สามเหลี่ยมเคลื่อนภูเขาในโรงเรียน


"สามเหลี่ยมเคลื่อนภูเขา" เป็นเครื่องมือในการพัฒนางานที่วิเคราะห์ 3 ปัจจัยหลักของการดำเนินงาน คือ ผู้ให้ทุน ผู้รู้ เเละผู้ทำ

สามเหลี่ยมเคลื่อนภูเขาในโรงเรียน

 

        "องค์กรใดๆ จะยืนหยัดอยู่ได้เพราะทวิภาคี" การยืนหยัดอย่างมั่นคงจำต้องมีภาคีเครือข่ายที่เป็นเครื่องยึดความมั่นคงในองค์กรซึ่งนอกจากภาคีจากภายนอกเเล้ว  ภาคีภายในย่อมเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่เป็นเครื่องที่ยึดเเน่นขึ้นไปอีกตามบริบทขององค์กรการทำงาน...ปัญหาที่ยากต่อการเเก้ไขจำต้องมีเครือข่ายที่ยึดเเน่นจนเกิดโครงข่ายที่มั่นคงจึงจะสามารถยกปัญหานั้นไปพัฒนาขึ้นได้...ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของปัญหาเเละโครงข่ายขององค์กรที่เป็นฐานสำคัญ  "ถ้าปัญหามีน้ำหนักที่เหมาะสม ต่อระบบโครงข่ายขององค์กรที่สามารถยกได้" เเสดงว่าโครงข่ายขององค์กรนั้นมีความเหมาะสมกับบริบทของปัญหา...ถ้าระบบโครงข่ายขององค์กรไม่สามารถยกได้เเสดงว่าไม่มีความเหมาะสมกับบริบทของปัญหา ซึ่งประเด็นปัญหาอาจเปรียบได้กับความใหญ่ของปัญหา เเล้วความเหมาะสมนี้จะสามารถวัดได้จากการวิเคราะห์งานเเละทุนขององค์กรนั้นๆ เเต่ทั้งนี้ "เรา" สามารถเพิ่มเครือข่ายได้ตลอดเวลา ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเพียงไร ... งานจะยิ่งมีทุนคอยหนุนเสริมเรามากเท่านั้น

         "สามเหลี่ยมเคลื่อนภูเขา" เป็นเครื่องมือในการพัฒนางานที่วิเคราะห์ 3 ปัจจัยหลักของการดำเนินงาน คือ ผู้ให้ทุน  ผู้รู้  เเละผู้ทำ ... อาทิ การทำโครงการภายใต้องค์กรผู้ให้ทุนโดยมีกลุ่มทำงานที่คอยทำงานซึ่งในการทำงานต้องอาศัยการศึกษางานจากสถาบันเเห่งหนึ่ง ลองใคร่ครวญดูจะได้ดังนี้  องค์กรผู้ให้ทุน = ผู้ให้ทุน /  กลุ่มดำเนินงาน = ผู้ทำ  /  สถาบันที่ศึกษา = ผู้รู้  หรือ การสร้างอาคารหลังหนึ่งที่ต้องมีนายทุนที่คอยอำนวยการสร้างที่มีวิศกรที่คอยควบคุมงานเเละกรรมกรที่คอยทำงานร่วมกัน คือ นายทุน = ผู้ให้ทุน  /   วิศกร = ผู้รู้  /  กรรมกร = ผู้ทำงาน ... เป็นต้น เเต่ทั้งนี้  "สามเหลี่ยมเคลื่อนภูเขา" เป็นหลักคิดที่ไม่เเน่นอนหรือตายตัวซึ่งสามารถประยุกต์ได้เข้ากับการทำงานของทุกองค์กรโดยมีคีย์เวิร์ดอยู่ 3 คำ ได้เเก่ ผู้ให้ทุน  ผู้รู้  เเละผู้ทำ  ความไม่เเน่นอนนี้ปัจจัยที่บอกว่าเป็นผู้ให้ทุนนั้นอาจเปลี่ยนมาเป็นผู้รู้ได้  ผู้รู้อาจเปลี่ยนมาเป็นผู้ให้ทุนได้  หรือผู้ทำอาจเปลี่ยนมาเป็นบทบาทของผู้ให้ทุนได้  ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถือว่าเเน่นอนตายตัวขึ้นอยู่กับการประยุกต์หลักคิดให้เข้ากับเครื่องมือในการใช้พัฒนางาน "สามเหลี่ยมเคลื่อนภูเขา" ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ยึดเเต่ละปัจจัยหลักทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์เเล้วปรับประยุกต์ทุนที่สามารถใช้ได้ในการเคลื่อนภูเขา  ที่ภูเขา คือ ปัญหาเปรียบเสมือนการยกปัญหาด้วยโครงข่ายขององค์กรที่มั่นคงด้วยทุนที่มีอยู่เเต่ละองค์กร

          "สามเหลี่ยมเคลื่อนภูเขาในโรงเรียน" อาจสามารถวิเคราะห์ได้เเตกต่างกันไป โดยมีหลักคิดที่ง่าย คือ ผอ. ครู  เเละนักเรียน ซึ่งทัศนะของหลายคนอาจเเตกต่างกันไปโดยความเเตกต่างนี้ยังคงคีย์เวิร์ดสำคัญของ 3 หน่วยในการเคลื่อนภูเขา.... การทำงานของ ผอ.อาจเรียนรู้จากนักเรียนเเล้วได้ทุนมาจากครู / การทำงานของครูอาจเรียนรู้จากนักเรียนเเล้วได้ทุนมาจาก ผอ. / การทำงานของนักเรียนอาจเรียนรู้จากครูเเล้วได้ทุนมาจาก ผอ. ซึ่งไม่มีหลักคิดใดที่เเน่นอนตายตัว "สามารถยืดหยุ่นได้" หรือ สามเหลี่ยมวงนอกของผอ.   คณะผู้บริหาร  เเละครู โดยที่หน่วยงานใดที่เป็น ผู้ให้ทุน  ผู้รู้  เเละผู้ทำ ก็ได้ ... เพราะหลักคิดนี้สามารถยืดหยุ่นได้ตามบริบทของงานนั้นๆ ... การขับเคลื่อนปัญหาหรืองานต่างๆในโรงเรียนจำเป็นต้องอาศัยทั้ง 3 หน่วยงานหลักจึงสามารถขับเคลื่อนได้ "อย่างมีส่วนร่วม" เเละมีคุณภาพ ... ทัศนะของข้าพเจ้ามองว่าเเต่ละหน่วยงานใน 3 หน่วยของสามเหลี่ยมเคลื่อนภูเขาในโรงเรียนควรมีลักษณะทุนดังนี้ อาทิ เช่น ผอ. = ควรระเบิดมาจากด้านในเพื่อเรียกผู้ตามได้อย่างมีจิตวิญญาณ  ครู = ควรเป็นโคชให้กับเด็ก  เเละ นักเรียน = ควรเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนางานจึงสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลที่เหมาะควรเเก่ความพึงพอใจ... เเต่ในการยกภูเขามี 3 หน่วยงานอาจไม่เพียงพอที่จะสามารถรับน้ำหนักของปัญหาหรือของงานนั้นๆได้จึงจำเป็นต้องมีปัจจัยที่คอยยึดหน่วยงานทั้ง 3 นี้ไว้อีกหนึ่งทางเพื่อการรองรับปัญหาเเละงานที่เหมาะสม... เเล้วยังมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากภายนอกที่คอยเสริมให้โครงข่ายนี้มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น ... 

หมายเลขบันทึก: 551858เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2013 21:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ตุลาคม 2013 21:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

น่าสนใจมาก

ในชุมชนคงมีพระ ปราชญ์ชาวบ้านด้วยใช่ไหมครับ

ขึ้นอยู่กับทัศนะในการประยุกต์ครับ ... อิอิ..

...เป็นทางเลือกหนึ่งในการบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่านะคะ ...

ขอขอบคุณมากๆ... สำหรับคำติชมข้างต้นครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท