617. ตอบข้อสงสัย Appreciative Inquiry (ปีที่ 6 ตอน ที่ 1)


มีคนเอางานวิจัยมาให้ดูครับ ว่าต้องการประเมินหลักสูตร ว่ามหาวิทยาลัยได้เริ่มบังคับนักศึกษาลงวิชาที่เน้นให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ โดยเป็นหน่วยกิตบังคับ 60 หน่วยกิต มีให้ลงหลายประเภทเช่นจิตตปัญญาศึกษา และอื่นๆ.. นักวิจัยท่านนี้ต้องการประเมินว่าการเรียนแบบนี้จะส่งผลต่อการสมัครงานหรือไม่ ปีนี้เป็นปีที่มหาวิทยาลัยเพิ่งมีเด็กจบจากหลักสูตรแบบนี้เป็นปีแรก.. นักวิจัยมาถามผมว่าจะทำวิจัยด้วยโจทย์แบบนี้ดีไหม..

                   

ตอบแต่ขอตอบตามแนวทางที่ถนัดคือแนว Appreciative Inquiry (AI) เอาเป็นว่าถ้าผมที่รู้ทางด้าน AI แล้วเอา AI มาวิจัยจะทำอย่างไรได้บ้าง ได้หลายแนวครับ ลองดูทางเลือกดังนี้ครับ

 

  1. ในทาง Appreciative Inquiry เราจะเน้นนักศึกษาปัจจุบันครับ เราจะพัฒนาเขาเดี๋ยวนี้เลย ด้วยการตั้งคำถามดีๆ กับเขา ถ้าอุดมคติเลยก็อาจตั้งว่า ให้เล่าประสบการณ์ที่ดีที่สุดในชีวิต อะไรที่เขาภาคภูมิใจที่สุด.. นี่คือ Discovery.. เช่นผมเคยเจอเด็กที่มีปัญหา.. บอกว่าภาคภูมิใจที่ได้จัดนิทรรศการด้านวิทยาศาสตร์แล้วประสบความสำเร็จ ถามเด็กๆ ทุกคน แล้วหาจุดร่วมว่าเขาประสบความสำเร็จอะไร ภาคภูมิใจตรงไหน จุดเปลี่ยนที่ทำให้ประสบความสำเร็จคืออะไร.. มีครั้งหนึ่งผมเคยถามคุณครู ลองให้ครูนั่นแหละนึกถึงตอนเป็นนักเรียนในคำถามเดียวกัน ปรากฏว่าจุดร่วม (Positive Core) ของครูทุกคน คือการริเริ่มทำอะไรบางอย่างด้วยตนเอง.. ประมาณว่าสนใจทำอะไรบางอย่างด้วยความสนใจของตนเอง... ที่สุดเรานำมาสู่การสร้างฝันว่าจะเป็น The Discovery School คือนักเรียนค้นหา สร้างประสบการณ์การและค้นพบด้วยตนเอง.. Design ก็ออกแบบกันไป.. Destiny ก็อาจเริ่มทำ วัดผล ประเมิน.. งานวิจัยแบบนี้คือเด็กทุกคน ครูทุกคนมามีส่วนร่วมในการตั้งคำถาม และสร้างโครงการจากคำตอบที่ได้เองครับ.. ทำไปประเมินไป จนเด็กเรียนจบ

  2. ถ้าลดสเกลล์มาหน่อย คุณสามารถไปทบทวนทฤษฎีที่่น่าสนใจ แล้วเอามาสร้างโจทย์ การทำ AI ได้.. เช่นทฤษฎีที่สำคัญทางด้านแรงจูงใจที่เพิ่มมาใหม่คือ Drive ซึ่งการที่คนจะมีแรงจูงใจมากๆ จนสร้างความสำเร็จนั้นมาจากสามปัจจัยคือ Purpose การอยู่อย่างมีความหมาย Masterly ความเชี่ยวชาญ และอิสรภาพ (Autonomy) .. คุณอาจเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งมาทำวิจัยแบบ AI ได้ เช่น เลือก Purpose ตรงนี้ก็จะใช้คำถามว่า.. “ให้คุณเล่าเหตุการณ์อะไรในชีิวต ที่ทำให้คุณรู้สึกมีความหมาย"... เช่นผมเองสอน AI มาหลายปีรู้สึกมีความหมายๆ มากๆ ก็ตอนที่ AI ที่ผมสอนไปทำให้พยาบาลในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ค้นพบวิธีพัฒนาบุคลากรให้สามารถแทงเข็มน้ำเกลือเข้าเส้นครั้งเดียวอยู่.. นี่ทำให้ผมภูมิใจมากกว่าที่ผมเอา AI ไปสอนในภาคธุรกิจซะอีก.. เมื่อคุณถามไปหลายๆคน อย่างที่ผมถาม.. ก็พบว่าเป็นเรื่องการทำอะไรให้ผู้อื่น.. ตรงนี้คือ Positive Core .. ได้ดังนี้คุณก็พานักเรียนค้นหา Dream Design Destiny จากนั้นทำกันจริงๆ วัดผล อภิปรายผล ก็จะได้งานวิจัยเชิง AI ที่เกิดจากการค้นพบ แล้วไปขยายผลจริงๆครับ การค้นพบของคุณอาจจะต่างจากที่ผมพบก็ได้

  3. แต่ถ้าอยากทำแนวประเมินจริงๆ ก็ลองใช้ Appreciative Evaluation ก็ใช้เพียงสามคำถาม.. สัมภาษณ์เอา ด้วยคำถาม ตั้งแต่เรียนมาประทับใจวิชาอะไรที่สุด ให้เล่าโดยละเอียด โดยบอกด้วยว่าวิชาดังกล่าวนี่ชอบตรงไหน คำถามต่อมาก็ถามว่า เวลาคุณเรียนคุณให้ความสำคัญกับอะไรที่สุด สุดท้ายคิดว่ามหาวิทยาลัยควรทำอะไรเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ประสบการณ์การเรียนที่ดีย่ิงขึ้น..

 

สามแนวข้างต้นนี่น่าจะเป็นแนวที่คนทำ AI จะทำครับ เราเน้นปัจจุบัน ค้นพบไปทำไป ประเมิน แล้วปรับเปลี่ยนไปเรื่อย เหมือน Action Research (เพราะ AI ถือเป็น Action Research ประเภทหนึ่งครับ)

 

ส่วนการประเมินแนะนำ Kirkpatrick Evaluation Model ครับ.. ส่วนจะสร้างแบบประเมินใหม่ หรืออะไรนั้นอาจเป็นอีกงานวิจัยหนึ่ง เรียกว่าทำอีกชิ้นหนึ่งเลย นั่นก็อีกเรื่อง ผมจะมาเล่าให้ฟังอีกทีครับ

 

วันนี้พอเท่านี้ เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูนะครับ

Reference:

The first picture retreived December 6, 2013 from http://educationarticle.net/about-child-education/

 

หมายเลขบันทึก: 555572เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2013 17:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 ธันวาคม 2013 17:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท