ต้นหอมผักชีมีใบปัญหาใบเน่า ใบไหม้ใช้บีเอสพลายแก้ว


การปลูกหอม ปลูกผักชีบ้านเราก็ยังถือว่าเป็นอาชีพที่ยังพอยังชีพอยู่ได้ ถึงแม้ว่าการผลิต การปลูกจะดูยากเย็นแสนเข็ญอยู่บ้างพอสมควร เพราะต้องฝ่าฟันปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับเชื้อโรคที่สะสมอยู่ในดิน ทำให้การปลูกซ้ำที่รอบสอง รอบสามจะเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องเชื้อโรคเข้าทำลาย จนทำให้ผลผลิตเสียหายถูกทำลาย หรือไม่ก็สิ้นเปลืองค่าปุ๋ยค่ายามากเกินกว่าเหตุ เนื่องด้วยการดูแลรักษาแบบการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะมีต้นทุนที่สูงกว่าการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่สามารถหมักขยายต่อเชื้อเพื่อลดต้นทุนให้ลดลงหรือเกิดความเหมาะสมกับกลุ่มเกษตรกรและท้องถิ่นนั้นๆ

การปลูกต้นหอมและผักชี จะมีโรคอยู่อย่างหนึ่งคือโรคที่เกี่ยวกับใบไหม้ จากเชื้อราโรคพืชเข้าทำลายนอกเหนือจากอากาศร้อนและน้ำในดินมีไม่เพียงพอต่อการส่งไปเลี้ยงยังส่วนต่างๆของกิ่ง ก้าน ใบ ผักชีจนเป็นสาเหตุที่ทำให้ใบเหี่ยวเฉาและแห้งเหี่ยวได้แล้ว ก็จะพบว่ามีเชื้อราโรคพืชในกลุ่ม ในสกุล ออลเทอนาเรีย (Alternaria) ซึ่งมีชื่อเป็นภาษาทางวิทยาศาสตร์ว่า ออลเทอนาเรียพอร์ไร (Alternaria porri) โรคนี้นับเป็นโรคที่สำคัญจะเกิดเป็นประจำกับหอม  ซึ่งหมายถึงหอมทุกชนิดรวมทั้งหอมญี่ปุ่น และกระเทียม  ซึ่งรวมทั้งกระเทียมต้น (leck) ด้วย จึงทำให้การปลูกหอม ผักชีและกระเทียมไม่สามารถที่จะปลูกซ้ำที่กันได้ง่าย ถ้าไม่มีประสบการณ์ความรู้ที่เพียงพอ

ปัจจุบันเราสามารถสร้างกองทัพจุลินทรีย์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อราโรคพืชได้ ด้วยการเพิ่มจำนวนเชื้อไตรโคเดอร์ม่าลงในแปลงเพาะปลูก เพื่อทำหน้าที่คอยดูแลรักษาป้องกันอาณาจักรมิให้เชื้อราศัตรูเข้าทำลายรบกวนได้ง่ายๆ ด้วยการนำเชื้อไตรโคเดอร์ม่า 1 กิโลกรัมหมักขยายกับปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก 50 กิโลกรัม พรมน้ำพอชื้น คลุมกองด้วยผ้าแสลนด์หมักทิ้งไว้ประมาณ 3 คืน แล้วนำมาโรยบนแปลงปลูกหอม ผักชี เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า จะเจริญเติบโตขยายอาณาจักร แย่งพื้นที่ แย่งแหล่งอาหารจากเชื้อราศัตรูหอม ผักชีเหล่านี้ โดยเฉพาะ กลุ่มของ ออลเทอนาเรีย (Altermaria) ให้อ่อนแอและล้มตายลงไป และไม่สามารถที่จะมีกำลังตื่นขึ้นมาทำลายได้ใหม่ ตราบใดที่เชื้อราไตรโคเดอร์ม่ายังคงสร้างอาณาจักรอยู่ในพื้นที่นั้นอยู่ ส่วนการรักษาทางใบหรือยอดนั้นแนะนำให้ใช้จุลินทรีย์ บีเอสพลายแก้ว ในอัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นในช่วงเย็นแดดอ่อน หรือจะใช้วิธีการหมักขยายเชื้อเพียง 5 กรัมกับน้ำมะพร้าวอ่อน 1 ผล หมักทิ้งไว้ 1  -2 วันแล้วนำไปผสมกับน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นทุก 3 -7 วัน,  ในส่วนของอาการไหม้ที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคท่านก็สามารถใช้ฟางหรือเศษไม้ใบหญ้าคลุมดินและฉีดพ่นน้ำเป็นละอองฝอยในวันที่อากาศร้อนหรือแล้งจัด เพื่อสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและให้ความชุ่มชื้นแก่ดินและต้นหอม ผักชีไปในตัว

 

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 555692เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2013 19:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ธันวาคม 2013 19:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

-สวัสดีครับ

-ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท