ฮักนะเชียงยืน 3


ข้อมูลที่ได้สอบถามจากชาวบ้านเป็นเพียงส่วนหนึ่ง เเละต้องมีข้อมูลจากเเหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานในชุมชนที่เกี่ยวข้องร่วมด้วย

ลงพื้นที่ ค้นหาคำตอบ

 

 

        ประเด็นปัญหาที่ได้มาจากการเเลกเปลี่ยนเเละพูดคุยกันในช่วงระยะเวลาที่ถือว่าพอสมควร จึงได้ประเด็นปัญหาที่ใกล้ตัว คือ ปัญหาของเพื่อนในห้องเรียนที่เขาเรียนอยู่ในชุมชนที่ "ใช้สารเคมีในการเกษตรเป็นส่วนใหญ่" เมื่อถกประเด็นเเล้วจึงได้ปัญหาจากชุมชน  สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ "การมองดูความจริง" มองดูชุมชนจริง โดยการลงพื้นที่สอบถามข้อมูลจากชุมชน ว่าที่ใช้สารเคมีในการเพาะปลูกนั้น เป็นอย่างไรบ้าง  เขาปลูกอย่างไรบ้าง ฯ  ซึ๋งในวันศุกร์หลังเลิกเรียนฮักนะเชียงยืนทุกคนได้นัดหมายกันเพื่อสอบถามชาวบ้านในความเป็นมาเเละเป็นไป ว่าสิ่งนี้เป็นอย่างไร โดยที่ตั้งคำถามอย่างง่ายๆ เเบบเด็กๆที่คิดประเด็นคำถามขึ้นเอง ได้เเก่ ปลูกอะไร  ปลูกอย่างไร  ใช้สารเคมีอย่างไร เเล้วสารเคมีเข้ามาตอนไหน ฯ ซึ่งในครั้งนั้นคุณยายท่านหนึ่งให้ข้อมูลกับฮักนะเชียงยืนว่า "ปลูกมาตั้งนานเเล้วล่ะลูก  ตั้งเเต่สมัยที่เเม่เป็นสาวโน้นล่ะ สิ่งที่ปลูกเป็นส่วนมากเเล้วเป็นส่วนมากของหมู่บ้านของเรา คือ แตงต่างๆ มีบริษัทเข้ามารับซื้อนะ  สารเคมีก็ได้มาจากบริษัทน่ะ" เเล้วคุณยายทิ้งประโยคท้ายว่า "ใช้สารเคมีตั้งเเต่คลุกเมล็ดถึงส่งออกขายเลยล่ะ" จากคำตอบดังกล่าวข้างต้นจะสามารถสังเกตุได้อย่างชัดเจนว่า สารเคมีนี้เเต่ก่อนไม่มีเริ่มมีเข้ามาตั้งเเต่ในสมัยช่วงวัยกลางคนของคุณยาย เเล้วส่วนมากที่ปลูกเป็นการเพาะปลูกพืชประเภทเเตง โดยลงสำรวจเเล้วส่วนใหญ่จะเป็นเเตงประเภทเเตงเเคนตาลุป เเตงโม เเละเเตงอื่นๆ ซึ่งสิ่งนี้จะเห็นได้ว่าเป็นอาชีพที่ฝังเเน่นกับชาวบ้าน โดยการเกษตรที่ใช้สารเคมีเป็นส่วนใหญ่นี้มีบริษัทนายทุนเข้ามาตั้งเเต่ประมาณ 30 กว่าปีที่เเล้ว ทางบริษัทให้สารเคมีเพื่อให้ชาวบ้านได้ใช้เพื่อเร่งผลผลิตทุกขั้นตอน มีการควบคุมเเละเเจกเมล็ดพันธุ์ให้ชาวบ้าน "นายทุนให้ทุกอย่าง" ทำให้ชาวบ้านใช้อย่างเต็มที่ อาทิ ปุ๋ยปรับหน้าดิน  ปุ๋ยเร่งผลผลิต ปุ๋ยทางใบ ปุ๋ยสูตรต่างๆที่ช่วยให้อาหารกับดินที่ปลูก ตลอดไปจนยาฆ่าเเมลงต่างๆนานา ซึ่งชาวบ้านไม่สามารถปฏิเสธได้เพราะสิ่งนี้จะช่วยเพิ่มผลผลิตให้กับตนเอง เพิ่มรายได้ให้กับตนเองในการหาเลี้ยงดูครอบครัว เเล้วยังทำให้ครอบครัวอยู่อย่างพร้อมหน้าพร้อมตากัน พ่อกับเเม่ไม่ได้จากไปทำงานในเมืองกรุงเหมือนชุมชนอื่นๆ จึงกลายเป็นวิถีในการดำเนินชีวิตในมิติของครอบครัวที่ถือว่าอยู่อย่างพร้อมหน้าพร้อมตา

 

 

         ในการทำการเกษตรเช่นนี้ ต้องมีช่วงเวลาในในผสมพันธุ์เเตงโดยที่เป็นการนำเกสรตัวผู้เเละเกสรตัวเมียมาผสมกัน ที่เป็นเกษตรกรจับผสม ในยามผสมจะผสมได้ต้องมีอากาศที่เหมาะสม ที่มีอากาศค่อนข้างเย็น ถึงจะผสมได้ติดตามที่ต้องการ โดยช่วงเวลาที่อากาศเย็นๆที่เหมาะสม คือ ช่วงเวลาประมาณตี 2 ถึง ตี 4 หรืออาจถึงตี 5 เลยทีเดียว ถ้าพ่อเเละเเม่ทำงานเพียงสองคนอาจทำให้ล่าช้าไม่ทันเวลาได้ จึงต้องมีผู้ช่วยเข้ามาช่วยโดยผู้ช่วยในที่นี้เป็นลูกหลานของตนเอง จึงมีการนำลูกหลานให้มาช่วยกันในฤดูกาลที่ผสมเเตง ตั้งเเต่ตี 2 ถึง ตี 4 ทำให้เพื่อนๆในชั้นเรียนชอบนอนหลับในเวลาเรียนนั่นเอง   เนื่องด้วยสารเคมีที่ชาวบ้านใช้ในเเปลงเป็นระยะเวลายาวนาน ตลอดจนยาฆ่าเเมลงต่างๆ ฮอร์โมนเร่งต่างๆ ที่ถูกเฉีดพ่นอยู่เป็นประจำ ทำให้เกิดสารตกค้างขึ้น เมื่อได้คลุกคลีกับแปลงที่ตกค้างสารเคมีจะทำให้เกิดการสำผัสเพราะชาวบ้านมักไม่สวมถุงมือ ทำให้สารเคมีเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย จนเกิดสารเคมีในระยะสะสมในร่างกายในที่สุด

 

 

 

           วิถีชีวิตของชาวบ้านเปลี่ยนเเปลงไปจากอดีต ซึ่งฮักนะเชียงยืนศึกษาดูจริงๆเเล้วจึงพบว่า การเกษตรประภทนี้ คือ "พันธะสัญญา" นั่นเอง โดยบริษัทนายทุนเข้ามาตั้งเเต่สมัย 30 กว่าปีที่เเล้ว เข้ามาในชุมชนนี้ เพราะชุมชนนี้ในตอนนั้นมีระบบคลองชลประทานจากทางภาครัฐตัดผ่านชุมชนพอดี ทำให้นายทุนเห็นดังนั้นจึงเริ่มเข้ามาให้ชาวบ้านได้ลองทำ โดยการปลูกพืชประภทเเตงต่างๆ ที่เน้นการปลูกเอาเมล็ดเเต่ไม่ได้เอาเนื้อ ฉะนั้นเเล้วการใช้สารเคมีในการเกษตรจึงเป็นการใช้สารเคมีในผลหรือเนื้อของเเตง เเล้วอาจส่งผลให้สะสมอยู่ในเมล็ดบ้างจำนวนหนึ่ง เมล็ดนี้ นายทุนจะรับซื้อในราคาดี จากการสอบถามชาวบ้านบอกว่า "มีเก็บฤดูกาลละประมาณ 1 เเสนบาท" ซึ่งปีหนึ่งมีสามฤดู ชาวบ้านจะได้ประมาณ 3 แสนบาท ต่อปี ซึ่งเป็นเงินที่ถือว่ามากพอสมควรเเลว้ได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากับครอบครัว  หลายครั้งที่ชาวบ้านบางครอบครัวนำผลผลิตนี้ออกขายตามท้องตลาดในระเเวกอำเภอ โดยขาบลูกละประมาณ 5 บาท ถึง 10 บาท บางครั้งมีนายทุนอีกทีที่เข้ามาติดต่อรับซื้อเพื่อไปจำหน่ายตามชุมชนต่างๆ... วิถีชีวิตของชาวบ้านเปลี่ยนเเปลงไปจากเดิมที่ตื่นเช้ามาได้ใส่บาตรพระ ไปทำบุญ  มีการเข้าร่วมประเพณีในชุมชนอย่างสนุกสนานเเละเข้าถึงโดยที่ทุกคนร่วมด้วยช่วยกัน เเต่ในทุกๆวันนี้วิถีชีวิตของชาวบ้านเปลี่ยนเเปลงไปเยอะมากจากงานบุญประเพณีต่างๆทุกคนเริ่มสนใจไร่สวนของตนเองมากที่สุดจนทำให้ชาวบ้านรุ่วมงานบุญประเพณีน้อยมาก  อยู่ในหมู่บ้านค่อนข้างเงียบเหงา เพราะส่วนใหญ่ชาวบ้านจะอยู่ตามท้องไร่ท้องนา โดยไม่ค่อยมองที่ชุมชนเเละบ้านเรือนของตนเอง มีเวลาน้อยที่อยู่ในบ้าน มีเวลามากอยู่ในไร่เกษตร  ส่วนใหญ่ มักฉีดพ่นสารเคมีในไร่เกษตรเพราะต้องการรายได้เข้ามาเลี้ยงดูครอบครัวให้มากที่สุด "สารเคมีที่ได้รับอยู่ในทุกๆวันนั้นอาจส่งผลออกมาเมื่อไร  เราไม่สามารถล่วงรู้ได้" เพราะเป็นอาชีพ  เพราะอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันในครอบครัว  เพราะเป็นวิถีชีวิต  เพราะรายได้ดี ...

 

 

          ข้อมูลที่ได้สอบถามจากชาวบ้านเป็นเพียงส่วนหนึ่ง เเละต้องมีข้อมูลจากเเหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานในชุมชนที่เกี่ยวข้องร่วมด้วย โดยข้อมูลจาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ซึ่งท่านได้ให้ข้อมูลเพียงในระดับเบื้องต้น  ฮักนะเชียงยืนสอบถามในเรื่องของประวัติการเจ็บป่วยของชาวบ้านจากการให้สารเคมี ปรากฏว่า ในสมัยนั้นยังไม่มีคอมพิวเตอร์จึงลำบากต่อการดูข้อมูล  เเล้วข้อมูลในตอนนั้นนานมากทำให้หลายๆข้อมูลสำคัญสูญหาย มีเฉพาะประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบันซึ่งก็ค่อนข้างที่จะเป็นปกติเเต่ข้อมูลในตอนนั้นที่ได้มา คือ โรคเบาหวาน มีเยอะมากจากเดิมเเล้วมีเเนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เป็นข้อสังเกตุอีกข้อที่ชวนให้สงสัย "ในมุมมองของเด็กๆ" .... สำหรับการลงพื้นที่เป็นครั้งเเรกเเละครั้งต่อๆมา เป็นการสร้างความคุ้นเคยให้เกิดขึ้นในชุมชนโดยมีทุนสำคัญในครั้งนั้น คือ ความเป็นเด็ก ความเป็นลูกเป็นหลาน ทำให้ชาวบ้านรู้สึกว่า ตนเองจะปลอดภัย เเละไม่ระเเวง...

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 555579เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2013 19:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 ธันวาคม 2013 19:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

-สวัสดีครับ

-เป็นกิจกรรมที่ดีมาก ๆครับ

-การลงพื้นที่เพื่อสอบถามข้อมูลจากชุมชนโดยตัวเกษตรกรผู้มีประสบการณ์ตรงให้ข้อมูลแบบนี้เจ๋งมาก ๆครับ

-ฮักนะเชียงยืน....

เดินทางโดยจักรยานยนต์ ทั้งกลุ่มครับ... ซึ่งตอนนั้น ตกโคลน ... เลอะเต็มตัวไปหมดเลย...

ชื่นชมความตั้งใจ เป็นกำลังใจให้นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท