บรรยายหัวข้อ การจัดการทุนมนุษย์เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน : การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยมหิดล


สวัสดีครับชาว Blog ทุกท่าน

วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน 2556 ผมได้เกียรติรับเชิญจาก รศ.ดร.วริยา  ชินวรรโณ  คณบดีคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้บรรยายในโครงการสัมมนา “การจัดการทุนมนุษย์เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน”สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต ในหัวข้อ การจัดการทุนมนุษย์เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน : การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ณ ห้องประชุมกันภัยมหิดล คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

หมายเลขบันทึก: 552640เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2013 10:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2013 10:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

โครงการสัมมนา “การจัดการทุนมนุษย์เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน”

สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต

วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2556

ณ ห้องประชุมกันภัยมหิดล คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

การจัดการทุนมนุษย์เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน : การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

โดย ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

          คาดหวังสูงขึ้นว่าการสัมมนาครั้งนี้จะเกิด Good Idea – Turn ideas into action turn action in to Success

มีการนำไปทำต่อ 3 ต. คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง ต้องมีการกัดไม่ปล่อย เอาจริงเรื่องการศึกษา

 ASEAN 2015 ต้องปรับตัวให้ทุนมนุษย์ในภาคราชการมีคุณภาพสูงขึ้น

การจัดการกับระบบราชการ ต้องทำให้มีการกระตุ้น หน่วยงานต่างๆด้วย

ปัญหาของทุนมนุษย์ในระบบราชการ จะมี ASEAN หรือไม่มีก็คือ ไม่มีใครเป็นเจ้าของทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และไม่ได้มีผลกำไรและขาดทุน

อุปสรรคในการขับเคลื่อนราชการมีมากมาย

จุดสำคัญที่ทำให้ราชการรอดคือต้องเป็น driving force และ มีตัวเปรียบเทียบ Benchmarking กับASEAN และสร้างมาตรฐานให้สูงขึ้น  ทำให้มีแรงผลัก ทำให้เกิดการแบ่งปันหรือเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา

น่าจะศึกษาว่าแรงกระตุ้นเหล่านี้พอเพียงที่จะทำให้ข้าราชการไทยตื่นตัวหรือไม่ เพราะ ผมยังมีความเชื่อเสมอว่า คนไทย ข้าราชการไทยมีความสามารถแต่อยู่ที่ว่า        จะสร้างแรงบันดาลใจ

การเข้าสู่ ASEAN ของประเทศไทย

-          ต้องแสวงหา Opportunity และร่วมมือกัน เช่น 9 ประเทศร่วมกันมอง ASEAN+6

-    ถ้ามีจุดอ่อนก็ต้องลดการคุกคาม เช่น

            -  ไม่ปรับ Mindset ให้รองรับการเปลี่ยนแปลง

            -  หรือสื่อสารไม่ได้ผล เพราะคิดว่า

ไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใคร? อาจจะไม่ดีพอ

        - เรียนภาษาอังกฤษเพื่อสอบ ไม่ได้เรียนเพื่ออยู่รอดในASEAN แรงจูงใจ ให้เขาเหล่านั้นเป็นเลิศได้

ถึงแม้ว่าจะแบ่ง HRD กับ HRM ออกจากกันในการพูดวันนี้ ซึ่งตามข้อเท็จจริงไม่ควรจะแยกเพราะเป้าหมายทุนมนุษย์ คือ Deliver Values ให้แก่สังคม  เรียกว่า  3v

Value Added

 Value Creation

 Value Diversities ต้องทำให้เป็นจุดแข็ง ในการเอาความหลากหลายของนานาประเทศนำมาเป็นพลัง

ซึ่งจะเป็นตัวเร่งให้ระบบราชการมองคนเป็นยุทธศาสตร์มากขึ้น เป็นหัวใจของการเข้าอาเซียน

ระบบราชการในองค์กร ต้องเน้นว่าจะปลูก และ EXECUTION อย่างไร เป็นเรื่องสำคัญ 

ถ้าจะพัฒนามาตรฐานของ HRD ระบบราชการเพื่อรองรับ ASEAN ผมให้เปรียบเทียบแนวคิดดังต่อไปนี้

1 )ทฤษฎี 8K กับ ทฤษฎี 8 H ของคุณหญิงทิพาวดี ซึ่งเป็นพื้นฐานของทุนมนุษย์

8H

8K

  • Heritage
  • Home
  • Hand
  • Head
  • Heart
  • Happiness
  • Harmony
  • Health

 

Human Capital           

Intellectual Capital  

Ethical Capital         

Happiness Capital

Social Capital                      

Sustainability Capital

Digital Capital          

Talented Capital      

5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

Creativity Capital                   ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital              ทุนทางความรู้

Innovation Capital                ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital                 ทุนทางอารมณ์

Cultural  Capital            ทุนทางวัฒนธรรม  เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดการขับเคลื่อน  สามารถเอาความเป็นไทยไปขาย และรองรับวัฒนธรรมของชาวต่างชาติ

ถ้าจะพัฒนาทุนมนุษย์ในอนาคตก็ลองนำทฤษฎีนี้ไปใช้ หรือไปเพิ่มเติมก็ได้

การพัฒนาทุนมนุษย์ด้วย 8K’s + 5K’s และการบริหารทุนมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพจะนำไปสู่สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของการปรับตัวสู่การเปลี่ยนแปลงในอนาคต คือ
            Standard  มีมาตรฐาน

Quality มีคุณภาพ

Excellenceมีความเป็นเลิศ

Benchmarking  เทียบเคียงกับคู่แข่งได้

Best Practice  เป็นแบบอย่างการปฏิบัติที่ดีที่สุด

มีการวิจัยที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ของเขาว่า การปรับตัวของคนไทยเพื่อรองรับ ASEAN 2015

-          การสื่อสาร (Communication) – ภาษา

-          การปรับ Mindset รองรับการเปลี่ยนแปลง

-          ปรับการทำงานแบบมืออาชีพ (Professional)

-          ปรับการทำงานแบบสากล (Internationalism)

 ในเรื่องนี้ผมเสริมว่าที่สำคัญที่สุด ต้องทำงานแบบโปร่งใสมีธรรมาภิบาลมี Integrity and Honesty ถ้าเราจะเข้าสู่อาเซียน เพราะประเทศอื่นๆเขามี Benchmark เรื่องนี้สูงกว่าเรา

ที่สำคัญในวันนี้เป็นวิธีการเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนรู้จากความเจ็บปวด เรียนรู้จากประสบการณ์ทีล้มเหลว  และเปลี่ยน Mindsetจาก Fixed Mindset ไปสู่ Growth Mindset

ขอแนะนำหนังสือต่างประเทศ ของ DAVE ULRICH เป็นมุมมองทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ Global HR Competencies และเปรียบเทียบกับหนังสือ 8K 5K

หนังสือเรื่อง Ulrich เน้น 2 เรื่อง คือ

ประเด็นที่หนึ่ง คือ การจะศึกษาการพัฒนา HRD ระหว่างประเทศ ผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องเข้าใจ Context (บริบท)ของประเทศเหล่านั้น

ในประเทศไทยจะปรับตัวร่วมกับประเทศอื่นๆใน ASEAN ผู้เกี่ยวข้อง คือ HR people ต้องรู้เขาพอๆกับรู้เรา 

—      อีกประเด็นที่สำคัญของ Ulrichต่อทุนมนุษย์ใน ASEAN คือ

-          ผู้ที่ทำงาน HR ทั้งในภาครัฐโดยเฉพาะต้องมีบทบาทที่สำคัญ

-          ประเด็นแรกจะต้องเป็นทั้ง Innovator และ Integrators คือ นวัตกรรมและครอบคลุมบูรณาการหลายๆจุด

-          ต้องบริหารการเปลี่ยนแปลงให้ได้

-          ต้องทำอะไร ทำจริง credible activists

-          ต้องเป็น Capability builderโดยเฉพาะ

-          ทำงานร่วมกับ Non-HR

-          ต้องมองทุกอย่างเป็น Strategic positioning โดยเฉพาะมอง Macroว่าอะไรเกิดขึ้นแล้ว จึงมาจัดการพัฒนาทุนมนุษย์ให้เหมาะสม

-          ต้องมี Technology Proponent  ต้องมี social media

การมีผู้นำในหน่วยงานราชการระดับCEO , Smart HR และ Non-HR ทำงานด้วยกันให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นหัวใจของการทำงาน HR ให้สำเร็จในระบบราชการ คือให้ตัวละคร 3 กลุ่ม ทำงานร่วมกัน จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งเพื่อไปสู่ 3Vอย่างแท้จริง

คนที่ทำงานใน HR ต้องมีความเป็นผู้นำ และต้องสร้างผู้นำ  HR ต้อง drive leadership ในองค์กร

คุณสมบัติของผู้นำ 9 ข้อ ของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

1. Crisis management การจัดการภาวะวิกฤต

2. Anticipate change การมีส่วนร่วมในความเปลี่ยนแปลง

3. Motivate others to be excellent การกระตุ้นผู้คนสู่ความยอดเยี่ยม

4. Conflict resolution การแก้ไขความขัดแย้ง

5. Explore opportunities การสร้างโอกาสแก่ผู้อื่น

6. Rhythm & Speed รู้จักใช้จังหวะและความรวดเร็ว

7. Edge ( Decisiveness ) กล้าตัดสินใจ

8. Teamwork ทำงานเป็นทีม

9. การบริหารความไม่แน่นอน

โดยสรุปคือ การสัมมนาวันนี้น่าจะมีโครงการที่เป็นรูปธรรม และต่อเนื่องในระบบราชการ/รัฐวิสาหกิจ/ผู้นำท้องถิ่น

            ขอยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่ผมทำอยู่และต่อเนื่อง 3 โครงการ

            1. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

          2. การพัฒนาผู้นำของกระทรวงวัฒนธรรมระดับC8 200 คน

          3. การพัฒนาผู้นำระดับสูงของสำนักงานกสทช.

            เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าต้องทำอย่างเข้มข้น และต่อเนื่อง เพราะทำอย่างเดียวไม่พอต้องวัดผล ซึ่งการลงทุนด้าน HRD เป็นเรื่องที่ละเอียดอย่างยิ่ง

            โอกาสในการพัฒนาข้าราชการต้องทำแบบ 3 ต.  มุ่งมั่น เพราะระบบของคนต้องใช้เวลานานเพราะการบริหารและพัฒนาคนเป็นสิ่งที่ยากที่สุด

            หลักสูตรต่างๆไม่สำคัญเท่ากับการสร้างแรงบันดาลใจให้กับคน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การจัดการทุนมนุษย์เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน : การบริหารทรัพยากรมนุษย์

โดยคุณชาญวิทย์  ไกรฤกษ์  อดีตรองเลขาธิการสำนักงานข้าราชการพลเรือน

ข้าราชการต้องเตรียมความพร้อมอย่างไร

แนวทางสากลในการบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการรวมตัวลักษณะภูมิภาค

  1. สร้างความเป็นนานาชาติ : คิดบวกกับนานาชาติและอาเซียนมีทักษะระดับสากล ยอมรับการเปลี่ยนแปลง มีความเป็นสากล มีทักษะเรื่องภาษาอังกฤษ ให้มีวัน Speak English day มีASEAN Corner

ในปีหน้าเรื่องการสอบ กพ. จะมีความรู้เรื่องภาษาอังกฤษ และเรื่องความรู้เรื่องอาเซียน

  1. สร้างความเป็นมืออาชีพ: มุ่งผลสัมฤทธิ์ ทำงานเป็นทีม มีความรู้เกี่ยวกับอาเซียน โปร่งใส และมีมาตรฐานการทำงาน

3. สร้างความเป็นผู้สนับสนุน:  ภาวะผู้นำเชิงลึกบริการเป็นเลิศ

40 % ของบประมาณรายจ่ายของประเทศ ซึ่งในหลายๆประเทศแค่ 20-30% เท่านั้นต่อไปรัฐบาลจะมีภาระหนี้มาก

จำนวนกำลังคนไม่ได้ลด แต่ไปอยู่ที่พนักงานราชการเพื่อช่วยส่วนราชการที่เกษียณ หาคนมาทำงานเพื่อช่วยในการทำงานในลักษณะของการเป็น project  แต่ไม่ได้ยึดคุณภาพงานเป็นหลัก ซึ่งต้องหาทางออกเรื่องนี้ให้ดี

            พนักงานราชการ/พนักงานมหาวิทยาลัย ในภาคใต้กำลังมีปัญหาเนื่องจากเป็นพื้นที่เสี่ยงจึงต้องการเปลี่ยนให้เป็นราชการ ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน

            กพ.มีหลักสูตรชื่อนักบริหารระดับสูง เป็นหลักสูตรเงื่อนไขที่ผู้บริหารต้องผ่าน ไม่เช่นนั้นจะรองอธิบดีไม่ได้

            งบประมาณพัฒนาบุคคลการภาครัฐเพื่อเตรียมภาครัฐสู่อาเซียน การเตรียมความพร้อม คือ การอบรมซ้ำๆ  อาจารย์ประพัทธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ช่วยยกร่างออกมาเป็นหลักสูตรการเตรียมความพร้อมออกมา

            ปี 2556 มีหลักสูตรระดับปลัดเป็นปีแรก จัดร่วมกับศศินทร์ 1 หลักสูตร

            ปี 2557 ต้องมองในอนาคตเรื่องหลักสูตรการเตรียมความพร้อมให้ดี และต้องเร่งแก้ไข

            เรื่องทัศนคติ เป็นเรื่องสำคัญว่าเรามีความตื่นตัวในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนหรือไม่ บางหน่วยงานก็ตื่นตัว ให้ความสนใจมาก แต่บางหน่วยงานก็ยังไม่ให้ความสนใจ

            ส่วนใหญ่การอบรมหลักสูตรระกับปลัดไม่ค่อยต่อเนื่องในการเตรียมความพร้อม เนื่องจาก มีการเปลี่ยนคนเข้าอบรมตลอดไม่มีความต่อเนื่อง  บางครั้งเป็นปลัด หลายครั้งเป็นรองปลัด

            เรื่องทัศนคติของข้าราชการต้องให้ความสำคัญ ต้องตื่นตัว ศึกษาหาความรู้ด้วยตัวเองว่าการเข้าสู่อาเซียนกำลังขับเคลื่อนถึงไหนแล้ว อีก 9 ประเทสมีการตื่นตัวเป็นอย่างมาก มีการสัมมนาเรื่องอาเซียน10 ประเทศ และแต่ละประเทศ ต้องนำเสนอข้อมูล Best practice  แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าประเทศไทยไม่ค่อยเข้าร่วมการสัมมนาแบบนี้

            ประเทศสิงค์โปร์ ก็เชิญให้ประเทศไทยเข้าร่วมการสัมมนาเรื่องอาเซียนด้วยเช่นกัน และประเทศสิงค์โปร์เป็นอีกประเทศที่มีการตื่นตัวเรื่องอาเซียนมาก

ประเทศพม่าหลังจากเปิดประเทศแล้ว ขอให้กพ.จัดสัมมนาเรื่องอาเซียนให้ด้วย

ในเรื่องประสิทธิภาพและประสิทธิผลการทำงาน  เน้นperformance base และผูกกับเรื่องการเลื่อนเงินเดือน

คุณธรรม จริยธรรมในข้าราชการต้องหนักแน่น เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตที่มีปัญหามาก ในเรื่องการแต่งตั้งระดับสูงเช่นในอังกฤษ รัฐมนตรีนั่งในสภา ไม่ได้นั่งในกระทรวง อำนาจการแต่งตั้งระดับสูงไม่เหมือนประเทศไทย

ประเทศไทยโดยเฉพาะการแต่งตั้งปลัด ถือเป็นเรื่องหอกข้างแคร่มาก แก้ไขยังไม่ได้

ระบบ HRM ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสอบคัดเลือก  ว่าจะเจาะอย่างไรถึงจะได้คนที่ใช่

ราชการอ่อนแอ เพราะมีการบังคับใช้(Law enforcement)

คุณภาพของกำลังคนขึ้นอยู่กับสถานบันครอบครัวด้วย

คำถาม

1. สาเหตุที่ทำให้เกิดเรื่องการฝึกอบรมที่มีหลักสูตรกระจัดกระจาย อาจเป็นเพราะกพ.มีการปรับบทบาทเป็นการอำนวยความสะดวก และคอยดูห่างๆทำให้แต่ละหน่วยกำหนดหลักสูตรของตนเองทำให้เกิดการซ้ำซ้อน และอาจได้ผลประโยชน์แอบแฝง คนที่เข้าหลักสูตรอบรม มองไปถึงประโยชน์เฉพาะหน้าของตัวเองเท่านั้น

ขอถามอ.ชาญวิทย์  ว่า กพ.จะมีมาตรการอย่างไรเพื่อพัฒนาได้บ้าง

ตอบ ปัจจุบันมีข้าราชการ มีองค์กร มีกฎหมาย มีสถาบันพัฒนาของตนเอง แต่กพ.ดูแลเรื่องหลักสูตรหลักๆ  อาศัยวิทยากรภายนอก บริษัทที่ปรึกษา หรือเครือข่ายประเทศอาเซียนช่วย

และยินดีเป็นที่ปรึกษาให้ราชการอื่นๆ

-          เรื่องการแอบแฝงของการอบรม ถ้ามาที่กพ. จะมีการscreen คน ต้องมี Training need หากลุ่มเป้าหมายที่จำเป็น

2. ระบบราชการต้องมีการทำการอบรม แต่ปัญหาคือ การสร้างผู้นำรุ่นต่อไป ทำให้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในระบบราชการไทย

3. การจัดการทุนมนุษย์ครอบคลุมไปเรื่องผู้นำท้องถิ่น ต้องมีคุณธรรมจริยธรรม และต้องสร้างอย่างไรเพราะเป็นเรื่องนาธรรม

ศ.ดร.จีระ: หากอาเซียนเข้ามาแล้ว เราควรจะมีไอเดียใหม่ที่จะทำต่อ ต้องค้นหาว่า What is university for? ทำอย่างไรจึงจะจุดประกายร่วมกัน และต้องทำอย่างต่อเนื่อง

อยากให้มีโครงการระดับอาเซียร่วมกับม.มหิดล

ทุกๆคนต้องมีการopen mind

อนาคตของประเทศไทยในด้านราชการเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไข

สถาบันครอบครัว และสื่อ เป็นตัวการที่ทำให้ทุนมนุษย์ล้มเหลว

นักนักศึกษาปริญญาเอก ต้องมุ่งมั่นหลังจบการศึกษาว่ามีเป้าหมายในชีวิตอย่างไร

ในอนาคตตลาดแรงงานจะวุ่นวายมาก ต้องมีการศึกษาวัฒนธรรม วิถีชีวิต ศึกษากฎระเบียบ

ผู้นำระดับอธิบดีไม่ควรเป็นระดับ Top down ยุคต่อไปเรื่อง Succession plan มีความสำคัญมาก

มีการทำวิจัยแล้วว่าผู้นำในอนาคต ต้อง grooming future leader ต้อง Work life balance และ balance ระหว่าง local/global ให้ได้

เรื่องคุณธรรม จริยธรรม ต้องยกย่องคนดีในสังคม ไม่ใช่ยกย่องคนรวย

Steve Jobs กล่าวว่า ถ้าจะเลือกคนมาทำงานต้อง Think big คิดกว้าง และกัดไม่ปล่อย

อ.ชาญวิทย์: ทุกคนเป็นผู้นำได้ ต้องกล้าตัดสินใจ กล้าทำ กล้าคิด อย่างเช่น สิงค์โปร์ สามารถนำคนรุ่นใหม่ๆ มาpresent ต่อหน้าคนเยอะๆได้อย่างมีคุณภาพ

ดร.โชคชัย: อยากให้ในระดับอาเซียน ช่วยยกระดับการพัฒนาให้ประเทศก้าวหน้า และประสบผลสำเร็จมากกว่าการแข่งขัน

เรื่องวิทยานิพนธ์ และ ดุษฎีนิพนธ์ต้องมาคิดให้มากๆว่า มันจะสร้างสรรค์ในตัวงาน และมีการค้นพบใหม่ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ใช้ประโยชน์อย่างไร มีมุมมองด้านนวัตกรรมหรือไม่ ไม่ควรจะเป็นงานพื้นๆทั่วไป ควรสร้างสรรค์ผลงานให้มีคุณภาพเพื่อเอาไปใช้ประโยชน์ในประเทศ และประเทศอาเซียนได้

 

 

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท