ทำงานไกล(บ้าน)__เพิ่มเสี่ยงโรคอ้วน


สำนักข่าวนิวยอร์ค ไทมส์ ตีพิมพ์เรื่อง "ทำงาน (เดินทาง) ไกล___ ทำให้เราอ้วน", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

 

ภาพ: แสดงการรณรงค์ให้คนอเมริกันใช้รถร่วมกันมากขึ้น

  • HOV 2 = high occupancy vehicle = รถมีคนนั่ง 2 คน
  • HOV 3 = high occupancy vehicle = รถมีคนนั่ง 3 คน

คนอเมริกันส่วนใหญ่ขับรถไปทำงานแบบ 1 คน 1 คัน = single occupancy vehicle

ประเทศในอาเซียนที่มีระบบขนส่งมวลชนดี และหุ่นดีมากด้วย คงจะเป็นสิงคโปร์

.

 

 

สำนักงานสัมมโนประชากรสหรัฐฯ รายงานว่า ปี 2552 คนอเมริกันเดินทางไปกลับที่ทำงานดังนี้

  • มากกว่า 75% ใช้รถส่วนตัว
  • 5% ใช้ขนส่งมวลชน
  • 2.9% เดิน
  • 0.6% จักรยาน

เมืองที่มีขนส่งมวลชนดี เช่น นิวยอร์ค สิงคโปร์ ฯลฯ จะทำให้คนใช้รถส่วนตัวน้อยลง ใช้ขนส่งมวลชนมากขึ้น มีโอกาสเดินมากขึ้น

เช่น เดินขึ้นลงสถานีรถไฟฟ้า ฯลฯ

ทำให้มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าคนที่ต้องเดินทางไกล ไปกลับชานเมือง = 2.7-3.2 กิโลกรัม

การศึกษาเร็วๆ นี้ ทำในชาวเท็กซัส 4,297 คน

.

ผลการศึกษาพบว่า ยิ่งต้องเดินทางไปกลับที่ทำงานไกล ยิ่งเสี่ยงปัญหาสุขภาพได้แก่

  • มีเวลาออกกำลังน้อยลง
  • ความฟิตของหัวใจ-ระบบไหลเวียนเลือดลดลง (วัดโดยการเดิน วิ่ง ฯลฯ)
  • ความดันเลือดสูงขึ้น
  • น้ำหนักตัวสูงขึ้น
  • เส้นรอบเอวเพิ่มขึ้น เพิ่มเสี่ยงอ้วนลงพุง
  • เสี่ยงกลุ่มอาการอ้วนลงพุง หรือเมทาโบลิกสูงขึ้น

.

กลุ่มอาการเมทาโบลิค เป็นกลุ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ-ระบบไหลเวียนเลือดได้แก่

  • เส้นรอบเอวเกิน 90 ซม.ในผู้ชาย, 80 ซม.ในผู้หญิง (บวกกับข้อที่เหลืออย่างน้อย 2 ข้อ)
  • ความดันเลือดสูงเกิน 130/85 หรือกินยาลดความดันเลือด
  • น้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารสูงเกิน 100 มก./ดล.
  • โคเลสเตอรอลหรือไขมันในเลือดชนิดดี (HDL) ต่ำ (น้อยกว่า 40 มก./ดล.ในผู้ชาย, 50 มก./ดล.ในผู้หญิง)
  • ไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง (เกิน 150 มก./ดล.)

.

การศึกษานี้พบว่า คนที่ต้องเดินทางไปกลับที่ทำงาน ไกลเกิน 16 กิโลเมตร/เที่ยว, 5 วัน/สัปดาห์ เพิ่มเสี่ยง...

  • ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
  • โคเลสเตอรอลหรือไขมันในเลือดสูงขึ้น
  • เครียด เหงา-เศร้า-เซง

การศึกษาจากสวีเดนพบว่า คนที่เดินทางไปกลับที่ทำงานเกิน 30 ไมล์/วัน = 48.3 กิโลเมตร/วัน เพิ่มเสี่ยง...

  • ความดันเลือดสูง
  • เครียด
  • โรคหัวใจ

.

ถ้าเดินทางไกลกว่านั้นอีก 1 ไมล์ = 31 ไมล์/วัน = 50 กิโลเมตร/วัน เพิ่มเสี่ยงกลับบ้านเก่าเร็ว (เสียชีวิตก่อนวัยอันควร)

การศึกษาอีกรายงานหนึ่งจากสวีเดน ทำในกลุ่มตัวอย่างที่เดินทางไปกลับผ่านระบบขนส่งมวลชน อายุ 18-65 ปี มากกว่า 21,000 คน

ผลการศึกษาพบว่า คนที่เดินทางไปทำงานไกลๆ ทุกวัน เพิ่มเสี่ยง...

  • ความรู้สึกหมดเรี่ยวหมดแรง
  • เครียด
  • นอนไม่พอ
  • จำนวนวันที่ขาดงานเพิ่ม เช่น ป่วยไข้ไม่สบาย ฯลฯ

.

สรุป คือ คนที่บ้านอยู่ไกลที่ทำงาน ต้องเดินทางไปกลับไกลๆ เพิ่มเสี่ยง "เครียด-เศร้า-เหงา-เซง-อ้วน" รวมกัน

เรื่องนี้ทำให้เราได้แพะรับบาปตัวใหม่ คือ "บ้านไกลที่ทำงาน" ทำให้เราอ้วน

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

                                                          

Thank nytimes & source by nytimes > American Journal of Preventive Medicine > http://well.blogs.nytimes.com/2013/10/28/commutings-hidden-cost/?src=me

หมายเลขบันทึก: 552642เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2013 10:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2013 10:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท