ทักษะในการฟังโค้ช


ทักษะในการฟังนั้น ไม่เพียงจำเป็นต่อคนที่เป็นโค้ชเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่นักบริหารทุกคนต้องมี เพียงแต่ว่า การเป็นโค้ชอาจต้องการทักษะที่แตกต่างออกไปบ้างในบางข้อ เช่น การแนะนำการต้องพูดเมื่อฟ้งจบ แต่นักบริหารต้องรู้จักเลือกว่าจะพูดหรือไม่พูดดี เพราะบางครั้ง การนิ่งอาจเป็นกำไรมากกว่า แต่ต้องรู้ตัวด้วยว่า นิ่งเงียบนั้น แล้วฟังจริงหรือไม่

 

ทักษะในการฟังโค้ช 

พอ. นพ.ทวีศักดิ์  นพเกสร 

             คนเป็นโค้ช  ต้องมีทักษะในการฟัง  ฟังในสิ่งที่คนอื่นเขาอยากบอกเรา  เขามีความคิด  ความเห็น  ความรู้สึก  ความรู้ของเขาเองหรือแม้แต่การอยากบอกว่า  เขาได้เรียนอะไร  เขาได้รู้อะไรบ้าง  ไม่ใช่สิ่งน่าเบื่อน่ารำคาญหรือเสียเวลาในการที่จะฟังเพื่อได้ยินในสิ่งที่เขาพูด  โค้ชต้องปฏิบัติหรือแสดงออกดังต่อไปนี้  เพื่อแสดงถึงทักษะในการฟัง

 

1.  ฟังอย่างตั้งใจและแสดงถึงความสนใจอย่างแท้จริง  กริยาที่บ่งบอกว่ากำลังฟังคือ  การมองคู่สนทนาส่งเสียงรับคำ   รับรู้  พยักเพยิด  ใส่อารมณ์ร่วมไปกับเนื้อหาที่กำลังกล่าวถึง  ไม่ใช่การฟังเพียงเพื่อให้ได้ยิน  แต่ต้องฟังให้ลึกไปถึงเนื้อหา  และสิ่งที่ไม่ได้เปล่งเสียงออกมาด้วย  นั่นคือว่า “Heard  but not said”

 

2.  ตอบสนองกลับไปในสิ่งที่คุณคิด  รู้  รับทราบในสิ่งที่เขากำลังพูด  อย่างน้อยก็เป็นเครื่องยืนยันหรือตรวจสอบว่า  คุณได้ยินได้ฟังเขาอยู่  และสรุปความเข้าใจให้แน่อีกชั้นหนึ่ง

 

3.  ใส่อารมณ์เข้าไปร่วมกับสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง  เช่น  เขากำลังพูดถึงความไม่เข้าใจในการงาน  การไม่กล้าตัดสินใจ  โค้ชควรแสดงออกถึงท่าทีที่ปลอบประโลม  ยิ้มปลอบใจ  คือ  แสดงอากับกิริยาให้เขาสบายใจ  หรือ  มีความรู้สึกที่ดีขึ้นโดยไม่ต้องพูดขัดจังหวะ

 

4.  อย่างแสดงอาการต่อต้าน  หรือ  อาการเบื่อหน่ายไม่อยากฟังถอนหายใจดัง ๆ  ขมวดคิ้ว  หรือแม้แต่นั่งกอดอกหน้าเคร่ง  เพราะนั่งบ่งบอกว่า  คุณไม่อยากฟัง  ไม่อยากได้ยิน  คนพูดจะลังเลหรือไม่กล้าพูดต่อ

 

5.  แสดงความเห็นอกเห็นใจ  เข้าใจคนพูดที่รู้สึกอย่างนั้น  รับฟังว่าปัญหาเหล่านั้นเกิดขึ้นได้  ไม่ใช่ความผิดหรือแปลกประหลาดสำหรับโค้ช  ให้กำลังใจว่า  กับคนอื่นก็เกิดได้  มันอาจจะยากสำหรับผู้ถูกฝึก  แม้โค้ชจะรู้สึกว่าปัญหาหรืองานนั้น  ง่ายจ่อการทำหรือแก้ไข

 

6.  ปิดปากให้สนิทและไม่ต้องพูดอะไรเลย  ข้อนี้สำคัญที่สุด  เป็นสิ่งที่ต้องทำ  หลายคนคงยอมรับว่า  ยากที่สุดในทางปฏิบัติ  บางคนจะรู้สึกกดดันกว่าปกติด้วยซ้ำไปเมื่อถูกห้ามพูด  ข้อนี้ต้องการการฝึกสม่ำเสมอบางคนคิดไว  ปากไวยั้งไม่ทัน  กว่าจะคิดได้หลุดปากพูดไปแล้ว  คนบางคนใหญ่จนเคย  ฟังคนอื่นไม่เป็น  ต้องบอกเลยว่า  มีโทษสมบัติร้ายแรงทีเดียว

 

            ทักษะในการฟังนั้น  ไม่เพียงจำเป็นต่อคนที่เป็นโค้ชเท่านั้น  แต่เป็นสิ่งที่นักบริหารทุกคนต้องมี  เพียงแต่ว่า  การเป็นโค้ชอาจต้องการทักษะที่แตกต่างออกไปบ้างในบางข้อ  เช่น  การแนะนำการต้องพูดเมื่อฟ้งจบ  แต่นักบริหารต้องรู้จักเลือกว่าจะพูดหรือไม่พูดดี  เพราะบางครั้ง  การนิ่งอาจเป็นกำไรมากกว่า  แต่ต้องรู้ตัวด้วยว่า  นิ่งเงียบนั้น  แล้วฟังจริงหรือไม่

หมายเหตุ ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมฝึกการเป็นโค้ช ตามหลักสูตรของชมรมพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทย เมื่อราวปี 2548 มีบทความของอาจารย์ทวีศักดิ์ นพเกษร มาเผยแพร่เพื่อให้ท่านที่สนใจได้เรียนรู้  

 

คำสำคัญ (Tags): #ทักษะวิจัย
หมายเลขบันทึก: 55812เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2006 10:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 21:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท