กระเทียมลดความดันโลหิตสูง ลดน้ำตาล ไขมันในเลือด ต้านมะเร็ง และข้อควรระวังการใช้เพื่อสุขภาพ


กระเทียมเพื่อสุขภาพ

กระเทียม สมุนไพรในครัวที่เป็นที่ยอมรับกันส่วนมากว่าเป็นอาหารเป็นยารักษาโรคให้หายได้ โรคที่ขื้นชื่อเมื่ออายุมากขึ้นแล้วจะเป็นกัน เช่น มีไขมันในเลือดสูง มีน้ำตาลในเลือดสูงเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ฯ สังเกตไหมค่ะจะมีคำว่า สูง  ดังนั้นอะไรที่มากเกิน สูงเกิน ก็ทำให้เกิดโรค เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรหรืออาหารเป็นยาบางชนิด หากใช้มากเกินอยากให้โรคหายเร็วๆใช้ต่อครั้งก็เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ กระเทียมก็เป็นหนึ่งในสมุนไพรที่มีโทษได้ ไม่ได้รักษาให้โรคหายได้อย่างเดียว มีสิ่งที่ต้องระวังไว้ด้วยในการใช้เพื่อสุขภาพ นำมาฝากดังนี้

 

กระเทียมลดลดความดันโลหิตสูง ลดน้ำตาล- ไขมันในเลือด

สารสำคัญที่พบ

ในหัวกระเทียมมีอัลลิลิน (alliin) อัลลิซิน (allicin) ไดอัลลิล ไดซัลไฟด์ (diallyl disulfide ) ไดอัลลิลไทรซัลไฟด์( diallyl trisulfide) ใบสดมีกรดออะมิโน น้ำตาลซูโครส วิตามินบี1 และวิตามมินซี เหล็ก แคลเซียม หัวใต้ดินมีน้ำมันหอมระเหย ( allicin) 0.06-0.1 % แต่จากการทดลองพบว่า กระเทียมที่เก็บไว้นานมากกว่า 9 เดือนปริมาณ allicin จะลดลง 25% ฉะนั้นการใช้กระเทียมควรเลือกกระเทียมที่เก็บใหม่ๆ นอกจากนั้นยังพบสาร allyldisulfide, dially disulfide ทำให้มีกลิ่นตัว และสารประกอบจำพวก sulfide อีกจะนวนมาก allicin (diallyl disulfide oxide) allicin เป็นน้ำมันที่ไม่มีสีละลายในน้ำและรวมตัวเป็นเนื้อเดียวกันกับแอลกอฮอล์ เบนซิน และอีเธอร์ จะถูกทำลายเมื่อใช้ความร้อนโดยตรง

 

สรรพคุณ

หัว   ลดความดันโลหิตสูง ขับเสมหะ รักษาแผลเรื้อรัง แก้ไอ แก้บวม พุพอง

ลำต้น   แก้ฟกบวม

ใบ    แก้สะอึก แก้หูอื้อ แก้ฟกช้ำ แก้กำเดา แก้ไข้หวัด

ทั้งหัว  แก้โรคผวหนัง แก้ไอ ขับผายลม บำรุงธาตุไฟ

 

ส่วนที่ใช้      หัวใต้ดิน

วิธีใช้ 

ให้กินกระเทียมสด 5- 7 กลีบ/วัน เป็นประจำโดยสับให้ละเอียดกินวันละประมาณ 2 ช้อนชา( 10 กรัม) กินร่วมกับอาหารอื่นๆ กระเทียมเป็นสมุนไพรที่ใช้ปรุงอาหารในครัวเรือนมีรสค่อนข้างเผ็ดร้อน ระคายเคืองกระเพาะ หากกินกระเทียมสดต้องกินพร้อมอาหารที่มีโปรตีน เช่น เนื้อ ไข่ ผลิตภัณฑ์กระเทียมเป็นที่ยอมรับกันว่า สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งได้ เพราะจะไปยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม กระเพาะปัสสาวะ ผิวหนัง ลำไส้ใหญ่ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และปอด โดยไปเพิ่มอัตราการขับสารก่อมะเร็ง ป้องกันไม่ให้สารก่อมะเร็งจับตัวกับ DNA จนไปเพิ่มประสิทธิภาพของเอนไซม์ที่ทำให้เกิดมะเร็ง และยังช่วยให้กระบวนการกระตุ้นภูมิต้านทาน ลดอาการข้างเคียงของยารักษามะเร็งได้

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

ลดความดันโลหิตสูง ลดคอเลสเตอรอล และไขมันในเลือด ลดความหนืดของเลือด ลดน้ำตาลในเลือด ต้านมะเร็ง ขับลม ลดการอัเสบ สมานแผล แก้เกาท์ เพิ่มภูมิคุ้มกัน

 

 

ความเป็นพิษ

1. มีฤทธิ์ระคายเคืองสูง ถ้ากินกระเทียมมากๆ จะทำให้ปวดท้องได้

    และฤทธิ์ระคายเคืองนี้แรงมาก คือสามารถทำให้ผิวหนังเป็นตุ่มพองได้

2. บางคนแพ้กระเทียม ใน 20 คนจะมี 1 คนที่แพ้กระเทียม จะเกิดผื่นแดง คันมาก

    เวลากินกระเทียมจะปวดท้องมีลมในกระเพาะ หรือในเด็กอาจจะเกิดอาการร้อนใน เจ็บคอ

3. ทำลายเม็ดเลือดแดง ถ้ากินกระเทียมเข้าไปมากๆจะทำให้ร่างกายมีเม็ดเลือดแดงน้อยลง

    เพราะ สารallicin ไปทำลายเม็ดเลือดแดงให้แตกออก

4. ทำให้ตับทำงานไม่เต็มที่ สาร allicin จะไปยับยั้งการทำงานของสารบางตัวในตับ

    จะทำให้ตับทำงานได้ไม่เต็มที่

5. ทำให้ตาผิดปกติ มีรายงานว่ากินกระเทียมมากๆ จะไปรบกวนม่านตาทำให้ตาสู้แสงจ้าไม่ได้

6. ควันกระเทียมอันตรายต้อเด็ก หมอพพื้นบ้านชาวอินเดียถือว่า กระเทียมจะไปกระตุ้นประสาท

   โดยเฉพาะควันจากการเผากระเทียม ทำให้เด็กที่สูดเข้าไปเสียชีวิตได้

 

ข้อสังเกต/ข้อควรระวัง

1. ถ้าเก็บกระเทียมไว้นานเกินไป สารสำคัญในกระเทียมจะลดน้อยลง และหากจะใช้กระเทียมให้ได้ผลดีก็ไม่ควรกินหรือกลืนกระเทียมทั้งกลีบ ควรจะทุบหรือสับให้ละเอียดเสียก่อน เพื่อให้น้ำมันในกระเทียมมีฤทธ์ในการรักษามากยิ่งขึ้น

2. หากจะเก็บกระเทียมไว้เพื่อรับประทานได้นานๆ ให้นำไปดองในน้ำส้มสายชูหรือน้ำซีอิ๊ว เพราะ จะช่วยรักษาคุณค่าทางอาหารของกระเทียมได้เป็นอย่างดี

3. การปรุงกระเทียมโดยใช้ความร้อน เช่น การเจียว การต้ม จะทำให้คุณค่าในการเป็นยารักษาโรคลดน้อยลง ดังนั้น ควรรับประทานกระเทียมในปริมาณที่มากขึ้นกว่าเดิม

4. คนที่เป็นโรคกระเพาะหรือท้องว่าง ไม่ควรรับประทานกระเทียมเพราะ จะทำให้ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร และเมื่อเกิดอาการปวดท้องคลื่นไส้ ควรรับประทานกระเทียมให้น้อยลง

 

( ขอบคุณ สรรพคุณกระเทียม ฯ จากหนังสือสมุนไพรลดความดันโลหิตสูง บำบัดเบาหวาน ลดไขมันในเลือด รบรวมเรียบเรียงโดย ภญ.จุไรรัตน์ เกิด ดอนแฝก เภสัขกร 8 วช.(ด้านเภสัชกรรมคลินิก) ศูนย์บริการสาธาณสุข 53 ทุ่งสองห้อง สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร )

 

 

กระเทียม มีประโยชน์ต่อร่างกายมาก และเป็นสมุนไพรที่สำคัญในการปรุงอาหารของไทยเรามากๆขาดกระเทียมไม่ได้เลย อะไรๆก็ต้องใส่กระเทียมถึงจะอร่อยนะคะ การใช้กระเทียมให้พอดีพอเหมาะต่อครั้งปฏิบัติให้ถูกตามที่กล่าว ร่างกายก็จะไม่มีอะไรแทรกซ้อนเกิดเจ็บป่วยขึ้นได้ แต่จะได้ผลดีต่อการใช้ได้มาก กระเทียมคู่ครัวไทยใช้ง่ายและสะดวก หาซื้อได้ง่ายราคาไม่แพง อาหารเป็นยาที่รักษาโรคได้วันละ 5-7 กลีบไม่ว่าจะปวยหรือไม่ป่วยก็กินได้ทุกวันนะคะ 

การปลูกระเทียม ก็ไม่ยากแกะจากหัวกระเทียมเป็นกลีบๆ ปลูกได้เลยบนพื้นหรือในกะละมัง กระถาง หากไม่รอจนเป็นหัวก็ไว้ตัดใบมาทำอาหารได้ เช่น นำมาผัดกับปลาช่อน หอมอร่อยมาก  หรือเป็นหวัดก็นำมาขยี้หอมหรือปัั่นดื่ม รักษาหวัดด้วยสมุนไพรที่เราปลูกได้เอง

ด้วยความปรารถนาดี  กานดา แสนมณี

วันเสาร์ที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๕๕๖

หมายเลขบันทึก: 552998เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2013 17:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2013 17:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

แม้จะกลิ่นแรง แต่ประโยชน์เยอะมากๆนะครับ

เพิ่งทาน หอยแมลงภู่อบกระเทียมและชีสต์มาค่ะ มีกระเทียมสับผัดกับเนยโป๊ะมาเต็มฝาหอยเลยค่ะ

ตอนเด็กๆ จะชอบข้าวผัดกากหมูของคุณยายมากเลยค่ะ  ....นำหมู 3 ชั้นมาเจียวกับกระเทียมจนกรอบเหลือง ผัดข้าวใส่เกลือ และต้นหอม ......ติดทานสมบูรณ์จนอ้วนถึงตอนนี้ล่ะค่ะ

ชอบกินในแหนมเนืองค่ะพี่ดา   ในอาหารอื่น ๆ ก็ชอบ  กินกับแหนมหมู (จิ้น) แซ่บหลาย

ชอบกินกับแหนม  กินแล้วจะรู้สึกแสบด้านข้างลิ้น  ที่แย่กว่านั้นคือหลังจากกินแล้วไปนั่งใกล้ใครไม่ค่อยได้

ชอบกระเทียมดอง ผัดไข่ หร่อยๆๆๆ

การกินกระเทียมมากเกินไปจะทำให้เกิด ไฝ ขี้แมลงวัน ตามใบหน้า ไม่ควรกินเกินวันละ 5 กลีบ

ถ้ากินมากโรคอาจหาย แต่จะได้หน้ามีไฝ ขี้แมลงวันมาแทน

ขอบคุณมากๆค่ะ ขออนุญาติแชร์นะคะ ถือว่าเป็นบทความที่มีประโยชน์อย่างมาก

ประทีป​ รักพาณิชย์

ภายหลังที่กินกระเทียม6กลีบเล็กตำให้แตกแล้วผสมน้ำมันมะพร้าวสะกัดเย็น2ช้อนโต๊ะแล้วเทลาดข้าวสุกร้อนๆรัปทานอยู่ 1เดือน ผลเลือดออกมาว่า HDL เพิ่ม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท