OCLC ASIA PACIFIC REGIONAL COUNCIL 2013 MEMBERSHIP CONFERENCE (2)


       การสัมมนาประจำปี 2013 ของสมาชิก OCLC Asia Pacific Regional Council ระหว่างวันที่ 7-8 ตุลาคม 2556  ณ อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย  รังสิต  ปทุมธานี  จัดโดย  สำนักหอสมุด  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

             7.  ประเทศเกาหลีใต้  โดย  Jeong-Hwan Kim Director, Korean Electronic Site License Initiative (KESLI)  นำเสนอเรื่อง  Usage Patterns and Perception toward E-books

ผู้แทนจากเกาหลีใต้ มาเชิญชวนไปงาน OCLC Conference 2014 ที่เกาะเจจู ประเทศเกาหลีใต้

 

การนำเสนอของวิทยากรจากประเทศเกาหลีใต้ เป็นการนำเสนอผลการวิจัยที่ศึกษาถึงการใช้งานและผลตอบรับที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งใช้วิธีการศึกษาตามกระบวนการวิจัย และที่มาของการวิจัยมาจาก ปริมาณการใช้งาน e-book ในประเทศเกาหลี ที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยในปี ค.2011 ปริมาณการใช้ ebook จากตลาดสิ่งพิมพ์หนังสือเล่ม มีถึงประมาณ 0.3 พันล้านเล่ม หรือ 5.9 % ของหนังสือเล่ม และคากว่าจะเพิ่มถึง 4.1 ล้านเล่ม หรือ 9.8 % ในปี ค.2015 และมีการนำอุปกรณ์เทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้สำหรับการอ่าน ebook มากขึ้น ทั้งSmart-phones, tablet PCs และอื่นๆ

ประเทศเกาหลีใต้ได้จัดตั้งโครงการชื่อ  Korean Electronic Site License Initiative (KESLI) ซึ่งดำเนินงานโดย the Korea Institute of Science and Technology Information (KISTI) โดยให้ห้องสมุดทุกประเภท ทั้งห้องสมุดมหาวิทยาลัย ห้องสมุดวิจัย และห้องสมุดเฉพาะ มีบริการ ebook เป็นบริการพื้นฐาน  เก็บข้อมูลจากมหาวิทยาลัย Five top-ranked จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ Korea University , Seoul National University, Sung Kyun Kwan University, Yonsei University  และ Ewha Womans University  และศึกษาจากหน่วยวิจัยคือ  จำนวน e-books ที่บอกรับจาก packages ต่างประเทศ ได้แก่  NetLibrary and Ebrary โดยเก็บข้อมูลระหว่าง June 8~20  in 2012 ผ่านแบบสอบถามออนไลน์  SurveyMonkey และใช้ช่องทาง 2 ช่องทางเผยแพร่คือ Banner ที่ปรากฏบนเว็บของห้องสมุดและ e-mail ไปยังสมาชิก  NDSL members ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้ง 5 แห่ง จำนวน 10,019 คน

 

ข้อคำถาม ศึกษาตั้งแต่วัตถุประสงค์การใช้ วิธีการใช้ ปัญหาในการใช้ ประเภททรัพยากร ebook ที่ใช้ ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ใช้สถิติพื้นฐาน วิเคราะห์ความถี่ และ crossing analysis ซึ่งจากผลการศึกษาเปรียบเทียบการใช้งานหลายๆด้าน สามารถสรุปประเด็นสำคัญๆ ดังนี้

 

 

            สรุปผลการวิจัย ที่สำคัญ

1. ผู้ใช้ e-books ส่วนใหญ่ (90.5%) ทราบว่าสามารถเข้าใช้ e-books ได้จากเว็บไซต์ห้องสมุด แต่มีประสบการณ์ใช้งา

    เพียง 57.8 %

2. ระดับการศึกษาของผู้ใช้ มีผลต่อการใช้ e-books

3. อุปกรณ์สมัยใหม่ เช่น  Smart-phones and table PCs เป็นเครื่องมือสำคัญและนิยมมากในการใช้อ่าน e-books

4. ผู้ใช้ยังคงชอบใช้หนังสือตัวเล่มมากว่า e-books แต่เป็นไปได้ว่าในอนาคตจะใช้มากขึ้น

5. ผู้ใช้ส่วนใหญ่สามารถค้นพบและใช้ e-books ผ่านเว็บไซต์ห้องสมุด รวมถึง library catalog  ดังนั้นห้องสมุดจึงควรให้

    ความสำคัญ โดยจัดให้มีการฝึกอบรมการใช้ e-book แก่ผู้ใช้บริการ

ส่วนข้อเสนอแนะ ได้แก่

1. เพิ่มจำนวนและประเภทของ e-book ให้มากขึ้น และให้ข้อมูลมีความทันสมัยมากขึ้น

2. ประชาสัมพันธ์การใช้งาน e-books ด้วยระบบออนไลน์ โดยใช้แบนเนอร์บนเว็บไซต์ของห้องสมุด และผ่านสื่อสังคม

    ออนไลน์อื่นๆ เช่น Library blogs, Twitter, Facebook, YouTube เป็นต้น

3. เพิ่มปริมาณการใช้งาน e-books โดยการจัดอบรมตามกลุ่มผู้ใช้ให้ตรงตามความต้องการ

4. จัดหาและปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องมืออุปกณ์สำหรับใช้งานกับ e-books ให้มีความทันสมัยสำหรับการอ่าน

5. พัฒนาระบบ user interface ให้สะดวกและใช้งานง่ายขึ้น  รวมถึงการพัฒนาให้สามารถใช้งานได้กับเทคโนโลยี gadget

    ที่มีความทันสมัย เช่น tablet PCs

6. พัฒนารูปแบบไฟล์ที่อ่านได้บน e-books ให้เป็นมาตรฐานมากยิ่งขึ้น

 

            8. ประเทศญี่ปุ่น  โดย  Naoko Harai, Counsellor, Acquisitions & Bibliography  Department, National Diet Library นำเสนอเรื่อง  NDL’s Digital Collection & Service for Information Access

          ห้องสมุดโภชนาการแห่งชาติญี่ปุ่น หรือ The National Diet Library โดยแผนก NDL’s Digital Collection and Service for Information Access ได้ดำเนินโครงการสร้างดิจิทัลคอลเล็คชั่นขึ้น ซึ่งครั้งแรกเน้นภารกิจของห้องสมุด ประกอบด้วย

1. สนับสนุนการควบคุมอาหารเพื่อสขภาพ

2. เพื่อจัดหาและสงวนรักษาทรัพยากรด้านสุขภาพ  

3. เพื่อการเข้าถึงสารสนเทศ

4. เพื่อความร่วมมือระหว่างกัน

5. เพื่อจัดเก็บทรัพยากรหายากที่มีคุณค่าของภูมิภาคตะวันออกและเหตุการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่น          

6. เพื่อการบริหาร

จากประสบการณ์ดำเนินงานดิจิทัลคอลเล็คชั่นของ NDL มาจากการรวบรวมหนังสือหายากและจัดทำเป็นฐานข้อมูล “Rare Books Image Database” ในปี 2000   จนกระทั่งปี 2002 ได้จัดทำฐานข้อมูล “Digital Library from the Meiji Era” หรือยุคสมัยเมจิ และในปีแรกๆ การดำเนินงานจัดทำข้อมูลดิจิทัล ยังไม่ได้ผ่านการขออนุญาตจากเจ้าของ จนกระทั่งปี ค.2009 ได้มีการกำหนดเป็นกฎหมายเพื่อขออนุญาตอย่างถูกต้อง  หลังจากนั้นห้องสมุด NDL ได้จัดทำเนื้อหาดิจิทัลเผยแพร่ลงบนอินเทอร์เน็ต  โดยระบบการสืบค้นสามารถค้นได้ทั้งภาษาอังกฤษ จีน และเกาหลี

    ส่วนคอลเล็คชั่น Great East Japan Earthquake Archive ได้เริ่มพัฒนาขึ้นเมื่อปี ค.2011 ภายใต้โครงการ NDL Great East Japan Earthquake Archive Project หรือ  ‘Hinagiku’ หรือดอกเดซี่ ซึ่งวัตถุประสงค์ดังนี้                      

1. เพื่อตระหนักถึงความรับผิดชอบในระดับชาติ สำหรับการรวบรวม สงวนรักษาและจัดการเข้าถึงเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ของญี่ปุ่น

2. เพื่อร่วมมือกันระหว่างองค์กรสาธารณะและองค์กรส่วนบุคคลในการรวบรวม สงวนรักษาข้อมูลความทรงจำที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ของญี่ปุ่น

3. เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระดับท้องถิ่นและระดับนานาชาติ เพื่อก้าวผ่านความเลวร้ายไปสู่อนาคตในยุคต่อไป

    สำหรับทรัพยากรสารสนเทศที่จัดเก็บ ประกอบด้วย หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์  รายงาน เอกสารการวิจัย ข่าว  เว็บไซต์ขององค์กรและบุคคล  ภาพ วีดิทัศน์ และข้อมูลเสียง เช่น การสัมภาษณ์ รวมถึงข้อมูลข้อเท็จจริงจากการสังเกต และข้อมูลทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น

    การดำเนินงานเริ่มตั้งแต่ ปี 2013 จากการพัฒนาระบบ user-friendly interface และมีระดับของข้อมูลที่สามารถเผยแพร่ได้ และไม่สามารถเผยแพร่ได้ เนื่องจากมีความอ่อนไหวและเป็นข้อมูลส่วนตัว  ส่วนการพัฒนาด้านเทคนิค ได้จัดทำ OPAC สำหรับสืบค้น โดยการดำเนินงานทางเทคนิคได้เปลี่ยนจากรูปแบบการลงรายการ Japan MARC เป็น MARC 21 ให้มีความเป็นสากลมากขึ้น และพัฒนาหัวเรื่องสำหรับ NDL โดยเฉพาะเรียกว่า NDL Subject Heading (NDLSH)   ส่วนเว็บไซต์ที่จัดทำขึ้นใช้เทคโนโลยี Semantic Web มีการเชื่อมโยงลิงก์ไปยัง VIAF, OCLC และ Wikipedia รวมทั้งข้อมูลทั้งหมดได้จัดเก็บอยู่ใน WorldCat เรียบร้อยแล้ว 

 

Collection NDL Great East Japan Earthquake Archive

 

 


 

อ้างอิง http://main.library.tu.ac.th/oclc2013/index.php/agenda

http://main.library.tu.ac.th/oclc2013/index.php/gallery/7-oct-2013

http://main.library.tu.ac.th/oclc2013/index.php/gallery/8-oct-2013

 

http://www.worldcat.org

http://main.library.tu.ac.th/oclc2013/

 

หมายเลขบันทึก: 551210เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2013 14:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ตุลาคม 2013 15:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณข้อมูลดีๆ ที่แชร์ให้กับเพื่อนร่วมวิชาชีพนะคะ.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท