ปัญญาของแผ่นดินกับการเสนอทางออก กรณีพ.ร.บ.นิรโทษกรรม


สำหรับสถาบันที่เป็น "ปัญญาของแผ่นดิน" (Wisdom of the Land) นั้น (รวมถึงสถาบันการศึกษาอื่น ๆ) ในการคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมครั้งนี้ ไม่ควรเพียงแต่คัดค้าน แต่ควรเสนอทางออกให้กับสังคม เพื่อเร่งรัดรัฐบาลให้ดำเนินการตามกลไกของความยุติธรรม (แม้ว่ารัฐบาลอาจจะไม่ทำตามก็ตาม) ดังต่อไปนี้
(๑) การดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิด (Criminal Prosecutions) ภายใต้หลักการดำเนินคดีที่เป็นธรรม (Fair Trial) เป็นการค้นหาและเปิดเผยความจริงเพื่อป้องกันแล...ะยับยั้งไม่ให้มีการใช้ความรุนแรงในอนาคต เป็นการสร้างบรรทัดฐานที่ดีในการเคารพหลักสิทธิมนุษยชน และเป็นการปฏิรูปกลไกรัฐโดยการตรวจสอบการใช้อำนาจอย่างบิดเบือนของเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อป้องกันวัฒนธรรมการไม่ต้องรับผิดหรือปล่อยให้คนชั่วลอยนวล (Impunity)
(๒) กระบวนการค้นหาความจริง (Truth Seeking)
(๓) การชดเชยและเยียวยา (Remedy and Reparation) ซึ่งต้องไม่จำกัดเพียงตัวเงิน เป็นการให้ความช่วยเหลือ ชดเชย เยียวยา และฟื้นฟูแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรง ทั้งด้านจิตใจ ร่างกาย ทรัพย์สิน และรวมไปถึงการกล่าวคำขอโทษจากคู่ปรปักษ์อย่างเป็นทางการ (Official Apologies)
(๔) การปฏิรูปสถาบัน (Institution Reform) ซึ่งรวมทั้ง กองทัพทหาร ตำรวจ สื่อสารมวลชน กระบวนการยุติธรรม หรือกลไกอื่นของรัฐ
(๕) การระลึกถึงผู้ได้รับผลกระทบ (Memorialization of Victim)
(๖) การนิรโทษกรรม (Amnesty) ที่เหมาะสมโดยไม่นิรโทษกรรมในลักษณะความผิดตามหลักการสากลที่ห้ามนิรโทษ เช่น การกระทำต่อชีวิตและการกระทำรุนแรงต่อร่างกาย การซ้อมทรมาน การบังคับให้บุคคลสูญหาย และการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงอื่นๆ (Gross Human Rights Violation) ตลอดจนการวางระเบิด การค้าอาวุธ การทุจริตคอร์รัปชั่น เป็นต้น
See More
หมายเลขบันทึก: 552637เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2013 09:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2013 09:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

(๖) การนิรโทษกรรม (Amnesty) ที่เหมาะสมโดยไม่นิรโทษกรรมในลักษณะความผิดตามหลักการสากลที่ห้ามนิรโทษ เช่น การกระทำต่อชีวิตและการกระทำรุนแรงต่อร่างกาย การซ้อมทรมาน การบังคับให้บุคคลสูญหาย และการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงอื่นๆ (Gross Human Rights Violation) ตลอดจนการวางระเบิด การค้าอาวุธ การทุจริตคอร์รัปชั่น เป็นต้นSee More

เป็นที่ชัดเจนว่า พรบ.นิรโทษ นี้ไม่ควรผ่านเพราะนิรโทษความผิดที่ไม่ควรนิรโทษรวมอยู่ด้วย ควรเร่งรัดให้ตัดสินคดีต่าง ๆที่คั่งค้างมานานมากแล้ว และคดีที่เหลือก็คงต้องใช้เวลาอีกหลายปี 

แต่เป็นที่น่าแปลกใจ พวกม้อบที่มี ปชป. เป็นหัวเรือใหญ่ รวมทั้งแถลงการณ์ หรือคนอีกจำนวนมากที่เป็นผู้มีการศึกษาสูง เป็นชนชั้นกลาง คนร่ำรวยกล่าวถึงอยู่เรื่องเดียวคือ เรื่องทุจริตคอรัปชั่น ทั้ง ๆที่ตนเองและพรรคพวกทำมาก่อนไม่น้อย หรือกำลังทำ แย่ไปกว่านั้น เน้นคน ๆเดียวและตระกูลเดียว ทำให้บ้านเมืองปั่นป่วนไปหมด สองหัวหน้าม้อบตัวกลั่นนี้ ถ้าฟ้าดินลงโทษก่อนกฏหมายเอื้อมถึงจะเป็นคุณแก่บ้านเมืองอย่างยิ่ง 

...ขอติดตามอ่านข้อค้ดเห็นนะคะ...ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท