โต๊ะ (ปู่-ย่า) ที่ต้องเลี้ยงหลาน 2 คน


ช่วงวัยเรียนประถม มัธยม หรือแม้แต่ตอนที่ทำงานแล้วในต่างจังหวัด ผมคุ้นเคยกับภาพครอบครัว  ที่มี พ่อ-แม่-ลูก  อยู่ด้วยกันครบ  หรือไม่ก็อาจจะแถม ปู่-ย่า-ตา-ยาย  เข้ามาอีก     

แต่พอมารู้จักเมืองหลวง   ต้องทำงานในเมืองหลวง  วิถีชีวิตของคนในกรุงเทพฯก็เปลี่ยนไป   พอมีครอบครัวก็เลยต้องมาคิด  ต้องวางแผนกันหลายอย่างมากขึ้น  เช่น  พอไปทำงานแล้ว  ใครจะมาดูแลลูกเรา  แค่นี้ก็เป็นโจทย์ใหญ่แล้วสำหรับครอบครัวใหม่  โดยเฉพาะครอบครัวของคนชั้นกลางแบบเดียวกับผม

ผมโชคดีที่พ่อกับแม่ขึ้นมากรุงเทพฯ  มาช่วยดูแลหลานให้ตั้งแต่ภรรยาผมคลอด    และหลังจากนั้นไม่นานน้องสาวผมก็คลอดอีกคน   ก็เลยเท่ากับมีเด็กน้อย 2 คนที่บ้าน  กลางวันผมก็ต้องออกไปทำงาน  ภรรยาก็ทำงานที่ราชบุรี กลับมาเสาร์-อาทิตย์   ครอบครัวน้องสาวเช้ามาก็ต้องออกไปทำงาน   โต๊ะก็เลยต้องเหนื่อยมากขึ้นไปอีก   ประกอบกับเดือนรอมฏอนนี้    มะผมจะต้องทำอาหารละศีลอดแต่ละวัน   โต๊ะชาย (ปู่) ก็เลยต้องเล่นกับหลาน 2 คนแทน  เป็นอย่างนี้บ่อยครั้ง  ภาพก็อย่างที่เห็นแบบนี้แหละครับ

 

หมายเลขบันทึก: 55005เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2006 05:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เขาถึงบอกว่า เราต้องมีลูกตอนที่ ตา ยายยังเลี้ยงไหว"ทันเลี้ยงหลาน" ไงคะ คุณธวัชโชคดีกว่าอีกหลายครอบครัว รวมถึงโชคดีกว่าดิฉันด้วย ที่เป็นครอบครัวเดี่ยว เลี้ยงเองตั้งแต่ต้นทุกกระเบียด ส่งเนิสซารีกันตั้งแต่เช้าหมายความว่าเงินเดือน ต้องจ่ายค่าเลี้ยงลูกไปกว่าครึ่ง  เด็กที่เลี้ยงโดย ปู่ ย่า ตายาย  จะมีลักษณะเด่นคือ อยู่กับผู้ใหญ่เป็น ติดตัวมาแต่เด็ก จะมีสัมมาคารวะ รู้วางตัวในสังคมกว่าเด็กที่เลี้ยงแบบครอบครัวเดี่ยวมีคำยืนยันจากลูกพี่เอง น่าจะเป็นแบบนั้นจริง  
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท