บอกหรือไม่บอกดี.......


จากประสบการณ์หน้างาน ที่ได้คลุกคลีอยู่กับผู้ป่วยระยะท้าย และครอบครัว ประเด็นผู้ป่วยไม่รู้ความจริงเป็นเรื่องที่พบได้ปกติ โดยในบริบทของคนไทยแพทย์มักจะบอกความจริงกับญาติ โดยให้ญาติพิจารณาตัดสินใจว่าจะบอกหรือไม่บอกผู้ป่วยดี   การไม่สามารถเข้าถึงความจริงเกี่ยวกับตัวโรคและ prognosis ถือเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งในกระบวนการการดูแลผู้ป่วย Palliative care  การที่ผู้ป่วยไม่รู้ความจริง เกิดจากปัจจัยอะไรบ้างลองตามมาดูนะคะ 

ปัจจัยที่เกิดจากญาติ

  1. ญาติไม่บอกความจริงเพราะ

-                   ผู้ป่วยอายุมากแล้วไม่อยากให้หมดกำลังใจ ไม่อยากให้รู้สึกเสียใจ และทำให้อาการทรุดหลังทราบความจริงเกี่ยวกับตัวโรคและ prognosis

-                   กลัวคนไข้ shock ตกใจ

-                   ผู้ป่วยเด็กลูกยังมีความหวังพ่อแม่ไม่อยากทำลายความหวังของลูกจากที่รู้ความจริง

-                   อยากบอกแต่ไม่กล้าบอก

-                   อยากบอกแต่ไม่รู้วิธีการบอก ไม่รู้จะบอกอย่างไร

-                   ไม่อยากบอกเพราะผู้ป่วยบุคลิกเป็นคนคิดมากกลัวรับไม่ได้กับข่าวร้าย

-                   ญาติบอกแต่บอกไม่ครบ เช่น เป็น CA LIVER  แต่ญาติบอกแค่เป็นตับแข็งหรือบอกว่าเป็นก้อนที่ตับ   หรือเป็น CHCA แต่ญาติบอกว่าเป็นเนื้องอกในถุงน้ำดี  หรือเป็น CA Colon แต่บอกว่า เป็น ลำไส้อักเสบ ,ลำไส้อุดตัน

หรือเป็น CA LUNG  แต่บอกว่าเป็นโรคปอด

-                   ผู้ป่วยอยากทราบความจริงเกี่ยวกับตัวโรคและ prognosis แต่ญาติปิดบัง

  1. ปัจจัยที่เกิดจาก แพทย์

-                   บอกความจริงกับญาติเพียงฝ่ายเดียวไม่บอกผู้ป่วย

-                   แพทย์บอกลูกคนไข้      แต่ไม่บอกภรรยา (ลูกชวนแพทย์ปิดภรรยา)

-                   แพทย์เจ้าของไข้ไม่ยังบอก prognosis   กับทั้งผู้ป่วยและญาติทราบ

-                   แพทย์บอกแต่บอกไม่ครบเช่น เป็น CHCA แต่บอกว่าเป็น Cholangitis

-                   ศัลยแพทย์กับอายุรแพทย์ให้ข้อมูลครอบครัว(ผู้ป่วยไม่รู้โรคและ prognosis) ไม่ตรงกันเกียวกับเป้าหมายการรักษาและการพยากรณ์โรค ทำให้ครอบครัวลังเลในการตัดสินใจทางเลือก  ได้แก่ ศัลยแพทย์ให้ข้อมูลว่าผู้ป่วยยังสามารถทำ liver transplant  แต่อายุรแพทย์บอกหมดหนทางรักษาแล้ว

-  แพทย์ให้ความหวังที่ไม่ตรงจริง เช่น ผ่าตัดเอาสิ่งไม่ดีออกแล้ว ในความเป็นจริงคือผู้ป่วยเป็น CHCA end stage แล้ว

  1. ปัจจัยจากผู้ป่วย

-                   ผู้ป่วย unconscious  old CVA  หรือ semiconscious  สื่อสารไม่ได้จึงไม่ได้บอก

หรือ brain metastasis

-                   Newborn

-                   เด็ก   พ่อแม่ไม่ต้องการบอกและจะไม่บอก

-                  ผู้ป่วยเคยบอกไว้ว่าถ้าเป็นมะเร็งไม่ต้องบอกความจริง เพราะกลัวรับไม่ได้ 

  1. ปัจจัยจากญาติเป็นบุคลากรทางการแพทย์ ไม่บอกความจริงเกี่ยวกับ prognosis ให้ผู้ป่วยทราบ (ลูกสาวเป็นพยาบาล)ผู้ป่วยเป็น ADVACE CA  แต่บอกแม่ว่ามีแผลในตับ รายที่ 2 ลูกสาวเป็นพยาบาลปิดทั้งตัวโรคและ prognosis รายที่ 3 ลูกเป็นพยาบาล ไม่บอก ผู้ป่วยและไม่บอกคู่ชีวิตผู้ป่วย   ผู้ป่วยคือพ่อ   แต่ญาติคนอื่นๆอยากให้บอก

      รายที่ 4 ลูกชายเป็นหมอ ไม่บอกทั้งโรคทั้ง prognosis

นี่เป็นเหตุการณ์เพียงบางส่วนที่พบในการทำงานของทีมศูนย์การุณรักษ์ในประเด็นการบอกความจริงค่ะ  

 

หมายเลขบันทึก: 555714เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2013 22:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ธันวาคม 2013 22:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นบทความที่ดีมากครับเป็นกำลังใจคนทำงานครับพี่ "ประเด็นหนึ่งคือการบอกบอกอย่างไรให้ข่าวร้ายคลายความร้ายลงและเป็นข่าวดี หรือยอมรับได้" ตามหลักการเวชปฏิบัติทั่วไป ครั้งหนึ่งผมทำเรื่อง patient experience WS ท่านอาจารย์ประสิทธิ์ จาก รพ. รามา เล่าให้ฟัง 1 case

"ผู้ป่วยเป็นมะเร็ง และภรรยาห้ามบอก จนมาในภาวะวิกฤตแต่ยังคุยได้เขาถามหมอว่าหมอผมป่วยแท้จริงผมเป็นโรคอะไร หมอนิ่งและบอกว่าเป็น CA เขาจับมือหมอและบอกหมอว่าหมอรู้ไหม หมอทำผิดอย่างใหญ่หลวง ณ ตอนนี้ผมคงไปจัดการอะไรทรัพย์สินผมไม่ได้แล้ว หมอเป็นเครื่องมือ เพราะผมมีภรรยาอีกคนและลูกด้วย ที่ต้องไปจัดการทรัพย์สิน ณ ตอนนี้ผมคงทำไม่ได้แล้ว " แพทย์คนนั้นฟังด้วยอาการเย็นไปทั่วกระดูกสังหลังว่าทำอะไรลงไป

กระบวนการ prognosis จึงเป็นกระบวนการสำคัญแต่เปลี่ยน From Biomedicine to Infomedicine สำหรับผู้ป่วย เพราะนอกจากการดูแลผู้ป่วยแล้ว หลังจากนั้นคือกระบวนการหลังจากที่ผู้ป่วยเสียชีวิตbereavement care

ขอบคุณบทความดีๆแบบนี้นะครับในการเรียนรู้ ...


ขออนุญาตเอาไปรวบรวม ที่นี่ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท