หินแร่ภูเขาไฟ กับปัจจัยที่ใช้ในการทำเกษตรปลอดสารพิษ


หินแร่ภูเขาไฟ “โทบา” ที่ระเบิดในประเทศอินโดนีเซียกว่าเจ็ดหมื่นห้าพันปีนั้น ถือเป็นภูเขาไฟที่เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมากมายจนถือว่าทำให้เกิดปรากฏการณ์ยุคน้ำแข็งยุคใหม่ของโลก  แต่อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 1815  ก็เกิดภูเขาไฟที่ชื่อว่า “แทมโบล่า” เกิดขึ้นมาอีก แรงระเบิดในครั้งนี้สร้างแรงสั่นสะเทือนไปไกลกว่า 850 กิโลเมตร  แรงระเบิดในครั้งนี้ก่อให้เกิดฝุ่นละอองเถ้าถ่านธุลีปกคลุมโลกจนกระทั่งในฤดูกาลนั้นไม่มีฤดูร้อนกำเนิดเกิดขึ้น กว่าที่เถ้าละอองจะตกลงสู่พื้นผิวโลกจนหมดก็กินเวลาไปกว่าหนึ่งปี  หลังจากนั้นต่อมาอีก 150 ปี นักวิทยาศาสตร์ได้ให้ภูเขาไฟ “แทมโบล่า” เป็นภูเขาไฟที่ถือว่ามีการระเบิดรุนแรงมากที่สุดในรอบหนึ่งหมื่นปี มากกว่าภูเขาไฟ วิสุเวียส ของประเทศอิตาลีที่ธารลาวาหลั่งไหลทับถมคนให้ตายทั้งเป็นมากมายก่ายกองเสียอีก

ทุกๆ ระดับความลึก 20 เมตรจากชั้นเปลือกโลกลงไปใต้พื้นภิภพจะมีความร้อน 1 องศาฟาเรนไฮ หรือประมาณ 33.8 องศาเซลเซียส และในระดับความลึกที่ 160 กิโลเมตร จะมีแรงดัน แรงบีบอยู่ที่ 1 ล้านปอนด์ต่อตารางนิ้ว ซึ่งถือว่าสูงมาก เมื่อแมกมาหรือหินหนืดเกิดการเคลื่อนย้ายถ่ายเทไปยังส่วนต่างๆ และพบชั้นเปลือกโลกที่บางเบาเช่นใต้ท้องทะเล หรือรอยแยกรอยต่อที่อ่อนไหว หินหลอมเหลวเหล่านั้นก็จะแทรกตัวทะลักหลั่งไหลออกมาสู่บรรยากาศโลก ซึ่งมีความบางเบากว่าใต้พื้นภิภพเพียงหนึ่งชั้นบรรยากาศเท่านั้น จึงทำให้ก๊าซและของเหลวระเหยออกจนกลายเป็นหินลาวาหรือหินหนืด เปรียบให้เห็นภาพเหมือนกับว่าการนำโซดาที่เปิดฝาออกทิ้งไว้นานๆ ก็จะเหลือเพียงแต่น้ำ แต่ก๊าซที่บรรจุอยู่ภายในไม่มี เมื่อหินลาวาเหล่านี้เย็นตัวลงก็จะเกิดรูพรุนมหาศาล และแร่ธาตุสารอาหารต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนโลกไม่ว่าพืชหรือสัตว์ เพราะเป็นสสารที่สามารถจะแตกตัวย่อยสลายตัวเองออกมาทีละน้อยๆ สามารถสังเกตเห็นได้จากกลุ่มประเทศชิลี, เปรู ที่มีกระแสน้ำอุ่น กระแสน้ำเย็นพัดผ่านเอาเถ้าละอองของภูเขาไฟมาสู่ปากอ่าว จึงทำให้เกิดแพลงค์ตอนซึ่งเป็นอาหารของกุ้งหอย ปูปลา โดยเฉพาะปลากระตักนั้นมีจำนวนมหาศาล จนทำให้ประเทศชิลี, เปรู เป็นประเทศเล็กๆ ที่สามารถส่งออกปลาเหล่านี้จำหน่ายไปได้เป็นอันดับหนึ่งของโลกนั่นเอง

การนำหินแร่ภูเขาไฟที่เย็นตัวลงแล้วมาใช้ในการเกษตร จึงช่วยทำให้พืชได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนสมบูรณ์โดยไม่ต้องสิ้นเปลืองเงินซื้อปุ๋ยเคมีให้ยุ่งยากมากเกินไป อีกทั้งยังมีแร่ธาตุซิลิก้าที่สามารถละลายน้ำออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชได้มากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ที่ช่วยทำให้ผนังเซลล์พืชแข็งแกร่ง ต้านทานต่อแมลง เพลี้ย หนอน รา ไร ได้เป็นอย่างดี ช่วยลดการใช้ยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้อีกทาง เป็นการไม่กลั่นแกล้งหรือซ้ำเติมธรรมชาติให้เสื่อมโทรมเลวร้ายลงไปยิ่งกว่าเดิม  การนำหินแร่ภูเขาไฟมาใช้ในการเกษตรจะช่วยทำให้การเกษตรแบบปลอดสารพิษทำได้ง่ายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้สมุนไพร หรือจุลินทรีย์ หรือหลักการสร้างความสมดุล ของระบบนิเวศน์ โดยที่ไม่ต้องหันกลับไปใช้สารพิษได้เลยแม้แต่หยดเดียว

 

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 555689เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2013 19:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ธันวาคม 2013 19:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท