สันติชน
นาย วรนันท์ มูฮัมหมัด รอมฎอน บุนนาค

อัตลักษณ์ที่ควรจะมีในรัฐธรรมนูญฉบับที่ 17


รัฐธรรมนูญของไทยที่ผ่านมา 16 ฉบับมีเนื้หาสาระและเจตนารมณ์โน้มเอียงไปทางรัฐธรรมนูญนิยม แต่ในทางปฏิบัติมักนำไปใช้ไมสอดคล้องตอบต่อหลักการของรัฐธรรมนูญ และที่ผ่านมาผู้ปกครองมักจะเน้นปฏิบัตินิยมมากกว่าหลักความสมบูรณ์แบบหรือเน้นอุดมคตินิยม จึงอยากเห็นรัฐธรรมนูญที่ดีที่ไม่ใช้กันอย่างสิ้นเปลืองไม่อยากให้เข้าทำนองกฎเท่านั้นที่ผิด คนไม่มีวันผิด และที่สำคัญไม่อยากให้ละเลยถึงวิธีการในการจัดทำซึ่งควรจะผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมในการแสดงเจตนารมณ์ของคนส่วนใหญ่ ขอให้รัฐธรรมนูญใหม่นี้ตั้งอยู่ฐานรองรับการใช้เหตุผล ความต้องการ เป้าหมายคุณธรรมและผลประโยชน์ของคนหมู่มากที่แท้จริง
                  ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องบ้านเรื่องเมืองโดยเฉพาะเรื่องกฎหมายรัฐธรรมนูญหน่อยนะครับ ผมเห็นว่ารัฐธรรมนูญที่กำลังจะร่างใหม่นี้ควรให้ความสำคัญกับการสร้างความสามารถในการทำประโยชน์พื้นฐาน คือสามารถใช้เป็นกลไกในการบังคับใช้เพื่อผลักดันการแก้ไขปัญหาและผลักดันการพัฒนาประเทศให้บรรลุเป้าหมายได้  เพราะบทเรียนของการใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาล้วนสะท้อนให้เห็นปัญหาร่วมอยู่ใน 2 ด้านได้แก่ ไม่ว่ารัฐธรรมนูญจะเป็น ประชาธิปไตย ครึ่งใบ หรือกึ่งอำนาจนิยม ต่างก็ประสบปัญหาเดียวกันคือรัฐธรรมนูญทำหน้าที่พื้นฐานในการควบคุมระบบการเมืองไม่ได้ รัฐธรรมนูญทำประโยชน์พื้นฐานในการผลักดันการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาประเทศไม่ได้  รัฐธรรมนูญใหม่ควรจดำเนินจุดหมายให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้รัฐธรรมฯญสามารถสร้างกลไกอัตโนมัติขึ้นมาใช้ในการปรับแก้และรักษาตัวเองให้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืนได้ในทุกสภาวการณ์ทางการเมือง ซึ่งต้องคำนึงถึงอัตลักษณ์(องค์ประกอบ)ดังนี้ การสร้างกติการ่วมของสังคมในการมีและใช้รัฐธรรมนูญ  เพื่อให้คนยอมรับอำนาจบังคับในความเป็นกฎหมายสูงสุดและความเป็นกฎหมายพื้นฐานทางการเมืองการปกครองของรัฐธรรมนูญ การสร้างความเชื่อถือร่วมกันของคนในสังคม เพื่อให้คนเคารพ ศรัทธา หวงแหนและปกป้องรักษาความมั่นคงมีเสถียรภาพของรัฐธรรมนูญ การสร้างสำนึกร่วมของคนในสังคม เพื่อให้คนยึดถีอแก่นสารสำคัญที่ทำหน้าที่ของรัฐธรรมนูญ การสร้างวัฒนธรรมร่วมให้คนเห็นแก่กฎหมากว่าเห็นแก่คน การสร้างความเป็นเจ้าของร่วมกัน เพื่อให้คนตระหนักในความจำเป็นของการสร้างรากฐานความเห็นพ้องของคนหมู่มาก และตระหนักถึงความจำเป็นในกระบวนวิธีการของการจัดทำรัฐธรรมนูญ เหล่านี้แหละที่จะทำให้รัฐธรรมนูญสะท้อนถึงเจตนารมณ์ของคนส่วนใหญ่มากขึ้นและจะส่งผลเกือกูลในรัฐธรรมนูญ มีความสอดคล้องกับพื้นฐานของความต้องการ เหตุผล ประโยชน์คุณธรรมของคนหมู่มากได้อย่างแท้จริง
หมายเลขบันทึก: 55658เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2006 12:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 07:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท