แนะนำเส้นทางการเรียนรู้ สำหรับผู้อยากขับเคลื่อน ปศพพ. สู่สถานศึกษา


ยิ่งผมเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการสืบค้นจากสื่อบนอินเตอร์เน็ต ผมยิ่งรู้สึกว่า บทบาทหน้าที่ๆ ทำอยู่นี้ตกอยู่ในร่อง "อ่าน คิด เขียน" มากเกินไป การปฏิบัติน้อยเกินไป  เกี่ยวกับการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษานั้น ผมพบว่าจากสื่อที่แสดงอยู่บนเว็บนั้น ไม่มีความจำเป็นเลยที่ผมจะต้องมาแปลงสื่อเหล่านี้ แล้วนำมาเขียนหนังสือ ตำรา หรือบทความอีก เพราะองค์ความรู้มีอยู่แล้วในอินเตอร์เน็ต จากผู้ใหญ่ใกล้เบื้องพระบาท ทุกท่านล้วนผ่านการปฏิบัต และสกัดออกมาอย่างดียิ่งแล้ว....

ผมขอแนะนำสำหรับผู้มาใหม่ ที่มีใจจงรักภักดีและมีอุดมการณ์ที่ขับเคลื่อนหลัก ปศพพ. สู่เด็กๆ ลูกหลานเรา  ด้วยการเสนอเส้นทางการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้รู้และเข้าใจ และนำไปปฏิบัติกับตนเอง จนเกิดความภาคภูมิใจในผลที่เกิดกับตนเอง แล้วนำออกเผยแพร่แบบระเบิดจากภายในตัวท่านต่อไป โดยใช้ การเรียนรู้ ๙ ขั้นตอนต่อไปนี้

๑.) ฟังให้เข้าใจว่า ในหลวงสอนอะไร ด้วยการดูฟังคลิปนี้ครับ (ฟังสักหลายรอบ) และตั้งคำถามกำตนเองว่าท่านทำอย่างไรที่เรียกว่า "ความพอเพียง"



 ๒.) เรียนรู้หลักการทรงงานผ่านคลิปนี้ครับ แล้วถามตนเองว่า อะไรคือหลักของ ปศพพ.



๓.) ทำไมต้องขับเคลื่อน ปศพพ. สู่สถานศึกษา จากคลิปนี้ครับ




๔.) เรียนรู้เกี่ยวกับเป้าหมายของการขับเคลื่อน ปศพพ. สู่สถานศึกษา จากคลิปนี้ครับ และถามตนเองว่า อะไรคือ อุปนิสัยพอเพียง




๕.) เรียนรู้หลักการขับเคลื่อน ปศพพ. สู่นักเรียน จาก รองศาสตราจารย์ ดร.ทิศนา แขมมณี ครับ





๖.) เรียนรู้วิธีการขับเคลื่อนฯ ผ่านประสบการณ์ของ ดร.ปิยานุช ธรรมปิยา ได้ที่คลิปนี้ครับ

 






๗.) เรียนวิธีเริ่มเต้นขับเคลื่อนฯ จาก อ.ฉลาด ปาโส ได้ที่คลิปนี้ครับ






๘.) ลงมือปฏิบัติกับตนเองทันทีครับ
๙.) ถอดบทเรียนและนำสิ่งที่คิดว่าดีมาแลกเปลี่่ยนแบ่งปันกัน และสะท้อนกลับรับผลไปทำต่อเป็น "วงเรียน" ต่อๆ ไปครับ

ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือ ขั้นตอนที่ ๘.) และ ๙.) ครับ ขั้นตอนจาก ๑.) - ๗.) แม้ไม่เรียนรู้จากคลิปนี้ ผมเชื่อว่าผู้ที่อ่านตามมาถึงบรรทัดนี้ ท่านมีในตัวอยู่แล้วไม่มากก็ไม่น้อยครับ

วิธีตรวจสอบว่าขับเคลื่อนมาถูกทางหรือไม่ ให้สังเกตที่ตนเองจากสิ่งต่อไปนี้ครับ
๑.) ตนเองทำงานได้มากขึ้น (ทำงานหนักขึ้น) โดยมีความสุขและภาคภูมิใจมากขึน (ทำงานหนักขึ้นโดยไม่รู้สึกว่าหนักหรือทุกข์).... แสดงว่าท่านกลายเป็นคนขยันขึ้น
๒.) ภาคภูมิในความซื่อสัตย์ของตนเองมากขึ้น
๓.) สนุกสนานกับการเรียนรู้ และสร้างปัญญาให้กับตนเอง
๔.) เห็นคุณค่าในการอยู่ร่วมกันในสังคมและระบบนิเวศอย่างสมดุล
๕.) ไม่เห็นด้วยกับทุนนิยมสุดโต่ง มีความเคารพธรรมชาติ
๖.)  มีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์มากขึ้น

โดยสรุปคือ ท่านจะเป็นผู้อุปนิสัยพอเพียงครับ

๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘
๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙

“...การให้การศึกษานั้นคือการแนะนำส่งเสริมบุคคล ให้มีความเจริญงอกงามในการเรียนรู้ การคิดอ่าน การกระทำตามอัตภาพของตนๆ โดยมีจุดมุ่งหมายในที่สุดให้สามารถนำเอาคุณสมบัติทั้งปวงที่มีในตัว ออกมาใช้ให้เกื้อกูลตนเกื้อกูลผู้อื่นได้โดยสอดคล้อง ไม่ขัดแย้งเบียดเบียนกัน เพื่อที่จะได้อยู่ร่วมกันเป็นสังคม เป็นประเทศได้...
 
ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตนักศึกษาวิทยาลัยวิชาการศึกษา
วันพุธที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๑๖

 

หมายเลขบันทึก: 555570เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2013 16:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มกราคม 2014 15:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท