ปลูกมะนาวกับหินแร่ภูเขาไฟ แต่ทำไมหนอนชอนใบยังทำลายได้อยู่


ผู้เขียนได้ทำการปลูกมะนาวไว้ประมาณ 200 ต้นที่จังหวัดอ่างทอง โดยพยายามที่จะให้มีสายพันธุ์ที่หลากหลายทั้งที่ต้านทานโรคอย่างพิจิตร 1 และพันธุ์ที่อ่อนแอแต่ลูกดกอย่างเช่นแป้นรำไพ ซึ่งปัจจุบันมะนาวแป้นนั้นก็มีแตกกอต่อยอดแบ่งสายพันธุ์ไปอีกหลากหลาย วัตถุประสงค์ที่คละเคล้าสายพันธุ์กันไปก็เพื่อทดสอบ ทดลอง เป็นหลัก และการให้น้ำได้ใช้ระบบเป็นแบบมินิสปริงเกอร์โดยให้มีสวิทซ์ปิดเปิดจากตัวควบคุม  จนทำให้เกิดปัญหาที่จะนำมาเล่าสู่พี่น้องเกษตรกรได้ฟังกัน

โดยปรกติแล้วพืชที่สมบูรณ์แข็งแรงโดยธรรมชาติการระบาด การทำลายหรือการรบกวนจากโรคแมลงศัตรูพืชจะมีอยู่น้อย เนื่องด้วยกลไกลการป้องกันตัวแบบธรรมชาติของพืช จะทำงานปกป้องอย่างสมบูรณ์ ยิ่งมีการปรับปรุงค่าความเป็นกรดและด่างของดินให้เหมาะสม และมีการเติมหินแร่ภูเขาไฟ (ชื่อการค้า พูมิช (Zeo Pumish), พูมิชซัลเฟอร์ (zeo Pumish Sulpher) ก็จะยิ่งเสริมการทำงานให้เซลล์พืชมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้นไปอีก โดยประสิทธิภาพการทำงานของหินแร่ภูเขาไฟนั้น มีการวิจัยผลการทดลองที่เป็นวิทยาศาสตร์มากมายจากดอกเตอร์ทั่วโลก ท่านผู้อ่านสามารถค้นคว้าหาอ่านได้จากหนังสือที่ชื่อ ซิลิคอน อิน เอกริคัลเจอร์ (Silicon In Agriculture) ซึ่งจะมีทั้งฉบับเต็มและฉบับที่เป็นบทคัดย่อ (Abstract) ให้ผู้ที่ชื่นชอบการทำให้พืชแข็งแกร่งแบบธรรมชาติได้อ่านกันอย่างจุใจ

แต่เนื่องด้วยที่สวนมะนาวของผู้เขียนนั้น ได้มีการเตรียมดิน เตรียมวัสดุในการปลูก ก็ทำเป็นอย่างดี อีกทั้งการนำ พูมิช มาใช้รองพื้นก่อนปลูกนั้นก็ใส่ลงไปมากพอสมควร ในระยะแรกก็ไม่มีปัญหาอะไรให้กังวลใจมากนัก แต่หลังจากปลูกไปได้ระยะหนึ่งเริ่มมีปัญหา คือเริ่มมีอาการใบเหลือง, แคงเกอร์ และปัญหาเรื่องหนอนชอนใบ ที่เข้ามาทำลายระบาดในแปลงค่อนข้างมาก จนต้องใช้ทั้ง บีทีชีวภาพ, บีเอสพลายแก้วน้ำ,ทริปโตฝาจ, ไทเกอร์เฮิร์บ, ซิลิโคเทรซ, ไคโตซาน MT นำมาแก้ไข ใช้แก้ปัญหากันอยู่มากพอสมควร  แต่ในเบื้องต้นอากัปอาการก็ไม่ค่อยจะดีขึ้นสักเท่าไร จนต้องเพิ่มความถี่ในการฉีดพ่นรักษาให้มากขึ้น จนถึงทุเลาเบาบางลงไปได้ แต่สภาพต้นโดยรวมก็ยังไม่ดีขึ้น

จนผู้เขียนต้องขึ้นไปดูและสำรวจตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง จึงทำให้พบปัญหาและสาเหตุที่แท้จริงโดยบังเอิญ นั่นก็คือสาเหตุจากการที่ทำให้ต้นมะนาวอ่อนแอ และการดูแลแก้ไขที่ปลายเหตุ (การรักษาที่ปลายเหตุ คือการนำผลิตภัณฑ์มาปราบ มารักษา ดูแลป้องกัน บำรุง แต่ถ้าทำให้พื้นฐานให้ดี การดูแลแก้ไขที่ปลายเหตุก็ไม่ต้องเหนื่อย) ทำได้ยากเย็นแสนเข็นขึ้นนั้นเนื่องมาจากดินที่ชื้นแฉะมากเกินไป และระบบรากมีปัญหาขาดอากาศอ่อนแอ จากการที่เปิดปิดระบบน้ำเช้าเย็นทุกวันโดยไม่ลงไปสำรวจตรวจสอบต้นมะนาวอย่างละเอียด อีกทั้งในช่วงที่ผ่านมาอยู่ในภาวะหน้าฝนและมีพายุหลายลูกกระหน่ำซ้ำซัดเข้ามา  ทำให้สภาพต้นโดยรวมอ่อนแอ เมื่ออ่อนแอความแข็งแกร่งที่จะหวังพึ่งพิงอิงแร่ธาตุซิลิก้าและสารอาหารจากหินแร่ภูเขาไฟ จึงตอบสนองไม่เต็มที่ เนื่องด้วยสภาพต้นอ่อนแออย่างมาก แต่หลังจากให้ปรับเปลี่ยนและแก้ไขด้วยการงดการให้น้ำเป็น 3 วันครั้ง หรือดูตามความเหมาะสมอย่าให้ดินแฉะหรือมีน้ำท่วมขังในทุกๆ กรณี สภาพต้นก็ฟื้นคืนได้อย่างรวดเร็ว การใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพต่างๆ ก็ตอบสนองได้ทันทีและรวดเร็วเป็นลำดับ  เพราะฉะนั้นก็ฝากพี่น้องเกษตรกรที่ทำการเกษตรแบบปลอดภัยไร้สารพิษต้องตระหนักกันให้ดีนะครับ คือจะต้องดูแลรักษาปัจจัยพื้นฐานให้ดี ทั้งน้ำ ทั้งดิน และอาหารจะต้องเหมาะสมจริงๆ จึงจะปลูกพืชไร่ ไม้ผลได้อย่างปลอดภัยไร้สารพิษได้จริง ๆ

 

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 555686เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2013 19:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ธันวาคม 2013 19:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท