ประวัติศาสตร์แพทย์แผนไทย


ศาสตร์

พจนานุกรมไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายไว้ว่า

  • ศาสตร ศาสตร์

    [สาดตฺระ สาดสะตฺระ สาด] น. ระบบวิชาความรู้ มักใช้ประกอบหลังคําอื่น เช่น วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์มนุษยศาสตร์. (ส.).

ศาสตร์การแพทย์จึงน่าจะหมายถึง ความรู้ ทางการรักษาให้พ้นจากการเจ็บป่วยและศาสตร์แต่ละแขนงก็มีที่มาที่ไป โดยเฉพาะศาสตร์การแพทย์แผนโบราณ มีผู้คนอีกจำนวนมากที่มีประสบการณ์จากการรักษาโดยแพทย์แผนโบราณ โดยเฉพาะในชนบทที่ห่างไกลการคมนาคม แพทย์แผนโบราณจึงเป็นที่หวังของการแก้ไขปัญหาสุขภาพ การเจ็บไข้ได้ป่วย และเขาเหล่านั้นมักโชคดีที่ไม่ต้องทุกข์ทรมานกับการผจญโรคที่เกิดจากผลข้างเคียงของการรักษา หากว่าเขาเหล่านั้นได้เจอแพทย์โบราณที่แท้จริง แพทย์โบราณก็มีจรรยาบรรณของการแพทย์เช่นแพทย์สมัยใหม่ หาก....ไม่เห็นประโยชน์ส่วนตนมากไปกว่าประโยชน์ส่วนรวม ทุกชีวิตที่เกี่ยวข้องกันย่อมมีความสุข มีการให้ มีแบ่งปัน มีความรัก โอบอ้อมอารี มีเมตตาที่ไม่ต้องซื้อหา หากเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติของความดี ที่มีในมนุษย์ทุกผู้ตัวตนอยู่แล้วโดยสันดาน

หากผู้ใดที่ได้มีโอกาสศึกษาประวัติความเป็นมาของพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้า ก็จะทราบอยู่แล้วว่าในสมัยพระพุทธกาลนั้นมีการแพทย์แผนโบราณเกิดขึ้น และบุคคลที่ทำให้การแพทย์แผนโบราณเกิดขึ้น และเป็นบรมครูด้านการแพทย์สามารถรักษาโรคต่างๆ ให้หายได้ จนได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะ นั้นคือ พระอาจารย์ชีวกโกมารภัจจ์ เรี่องราวของท่านมีกล่าวไว้ใน พระไตรปิฎกและคัมภีร์อรรถกถา (วิกีพีเดีย,สารานุกรมเสรี,เข้าถึงเมื่อ 30 กันยายน 2556)

Wat Khungtaphao Herbal Garden 07.jpg

ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8

หมอชีวกโกมารภัจจ์ บรมครูแห่งการแพทย์แผนโบราณ

เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา

เรื่องราวขีวิตของท่านมีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกและคัมภีร์อรรถกถา

เมื่อฉันมีโอกาสได้ฟังคำเทศนาในพิธีการต่างๆ ฉันมักได้ยินคำว่า

อรรถกถาธรรมในพระไตรปิฎก

ฉันหาได้มีความรู้ลึกซึ้งอย่างไรไม่ในคำว่าอรรถกถา

ต่อเมื่อมีโอกาสใคร่ครวญและศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้ข้อสงสัยในใจหมดสิ้นไป

จึงได้รู้ว่าอรรถกานั้นหมายถึงคำอธิบายพระไตรปิฎกของโบราณที่เราไม่เข้าใจในภาษา

ที่ปรากฏในพระไตรปิฎกนั้นนั่นเอง

คำอธิบายที่ปรากฏนั้นเรียกกันว่าคัมภีร์ เช่น คัมภีร์อรรถกถา(อ่านว่า อัด-ถะ-กะ-ถา)

หรือบางสำนักเรียกว่าปกรณ์อรรถกถาบ้าง

ส่วนผู้ที่แต่ง คำอธิบายในพระไตรปิฎกเรียกว่า อรรถกถาจารย์

สำหรับการเรียนวิชาแพทย์ หรือศาสตร์ทางแพทย์โบราณต้องศึกษาจากสำนักเรียน

ของศาสตราจารย์ทิศาปาโมกข์โดยผู้ที่ตั้งใจศึกษาต้องใช้เวลาในการเรียนรู้

นานถึง 16 ปี หากพระอาจารย์ชีวกโกมารภัจจ์ได้ใช้เวลาในการศึกษา

นานเป็นเวลา 6 ปี 7 ปี จึงสำเร็จ และพระอาจารย์เลือกที่จะเรียนวิชาแพทย์

ด้วยเหตุผลว่าวิชาแพทย์เป็นวิชาที่ไม่ทำร้ายเพื่อนมนุษย์ร่วมโลก

ภายหลังจบหลักสูตรการรักษาช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ ครั้งหนึ่งท่านได้เดินทางไปรักษา

อาการประชวรของพระเจ้าพิมพิสารจากโรคริดสีดวงทวาร

ทำให้ท่านเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ชื่อเสียงขจรไกลไปทุกทิศ มีลูกศิษญ์มากมาย

และขยายมาสู่แถมเอเชียในสมัยขอมโบราณ

อาณาจักรขอมเจริญรุ่งเรืองด้วยการแพทย์โบราณในช่วง พ.ศ1725 - 1729

อันเป็นยุคสมัยที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ครองราชสมบัติในช่วงนี้มีการจัดสร้างสถานพยาบาล

ขึ้นเป็นครั้งแรก และมีชื่อเรียกว่า อโธคยาศาลา และมีสถานที่รักษาถึง 108 แห่ง

มีผู้ทำหน้าที่รักษาพยาบาลในยุคขอมถึง 92 คน และมีพิธีกรรมบูชาพระไภสัชยคุรุไวฑูรย์

ก่อนที่จะให้อาหารและยาแก่ผู้ป่วย นับเป็นยุคที่การแพทย์โบราณ

ได้ให้บริการการรักษาแบบเป็นทางการมากขึ้น

ที่มารูปภาพ:http://www.sac.or.th/main/article_detail.php?article_id=104category_id=19

ในสมัยทราวดี ได้ค้นพบหินบดยา ไม่แน่ใจว่าภาพนี้

เป็นยุคเดียวกับที่ตำราได้กล่าวไว้หรือไม่

ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม
ที่มาของภาพ:http://www.m-culture.in.th/moc_new/album/46180/
ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ข้อมูลทางวัฒนธรรม
ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ในสมัยสุโขทัย
ได้มีการสร้างสวนสมุนไพรไว้ที่ อำเภอคีรีมาศ

เป็นสวนสมุนไพรขนาดใหญ่ อยู่บนเขาหลวง หรือเขาสรรพยา

เพื่อให้ราษฏร์ได้เก็บสมุนไพรไปใช้รักษายามเจ็บไข้ได้ป่วย

นับเป็นพระมหากรุณา เมตตา ของชาวไทยในยุคนั้นจนถึงปัจจุบัน

การแพทย์แผนโบราณเจริญเจริญรุ่งเรืองมาก ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์

มีการทำตำราแพทย์ขึ้นเป็นครั้งแรก ตำราการแพทย์แผนโบราณ

และตะวันตกเริ่มเข้ามาประสมประสาน เพื่อให้มีการศึกษาขึ้นนั้นมีขื่อว่า

ตำราพระโอสถพระนารายณ์ และเป็นตำราเภสัชกรรมไทยโบราณเล่มแรก

มีมาตราตวงยาเรียกว่า"ทะนาน"ศึกษาเพิ่มเติมเรื่องมาตราตวงยาได้ที่

เกร็ดความรู้สารานุกรมไทย-บ้านจอมยุทธ

และอ่านเพิ่มเติม เพิ่มเติมเรื่องภาพและทะนานที่ พิพิธภัณฑ์ ชั่งตวงวัด

ขอบคุณที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%

http://avatar.tarad.com/article?id=37700?lang=thlang=th

http://www.baanjomyut.com/library/knowledge_of_encyclopedias/211.html

http://dict.longdo.com/search/*%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99*

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=682501

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6286

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาอ่านคะ เส้นทางประวัติศาสตร์แพทย์แผนไทยยังมีต่อขอไปบันทึกหน้าค่ะ

ได้เวลาทำงานแล้ว ขอให้มีความสุขมากๆนะคะ

ขอบคุณค่ะ

หมายเลขบันทึก: 549791เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2013 09:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 ตุลาคม 2013 11:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

 

  .... เป็นศาสตร์....ที่ต้องอนุรักษ์ไว้ .... ไม่ให้เกิดความสูญหาย นะคะ .... 

ขอบคุณมากนะครับครูต้อยคิ่ง ครับ

ขอบคุณในอรรถรสและพุทธตำนานนี้ค่ะ

ขอบคุณ ครูต้อยติ่ง ที่กรุณา ถ่ายทอด อรรถกถาธรรม  ให้ชัดแจ้งขึ้นนะคะ

ศาตร..ทางการ..รักษา..แบบโบราณ..หายไป..เนื่องจาก..อำนาจ..อิทธิพล..การรัก..ษาของแพทย์แผนแบบตะวันตก..ตำราถูกเผา..มีการห้ามเป็นทางการ..ถูกกล่าวร้าย..เป็นเรื่องหมอผี.ในสมัยหนึ่ง.(หากปัจจุบันแพทย์..ทางตะวันตก..มีผู้ให้ความสนใจและฟื้นฟูความรู้..แผนโบราณ..และมีผลวิจัยกัน..แต่..ก็ยังคงรูป..ด้านลบ..คือ..อุตสาหกรรมทางแพทย์..ที่เป็นกำแพงกางกั้น.ความรู้การรักษากับผู้ยากไร้..และไกลปืนเที่ยงต่อไป.ในเรื่องของแพทย์แผนโบราณ.)

Dr. Ple

ขอบคุณค่ะ ที่ช่วยให้บันทึกนี้ได้ทำหน้าที่คนไทยคนหนึ่งที่พึงรักษาและอนุรักษ์ความเป็นไทยในอีกรูปแบบหนึ่ง

การแพทย์แผนไทยแม้จะมีเส้นทางการเดินทางที่ยาวไกลมานานนับหลายร้อยปี 

แต่ทว่ายังขาดความเข้าใจ เรื่องของทัศนคติก็เป็นอีกปัญหาที่ทำให้การแพทย์แผนไทยถูกบิดเบือนไปจากความเป็นจริง

และไม่น้อยไปกว่าการขาดจรรยาบรรณในวิชาชีพที่ก่อให้เกิดการอุตสาหกรรมแทรก มีผลต่อคุณธรรมทางการแพทย์ 

และสังคมผู้ให้เริ่มสั่นคลอน เมื่อชีวิตต้องขึ้นอยู่กับสิ่งที่มนุษย์ปั้นแต่งขึ้นมาและใช้เป็นเครื่องมือทำลายล้างกันเอง

ขอบคุณค่ะพี่ใหญ่ นาง นงนาท สนธิสุวรรณ

เรื่องของการแพทย์แผนไทยในเวลากำลังเป็นที่ต้องการของต่างชาติ ด้วยความสามารถของเขาในด้านวิทยาศาสตร์

เขาสามารถนำตำรับยาไทยโบราณพิสูจน์ และศึกษาต่อยอด ได้ดีและรวดเร็ว และในทันทีที่เขาพิสูจน์ได้ก็จะทำการจดลิขสิทธิ์ทันที

เราจะเสียดุลตรงนี้มากน้อยเพียงไร นั้นเป็นเรื่องที่มิอาจคลาดเดาได้ แต่ถ้าวันหนึ่งยาที่เป็นของไทยเราถูกนำกลับมาจำหน่าย

ให้เจ้าของบ้านเองแล้ว ไม่ทราบเหมือนกันว่า เราจะต้องเผชิญปัญหาใดมากขึ้นอีกหรือไม่ หรือแม้แต่ยาที่เราใช้กันมาแต่โบราณ

เราปลูกเองใช้เอง แต่แล้ววันหนึ่งอยู่ดีๆเราถูกปรับค่า่ลิขสิทธิ์ขึ้นมา จะทำอย่างไร ก็เป็นเรื่องน่าคิดเหมือกันนะคะ ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณค่ะน้องอ.

Joy

 

ขอบคุณค่ะ ที่ให้เกียรติ พี่เองก็พยายามเรียนรู้และเก็บรวบรวมเรื่องราวของบรรพบุรุษเท่าที่จะสามารถทำได้

หรือพบเห็นตำรับการปรุงยาแบบไทยๆที่ไหนก็จะพยายามบันทึก เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมเท่าที่จะทำได้ค่ะ

และเชื่อว่ามีคนไทยอีกจำนวนมากที่ต่างพยายามเรียนรู้และเก็บรวบรวม ลงมือทำเพื่อให้สมุนไพรไทยก้าวไกลสู่ระดับโลก

 

ขอบคุณค่ะ

ยายธี

ในสมัยก่อนได้เกิดการเผาตำราและทำลายตัวยาหลายตัว เพราะความหลงผิด

เล่ากันว่า หมอโบราณในสมัยนั้นถูกใส่ร้ายป้ายสีให้เสียหายก็มี

บางท่านต้องแอบฝังตำราไว้ใต้ดิน บางท่านตำราถูกเผาทิ้งอย่างน่าเสียดาย

การนำอุตสาหกรรมมาจับงานแพทย์แผนไทยเข้าสู่วงจรก็สร้างความไม่น่าชื่นใจ

คงไม่ต่างจากของใช้ที่ผลิตด้วยเครื่องจัก กับงานฝีมือที่เรียกวา่่Hand make มากนัก

ที่ให้ความรู้สึกแตกต่างกันทั้งด้านจิตใจและการกระทำ 

ขอบคุณค่่ะ

 

ขอบคุณอ. ชยพร แอคะรัจน์ และ น้องอ. บุษยมาศ

ที่แวะมาอ่านมามอบกำลังใจให้..ขอบคุณค่ะ

May I add some info from a DPR dictionary:

jīvaka: one who lives; a personal name. (m.)
komārabhacca: the medical treatment of infants; brought up by a prince. (nt.)

 Jīvaka-Komārabhacca.-A celebrated physician.  He was the son of Sālavatī, a courtesan of Rājagaha.  (AA.  (i.216) says that Abhayarājakumāra was his father).  Directly after birth the child was placed in a basket and thrown on a dust-heap, from where he was rescued by Abhayarājakumāra.  When questioned by Abhaya, people said "he was alive" (jīvati), and therefore the child was called Jīvaka; because he was brought up by the prince (kumārena posāpito), he was called Komārabhacca.  It has been suggested, however, that Komārabhacca meant master of the Kaumārabhrtya science (the treatment of infants); VT.ii.174; in Dvy.  (506-18) he is called Kumārabhūta.

When grown up, he learnt of his antecedents, and going to Takkasilā without Abhaya's knowledge, studied medicine for seven years.  His teacher then gave him a little money and sent him away as being fit to practise medicine.  His first patient was the setthi's wife at Sāketa, and for curing her he received sixteen thousand kahāpanas, a manservant, a maid-servant and a coach with horses.  When he returned to Rājagaha, Abhaya established him in his own residence.  There he cured Bimbisāra of a troublesome fistula and received as reward all the ornaments of Bimbisāra's five hundred wives.  He was appointed physician to the king and the king's women and also to the fraternity of monks with the Buddha at its head.  Other cures of Jīvaka's included that of the setthi of Rājagaha on whom he performed the operation of trepanning, and of the son of the setthi of Benares who had suffered from chronic intestinal trouble due to misplacement, and for this case Jīvaka received sixteen thousand kahāpanas.

When Candappajjota, king of Ujjeni, was ill, Bimbisāra lent Jīvaka to him.  Candappajjota hated ghee, which was, however, the only remedy.  Jīvaka prepared the medicine, prescribed it for the king, then rode away on the king's elephant Bhaddavatikā before the king discovered the nature of the medicine.  Pajjota, in a rage, ordered his capture and sent his slave Kāka after him.  Kāka discovered Jīvaka breakfasting at Kosambī and allowed himself to be persuaded to eat half a myrobalan, which purged him violently.  Jīvaka explained to Kāka that he wished to delay his return; he told him why he had fled from the court and, having returned the elephant, proceeded to Rājagaha.  Pajjota was cured and, as a token of his favour, sent Jīvaka a suit of Sīveyyaka cloth, which Jīvaka presented to the Buddha (Vin.i.268-81; AA.i.216).  Jīvaka was greatly attracted by the Buddha.  Once when the Buddha was ill, Jīvaka found it necessary to administer a purge, and he had fat rubbed into the Buddha's body and gave him a handful of lotuses to smell.  Jīvaka was away when the purgative acted, and suddenly remembered that he had omitted to ask the Buddha to bathe in warm water to complete the cure.  The Buddha read his thoughts and bathed as required.  Vin.i.279f; DhA.  (ii.164f), relates a like occurrence in another connection.  When the Buddha's foot was injured by the splinter from the rock hurled by Devadatta, he had to be carried from Maddakucchi to Jīvaka's Ambavana.  There Jīvaka applied an astringent, and having bandaged the wound, left the city expecting to return in time to remove it.  But by the time he did return, the city gates were closed and he could not enter.  He was greatly worried because he knew that if the bandage remained on all night the Buddha would suffer intense pain.  But the Buddha read his thoughts and removed the bandage.  See also J.v.333.

After Jīvaka became a Sotāpanna, he was anxious to visit the Buddha twice a day, and finding Veluvana too far away, he built a monastery with all its adjuncts in his own Ambavana in Rājagaha, which he gave to the Buddha and his monks (DA.i.133; MA.ii.590).  When Bimbisāra died, Jīvaka continued to serve Ajātasattu, and was responsible for bringing him to the Buddha after his crime of parricide.  (For details see the Sāmaññaphala Sutta; also J.i.508f; v.262, etc.).

Jīvaka's fame as a physician brought him more work than he could cope with, but he never neglected his duties to the Sangha.  Many people, afflicted with disease and unable to pay for treatment by him, joined the Order in order that they might receive that treatment.  On discovering that the Order was thus being made a convenience of, he asked the Buddha to lay down a rule that men afflicted with certain diseases should be refused entry into the Order (Vin.i.71ff).  Jīvaka was declared by the Buddha chief among his lay followers loved by the people (aggam puggalappasannānam) (A.i.26).  He is included in a list of good men who have been assured of the realisation of deathlessness (A.iii.451; DhA.i.244, 247; J.i.116f).

At a meal once given by Jīvaka, the Buddha refused to be served until Cūlapanthaka, who had been left out of the invitation, had been sent for.  (For details see Cūlapanthaka).  It may have been the preaching of the Jīvaka Sutta which effected Jīvaka's conversion.  One discussion he had with the Buddha regarding the qualities of a pious lay disciple is recorded in the Anguttara Nikāya (A.iv.222f).  Sirimā was Jīvaka's youngest sister (SNA.i.244; DhA.iii.106).

At Jīvaka's request, the Buddha enjoined upon monks to take exercise; Jīvaka had gone to Vesāli on business and had noticed their pale, unhealthy took (Vin.ii.119).

---

My inyerest is in the history of "folk medicine" in Thailand. Is there a 'verified' history of Thai medicine?

I went looking for gardens surrounding stone ruins (ปราสาทหิน) fron the Karnchanaburi in the West to Ubol Rachathani in the East but could not find any. (Maybe archelogists see old stones more important than old plants.) The idea was to see what herbs and trees were grown around grand public buildings ("monuments") and medicinal hospices and so extablixh links between plants and ancient medicine. Sadly, I failed to find any remains of ancient gardens.

 

I had many typos down the bottom of my comment: Let me try again ;-)

My interest is in the history of "folk medicine" in Thailand. Is there a 'verified' history of Thai medicine?

I went looking for gardens surrounding stone ruins (ปราสาทหิน) fron the Karnchanaburi in the West to Ubol Rachathani in the East but could not find any. (Maybe archelogists see old stones more important than old plants.) The idea was to see what herbs and trees were grown around grand public buildings ("monuments") and medical hospices and to establish links between plants and ancient medicine. Sadly, I failed to find any remains of ancient gardens.

By "medical hospices" I mean "อโรคยาศาลา".

It should be noted from "...There he cured Bimbisāra of a troublesome fistula and received as reward all the ornaments of Bimbisāra's five hundred wives.  He was appointed physician to the king and the king's women and also to the fraternity of monks with the Buddha at its head.  Other cures of Jīvaka's included that of the setthi of Rājagaha on whom he performed the operation of trepanning, and of the son of the setthi of Benares who had suffered from chronic intestinal trouble due to misplacement, and for this case Jīvaka received sixteen thousand kahāpanas..."

Trepanning in modern term is "brain surgery" (by cutting a hole in the skull).

And "exercise" is a truely great medical advice even the Buddha did not know before "...At Jīvaka's request, the Buddha enjoined upon monks to take exercise..."  Exercise applies to all Buddhists not just monks!

ขอบพระคุณค่ะท่านSr.ได้แก้ไขเรื่องเวลาที่บรมครูแพทย์แผนโบราณใช้เล่าเรียนจนสำเร็จ

สิ่งหนึ่งที่พบได้จากบันทึกอาจคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงที่เล่าต่อกันมา หรือเพราะเหตุใดยังมิอาจทราบ

สิ่งที่น่าสนใจนอกจากการรักษาอาการโรคท้องผูกด้วยวิธีธรรมชาติ เหมือนจะเป็นกำเหนิดสปาแนวพุทธ

คือกการดมกลิ่นหอมของดอกบัว ตามตำรายาโบราณก็เห็นจะมีทั้งเกสรดอกบัวหลวงแดง และเกสรดอกบัวขาว

ซึ่งยังต้องเรียนรู้อีกมากสำหรับตัวเอง 

ในเรื่องการผ่าตัดลำไส้เพื่อทำความสะอาดลำไส้ และตัดส่วนที่เสียทิ้งไป ก็ยังนึกภาพไม่ออกว่าจะใช้เครื่องมืออะไรเย็บ

แต่เมื่อศึกษาเรื่องการเย็บจีวรในสมัยพุทธกาลก็ให้สงสัยว่าเข็มเย็บที่บรมครูใช้นั้นมีรูปร่างอย่างไร และมีกรรมวิธีอย่างไร

รวมทั้งการผ่ากระโหลกศีรษะที่แม้ในปัจจุบันก็ยังนับว่าเสี่ยงมาก การให้ผู้ป่วยนอนตะแคงขวา 7 ซ้าย 7 คว่ำ

และหงายก็น่าจะเป็นผลต่อการฟื้นฟูสภาพของบาดแผล และการพักผ่อนที่ดี 

ยังมีอะไรอีกที่ซ่อนเร้นไว้ในคำอธิบายเรื่องราวในอดีต

การเฟ้นหาและสืบค้นเป็นเรื่องที่ดี แต่คงต้องใช้เวลามาก ในปัจจุบันนี้มีเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มากมายที่สามารถคัดแยกสารในพืชออกมา กอปร์กับความรู้ทางเคมีที่แพทย์ร่ำเรียนมาอาจช่วยให้การเรียนรู้เรื่องตำราแพทย์ไทยโบราณรุดหน้าไปกว่าตะวันตกได้ อีกทั้งยังพบว่าตะวันตกเองก็มุ่งเข้ามาหาวิชาแพทย์ไทย และนำไปใช้เพื่อการทดลอง จนถึงขั้นจดลิขสิทธิ์พืชของไทยไปหลายแล้ว ขืนชักช้าต่่อไปประชากรยากจนจะลำบาก และคงไม่มีใครลืมว่าส 80 % ของประชากรไทยเป็นผู้บริโภคไม่ใช่ผู้ผลิต ซึ่งถ้ามองในแง่ของการลงทุนก็คุ้มทั้งผู้ผลิตและอำนาจการซื้อแบบหลับหูหลับตาได้เช่นกัน 

ขอบพระคุณค่ะ

 

ขอบคุณดอกไม้กำลังใจจากทุกๆท่านค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท