จากซางคำถึงหมาน้อย (4)


บทพิสูจน์คำสอนของอาจารย์
หมาน้อยเพื่อนรัก....          ขออภัยจ๊ะ หายเงียบไป 3 เดือน ไม่ได้ส่งข่าวให้นายรู้... ช่วงที่เราหายไปเราไปทำกิจกรรมต่างๆมากมาย อยากรู้หล่ะซิว่าเราไปทำอะไรบ้าง  เราได้จัดอบรม การจัดการความรู้ในการตรวจคัดกรองโรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติให้กับผู้ปฏิบัติงานในห้อง Lab ของโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลจังหวัดในเขตนครราชสีมา ที่ทำหน้าที่ในการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมีย โดยใช้ OF, DCIP test   หมาน้อยรู้ไหมจ๊ะ ... สิ่งที่เราได้รับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้เราได้เทคนิคที่ผู้ปฎิบัติแต่ละคนที่มีประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนกัน สามารถจัดทำวิธีการตรวจ OF และ DCIP test ของโรงพยาบาลในโคราชให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และสามารถทำให้ทุกคนเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรอง ... มีน้องบางคนถึงกับพูดว่า ..นึกไม่ถึงว่า Lab ง่ายๆที่พวกเราทำกันอยู่ทุกวันถ้าผลการตรวจไม่ถูกต้องแล้วจะสามารถส่งผลกระทบต่อครอบครัวของผู้ที่มีลูกเป็นโรคอย่างมากมายทั้งด้านจิตใจและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล    หมาน้อยจ๋า...นายคิดดูซิ... การจัดการความรู้ในครั้งนี้ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานที่เป็นด่านแรกในการตรวจคัดกรองหาคู่สมรสที่เป็นคู่เสี่ยงต่อการให้กำเนิดบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง มีความตระหนักในกระบวนการทำงานของพวกเขา ถ้าทุกคนที่ทำงานด้านนี้ไม่แปลผลผิดพลาดการควบคุมไม่ให้เด็กเกิดใหม่เป็นโรคธาลัสซีเมียในประเทศไทยคงได้ผลเร็ววันนี้แน่นอนเลย ใช่ไหมจ๊ะหมาน้อยจ๋า.... บทสรุปจากการประชุมในครั้งนี้ที่ประชุมให้เราจัดประชุมอีกครั้งเพื่อนำเสนอ Sensitivity , Specificity, Positive predictive value ของแต่ละการทดสอบ  เรานี้ปลื้มมากเลยเพราะนั่นหมายความว่าทุกโรงพยาบาลมีการนำผล Hb typing ที่ศูนย์อนามัยที่ 5 ตรวจให้ไปตรวจสอบกับวิธีตรวจคัดกรอง OF , DCIP ที่พวกเขาทำไว้   ซึ่งพวกเขาบอกว่าเขาขอเก็บข้อมูลย้อนหลัง 3 เดือนก่อนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้และเก็บข้อมูลอีก 3 เดือนเพื่อประเมินว่าผลการจัดประชุมในครั้งนี้จะทำให้ผล Lab ของพวกเขามีความถูกต้องมากขึ้นหรือปล่าว   ซึ่งเวลาในขณะนี้ก็ล่วงผ่านไป 3 เดือนแล้วเราก็ขอบอกผลให้นายฟังนะจ๊ะ... การทำงานไม่ได้ง่ายอย่างที่เราคิดเสมอไป... เมื่อพวกเรากลับมาเจอกัน... หมาน้อยเพื่อนรัก... นายรู้ไหมหล่ะ มันเป็นความผิดพลาดของเราเองแหละ.. น้องๆหลายโรงพยาบาลยังคำนวณ Sensitivity , Specificity, Positive predictive value ไม่เป็น แต่ทุกคนมีข้อมูลของตัวเอง คิดแล้วเราก็อดยิ้มกับตัวเองไม่ได้.... สรุปมาครั้งที่ 2 เราก็มีการจัดการความรู้ในเรื่อง การคำนวณหาค่าความไว ความจำเพาะ และค่าการทำนายผลบวกของวิธีการทดสอบ   จบการประชุมครั้งที่ 2 ทุกคนสามารถคำนวณได้แล้ว และแถมท้ายเราได้ทำ Unknown แจกเป็น External Quality Control ให้ทุกโรงพยาบาลกลับไปทำด้วย ... ในวันนี้ส่วนใหญ่ก็ส่งผลการตรวจกลับมาให้เราแล้ว ... ซึ่งบางโรงพยาบาลเราก็ต้องรีบโทรศัพท์กลับไปตรวจสอบถึงเทคนิคการทำและน้ำยาที่ใช้... พบว่าน้ำยา Lot ที่น้องเขาใช้อยู่ใช้ไม่ได้ ... นี่แหละสมัยที่พวกเราเรียนอยู่อาจารย์ย้ำนักย้ำหนาว่าต้องทำ Quality Control ด้วยเพื่อให้ผล Lab มีความถูกต้อง แม่นยำและน่าเชื่อถือ  บทพิสูจน์คำสอนของอาจารย์.... สุดยอดเลย....

หมาน้อยจ๋า... วันนี้สงสัยจะได้เล่าเพียงเรื่องเดียวแหละ.. ตอนนี้ก็ 5 ทุ่มแล้วพรุ่งนี้มีคลินิกเบาหวานด้วยแหละเราต้องมาทำ Lab แต่เช้า .. แต่สิ่งที่เราเล่าให้นายฟังวันนี้ เราภูมิใจมากเลยที่ได้มีการใช้กระบวนการจัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือในการทำงาน และมีโอกาสได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในกลุ่มวิชาชีพ  อ้อ ! ลืมบอกนายไปน้องๆโรงพยาบาลบอกว่าอีก 3 เดือน (ธันวาคม 2549 ) ขอมานำเสนอผลงานใหม่ และขอแถมท้ายให้เราช่วยเป็นคุณอำนวยในการจัดการความรู้เรื่อง Competency ของผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ นายก็รู้ คนอย่างเรารึจะปฏิเสธ  ยังไงจะมาเล่าให้ฟังใหม่นะจ๊ะ... บ๊ายๆ....

                          

                                            .....รักจ๊ะ........

                                                ซางคำ

                                                                                                         

หมายเลขบันทึก: 54994เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2006 22:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 18:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ยาวดีครับแต่ก็ได้ความรู้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท