CSR กับ ผลประโยชน์ของสังคม


         ผมอยู่ใน วง อี-เมล์ แจ้งผลงานทางวิชาการหลายวง     วงหนึ่งเป็นเรื่องทางสาธารณสุข      เมื่อประมาณ ๒ สัปดาห์มาแล้วมีเรื่องหนึ่งน่าสนใจ     คือเรื่องผลประโยชน์ต่อสาธารณะ ที่เขาเรียกว่า Public Good     เขาแจ้งแหล่งของบทความและบทย่อของบทความดังนี้

Public goods, global public goods and the common good
Sverine Deneulin and Nicholas Townsend
ESRC Research Group on Wellbeing in Developing Countries (WeD). University of Bath, 2006
Available online as PDF file [28p.] at: http://www.welldev.org.uk/research/workingpaperpdf/wed18.pdf
 
“…..This paper examines the extent to which introducing the concept of global public goods in international development indeed helps
us to better respond to the new challenges of this century.
          It argues that the concept of global public goods could be more effective if the conception of well-being it assumes is broadened beyond the individual level. ‘Living well’ or the ‘good life’ does not dwell in individual lives only, but also in the lives of communities which human beings form. A successful provision of global public goods depends on this recognition that the ‘good life’ of the communities that people form is a constitutive component of the ‘good life’ of individual human beings.
         The second section examines the concept of public goods and discusses some problems generally associated with their provision. It underlines that in the literature public goods are considered as instrumental to individual well-being and to be provided to this end. However, there exist public goods which defy the assumption that collective action, and the ensuing public goods provision, is always instrumental to individual well-being.
         The third section contrasts collective goods and ‘common goods’ and goes on to show that human action is sometimes undertaken for the sake of the good  life understood as intrinsically in common. This has been referred to by the term ‘the common good’ in the history of Western political thought.
As the political community has traditionally been the highest form of community,
         The fourth section analyzes the concept of the political common good and clarifies some conceptual ambiguities related to it.
         The final section considers implications of the concept of the common good for international development.
The paper concludes by suggesting that rediscovery of this concept, and identification of how to nurture the common good,
constitute one of the major tasks for development theory and policy…”

        ผมไม่ได้อ่านบทความฉบับเต็ม     เมื่ออ่านฉบับย่อแล้วก็รู้สึกว่าบทความเชิงทฤษฎีแบบนี้ไม่เห็นมีอะไรใหม่     เป็นเรื่องที่ยอมรับกันอยู่แล้ว     ประเด็นมันไม่ได้อยู่ที่หลักการหรือทฤษฎี     แต่อยู่ที่การปฏิบัติต่างหาก  
 
       ในทางปฏิบัติ เรื่องผลประโยชน์ส่วนรวม ผลประโยชน์ส่วนกลุ่ม/พวก ผลประโยชน์ส่วนตน มันซับซ้อนซ่อนเงื่อน     คนฉลาดแกมโกงอ้างประโยชน์ส่วนรวมในคอรัปชั่นเชิงนโยบายได้เสมอ     เราเห็นอยู่ทั้งในระดับประเทศไทยและระดับโลก  

        ผมมองว่าเรื่องนี้หัวใจอยู่ที่ความรู้ เทคโนโลยี และสติปัญญาทันกัน     ทำให้รู้กันทั่วว่าใครทำเพื่อตน หรือทำเพื่อส่วนรวม     และในขณะเดียวกันก็ต้องมุ่งคุณค่าของความสัมพันธ์ระยะยาว     องค์กรเฉพาะกิจ ที่ยังไม่ลงหลักปักฐานด้านชื่อเสียงในการทำเพื่อส่วนรวม ต้องสร้างชื่อเสียงขึ้นมา     หรือเรียกในภาษาสมัยใหม่ว่าสร้าง social capital   

        ในสังคมสมัยใหม่     องค์กรขนาดใหญ่มีแนวโน้มที่จะปฏิบัติตนแบบเห็นแก่ตัว     เอาแต่ประโยชน์ขององค์กร     ทิ้งให้ส่วนรวมต้องแบกรับผลร้าย เช่นด้านสิ่งแวดล้อม  ด้านใช้ทรัพยากรธรรมชาติหมดสิ้นไป  หรือด้านสร้างความตะกละ หยาบกระด้างให้แก่สังคม  เป็นต้น     ผมคิดเอาเองว่านี่คือที่มาของกิจกรรม CSR - Corporate Social Responsibility 

วิจารณ์ พานิช
๒๓ ตค. ๔๙
วันปิยมหาราช

คำสำคัญ (Tags): #corporate-social-rewsponsibility#csr
หมายเลขบันทึก: 55616เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2006 08:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท