beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

เรื่องเล่าของครูภูมิปัญญาไทย : กระบวนการแก้ปัญหาตอนเรียน


เน้นย้ำคำว่า “ต้องมีวิธีการ” หรือกระบวนการนั่นเอง

    ผมเขียนงานวิจัยส่งสกศ. เป็นกรณีศึกษาของครูภูมิปัญญาไทย เขียนในทำนองเล่าเรื่อง จึงอยากเอามาถ่ายทอดบ้างครับ เป็นเกร็ดชีวิตตอนหนึ่ง ของคนที่เรียนในมหาวิทยาลัยที่ต้อง "ต่อสู้" เพื่อความอยู่รอด ส่วนนี้เขียนเน้นให้เห็น "วิธีการ" หรือ "กระบวนการ" ในการเอาตัวรอด เพื่อต่อมาจะได้มีส่วนในการช่วยเหลือสังคม..เชิญติดตามอ่านได้ครับ..

.....ชีวิตหักเหอีกครั้งหนึ่ง ในปี ๒๕๒๖ เมื่อ ครูสมลักษณ์ สอบวิชา “ชีวเคมีชั้นสูง” หรือ Avance biochemistry กลางภาค ได้คะแนนเป็นลำดับที่ ๒ จากท้ายตาราง ในจำนวนผู้สอบทั้งสิ้น ๓๐ กว่าคน

    จากประสบการณ์ชีวิตการเรียนมหาวิทยาลัย วิชานี้ต้องถอนการลงทะเบียนเรียน และเรียนใหม่ปีหน้า พอไปปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาในสมัยนั้น คือ ศาสตราจารย์ ดร. มรว. พุฒิพงศ์ วรวุฒิ (ท่านถึงแก่กรรมแล้ว) ท่านบอกว่า “ถอนไม่ได้” ให้สู้อย่างเดียว เพราะว่าทางผู้ให้ทุนการศึกษาเขาอยากให้จบเร็วๆ

    เมื่อต้องสู้ ครูสมลักษณ์ต้องมาวางแผนใหม่อย่าง “สุนัขจนตรอก” ถอยไม่ได้ต้องสู้อย่างเดียว เหมือนยุทธวิธีของพระเจ้าตากสิน “ต้องทุบหม้อข้าว” แล้วไปกินข้าวในเมืองจันท์ ต้องสร้างขวัญและกำลังใจ รวมทั้งประเมินศักยภาพของตัวเองด้วย

    คือ ก่อนสอบกลางภาคครูสมลักษณ์ไม่เคยดูหนังสือสอบเลย จะไปสู้เขาได้อย่างไร (ช่วงปีนั้นน้ำท่วมกรุงเทพ เดือนสิงหาคม ครูสมลักษณ์ลุยน้ำไปเที่ยวสวนอัมพร ไปร่วมงานครบรอบ ๑๐๐ ปีการไปรษณีย์และตราไปรษณียากรไทย)

    อาจารย์ที่สอนวิชาชีวเคมีนี้มี ๔ ท่าน สอนไปแล้ว ๒ ท่าน เหลืออีก ๒ ท่าน ครูสมลักษณ์ ไปหาอาจารย์ท่านที่สาม (ดร.จริยา) เพื่อขอคำแนะนำวิธีการเรียน ท่านอาจารย์ก็ดีใจหาย เอาหนังสือมาให้ดูว่า “ครูใช้เล่มไหน” ใช้แบบฝึกหัดไหน ใช้บทความภาษาอังกฤษอันไหน

    หลังจากนั้นครูสมลักษณ์เข้าห้องสมุดภาควิชาชีวเคมีทุกวัน อ่านหนังสือทุกเล่มที่อาจารย์แนะนำ ทำแบบฝึกหัด อ่านภาษาอังกฤษ ใช้เวลาอีกเดือนเศษให้มีค่า

    ผลการสอบปลายภาคออกมา เข้าใจว่าครูสมลักษณ์สอบได้อันดับ ๒ (อีกแล้ว) แต่ครั้งนี้เป็นที่ ๒ จากหัวตาราง จากจำนวนผู้สอบ ๓๐ กว่าคนเหมือนเดิม จึงได้เกรด A (ซึ่งมีแค่ ๒ คน) นอกนั้นได้เกรด B ส่วนคนสุดท้ายที่คะแนนสอบภาคต้นติดกับครูสมลักษณ์ สอบตก (มีแค่ ๑ คน)

   ที่เล่ามานี้ เพื่อเป็นอุทาหรณ์สอนใจว่า เมื่อถึงคราวที่จะต้องต่อสู้ เราต้องมีวิธีการที่จะต่อสู้ (ให้ชนะ) ไม่ใช้ลงสนามไปให้เขาเชือด (อาจารย์ผู้สอนถือว่ามีดาบอาญาสิทธิ์ จะเชือดเฉือนใครก็ได้ แต่ต้องมีเหตุผล) เน้นย้ำคำว่า “ต้องมีวิธีการ” หรือกระบวนการนั่นเอง

หมายเหตุ

  1. พอคะแนนออกมาแล้ว อาจารย์ท่านแรก (ดร.ปรีดา) เป็นคนทำคะแนน พูดถึงผมว่า "เป็นม้าตีนปลาย" หมายความว่า ออกสต๊าทไม่ดี แต่ม้าวิ่งเข้าเส้นชัยก่อนม้าตัวอื่นๆ 
  2. เรื่องนี้เคยเล่าไว้ครั้งหนึ่งแล้วที่ http://gotoknow.org/blog/beesman/5524 แต่อารมณ์การเขียนแตกต่างกัน และสำนวนเขียนก็แตกต่างกันบ้าง โปรดติดตามอ่านได้ แต่เป็นเรื่องบันเอิญมาก เขียนห่างกัน 1 ปีพอดี
หมายเลขบันทึก: 55007เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2006 06:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2013 08:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • เห็นอาจารย์ต่อสู้เลยต้องขยันให้มากกว่าเดิม 
  • สรุปไม่ได้เป็นผึ้งนะครับ
  • เป็นม้าตีนปลาย

 

    Horse





  • รวดเร็วจังครับคุณขจิต ผมยังแก้บันทึกไม่เรียบร้อยดีก็เข้ามาเยี่ยมแล้ว
  • รู้สึกว่าพอใส่ Keyword "ครูภูมิปัญญาไทย" แล้ว คุณขจิตจะติดตามอ่านเป็นพิเศษ
  • จริงไหมเอ่ย ..ม้าตีนต้น

สวัสดียามเช้าค่ะ  คุณ beeman

  • ครูอ้อยยังไม่ได้เป็นทั้งม้าตีนต้นและตีนปลายค่ะ
  • ยังคงเป็นม้าสลบเหมือดอยู่ค่ะ

ได้อ่านบันทึกแล้วเกิดพลังอย่างประหลาด  เดี๋ยวครูอ้อยจะหลบไปทำการบ้านก่อนค่ะ  ขอบคุณมากค่ะ คุณ beeman และคุณขจิต

  • ชอบครับ
  • "ครูภูมิปัญญาไทย"
  • อยากชวนครูบาสุทธินันท์กลับมาเขียนใหม่
  • ขอบคุณทั้งสองท่านมากครับ
  • เข้ามาเยี่ยมบ้านตัวเองไม่ค่อยได้เลยครับเพราะว่าการจราจรติดขัดมาก
  • ครูอ้อยเกิดพลังประหลาด เพราะว่าได้อ่านบันทึกของ beeman สงสัยเป็นพลังจิตครับ
  • ส่วนคุณขจิต ต้องแวะไปเยี่ยมสนทนากับท่านครูบาสุทธินันท์นะครับ

อรุณสวัสดิ์นะคะท่าน beeman

นับถือนะคะ...

งานนี้กะปุ๋มมองว่าท่านมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงมาก...

หลังจากได้รับแรงเสริม...กะปุ๋มขอชื่นชมและรู้สึกนับถือท่านอาจารย์ของท่าน beeman มากนะคะท่านมีวิธีการที่จะ empowerment ลูกศิษย์...ได้ดีทำให้มีพลัง...ที่จะก้าวเดินต่อไป

(^________^)

บันทึกนี้น่าจะเป็นตัวอย่างดีดีให้ใครอีกหลายคนนะคะ...ที่ท้อแล้วมักถอยหนี

กะปุ๋ม

  • ขอขอบคุณ คุณกระปุ๋มนักจิตวิทยาที่มาให้ความเห็นครับ
  • เป็นประโยชน์มากครับ...เป็นกระจกสะท้อนตัวเองไปด้วย
  • งานนี้ต้องยกให้อาจารย์ที่ปรึกษาด้วย..ที่มีวิธีกระตุ้นการต่อสู้ให้ลูกศิษย์ โดยให้ตัวเลือกเพียง Choice เดียว...
  • ไม่เหมือนข้อสอบส่วนใหญ่ที่มี 4 Choice นะครับ

อ่านข้อความของคุณ BEEMAN แล้วรู้สึกดีจังครับ แต่ผมมาอ่านมันช้าไป 4 ปีครับ ถ้าอ่านเร็วกว่านี้ ผมคงได้ข้อคิด ได้กระบวนการเรียนที่ดี และคงไม่ต้องเรียนโทอีกใบ เพื่อสมัครเรียนเอก ในมหาวิทยาลัยที่เขากำหนดเกรดเฉลี่ย แต่ผมจะจำมันไว้ครับ "ม้าตีนปลาย"

 

P beeman

  • ตอบคุณจิระ
  • เรื่องทำนองนี้พึ่งเขียนได้สองปีครับ
  • และ GotoKnow ก็มีอายุเพียงสองปีกว่าๆ เท่านั้นเอง
  • ดังนั้นต้องทำใจครับ สู้ต่อไป
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท