นาง...มณีวรรณ ตั้งขจรศักดิ์
นาง มณีวรรณ นาง...มณีวรรณ ตั้งขจรศักดิ์ ตั้งขจรศักดิ์

CAPD Node :โพนพิสัย(3)


วันที่ 16 ธันวาคม 2556 : เปิดบริการตรวจ CAPD วันแรก

วันนี้ทีมรพ.หนองคาย ได้เดินทางไปโรงพยาบาลโพนพิสัยอีกครั้งหนึ่ง

นำทีมโดย นพ.พิสิฐ  อินทรวงษ์โชติ อายุรแพทย์โรคไต

พี่กันทิมา ลัญฉน์วัฒน์  หัวหน้าพยาบาลและ ผู้ช่วยฯ พี่เต่ากัลยาณี 

ทีมไตเทียม ประกอบด้วย มณีวรรณ เจนจีรา และอธิตยา 

ทีม COC (ทีมดูแลต่อเนื่อง) โดยน้องเอื้อง กิตติยา  

 

  บ่ายโมงครึ่งทีมเราไปถึงและแยกกันทำงานแบ่งเป็น 2 ทีมใหญ่ๆ

1. ทีมพี่เล็ก พี่เต่าและน้องเอื้อง ไปคุยกับทีมหัวหน้าพยาบาลรพ.โพนพิสัย เรื่อง QA COC

2. ทีมไตเทียม 3 คน ก็เริ่มการเตรียมตรวจคนไข้ CAPD รอแพทย์พิสิฐ ที่กำลังเดินทางตามมา 

   ทีมไต - ประเมินคนไข้ ซักประวัติ ถามอาการ  ประเมินแผลช่องทางออก เตรียมแล็บ เอกสารฯลฯ

           -แพทย์มาถึงตอนบ่าย3 กว่าๆ เพราะติดตรวจผู้ป่วยที่รพ.หนองคาย

           (คนไข้บ่นรอนาน แต่ก็อยากพบแพทย์  และเต็มใจรอ ...เข้าใจความจำเป็น)

หลังจากตรวจคนไข้แล้ว ก็เข้าห้องประชุม ชี้แจงแก่ บุคลากร รพ.โพนพิสัยว่าเรากำลังทำอะไร

 แผนปีนี้จะทำอะไรต่อ และบทบาทของรพ.โพนพิสัย ควรทำอะไรบ้างในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยCAPDครั้งนี้  

 

   ประเด็นหลักในการมานิเทศครั้งนี้ก็คือการพัฒนาตามแผน Service plan เรื่องโรคไต 2 เรื่องใหญ่ๆ คือ  1.CAPD ต้องเปิด Node บริการ และ 2.ต้องจัดตั้ง CKD clinic (Corner) 

   ทั้งบทบาทของทีมพี่เลี้ยงจากแม่ข่ายและบทบาทของทีมรพ.ลูกข่ายต้องชัดเจน มีความต่อเนื่องและเชื่อมโยง

 โดยสรุป ผลการดำเนินงานในวันนี้ พบสิ่งที่ดีและข้อบกพร่องที่ต้องพัฒนา สรุปคร่าวๆโดยน้องเจนกับน้องดี้ ดังนี้

ข้อดี

คน          1.บุคลากรที่รับผิดชอบและทีมงานมีความกระตือรือล้นในการทำงาน เห็นได้จาก ความใส่ใจและให้ความสำคัญกับการมาของทีมรพ.หนองคาย ตั้งแต่ทีมผู้บริหาร ผู้เกี่ยวข้อง  ก็พร้อมในการต้อนรับและอยู่รับทราบข้อมูลกันเป็นอย่างดี 

             2.มีการช่วยเหลือกันของทีมรพ.โพนพิสัย ที่น้องที่รับผิดชอบ COC และน้องที่รับผิดชอบงาน HT มาช่วยโอเล่ ทำงานวันนี้ มีเภสัชและแพทย์ที่รับผิดชอบมาช่วยกันแก้ไขปัญหาที่ดูค่อนข้างจะวุ่นวายซักหน่อยในการเปิดบริการในวันแรกนี้

 สถานที่   3. มีสถานที่ให้บริการที่เหมาะสม สะอาด 

 อุปกรณ์  4. มีการเตรียมพร้อม มีคอมพิวเตอร์ ชุดทำแผล ฯลฯขาดเพียง Printer ที่ต้องใช้ print

               ใบสั่งยา

การประสานงาน ระหว่างรพ.พี่(นค.)กับรพ.น้อง(พพส.) เรียบร้อยเป็นอย่างดี กับคนไข้ก็ชัดเจน เที่ยงตรง

สิ่งที่ต้องพัฒนา

1.สมรรถนะพยาบาล

  -ในการประเมินผู้ป่วย ยังไม่ครอบคลุม เช่นเรื่อง ปริมาณน้ำยาที่ใช้ อาการทั่วไป 

 - ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ที่จำเป็น การใช้ระบบ HOSxp

 - ทักษะในการดูแลแผล การประเมินแผล และทักษะการตัดสินใจว่าควรจะทำอะไรต่อในรายที่มีปัญหา

   (พบมีการติดเชื้อช่องทางออก 1 ราย แผลมีหนอง ต้องส่งเพาะเชื้อ)

 2.ระบบยา 

    ยาที่มีในรพ.พพส.ไม่ตรงกับรพ.นค. ตัองปรับยาใหม่และต้องเช็คว่ามีหรือไม่ ( การเตรียมเรื่องนี้ไม่รอบครอบ เลยทำให้ล่าช้า)

อย่างไรก็ดี นี่เป็นการเปิดบริการและเป็นการทำงานครั้งแรกของทีม นัดคนไข้มาเพียง7 รายแต่ใช้เวลาในการจัดบริการนาน แต่นี่คือการเริ่มต้นวันแรก คราวต่อไป เราก็จะนำข้อบกพร่องไปแก้ไข พัฒนา การบริการก็จะดีขึ้น เร็วขึ้น แน่นอน

     แน่ละ การดำเนินการทั้งหมดนี้ ก็เพื่อให้คนไข้เข้าถึงบริการได้ง่ายขึ้น ทีมงานเฉพาะทางจากรพ.หนองคาย เชิงรุกไปหาคนไข้ คนไข้เดินทางไม่ไกล ได้รับบริการใกล้บ้าน จากทีมงานมืออาชีพเหมือนไปที่รพ.จังหวัด นั่นคือสิ่งที่พวกเราทีมรพ.หนองคายและรพ.โพนพิสัยกำลังทำอยู่ ณ ขณะนี้

ขอขอบคุณ ทีมรพ.โพนพิสัยทุกท่าน ท่านผอ. ท่านหัวหน้าพยาบาล น้องๆพยาบาล ตั้งใจมากในการทำงานครั้งนี้ ครั้งหน้าพบกันใหม่นะ เดือนมกราคม2557 

หมายเลขบันทึก: 556865เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2013 22:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ธันวาคม 2013 22:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ทำงานครบทีมดีจังค่ะ

สวัสดีน้องนาง...

ทีมดี งานเดิน เพลินพัฒนา

ขอบคุณมากรับ เป็นเรื่องที่ Seamless มากครับ ..ชื่นชม

อย่างไรก็ดี นี่เป็นการเปิดบริการและเป็นการทำงานครั้งแรกของทีม นัดคนไข้มาเพียง7 รายแต่ใช้เวลาในการจัดบริการนาน แต่นี่คือการเริ่มต้นวันแรก คราวต่อไป เราก็จะนำข้อบกพร่องไปแก้ไข พัฒนา การบริการก็จะดีขึ้น เร็วขึ้น แน่นอน

...

เป็นคำมั่นสัญญาที่ชวนติดตาม และชวนให้กำลังใจคนทำงานอย่างต่อเนื่อง ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท