สมอง__ล้างพิษได้แบบสบายๆ(ตอนไหน)


 
 
.
ภาพที่ 1: แสดงเซลล์ (สีฟ้า) และช่องว่างระหว่างเซลล์ (แต้มสีดำ)
.
ช่องว่างระหว่างเซลล์จะมี "น้ำเลี้ยง (interstitial fluid)" แทรกเข้าไป ทำหน้าที่นำของดี เช่น ออกซิเจน สารอาหาร ฮอร์โมน ฯลฯ จากกระแสเลือด เข้าสู่เซลล์
.
และนำของเสีย เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ สารพิษจากการเผาผลาญอาหาร-ออกซิเดชั่น สารพิษจากการทำลายเชื้อโรค-สิ่งแปลกปลอม ฯลฯ จากเซลล์ไปสู่กระแสเลือด
.
คนมาตรฐาน (ฝรั่งอายุประมาณ 35 ปี, ไม่อ้วน, หนัก 70 กิโลกรัม) จะมี "น้ำเลี้ยง" ประมาณ 10 ลิตร
.
เพราะฉะนั้นเกิดเป็นคนแล้ว ไม่ต้องน้อยใจ ว่าไม่มีน้ำเลี้ยง (ยังไม่ตายก็เลี้ยงกันไป)
.
.

ภาพที่ 2: แสดงช่องว่างระหว่างเซลล์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้น้ำเลี้ยงซึมซาบผ่านได้น้อยลง คล้ายรถเมล์ที่มีคนแน่น หรือปลาในกระป๋อง

  • แถวบน = เซลล์ปกติ
  • เนื้องอกชนิดเนื้อดี = เซลล์แบ่งตัว เพิ่มจำนวน ทำให้มีที่ว่างระหว่างเซลล์น้อยลง
  • เนื้องอกชนิดร้าย หรือเซลล์มะเร็ง = เซลล์แบ่งตัวเร็วมาก ทำให้ที่ว่างระหว่างเซลล์น้อยลงมาก

.
ภาพที่ 3: แสดงเซลล์ (สีขาว) และช่องว่างระหว่างเซลล์ (สีดำ)  
.
ถ้าเซลล์มีจำนวนเท่าเดิม และเซลล์นั้นลดขนาดลง จะทำให้ช่องว่างระหว่างเซลล์กว้างขึ้น น้ำเลี้ยงผ่านไปมาได้มากขึ้น เร็วขึ้น ดังภาพ จากซ้ายไปขวา (A-D)
.
.
ภาพที่ 4: แสดงช่องว่างระหว่างเซลล์ (สีดำ) ที่เพิ่มขึ้น เมื่อเซลล์ลดขนาดลง 
.
 
 
.
ภาพที่ 5: แสดงการไหลของน้ำเลี้ยงเซลล์ในสมอง
  • เซลล์มีกิ่งก้านคล้ายเขา (สีเทา) = เซลล์สมอง (neuron)
  • เซลล์สีเหลืองอ่อน ยื่นขาไปทำหน้าที่แผ่นกรองที่ผนังหลอดเลือด เพื่อควบคุม และป้องกันสารพิษ-เชื้อโรคเข้าสู่เซลล์สมอง = เซลล์พี่เลี้ยง (astrocyte)
  • หลอดเลือดแดงฝอยอยู่ทางซ้าย (สีแดง)
  • หลอดเลือดดำฝอยอยู่ทางขวา (สีน้ำเงิน)

ภาพนี้แสดงทิศทางการไหลของน้ำเลี้ยง จากซ้ายไปขวา

  • ลูกศรสีเขียว = ของเหลวซึมออกจากกระแสเลือด (หลอดเลือดแดงฝอย), นำของดี เช่น ออกซิเจน สารอาหาร ฯลฯ ออกมาเป็นน้ำเลี้ยงเซลล์
  • ลูกศรสีฟ้า = ของดีเข้าสู่เซลล์ และน้ำเลี้ยงเซลล์ช่วยพัดพาของเสีย (รูปคล้ายข้าวเปลือกสีน้ำตาล) ออกไป
  • ลูกศรสีแดง = น้ำเลี้ยงพาของเสียไปรอบๆ, ซึมเข้าสู่กระแสเลือด (หลอดเลือดดำฝอย)
เซลล์สมองเป็นเซลล์ที่มีเซลล์พิเศษอยู่รอบๆ เรียกว่า "เซลล์พี่เลี้ยง (glial cells)" ทำหน้าที่ป้องกันสารพิษไม่ให้ผ่านจากกระแสเลือดเข้าสู่เซลล์สมองได้ โดยการแผ่ตัวเป็นแผ่นกรองขนาดจิ๋วไปหุ้มรอบหลอดเลือดฝอย
.
และมี "น้ำเลี้ยง" ที่เรียกว่า น้ำเลี้ยงรอบเซลล์ (interstitial fluid) ซึมซาบผ่านช่องว่างระหว่างเซลล์ (extracellular space / ECS)
.
ถ้าถามว่า คนเรามีน้ำเลี้ยงรอบๆ เซลล์ประมาณเท่าไร
.
คำตอบ คือ คนเรามี "น้ำเลี้ยง" ทำหน้าที่นำของดี เช่น ออกซิเจน สารอาหาร แร่ธาตุ ฮอร์โมน ฯลฯ ไปเลี้ยงเซลล์ และนำของเสีย เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ฯลฯ ออกจากเซลล์ = 10 ลิตรในคนหนัก 70 กิโลกรัม [ wikipedia ]
.

.
ถ้าตัวเล็กกว่านี้ จะมี "น้ำเลี้ยง" น้อยลงตามส่วน
.
ธรรมชาติของของเหลว หรือธาตุน้ำ (อาโปธาตุ) ในร่างกายคนเรา คือ "ต้องไหล(เวียน) จึงจะดีกับสุขภาพ"
.
การไหลเวียนของน้ำเลี้ยงรอบเซลล์สมองก็ต้อง "ไหลไปเรื่อยๆ" เช่นกัน
.
กระบวนการนี้มีส่วนช่วยล้างพิษ หรือชำระล้างสารพิษ เช่น เบต้า อะไมลอยด์ (beta amyloid) ฯลฯ รอบเซลล์สมองออกไป
.

.
สารนี้ (เบต้า อะไมลอยด์) พบมากในโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์
.
การศึกษาใหม่ ทำในหนูทดลอง
.
พบว่า กระบวนการล้างพิษ หรือการนำของเสียสะสมรอบๆ เซลล์สมองออกไป ทำได้ดีขึ้นในช่วงหลับมากกว่าช่วงตื่น = 10 เท่า
.
กลไกที่เป็นไปได้ คือ เซลล์สมองจะทำตัวลีบเล็กลง = 60% ในช่วงนอนหลับ ทำให้ช่องว่างระหว่างเซลล์กว้างขึ้น น้ำเลี้ยงซึมผ่านไปรอบๆ เซลล์ได้มากขึ้น
.

.
ช่วงที่คนเราตื่น, กระบวนการล้างพิษรอบๆ เซลล์สมอง หรือการจับเซลล์สมองไป "อาบน้ำ" ทำได้ประมาณ 5-10% เมื่อเทียบกับช่วงหลับ (100%) 
.
ถ้ากระบวนการล้างพิษรอบๆ เซลล์สมองไม่ดี เช่น นอนไม่พอ นอนไม่หลับ ฯลฯ อาจทำให้มีสารพิษตกค้าง และเสี่ยงโรคเรื้อรัง เช่น สมองเสื่อมอัลไซเมอร์ ฯลฯ ได้ในระยะยาว
.
การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกเริ่ม จำเป็นต้องรอผลการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุน หรือคัดค้านต่อไป
.
การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า การนอนช่วยให้ชีวิตดีขึ้นหลายอย่าง เช่น
  • ความจำดีขึ้น 
  • ความเครียดลดลง
  • ภูมิต้านทานโรคดีขึ้น
  • กระดูกแข็งแรงขึ้น และตัวสูงขึ้น (ในเด็ก)


.

การศึกษาใหม่บอกเป็นนัยว่า ถ้าอยากให้สุขภาพสมองดีไปนานๆ ควรทำอย่างนี้
.
(1). ลดการนำเข้าสารพิษ 
.
เช่น ไม่ดื่มหนัก (แอลกอฮอล์), ลดการได้รับโลหะหนักและสารตะกั่ว เช่น ล้างมือด้วยสบู่หลังสัมผัสสีทาบ้าน-หมึกพิมพ์ (หนังสือ), ล้างมือด้วยสบู่ก่อนกินอาหาร-ดื่มน้ำ ฯลฯ
.
(2). ลดเสี่ยงอุบัติเหตุส่วนหัว
.
เช่น เมาไม่ขับ-ง่วงไม่ขับ, คาดเข็มขัดนิรภัย ใส่หมวกกันน็อค ไม่ขับรถเร็ว ฯลฯ
.
(3). นอนไม่ดึก และนอนให้พอเป็นประจำ
.
(4). ระวังภาวะขาดน้ำ
.
ภาวะขาดน้ำทำให้ปริมาณ "น้ำเลี้ยงเซลล์" ลดลง และมีความหนืดมากขึ้น เลือดลมไหลเวียนช้าลง รวมทั้งเพิ่มเสี่ยงหลอดเลือดสมองตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต
.
(5). ลดเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง
.
ลดปัจจัยที่ทำให้หลอดเลือดสมองเสื่อมเร็ว เช่น สูบบุหรี่ ดื่มหนัก ความดันเลือดสูง น้ำตาลในเลือดสูง (ลดข้าวขาว-แป้งขาว-น้ำตาลตามส่วน, เปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง), เบาหวาน ไขมันในเลือดหรือโคเลสเตอรอลสูง ฯลฯ
.
(6). ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ และไม่นั่งนิ่งนานเกิน 1 ชั่วโมง/ครั้ง
.
การออกกำลังทำให้เลือดทั่วร่างกายไหลเวียนดีขึ้น และเพิ่มสารที่ช่วยกระตุ้นให้เซลล์สมองสร้าง-ซ่อมแซมส่วนเสียหาย
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ 
.
Thank BusinessInsider > http://www.businessinsider.com/the-first-real-reason-we-need-to-sleep-2013-10
.
Thank BBC > http://www.bbc.co.uk/news/health-24567412
.
Thank Science > http://www.sciencemag.org/content/342/6156/373
หมายเลขบันทึก: 552485เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2013 15:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2013 15:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท