“การบริการด้วยน้ำใจ ผู้รับบริการเกิดความประทับใจ”


แนวทางการสร้างจิตสำนึกอาจมีหลากหลายแนวทาง แนวทางที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เป็นหลักปฏิบัติที่ดี และน่าจะมีส่วนช่วยให้แก่ผู้ที่นำไปปฏิบัติสามารถพัฒนาการปฏิบัติงาน เพื่อบริการแก่ผู้รับบริการให้ประสบผลสำเร็จได้

KM (Knowledge Management)

การบริการด้วยน้ำใจ ผู้รับบริการเกิดความประทับใจ

*         แนวทางการสร้างจิตสำนึกในการให้บริการแก่ผู้รับบริการ

*         ระเบียบต่าง ๆ เป็นเพียงกรอบทิศทางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เท่านั้น หากเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลขาดจิตสำนึกในการให้บริการ แม้จะมีระเบียบที่ดีก็ไม่สามารถสร้างความสำเร็จและความพึงพอใจในการให้บริการแก่ผู้รับบริการได้ มีหลักปฏิบัติในการให้บริการที่น่าสนใจ ดังนี้

*         หลัก Service "บริการ"

S = Smiling and Sympathy: ยิ้มแย้มแจ่มใส เอาใจเขามาใส่ใจเรา เห็นอกเห็นใจของผู้มาขอรับบริกา

E = Early Response: ตอบสนองความประสงค์ของผู้มาขอรับบริการอย่างรวดเร็ว ทันใจ

R = Respectful: แสดงออกถึงการให้เกียรติหรือความนับถือผู้มาขอรับบริการ

V = Voluntaries manner: ให้บริการอย่างเต็มใจ ไม่ใช่ทำอย่างเสียไม่ได้

I = Image Enhancing: รักษาภาพลักษณ์ขององค์การและของตนเอง

C = courtesy: อ่อนโยน อ่อนน้อม สุภาพ เรียบร้อย มีมารยาที่ดี

E = Enthusiasm: กระฉับกระเฉง กระตือรือร้นในการให้บริการ 

*         หลัก อิทธิบาท 4 : อิทธิบาท เป็นเครื่องให้ถึงความสำเร็จ หรือ หนทางแห่งความสำเร็จ ตามหลักของพระพุทธศาสนาซึ่งสามารถนำไปใช้ได้กับงานทุกงาน ประกอบด้วย

 *    ฉันทะ : ความพอใจรักใคร่ในงานบริการแก่ผู้รับบริการที่ทำนั้น (ความเต็มใจ)

 *    วิริยะ : ความพากเพียรพยายามทำงานบริการให้ดีที่สุด (ความขยัน , กระตือรือร้น)

 *    จิตตะ : ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในการบริการ (ความรับผิดชอบ , ความรวดเร็ว , การให้เกียรติ)

 *    วิมังสา : ความพิจารณาใคร่ครวญหาเหตุผล เพื่อปรับปรุงงานบริการให้ดีขึ้นเสมอ (ความมีปัญญา และใช้ปัญญา)

 *         แนวทางการสร้างจิตสำนึกอาจมีหลากหลายแนวทาง แนวทางที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เป็นหลักปฏิบัติที่ดี และน่าจะมีส่วนช่วยให้แก่ผู้ที่นำไปปฏิบัติสามารถพัฒนาการปฏิบัติงาน เพื่อบริการแก่ผู้รับบริการให้ประสบผลสำเร็จได้

*         ค่านิยมสร้างสรรค์ 5 ประการ : เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องสร้างสรรค์ค่านิยม 5 ประการ ให้มีขึ้นในตนเองให้ได้ ดังนี้

1)  กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง (Moral Courage): ยึดในความถูกต้องดีงาม ชอบธรรม รู้จักเสียสละ ไม่โอนอ่อนหย่อนตามอิทธิพลผลประโยชน์ใด ยึดมั่นในหลักวิชาและจรรยาบรรณวิชาชีพ

2)  ซื่อสัตย์ และมีความรับผิดชอบ: ปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา แยกเรื่องส่วนตัวออกจากเรื่องหน้าที่การงาน มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ต่อผู้รับบริการ ต่อผลการปฏิบัติงานและต่อหน่วยงาน

3)  โปร่งใส ตรวจสอบได้ (Transparency and Accountability) ทำงานอย่างโปร่งใส เปิดโอกาสให้ผู้รับบริการตรวจสอบความถูกต้องได้ และเปิดเผยข้อมูล ข่าวสารได้ตามกฎหมาย

4)  ไม่เลือกปฏิบัติ (Nan discrimination) ให้บริการแก่ผู้รับบริการด้วยความเสมอภาค เน้นความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดและถูกต้อง มีน้ำใจ มีความเมตตา และเอื้อเฟื้อต่อผู้รับบริการ

5)  มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน (Result Orientation) ทำงานโดยยึดผลลัพธ์เป็นหลักมีการวัดผลลัพธ์และค่าใช้จ่าย ให้งานแล้วเสร็จตามกำหนด ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเพื่อให้เกิดผลดีแก่หน่วยงานและส่วนรวม

*         การสร้างค่านิยมสร้างสรรค์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ดังกล่าว จะต้องดำเนินการ  ไปพร้อมกับการรักษาจรรยาบรรณวิชาชีพซึ่งเป็น มาตรฐานความประพฤติทางวิชาชีพ (Professional ethics) และศีลธรรมประจำอาชีพ (Professional morality) รวมทั้งต้องมีมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อเป็นปราการป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ ไม่ให้เกิดขึ้นได้

Key to Happiness

 *         ตระหนัก  ว่าเราไม่อาจเปลี่ยนแปลงคนอื่นได้  ต้องทำใจไว้ว่าอาจพบเจอกับความ ไม่เข้าใจของคนรอบข้างบ้าง คนทุกคนนั้นได้รับการอบรมและการศึกษามาแตกต่างกัน  สิ่งเดียวที่คุณปรับเปลี่ยนได้คือตัวเอง ควรปรับตัว เปิดใจให้กว้าง มองโลกในแง่ดี  ให้ความเข้าใจกับคนทุกประเภท และพร้อมที่จะรับมือกับพวกเขาด้วยหัวใจที่เป็นกลาง   

   

คำสำคัญ (Tags): #การพัฒนาตนเอง
หมายเลขบันทึก: 55003เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2006 01:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 15:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท