) อสุเรภฺโย ภยา.. นวา.. เทวตาะ ปาลนํ ปฺรารฺถยนฺต ตาภิ ศิวาภิะ ปาปา อสุรา อธาตฺยนฺต
17.)มหานุทีจำมฺ ราชา ทริทฺเระ ปถิ ติ.. ศิษฺไยะ สํภาษมาณาสฺเตภฺโย ภิ.. ยจฺฉติ

ปตฺเยา ภกฺติรฺวกฺรตํ สฺตฺรีณามทฺโรโห มนฺตฺริณำ วรฺตมฺ ฯ

ปฺรชานำ ปาลนํ ไจว นิยตํ ภูภฺฤตำ วรฺตมฺ ฯ
1.) พลวนฺตาวนฑฺวาเหา ลางฺคลํ วเหตามฺ ฯ
2.) ศิวาสฺเต ปนฺถานะ ฯ
3.) ลกฺษฺมีรฺวิษฺโณรฺภารฺยา ฯ
4.) หฺฤทฺเยษ ปุมานฺปรํ พฺรหฺม ธฺยายติ ฯ
5.) พาหฺุภฺยำ ภูภฺฤกฺฤตฺสฺนํ ชคทฺชยตฺ ฯ

วานฺสขฺยา สหาคจฺฉตฺ ฯ
7.) ปทา มามสฺปฺฤศตฺสขา ฯ
8.) ปุมฺภิะ สห สฺตฺรีราคมยทฺราชา ฯ
9.) เห ยุวนฺปนฺถานํ เม ทรฺศย ฯ
10.) อทฺภิะ ปาเทา กฺษาลยตฺเยษ ปริวฺราฏ ฯ
11.) สฺตฺรี ปตฺเย รูปกาณฺยรฺปยติ ฯ
12.) เอเกนากฺษฺณา โย น กิํจิตฺปศฺยติ ตํ กาณำ วทนฺติ ฯ
13.) ทฺเยาะ ปิตา ปฺฤถิวี จ มาตา โว รกฺษตามฺ ฯ
14.) เอเต ปุมำโส หฺฤทเยษุ ปาปํ คูหยนฺติ ฯ
15.) พฺรหฺมฆฺนา น สํภาเษต น จ ตมธฺยาปเยทฺยาชเยทฺวา ฯ
16.) อสุเรภฺโย ภยาทฺนานวา เทวตาะ ปาลนํ ปฺรารฺถยนฺต ตาภิศฺจ ศิวาภิะ ปาปา อสุรา อฆาตฺยนฺต ฯ
17.)มหานุทีจำมฺ ราชา ทริทฺไระ ปถิ ติษฺฐทฺภิะ ศิษฺไยะ สํภาษมาณสฺเตภฺโย ภิกฺษำ ยจฺฉติ ฯ

๖. เกน ปถา ภวานฺสขฺยา สหาคจฺฉตฺ ฯ

  • 1.) พลวนฺตาวนฑฺวาเหา ลางฺคลํ วเหตามฺ ฯ = อันโคตัวผู้สองตัวที่ทรงพลัง (พลวนฺตาวฺนฑฺวาเหา) ได้พาไปแล้ว (วเหตามฺ) ซึ่งคันไถ (ลางฺคลํ)
  • 2.) ศิวาสฺเต ปนฺถานะ ฯ=ถนนทั้งหลาย (ปนฺถานะ)ของท่าน(เต) เป็นมงคล (ศิวาสฺ )
  • 3.) ลกฺษฺมีรฺวิษฺโณรฺภารฺยา ฯ = พระลักษมี (ลกฺษมีรฺ ) เป็นชายา(ภารฺยา ) ของพระวิษณุ (วิษฺโณรฺ )
  • 4.) หฺฤทฺเยษ ปุมานฺปรํ พฺรหฺม ธฺยายติ ฯ =ผู้ชาย (ปุมานฺ )ครุ่นคิด (ธฺยายติ) ถึงพระพรหมผู้สูงสุด (ปรํ พฺรหฺม) ในใจนี้(หฺฤทฺเยษ ) #อันนี้เดาเอา หาดูสรรพนามแล้ว ทำไมไม่พบรูป เอษ เลยค่ะ มันก็คือ เอต=สิ่งนี้ ใช่ไหม ดูแล้วไม่เจอค่ะ
  • 5.) พาหุภฺยำ ภูภฺฤกฺฤตฺสฺนํ ชคทฺชยตฺ = พระราชา (ภูภฺฤ) ทรงได้ชนะแล้ว (ชยตฺ) ซึ่งสิ่งมีชีวิตทั้งปวง(กฺฤตฺสฺนํชคทฺ)ด้วยพระหัตถ์ทั้งสอง (พาหุภฺยามฺ) #ข้อนี้งง ภูภฺฤ มันรูปไหนคะ เดาเอา และครูบอกว่า กฺฤตฺสฺนํ ขยาย ชคทฺ หนูดูแล้วสำหรับ ชคตฺ ไม่ว่าจะแปลว่าสิ่งมีชิวิตหรือโลกก็จะเป็นคำนามเพศกลางทั้งคู่ แต่ทำไมในประโยคแจกรูปไม่ตรงกัน เลยแปลแปลกๆค่ะ

ข้อ 4 ที่หนูหา ''เอษ'' ไม่พบ คิดว่าเป็นเพราะข้อยกเว้นหรือเปล่าคะ

คือสำหรับเพศชาย กรรตุ เอก ทั้ง สสฺ และ เอษสฺ ในกรณีที่นำหน้าพยัญชนะจะต้องลบ สฺ ทิ้งไป เหลือเพียง ส กับ เอษ แต่ปัญหาคือ ทำไมในตารางของหนู ไม่มีอันไหนแจก เอษสฺ เลยค่ะ เอ๊ะ..หรือหนูแจกรูปผิด

(เอต - สิ่งนี้ คนนี้, สิ่งนั้น คนนั้น) กรรตุ --> เอษษฺ- เอเตา - เอตา, กรรมตรง เอตมฺ - เอเตา - เอตานฺ

ถูกไหมคะ..?

หฺฤทิ ในใจ, เอษสฺ นี้, ปุมานฺ บุรุษ, ปรํ พฺรหฺม พรหมันสูงสุด, ธฺยายติ ครุ่นคิด

เอษสฺ หน้าพยัญชนะ กลายเป็น เอษ

  • 6.)เกน ปถา ภวานฺสขฺยา สหาคจฺฉตฺ = ท่าน (ภวานฺ) ได้ไปแล้ว (อคจฺฉตฺ) ด้วยทางถนน (ปถา) พร้อมกับเพื่อนคนไหน ? (สห - เกน -สขฺยา)
  • 7.)ปทา มามสฺปฺฤศตฺสขา = อันนี้หา มาม ไม่ได้ค่ะ..^-^
  • 8.)ปุมฺภิะ สห สฺตฺรีราคมยทฺราชา = ข้อนี้ติดอยู่ตรงนี้ตรงเดียวเท่านั้น ''สฺตฺรีราคมยทฺ'' หนูแยกออกมาได้เป็น สฺตฺรีสฺ อาคมยตฺ คิดว่ามาจากธาตุ √คมฺ+อา หมวดหนึ่ง แปลว่า มา ในที่นี้เป็นกรรมวาจกหรือเปล่าคะ เห็นลง ย แต่ปัจจุบันกาลกรรมวาจกก็น่าจะแจกเป็นอาตมเนบทสิคะ ลองหาดูแล้วไม่มี งงไปหมดเลย
  • 9.)เห ยุวนฺปนฺถานํเม ทรฺศย =โอ้ ท่านผู้น้อย (เห ยุวนฺ) เจ้าจงมอง (ทรฺศย) ไปยังทางนั้น (ปนฺถานํ) ของฉัน (เม)
  • 10.)อทฺภิะปาเทา กฺษาลยตฺเยษ ปริวฺราฎฺ= นักบวช (ปริวฺราฎ) คนนี้ (เอษสฺ) ล้าง(กฺษาลยติ) เท้าทั้งคู่ (ปาเทา) ด้วยน้ำทั้งหลาย (อทฺภิสฺ)

11.)สฺตฺรี ปตฺเย รูปกาณยรฺปยติ= แม่หญิง (สฺตฺรี) ยื่น(อรฺปยติ) ชิ้นทองคำทั้งหลาย(รูปกาณิ) ให้แก่สามี (ปตฺเย)
12.)เอเกนากฺษฺณา โย น กํจิตฺปศฺยติ ตํ กาณำ วทนฺติ = ข้อนี้แยกสนธิได้แต่แปลไม่รู้เรื่องเลยค่ะ --> เอเกน อกฺษฺณา ยสฺ น กิมฺ จิตฺ ปศฺยติ ตมฺ กาณำ วทนฺติ
13.)ทฺเยาะ ปิตา ปฺฤถิวี จ มาตา โว รกฺษตามฺ =ขอท้องฟ้า (ทฺเยาะ) อันเปรียบเสมือนบิดา(ปิตา) และ (จ) แผ่นดินโลก(ปฺฤถิวี) อันเปรียบเสมือนมารดา (มาตา) จงคุ้มครอง (รกฺษตามฺ) ท่านทั้งหลาย (โว)
14.) เอเต ปุมำโส หฺฤทเยษ ปาปํ คูหยนฺติ = ชายทั้งหลายนั้น (เอเต –ปุมำโส) ซ่อน (คูหยนฺติ) บาป (ปาปํ) ไว้ในใจนี้ (หฺฤทิ -เอษสฺ)

15.) พฺรหฺมฆฺนา น สํภาเษต น จ ตมธฺยาปเยทฺยาชเยทฺวา ฯ
16.) อสุเรภฺโย ภยาทฺนานวา เทวตาะ ปาลนํ ปฺรารฺถยนฺต ตาภิศฺจ ศิวาภิะ ปาปา อสุรา อฆาตฺยนฺต ฯ
17.)มหานุทีจำมฺ ราชา ทริทฺไระ ปถิ ติษฺฐทฺภิะ ศิษฺไยะ สํภาษมาณสฺเตภฺโย ภิกฺษำ ยจฺฉติ ฯ

สามข้อนี้แปลไม่รู้เรื่องเลยค่ะ

  1. การประชุมของเหล่าชายและหญิงเกิดขึ้นแล้วบนถนน = ปนฺถฺนิ ปุสำ สฺตฺรีณำ จ ตฺวษฺฎา ภวตฺ
  2. ในพระเวท พวกเขาเรียกดวงอาทิตย์ว่า ปูษนฺ มิตฺร (ปุ.) อรฺยมนฺ และสวิตฺฤ = ทธีเจทิตฺยมิติ ปูษา มิตฺโร'รฺยมา สวิตา หฺวยนฺติ
  3. น้ำก็ถูกนับ (ใช้ คณย กรรมวาจก) ในบรรดาเทวดาทั้งหลาย ในบทสวดฤคเวท (ฤจสฺ) และในยชุรเวท (ยชุสฺ นปุ.) = เทวตาสฺวาโป ฤจสิ ยชุสิจ คณยเต
  4. ข้าแต่พระศิวะ โปรดจงเมตตา ต่อสัตว์สองเท้า และสัตว์สี่เท้า (พหูพจน์) = เห ศิว ศิว จตุษฺปทฺภฺโย ทฺวิปทฺภฺยศฺจ
  5. ความคิดของฤษีทั้งหลาย ก็คือ (ใช้ อิติ) ไฟถูกพบในน้ำ (ใช้ วฺฤตฺ) = ฤษีณำ จิตฺตานฺยิตฺยปฺสฺวคฺนิรฺวฺฤตเต
    1. อสูรถูกสังหารแล้วโดยมฆวัน ด้วยกระดูกของ ทัธยัญจ์ = มฆวาสุโร ทธีโจ'สฺถนา มารฺยเต
  6. ใครรู้จักหนทางแห่งลม? (แต่งเป็นกรรมวาจก) = กิํ ปนฺถานํ วาตสฺย ชานาติ
  7. ดูก่อน มารดา, จงทำให้ลูกพอใจ (ตฺฤปฺ บอกเหตุ) กับนมเปรี้ยว = เห มาตฺร ทธนฺนาตฺฤปย
  8. จงนำอาหาร (ใช้ อา-นี บอกเหตุ. พหุ.) จากบ้านของเพื่อนเรา = มม มิตฺรสฺย โภชนํ คฺฤหาทานยนฺตุ
  9. เหล่ามรุตเป็นเพื่อนของมฆวัน = มรุโต มโฆนะ สขา

1.) พลวนฺตาวนฑฺวาเหา ลางฺคลํ วเหตามฺ ฯ = อันโคตัวผู้สองตัวที่ทรงพลัง (พลวนฺตาวฺนฑฺวาเหา) ได้พาไปแล้ว (วเหตามฺ) ซึ่งคันไถ (ลางฺคลํ)

วหฺ + อิตามฺ ควรพา/ลากไป

4.) หฺฤทฺเยษ ปุมานฺปรํ พฺรหฺม ธฺยายติ ฯ =ผู้ชาย (ปุมานฺ )ครุ่นคิด (ธฺยายติ) ถึงพระพรหมผู้สูงสุด (ปรํ พฺรหฺม) ในใจนี้(หฺฤทฺเยษ ) #อันนี้เดาเอา หาดูสรรพนามแล้ว ทำไมไม่พบรูป เอษ เลยค่ะ มันก็คือ เอต=สิ่งนี้ ใช่ไหม ดูแล้วไม่เจอค่ะ

ชายนี้ (เอษสฺ ปุมานฺ) สนธิแล้วเป็น เอษ ปุมานฺ

  • 5.) พาหุภฺยำ ภูภฺฤกฺฤตฺสฺนํ ชคทฺชยตฺ = พระราชา (ภูภฺฤ) ทรงได้ชนะแล้ว (ชยตฺ) ซึ่งสิ่งมีชีวิตทั้งปวง(กฺฤตฺสฺนํชคทฺ)ด้วยพระหัตถ์ทั้งสอง (พาหุภฺยามฺ) #ข้อนี้งง ภูภฺฤ มันรูปไหนคะ เดาเอา และครูบอกว่า กฺฤตฺสฺนํ ขยาย ชคทฺ หนูดูแล้วสำหรับ ชคตฺ ไม่ว่าจะแปลว่าสิ่งมีชิวิตหรือโลกก็จะเป็นคำนามเพศกลางทั้งคู่ แต่ทำไมในประโยคแจกรูปไม่ตรงกัน เลยแปลแปลกๆค่ะ
  • ภูภฺฤตฺ ประธาน เอก. รูปเดียวกับตัวเค้าที่ยังไม่แจก ครูเขียนให้ผิด อิๆๆ มันต้อง ภูภฺฤตฺกฺฤสฺนํ.
  • ชคตฺ แปลว่า โลก ชาวโลก สัตว์โลก, กรรม เอก. แจกแล้วก็เหมือนเดิม. แต่สนธิกับ ชยตฺ ต กลายเป็น ทฺ
  • พวกพยัญชนะการานต์ระวังให้ดี แจกรูปแล้วหน้าตาแปลกออกไปหลายแบบ

6.)เกน ปถา ภวานฺสขฺยา สหาคจฺฉตฺ = ท่าน (ภวานฺ) ได้ไปแล้ว (อคจฺฉตฺ) ด้วยทางถนน (ปถา) พร้อมกับเพื่อนคนไหน ? (สห - เกน -สขฺยา)

เกน เป็นคำถาม โดยสิ่งใด โดยใคร

>ท่าน ไปแล้ว.. พร้อมกับเพื่อนคนใด

7.)ปทา มามสฺปฺฤศตฺสขา = อันนี้หา มาม

มามฺ ฉัน (กรรม)

> เพื่อน สัมผัสข้าพเจ้าแล้ว ด้วยเท้า (เตะ หรือเหยียบ สักอย่าง)

8.)ปุมฺภิะ สห สฺตฺรีราคมยทฺราชา = ข้อนี้ติดอยู่ตรงนี้ตรงเดียวเท่านั้น ''สฺตฺรีราคมยทฺ'' หนูแยกออกมาได้เป็น สฺตฺรีสฺ อาคมยตฺ คิดว่ามาจากธาตุ √คมฺ+อา หมวดหนึ่ง แปลว่า มา ในที่นี้เป็นกรรมวาจกหรือเปล่าคะ เห็นลง ย แต่ปัจจุบันกาลกรรมวาจกก็น่าจะแจกเป็นอาตมเนบทสิคะ ลองหาดูแล้วไม่มี งงไปหมดเลย

>พระราชา ให้สตรีทั้งหลาย (สฺตฺรีสฺ กรรม พหุ.) อาคมยตฺ ให้มาแล้ว (อดีต บอกเหตุ ไม่ใช่กรรม)

พร้อมด้วย (สห) สามีทั้งหลาย (ปุมฺภิสฺ)

9.)เห ยุวนฺปนฺถานํเม ทรฺศย =โอ้ ท่านผู้น้อย (เห ยุวนฺ) เจ้าจงมอง (ทรฺศย) ไปยังทางนั้น (ปนฺถานํ) ของฉัน (เม)

> ทรฺศย แปลว่าจงแสดง ชี้

> ชี้ทางของฉัน คึอ จงบอกทางให้ฉันหน่อย

10.) อทฺภิะ ปาเทา กฺษาลยตฺเยษ ปริวฺราฎฺ= นักบวช (ปริวฺราฎ) คนนี้ (เอษสฺ) ล้าง(กฺษาลยติ) เท้าทั้งคู่ (ปาเทา) ด้วยน้ำทั้งหลาย (อทฺภิสฺ)

> ถูกแล้ว

11. ถูกแล้ว ไม่มีปัญหา

12.)เอเกนากฺษฺณา โย น กํจิตฺปศฺยติ ตํ กาณํ วทนฺติ (ปริวรรตผิดไปตัวหนึ่ง กาณํ) = ข้อนี้แยกสนธิได้แต่แปลไม่รู้เรื่องเลยค่ะ --> เอเกน อกฺษฺณา ยสฺ น กิมฺ จิตฺ ปศฺยติ ตมฺ กาณำ วทนฺติ

โย ผู้ใด น ไม่ ปศฺยติ เห็น กึจิตฺ สิ่งใดๆ (กรรม)

เอเกน อกฺษณา ด้วยดวงตา ข้างเดียว (เอกพจน์)

วทนฺติ (พวกเขาเรียก) ตมฺ คนนั้น (ว่า) กาณํ (คนตาบอดข้างเดียว)

*ข้อนี้ให้ทบทวนอีกที เป็นวิธีการอธิบายศัพท์แบบสันสกฤต

13.)ทฺเยาะ ปิตา ปฺฤถิวี จ มาตา โว รกฺษตามฺ =ขอท้องฟ้า (ทฺเยาะ) อันเปรียบเสมือนบิดา(ปิตา) และ (จ) แผ่นดินโลก(ปฺฤถิวี) อันเปรียบเสมือนมารดา (มาตา) จงคุ้มครอง (รกฺษตามฺ) ท่านทั้งหลาย (โว)

ทฺเยาะ ปิตา, ปฺฤถิวี มาตา นี้เทียบภาษาอังกฤษ Father Sky, Mother Earth เลย

14. ถูกแล้ว

15.) พฺรหฺมฆฺนา น สํภาเษต น จ ตมธฺยาปเยทฺยาชเยทฺวา ฯ

พฺรหฺมฆฺนา น สํภาเษต น จ ตมฺ อธฺยาปเยตฺ (อธิ+อิ บอกเหตุ, ยาชเยตฺ วา ฯ

จงอย่าสนทนากับผู้ฆ่าพราหมณ์ และอย่าสอน หรืออย่าสังเวยให้เขา(ผู้นั้น)

อธิ+อิ (อยู่ในบทที่ 33 http://www.gotoknow.org/posts/519551)

16.) อสุเรภฺโย ภยาทฺมานวา เทวตาะ ปาลนํ ปฺรารฺถยนฺต ตาภิศฺจ ศิวาภิะ ปาปา อสุรา อฆาตฺยนฺต ฯ

อสุเรภฺยสฺ ภยาตฺ มานวาสฺ (ตรงนี้ปริวรรตผิด แก้ น เป็น ม)

จากความกลัว แห่งอสูรทั้งหลาย, มนุษย์ทั้งหลาย

เทวตาะ ปาลนํ ปฺรารฺถยนฺต ร้องขอเทวดา ซึ่งความคุ้มครอง (ปฺร + อรฺถฺ ร้องขอ, ใช้กรรมสองตัว, เทวตา เป็นเพศหญิงอย่าลืม เทวตาสฺ จึงเป็น พหูพจน์ กรรม)

ตาภิศฺ จ ศิวาภิะ ปาปาสฺ อสุราสฺ อฆาตฺยนฺต และอสูรชั่วร้ายทั้งหลายถูกฆ่าแล้วโดยพวกเขาทั้งหลายผู้เมตตา


17.) มหานุทีจำมฺ ราชา ทริทฺไระ ปถิ ติษฺฐทฺภิะ ศิษฺไยะ สํภาษมาณสฺเตภฺโย ภิกฺษำ ยจฺฉติ ฯ

มหานฺ อุทีจำมฺ ราชา / ทริทฺไระ ปถิ ติษฺฐทฺภิะ ศิษฺไยะ / สํภาษมาณสฺ / เตภฺยสฺ ภิกฺษำ ยจฺฉติ ฯ

พระราชาผู้ยิ่งใหญ่แห่งทิศเหนือ ขณะสนทนากับศิษย์ผู้ยากไร้ซึ่งยืนบนถนน

ประทานอาหารแก่พวกเขา

ข้อนี้ การก 4 มีหลายคำ แต่หมายถึงสิ่งเดียวกัน, มี สํภาษมาณสฺ เป็นกริยาย่อยขยาย ราชา (การกเดียวกัน เวลาแปลต้องแยกให้ดี)

ปตฺเยา ภกฺติรฺวรฺตมฺ สฺตฺรีณามทฺโรโห มนฺตฺริณำ วรฺตมฺ

ปฺรชานำ ปาลนํ ไจว นิยตํ ภูภฺฤตำ วรฺตมฺ

ความซื่อสัตย์ของเหล่าสตรีดำรงอยู่ ความภักดีของเหล่ามนตรีก็ดำรงอยู่

และการคุ้มครองของพระเจ้าแผ่นดินก็ย่อมดำรงอยู่ในประชาชนเช่นนั้นล่ะ

ที่งงคือ ปติ --> ปตฺเยา ตกลงแจกเป็นการกไหน เคสหนึ่งสองสาม ทวิพจน์ ?

ปตฺเยา ภกฺติรฺวฺรตํ สฺตฺรีณามทฺโรโห มนฺตฺริณำ วฺรตมฺ
ปฺรชานำ ปาลนํ ไจว นิยตํ ภูภฺฤตำ วฺรตมฺ

ความภักตีในสามี (ปติ เคส 7) (เป็น)หน้าที่(วฺรต - พรต) ของเหล่าสตรี (ภรรยา)
ความซื่อสัตย์(เป็น)หน้าที่ของเหล่ามนตรี

ดูข้อ 2 ข้างบนนะครับ

ปติ ปุ. ปกติแจกแบบ อคฺนิ แปลว่าเจ้านาย, แต่ถ้าแปลว่าสามี จะแจกแบบ สขิ

1. การประชุมของเหล่าชายและหญิงเกิดขึ้นแล้วบนถนน = ปนฺถฺนิ ปุสำ สฺตฺรีณำ จ ตฺวษฺฎา ภวตฺ
การประชุมใช้ สมาคม, ปถิ ปุสำ สฺตฺรีณำ จ สมาคมสฺ อภวตฺ > ทำสนธิต่อ

2. ในพระเวท พวกเขาเรียกดวงอาทิตย์ว่า ปูษนฺ มิตฺร (ปุ.) อรฺยมนฺ และสวิตฺฤ = ทธีเจทิตฺยมิติ ปูษา มิตฺโร'รฺยมา สวิตา หฺวยนฺติ

กรรมคือ ปูษนมฺ, มิตฺรมฺ อรฺยมนมฺ สฺวิตารมฺ > เวเท(ฉนฺทสิ) อาทิตฺยมฺ ปูษนมฺ, มิตฺรมฺ อรฺยมนมฺ สฺวิตารมฺ อิติ หฺวยนฺติ > ทำสนธิต่อ


3. น้ำก็ถูกนับ (ใช้ คณย กรรมวาจก) ในบรรดาเทวดาทั้งหลาย ในบทสวดฤคเวท (ฤจสฺ) และในยชุรเวท (ยชุสฺ นปุ.) =
เทวตาสฺวาโป ฤจสิ ยชุสิจ คณยเต.

ในบรรดาเทวดาทั้งหลาย ใช้ อาปสฺ อปิ เทวตาสุ ฤจสิ ยชุสิจ คณยเต. > ทำสนธิต่อ

4. ข้าแต่พระศิวะ โปรดจงเมตตา ต่อสัตว์สองเท้า และสัตว์สี่เท้า (พหูพจน์) = เห ศิว จตุษฺปทฺภฺโย ทฺวิปทฺภฺยศฺจ ศิวสฺ ภว > สนธิต่อ

7. ใครรู้จักหนทางแห่งลม? (แต่งเป็นกรรมวาจก) = กิํ ปนฺถานํ วาตสฺย ชานาติ
ประธาน ปุ. ใช้ กสฺ. ใช้การก 6 หน้าคำที่เป็นเจ้าของ

8. ดูก่อน มารดา, จงทำให้ลูกพอใจ (ตฺฤปฺ บอกเหตุ) กับนมเปรี้ยว = เห มาตฺร ทธนฺนาตฺฤปย
เขาคงต้องการให้เขาใช้ อมฺพา ที่เรียนในบทนี้, เห อมฺพ ทธฺนา(การก 3) ตฺฤปย

ส่งที่ให้ทำสนธินะคะ

1. การประชุมของเหล่าชายและหญิงเกิดขึ้นแล้วบนถนน = ปนฺถฺนิ ปุสำ สฺตฺรีณำ จ ตฺวษฺฎา ภวตฺ
การประชุมใช้ สมาคม, ปถิ ปุสำ สฺตฺรีณำ จ สมาคมสฺ อภวตฺ > ทำสนธิต่อ

ปถิ ปุสำ สฺตฺรีณำ จ สมาคโม'ภวตฺ

2. ในพระเวท พวกเขาเรียกดวงอาทิตย์ว่า ปูษนฺ มิตฺร (ปุ.) อรฺยมนฺ และสวิตฺฤ = ทธีเจทิตฺยมิติ ปูษา มิตฺโร'รฺยมา สวิตา หฺวยนฺติ

กรรมคือ ปูษนมฺ, มิตฺรมฺ อรฺยมนมฺ สฺวิตารมฺ > เวเท(ฉนฺทสิ) อาทิตฺยมฺ ปูษนมฺ, มิตฺรมฺ อรฺยมนมฺ สฺวิตารมฺ อิติ หฺวยนฺติ > ทำสนธิต่อ ฉนฺทสฺยาทิตฺยํ ปูษนฺ มิตฺรมรฺยมนมฺ สฺวิตารมิติ หฺวยนฺติ


3. น้ำก็ถูกนับ (ใช้ คณย กรรมวาจก) ในบรรดาเทวดาทั้งหลาย ในบทสวดฤคเวท (ฤจสฺ) และในยชุรเวท (ยชุสฺ นปุ.) =
เทวตาสฺวาโป ฤจสิ ยชุสิจ คณยเต.

ในบรรดาเทวดาทั้งหลาย ใช้ อาปสฺ อปิ เทวตาสุ ฤจสิ ยชุสิจ คณยเต. > ทำสนธิต่อ

อาโป'ปิ เทวตารฺฤจสิ ยชุสิจ คณยเต

4. ข้าแต่พระศิวะ โปรดจงเมตตา ต่อสัตว์สองเท้า และสัตว์สี่เท้า (พหูพจน์) = เห ศิว จตุษฺปทฺภฺโย ทฺวิปทฺภฺยศฺจ ศิวสฺ ภว > สนธิต่อ เห ศิว จตุษฺปทฺภฺโย ทฺวิปทฺภฺยศฺจ ศิโว ภว

เทวตาสุ ฤจสิ

-อาสฺ เมื่อมีเสียงก้องตามมา ไม่ว่าสระหรือพยัญชนะ ให้ลบ สฺ ทิ้ง แล้วเว้นวรรค

เป็น "เทวตา ฤจสิ"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท