"กฎสากล" (๑)


 

“กฎสากล” (Universal Law)

เรามีส่วนเกี่ยวข้องกับกฎต่างๆ ในโลกนี้อย่างไร ในบรรดากฎที่เกิดขึ้นเองและกฎที่เราสร้างขึ้น มีส่วนสัมพันธ์กับกฎใหญ่คือ กฎสากลทั้งสิ้น มันมีส่วนสำคัญในแง่การมองสรรพสิ่งตามกลไก ตามกฎภายนอกการตัดสินใจของเรา เพราะเราอยู่ภายใต้มัน จึงจำเป็นที่เราควรรู้และศึกษา เพื่อให้เข้าใจและทำใจได้ ยิ่งกว่านั้น มันจะให้เรามีเอกภพทัศน์ โลกทัศน์ ชีวทัศน์ และธรรมทัศน์ต่อไป ในที่นี่ขอเสนอหลักสากลไว้ดังนี้

๑) หลักสากล (Universal Law) คือ เสาหลักเอกของสรรพสิ่งที่ดำเนินภายใต้กฎเกณฑ์ของมัน เป็นต้นแบบหรือเป็นสาเหตุให้กฎต่างๆ เกิดขึ้นตามมา เช่น กฎการเกิดเอกภพ (บิ๊กแบง) การวัฎ (การหมุน) แรงโน้มถ่วง เวลา เป็นต้น กฎเหล่านี้คือ ที่มาของสรรพสิ่งทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต กฎแม่แบบเหล่านี้ มันอาจอยู่ห่างความเป็นจริงกับวิถีชีวิตเราโดยตรง หากเชื่อมโยงด้วยความเข้าใจมัน มันเชื่อมโยงเราอยู่ตั้งแต่ปฏิสนธิ จนกระทั่งตาย เช่น เราอยู่ในครรภ์แม่เป็นเวลา ๙ เดือน นั่นเพราะธรรมชาติทางธรรมชาติทางชีววิทยา ต้องเตรียมตัวให้พร้อมก่อน มิฉะนั้น กายเราก็จะไม่สมบูรณ์และอาจไม่รอด

นี่คือ ระบบกลไกภายในเรา ที่ทำงานประสานกับระบบจักรวาล โลก เวลา ตั้งแต่ตั้งไข่แล้ว แหล่งที่เป็นกลไกในตัวเรา คือ ชิบในสมอง ดังนั้น กฎนี้จึงเอื้อให้เกิดกฎสากลเฉพาะในโลกของมนุษย์อีก กฎที่ตามมาเป็นกฎที่เราสร้างขึ้น เพื่อให้เป็นกฎสากลของโลก ซึ่งในที่นี่เสนอไว้ ๔ กฎ คือ กฎขอองเวลา กฎของชีววิทยา กฎของศาสนา และกฎของภาษา ที่จริงยังมีกฎต่างๆ อีกมากมาย ที่เป็นที่เราสร้างขึ้นมาเป็นการเฉพาะ

๑) กฎของเวลา (Time Law) คือ กฎที่อิงจากกฎสากล นั่นคือ จักรวาล เมื่อเราอยู่ในโลกจึงถือเอากฎเวลาเฉพาะในโลกนี้เท่านั้น เพื่อสะดวกในการเข้าใจกลไกกาลเวลา เพราะเราประสบกับการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวันเสมอ คือ กลางวัน กลางคืน เช้า สาย บ่าย ค่ำ ซึ่งวิถีของสัตว์โลกต้องดำเนินไปตามกติกาของเวลานี้ นอกจากนี้ เรายังมีกฎย่อยอีกซึ่งขอแบ่งเป็นกฎย่อยที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตดังนี้

        ๑.๑) เทศกาล (Zone Time) คือ เวลาที่อยู่ตามตำแหน่งของโลก เช่น ขั้วโลกเหนือ ขั้วโลกใต้ โลกตะวันตก โลกตะวันออก ซึ่งตำแหน่งต่างๆของโลกจะไม่ตรงกัน แม้แต่ในเอเชีย แต่ละประเทศก็มีการแบ่งเวลาออกไปตามท้องถิ่นนั้นอีก ฉะนั้น เวลาจึงไม่ตรงกัน ระบบนี้เราสร้างมาจากการหมุนของโลกและการโคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งการกำหนดเอาประเทศอังกฤษเป็นเวลาศูนย์กลางของโลก เรียกว่า “เวลากรีนิช” (Greenwich) โดยแบ่งเวลาออก ๒๔ เขต แต่ละเขตเวลามีระยะห่างกันเป็น ๑ ชั่วโมง หรือคิดเป็น ๑๕ องศาลองจิจูด เส้นแรกเริ่มที่เมืองกรีนิชเป็น ๐ องศาลองจิจูด คือ คิดคำนวณออกไปซ้าย-ขวาตามพื้นที่ของโลก จึงคิดได้เป็น ๓๖๐ องศา เมื่อรอบโลกก็เป็น ๒๔ ชั่วโมง ทำให้คิดเป็นกลางวัน กลางคืน เนื่องจากโลกมีสัณฐานกลม มีด้านสว่างและด้านมืด (๓๖๐ หาร ๒๔ = ๑๕) เพราะฉะนั้น โลกจึงมีโซนเวลาห่างกัน ๑ ชั่วโมง ดังนั้น วิถีชีวิต กิจกรรมเราจึงดำเนินไปตามโซนของเวลานั้น ด้วยเหตุนี้ เราจึงมีนาฬิกาแตกต่างกันตามโซนต่างๆ นั่นเอง กฎนี้จะเป็นตัวกำหนด กิจกรรม การทำงาน การอ้างอิง การกำหนดเป็นเวลาแบบทางการ การกำหนดวันเดือน ปี เกิด ตาย ฯ หากมองแต่เวลาโซนแต่ละซีกเราก็จะพลาดความเข้าใจเวลาใหญ่หรือเวลาสากลนั่นคือ ดวงอาทิตย์ โลก การหมุนรอบได้

       ๑.๒) ฤดูกาล (Season time) คือ หลักการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ตามกลไกของการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ทำให้โลกแปรเปลี่ยนไปตามสัณฐานของโลก ปัจจัยที่ทำให้โลกมี ฤดูกาลคือ การหมุนของโลก แกนเอียงของโลกความใกล้ไกลของโลกจากดวงอาทิตย์ น้ำ ลม ฯ ฤดูกาลของโลกก็แบ่งออกไม่เหมือนกันเนื่องจากพื้นที่ของโลกต่างกัน แต่ละเขตจึงแบ่งกันตามท้องถิ่นของเขตนั้น เช่น ในเขตอบอุ่นและหนาว มี ๔ ฤดู คือ ฤดูใบไม้ผลิ ร้อน ใบไม้ร่วงและหนาว ในเขตร้อน มี ๓ ฤดู คือ ร้อน ฝน หนาว ฤดูกาลต่างๆ เหล่านี้กระตุ้นหรือสร้างให้สัตว์ พืช และมนุษย์ได้เปลี่ยนพฤติกรรม และทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดผลต่อการดำเนินชีวิต เช่น เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืช หาอาหาร พักผ่อน ฯ นี่คือ กฎเฉพาะในโลก ที่บังคับให้สัตว์โลกต้องปรับตัวเอง ตามฤดูกาล และมันได้สร้างศิลปะการดำรงชีวิต อย่างมีชีวา เป้าหมายคือ ความอยู่รอดนั่นเอง ดังนั้น ฟ้าร้อง ฝนตก อากาศร้อน อากาศหนาว ลมแรง ฯ เหล่านี้คือ เครื่องหมายของฤดูกาลต่างๆ ส่วนฤดูในตัวเราคือ วัยต่างๆ ซึ่งเป็นไปตามฤดูกาลเหล่านี้ ใครอายุมากเรียกว่า ผ่านร้อน ผ่านหนาว ผ่านฤดูกาลมาอย่างโชกโชน จึงทำให้รู้และเข้าใจในกาลแห่งฤดูเป็น จนนำไปสอนลูกสอนหลานสืบไป

        ๑.๓) วรรณกาล (Time line) คือ กาลเวลาถูกแบ่งเป็นภาคๆ มี ๓ ภาคคือ ภาคอดีต ภาคปัจจุบันและภาคอนาคต เวลานี้กินความหมายเป็นสายเดียวไม่ขาดตอน ตั้งแต่การเกิดของจักรวาล (บิ๊กแบง) เวลาก็กำเนิดขึ้นอย่างไม่ขาดสาย และมันไม่เคยตาย เพราะการดำเนินมายาวนานของวรรณกาลนี้ จึงทำให้มันมีประวัติ มีความต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ด้วยความสะดวกในการคิดคำนวณหรือการกำหนดเรียกขานกาลนี้ จึงแบ่งเวลาที่ล่วงแล้วว่า อดีต คือ ไม่สืบต่อ ไม่มีต่ออีกแล้ว สิ้นไปแล้ว จบลงแล้ว ปัจจุบัน คือ สืบอยู่ เป็นอยู่ ดำเนินอยู่ในขณะๆหนึ่ง อนาคต คือ กาลที่ยังไม่ไป ไม่ถึง ไม่มา ทั้งสามกาลนี้ดำเนินไปด้วยกัน เกี่ยวข้องกัน กาลนี้เกี่ยวข้องกับชีวิตของมนุษย์โดยตรง เนื่องจากเมื่อเกิดมา นั่นหมายถึง คนนั้นย่อมมีอดีตที่จบมาแล้วแน่นอน เมื่อยังไม่สิ้นใจก็ยังคงดำเนินอยู่ในขณะปัจจุบัน และมีแนวโน้มที่จะดำเนินไปสู่อนาคตด้วย ถ้าเราสิ้นใจ ทุกอย่างก็จบลงทันที ผลกระทบอีกอย่างที่ฝังอยู่ในตัวเราทุกคนคือ เราต่างก็มี ๓ กาลนี้แฝงอยู่ แต่ดูเหมือนว่า กาลอดีตนั้นจะฝังข้อมูลให้เรามากที่สุด เป็นกาลที่มีผลต่อการตัดสินใจในการกระทำอย่างยิ่ง เพราะมันคือ ประสบการณ์ของเรา ส่วนปัจจุบันเป็นส่วนที่มีอิทธิพลในการเลี้ยวซ้าย ขวาและทันทีและส่วนอนาคตนั้น เป็นส่วนที่คอยรับรองกิจกรรมและความฝันของเราไว้

       ๑.๔) จุลกาล (Minute Time) คือ กาลละเอียดในวิถีชีวิตของเรา ในแต่ละวัน เมื่อเราดำรงชีวิต เราจะเผชิญกับกาลเวลานี้ตั้งแต่ตื่น ไปกระทั่งเข้านอน เป็นเช่นนี้อยู่ทุกวี่วัน มันเหมือนเราวนเวียนอยู่กับกาลนี้ไปกระทั่งหมดลมหายใจ กาลนี้มีดวงอาทิตย์ โลก แสง ความมืด การโคจรของโลกและสัญกาลคือ นาฬิกา ที่โอบอุ้มอยู่เสมอ แล้วเราก็เรียกเวลานี้การแบ่งกาลออกเป็นระบบย่อยคือ ตอนเช้าตรู่ เช้าสาย เที่ยง บ่าย บ่างคล้อย เย็น มืดค่ำ ดึก โดยมีกาลตัวเลขกำกับ เช้ามืดเรียก “ตี” สายเรียก “โมง” บ่ายเรียก “บ่าย” ค่ำเรียก “ทุ่ม” จนเที่ยงคืน เรียกสองยาม เวลาที่ดำเนินไปเช่นนี้ มันคือเวลาที่ละเอียดที่เริ่มจากวินาที ไปถึงปี ทำให้ชีวิตของสัตว์โลกถูกกลืนกินไปด้วย ทั้งนี้ เพราะเราเกิดมาภายใต้กฎของเวลาและมีเงื่อนไขตามสายพันธุ์หรือกรรม(การกระทำ)ของเรา กฎของกาลเวลานี้ เป็นกฎของกฎสากลที่กำเนิดมาพร้อมจักรวาล และเป็นสิ่งเดียวที่มันไม่เคยตายเลย แต่ชีวิตเราเพิ่งกำเนิดมาแค่เศษเสี้ยวจากกาลเวลา การเรียนรู้เรื่องเวลา จึงมีประโยชน์ในด้าน การเตือนตนเอง สะท้อนหลักความจริง ของสรรพสิ่งที่ต้องพึ่งพามัน

ดังนั้น หากจะสรุปลักษณะของมันคงได้เหมือน ข้าวปลาอาหาร เราต้องกินเพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโตและทรงกายอยู่ได้ ในขณะเดียวกัน อาหารนี่เองคือ ปัจจัยที่เร่งให้เราเข้าใกล้สู่ความตายด้วย

คำสำคัญ (Tags): #กฎสากล#universal law#time
หมายเลขบันทึก: 554475เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2013 21:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2013 21:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท