ปารินุช
นางสาว ปารินุช บริสุทธิ์ศรี

เศรษฐกิจพอเพียงกับการแก้ปัญหาการค้าระหว่างประเทศ


พอกิน ไม่ฟุ้งเฟ้อ

อันที่จริงแล้วเศรษฐกิจพอเพียง ( Self-suf-ficiency-Economy)  ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในหมู่ประชาชนชาวไทย แต่ทฤษฎีดังกล่าว ในทางปฏิบัติอาจยังไม่เป็นที่แพร่หลายเท่าที่ควรจะเป็นและคนไทยส่วนใหญ่อาจมองว่า เศรษฐกิจพอเพียง จะเน้นไปทางด้านการเกษตร เช่นการปลูกผัก ปลูกข้าวกินเอง ไม่ต้องซื้อ ไม่ต้องขาย ซึ่งถ้าเราได้ทำการศึกษาทฤษฎีพอเพียงอย่างถ่องแท้แล้ว จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในทุกสถานการณ์และทุกๆ ระดับ ชนชั้น หรือ พัฒนาไปถึงขั้นการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของชาติที่ได้เผชิญมา ก่อนอื่นคงต้องขอหยิบยกใจความสำคัญของทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงมาเล่าสู่กันฟัง  ก่อนที่จะกล่าวในหัวข้อต่อๆ ไป

            จากกระแสพระราชดำรัสของท่าน ได้มีผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านไดใช้ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงไว้ ซึ่งโดยรวมแล้วก็คือ การสร้างความพอดี พอเหมาะ พอควร ความสมเหตุสมผล ปรัชญาดังกล่าวต้องใช้การพินิจพิจารณาอย่างลึกซึ่ง ประกอบกับการศึกษาจากกระแสพระราชดำรัสต่างๆ ที่ทรงมอบให้กับชาวไทย เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขมาโดยตลอด

                นอกจากนี้ปรัชญาของพระองค์ยังแฝงไว้ด้วย หลักธรรม ตามพระพุทธศาสนา (ความพอ ประมาณ ไม่สุดโต้ง ไม่โลภมาก ) หรือเราทราบกันดีอยู่ในเรื่องของเดินทางสายกลาง นั้นเอง ดังนั้นอีกแนวคิดหนึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงก็คือหลักของการบริหารเชิงพุทธ  หรือเศรษฐศาสตร์ เชิงพุทธ ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ Ernest  Friedrich Schumacher   ได้เขียนไว้ในหนังสือเรื่อง “Small is beautiful”  ชูมาเกอร์ ได้ศึกษาปรัชญาทางพุทธศาสนาร่วมกับแนวคิดของ เต๋า โดยนำมาใช้ในการแก้ปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานและปัญหาเศรษฐกิจโดยรวม

                ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ที่เน้นการพึ่งพาตนเองไม่เบียดเบียนผู้อื่น ดังใจความตอนหนึ่งของกระแสพระราชดำรัส โลภมากก็เบียดเบียนมาก ไม่โลภก็ไม่เบียดเบียน ซึ่งถือว่าแนวคิดทฤษฎีที่ท่านทรงมอบให้กับประชาชนไทยนั้น เป็นคุณประโยชน์และผสมผสานกับหลักพุทธศาสตร์ และแนวคิดต่างๆ ตามสากลได้อย่างดีเยี่ยม

                ประเทศไทยพอที่จะสรุปไดเป็น 5 ข้อ ดังต่อไปนี้

1.การสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจของประเทศไทย

2. สร้างความสมดุลให้เกิดกับเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม

3. การผสมผสานทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงให้เข้ากับกระแสอันเชี่ยวกรากของโลกาภิวัฒน์

4. การต่อยอดแนวคิดที่จะนำไปใช้กับทุกๆ ธุรกิจ หรือทุกๆ ภาคการผลิต

5. การนำทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ หรือสร้างรูปแบบจำลอง(Model) ใหม่ ๆ ให้เกิดการปฎิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

                                                                 ที่มาหนังสือคิดก้าวหน้า กรมทรัพย์สินทางปัญญา

 

หมายเลขบันทึก: 55535เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2006 15:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 16:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • มีประโยชน์มากเลยค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
ขอบคุณมากค่ะ สำหรับทุกความคิดเห็นค่ะ
อยากทุกคนทำตามกระแสพระราชดำรัสกันมากๆ ถ้ามีแนวทางในทางปฏิบัติที่จริงจังก็จะช่วยประเทศไทยได้อย่างดี
กนายกิตติศักดิ์ ปินแก้ว

ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นประโยชย์ทั้งสิ้นถ้านำไปปฎิบัติ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท