การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและภูมิปัญญาท้องถิ่น


หลักสูตรท้องถิ่นหมายถึงหลักสูตรที่สร้างขึ้นจากสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียน หลักสูตรท้องถิ่นจะสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่นนั้นๆ เป็นการเรียนรู้จากภูมิปัญญาที่มีอยู่ในท้องถิ่น ผู้เรียนแสวงหาองค์ความรู้ที่ตอบสนองกับวิถีชีวิตของตนเอง ปรับตนเองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคโลกาภิวัตน์ ผู้เรียนจะเรียนรู้ตามสภาพจริงของตนเอง สามารถนำความรู้ไปใช้การพัฒนาตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้ ( กองพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน. 2543 : 3 ) จึงอาจสรุปได้ว่า หลักสูตรท้องถิ่นหมายถึง ประสบการณ์การเรียนรู้ที่จัดให้กับกลุ่มผู้เรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่จัดตามสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนในท้องถิ่นนั้นๆ เป้าหมายหลัก คือ ต้องการให้ผู้เรียนได้นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียนให้ดีขึ้น

สรุป

ข้าพเจ้าจึงสรุปจากที่อ่านได้ว่า หลักสูตรท้องถิ่น เป็นหลักสูตรที่จัดทำขึ้นเพื่อสถานศึกษาในแต่ละท้องถิ่นมีความต้องการการเรียนรู้ที่ไม่เหมือนกันไปตาม บางโรงเรียนอยู่ในเมือง บางโรงเรียนอยู่ในชนบท ซึ่งฐานะความเป็นอยู่ในด้านของสภาพเศรษฐกิจและสังคมก็ต่างกันแล้ว แล้วอีกปัจจัยหลักหนึ่งก็คือ เพื่อให้นักเรียนได้รักและภูมิใจในท้องถิ่นของตน ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นในบางท้องที่ ที่สืบทอดกันมายาวนาน

หลักในการเขียนหลักสูตร หลักในการเขียนหลักสูตร มีดังนี้

1. ความสำคัญ หลักสูตรท้องถิ่น เป็นหลักสูตรที่สถานศึกษาสามารถสร้างขึ้น เพื่อแก้ปัญหาของผู้เรียนในด้านต่างๆ รวมถึงการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นขึ้นมา เพื่อสนองตอบต่อความต้องการเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งของชุมชน โดยพัฒนาเนื้อหาสาระแบบมีส่วนร่วมของบุคคลหลายๆ ฝ่ายอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอน และเนื้อหาเฉพาะเจาะจง เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของตนเอง ชุมชน และสังคมในภาพรวมได้

2. จุดมุ่งหมาย ( Aims ) หมายถึง ข้อกำหนดทั่วไปที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะและทิศทางเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่ชัดเจน ที่ออกแบบไว้ให้บรรจุ ซึ่งผลผลิต หรือพฤติกรรมในอนาคต

3. วัตถุประสงค์ ( Objective ) เป็นคำที่มีความเฉพาะเจาะจงเป็นเครื่องบ่งชี้ผลลัพธ์กับหลักสูตร เป็นลักษณะจุดประสงค์ปลายทาง

4. เนื้อหาหลักสูตร เป็นการนำหัวข้อหลัก ( Theme ) ที่กำหนดไว้มาเขียน ซึ่งเนื้อหาสาระของหลักสูตร จะต้องตอบสนองต่อการบรรลุตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรบาทา ( Taba. 1973 : อ้างถึงใน หรรษา นิลวิเชียร. 2544 : 126 ) เสนอแนะเกณฑ์ในการเลือกเนื้อหาของหลักสูตร ซึ่งเนื้อหาของหลักสูตรจะต้องถูกต้องและมีความสำคัญ ซึ่งสะท้อนให้เห็นความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยและเป็นความรู้พื้นฐานที่สำคัญ เนื้อหาจะต้องสอดคล้องกับสภาพสังคมและวัฒนธรรมในปัจจุบัน มีความสมดุลทั้งความกว้างและความลึก สนองวัตถุประสงค์หลากหลายอันได้แก่การหาความรู้ใหม่ การคิดอย่างประสิทธิภาพ เจตคติ ความสนใจ นิสัยที่เหมาะสมและทักษะสอดคล้องกับประสบการณ์ของผู้เรียน และผู้เรียนสามารถเรียนได้ และสอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียน

5. เวลาเรียน ให้ระบุเวลาเรียนตลอดหลักสูตร ใช้เวลากี่ชั่วโมง และแยกเป็นภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ใช้เวลาทั้งหมดกี่ชั่วโมง การกำหนดเวลาเรียนต้องมีความเหมาะสมกับเนื้อหาและวิธีการสอน

6. แหล่งการเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียน บอกแหล่งการเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียน เช่น ศึกษาจากเอกสารวิชาการ ศึกษาจาก VCD ศึกษา Website ศึกษาจากผู้รู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น

7. การวัดและประเมินผล ระบุว่ามีการวัด และประเมินผลด้วยวิธีใด เช่น การสังเกต การทดสอบ การวัดจากชิ้นงาน เป็นต้น

8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ บอกความคาดหวังของผลลัพธ์ทางการศึกษา ทั้งในระดับกว้างและระดับเฉพาะ เช่น

1. ผู้เรียนสามารถบริหารจัดการโฮมสเตย์ได้

2. ผู้เรียนและชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น เกิดความเข้มแข็งของเศรษฐกิจของชุมชน

3. ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาอาชีพโฮมสเตย์

9. โครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตร ให้นำหัวข้อหลักและหัวข้อย่อย เนื้อหาของหลักสูตรในแต่ละเรื่องทั้งหมดมาเขียนไว้พร้อมระบุจำนวนชั่วโมง ในแต่ละหัวข้อหลัก

อ้างอิง

กองพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน. 2543

หมายเลขบันทึก: 549799เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2013 11:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2013 11:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท