รอยยิ้มของพ่อ ตอนที่ 1


เมื่อวานทีมศูนย์การุณรักษ์ ได้รับปรึกษาให้มาร่วมดูแลน้องบุญรอด หนูน้อยเพศชายอายุได้เพียง 5 วันแต่หลังคลอดได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคผิดปกติทางพันธุกรรม Trisomy 18 ฉันกับอาจารย์หมอศรีเวียงรับปรึกษาหนูน้อยบุญรอดหลังจากไปติดตามเยี่ยมเพื่อร่วม ปรึกษาหารือกันในทีมเเละคุยกับอีกครอบครัวหนึ่งที่มีลูกที่ผิดปกติเช่นกัน เเละอยู่ในโปรเเกรมของเราอีกรายหนึ่ง  สองวันต่อมาฉันได้รับการประสานจากทีมกุมารเเพทย์ เพื่อร่วมสื่อสารกับครอบครัวถึงอาการที่ไม่ดีและการพยากรณ์โรคของบุญรอด เมื่อหมอที่เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรม ยืนยันเเน่ชัดจากผลการตรวจโครโมโซม ว่าน้อง เป็น Trisomy 18 แน่นอน และอาจมีชีวิตอยู่อีกไม่นาน  น้ำตาของคนเป็นเเม่ ก็สุดที่จะกลั้นไว้ได้ ส่วนพ่อได้เเต่เพียงก้มหน้า แต่สิ่งที่ทีมได้เสนอทางเลือกให้กับครอบครัว 3 ทาง 1.ให้น้องอยู่ในเครื่องช่วยหายใจจนกว่าจะจากไป 2. พาบุญรอดกลับบ้านและไปถอดท่อช่วยหายใจที่บ้าน 3. ถอดถอนเครื่องช่วยหายใจและท่อช่วยหายใจและการรักษาทุกอย่างเพื่อปลดเปลื้องให้น้องได้จากไปอย่างสงบ ครอบครัวตัดสินใจเลือกวิธีที่ 3 

ในขั้นตอนการทำงานกับพ่อเเม่เด็กทารกเเรกเกิด สิ่งเเรกที่ฉันทำเมื่อรู้ว่าพ่อเเม่เลือกเส้นทางนี้

1. ให้ความมั่นใจว่าสิ่งที่เขาทำได้ทำเพื่อลูก ได้ช่วยให้เค้าปลดเปลื้องจากความทุกข์ทรมาน คุณแม่ คุณพ่อได้ทำสิ่งที่ดีที่สุด เพื่อเค้า

2. ให้ความมั่นใจว่าน้องจะไม่ทุกข์ทรมานเราทำตามเเนวปฏิบัติที่ทั่วโลกใช้เป็นมาตรฐาน (protocol)

3. ชวนครอบครัวพาน้องถวายสังฆทานนิมนต์พระจิตอาสามารับสังฆทานที่ตึกทารกเเรกเกิดวิกฤต

4 bereavement support เสนอว่าครอบครัวต้องการความทรงจำอะไรบ้าง เช่น ประทับรอยเท้า ปอยผม

ครอบครัวต้องการที่จะเก็บความทรงจำนี้ไว้ทีมจะช่วยทำให้  เรามี foot print ที่ซื้อมาไว้สำหรับงาน bereavement  care โดยเฉพาะเลยค่ะ

5. แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ไปจัดหาเสื้อผ้า หมวกเด็กมาสวมใส่ให้น้อง

ช่วงเช้าหลังนั่งคุยเป็นกำลังใจกับครอบครัวและมีประเด็นสำคัญที่ต้องทำให้ฉันคุยกับครอบครัวค่อนข้างนานคือ พ่อบอกว่า "ไม่อยากอุ้ม ไม่อยากผูกพัน" จากประสบการณ์ที่ฉันเองได้คลุกคลีอยู่ในงาน neonatal  palliative care บ่อยครั้งที่มักจะได้ยินคำพูดนี้จากพ่อ เเม่ ในบทบาทของทีม Palliative care อาจารย์หมอศรีเวียงจะสอนฉันว่าเราต้องกระตุ้นให้พ่อเเม่เค้านึกถึงเด็กเป็นศูนย์กลาง ให้นึกถึงว่า อย่างน้อยเค้าได้เกิดมาเป็นลูกเรา ลมหายใจสุดท้ายขอให้ได้อยู่ในอ้อมกอดอันอบอุ่นของเเม่ พ่อ การที่พ่อเเม่คิดอย่างนั้นแสดงว่าเค้ากำลังเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง เมื่อพูดจบ แม่กับพ่อบอกว่า"จะให้อุ้มตอนไหนคะ"  ฉันได้เเต่อมยิ้ม ว่าวิชาพยาบาลเด็ก   ลูกศิษย์หมอเด็กใช้ได้ผลเเล้ว และอยากจะบอกว่าเวลาได้ดูคนไข้เด็กมันมีพลังมหาศาล มีจิตวิญญาณของพยาบาลเด็กซ่อนอยู่ มันรู้สึก very proud   สักพักฉันจึงขอตัวไปเตรียม  protocol และนิมนต์พระและทานข้าวเที่ยง หลังทานข้าวทีมเรามีนัดประเมินหลักสูตร BASIC CERTIFICATE COURSE  PALLIATIVE CARE NURSING รุ่นที่ 4 ซึ่งจัดอบรมมา ครบ 6 สัปดาห์แล้ว ฉันจึงนัดหมอเด็กและครอบครัว 5 โมงเย็น  เดี๋ยวรอติดตามอ่านภาค2 นะคะ

 

 

คำสำคัญ (Tags): #neonatal palliative care
หมายเลขบันทึก: 554252เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2013 21:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2013 22:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีค่ะพี่กุ้ง

มาจ้องรออ่านตอน 2 นะคะ

รออ่านต่อภาคสอง

หายไปนานมากเลย

มาเขียนเรื่องดีแบบนี้อีกนะครับ

น้องมุ่ย เสร็จแล้วเสร็จเเล้ว เขียนในกระดาษ กำลังพิมพ์ นะคะ ได้อ่านเเน่นอน ว้าว.เข้ามาวันแรกก็เจอมุ่ยเลยคิดถึงนะคะ

อาจารย์ขจิต ด้วยความระลึกถึง ขอบคุณนะคะ

ที่คอยส่งเเรงเชียร์ เรืองราวดีดีต้องเขียนที่ gotoknow โอเคค่ะ

อ่านแล้วตื้นตัน ขอบคุณแทนครอบครัวน้องบุญรอดนะคะ

พอพ่อเขาบอกว่า "ไม่อยากอุ้ม ไม่อยากผูกพัน"

กุ้ง พูดว่าอะไร

shot นี้สำคัญมากครับ

กุ้งนิ่งไปพักนึงและยิ้มให้เค้า...พร้อมกับบอกว่า คุณ แม่คุณพ่อคะ น้องบุญรอดเค้าเกิดมาเป็นลูกเราแล้ว เค้าคงอยากได้รับความรัก ความอบอุ่นจากพ่อแม่เค้า และพี่ก็เชื่อว่า คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องการที่จะมอบสิ่งนี้ให้กับน้องเช่นกัน แต่ความกลัว กลัวรัก กลัวผูกพัน มันคือกำแพงกั้น ที่ทำให้เราไม่กล้า เราต้องทำลายกำแพงนี้ให้ได้นะคะ ในช่วงเวลาสุดท้ายเค้าคงจะมีความสุข ถ้าเค้าได้อยู่ในอ้อมกอดของพ่อและแม่..เราคงไม่อยากเห็นน้องเค้าจากไปอย่างโดดเดี่ยว ..ที่สำคัญเราควรนึกถึงน้องเป็นศูนย์กลาง.ลองคุยกันใหม่นะคะ

ขอบคุณพี่โอ๋นะคะที่แวะมาให้กำลังใจ

อาจารย์คะ กุ้ง ต้อง ขอบคุณ อาจารย์มดค่ะ อาจารย์สอนและทำให้ดู เรียนรู้จากอาจารย์ถึงวืธีการสื่อสารกับพ่อแม่เด็ก และ case ลักษณะนี้เราเจอเยอะมากค่ะที่พ่อแม่ปฏิเสธลูกด้วยเหตุผลเดียวกันคือไม่อยากอุ้ม ไม่อยากสร้างความผูกพัน และเมื่อเราโน้มน้าว ชวนให้เค้าคิดในมุมนี้ คิดในมุมเด็ก ลดการคิดถึงตัวเอง ส่วนใหญ่ ร้อยเปอร์เซนต์ขออุ้มลูกให้ลูกจากไปในอกเค้า

ขอบคุณอาจารย์เต็มค่ะ ตอน 2 รออ่านนะคะ กำลังเบ่งค่ะ

รอยยิ้มของพ่อภาค 2 คลอดแล้ว ค่ะ  ขออภัยที่ทำให้แฟนๆ รอนานแฮ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท