นอนกลางวันแบบไหน__ช่วยให้ความจำดี


.
สำนักข่าว BBC ตีพิมพ์เรื่อง "นอนตอนบ่ายช่วยเด็กความจำดี"
, ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
.
เป็นที่ทราบกันดีว่า การให้เด็กวัย 3-5 ขวบ หรือเด็กก่อนวัยเรียน (pre-school) นอนกลางวัน มีส่วนช่วยให้เด็กๆ เรียน
.
การศึกษาใหม่จากมหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ แอมเฺฮิร์สท์ สหรัฐฯ ทำในกลุ่มตัวอย่างเด็กเล็ก 40 คน
.
.
ผลการศึกษาพบว่า การให้เด็กๆ นอนหลังอาหารเที่ยง 1 ชั่วโมง ทำให้ผลการเรียนดีขึ้นในช่วงบ่ายวันเดียวกัน และวันถัดไปอีก 1 วัน = ผลดีเกิดขึ้นประมาณ 1+ วัน ได้แก่
.
(1). memory = ความจำ > ดีขึ้น 10%
.
(2). early learing = การเรียนรู้เรื่องใหม่ (ระยะแรก)
.
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า เด็กเล็กวัย 3-5 ขวบ เกือบทั้งหมดต้องการนอน 11-13 ชั่วโมง/คืน
.
ถ้านอนไม่พอ จะเพิ่มเสี่ยงความจำไม่ดี เหนื่อยล้าง่าย หลงลืมง่าย สมาธิสั้นลง และอารมณ์เสีย เช่น หงุดหงิดง่าย งอแง ขี้โมโห ฯลฯ
.
.
ผู้ใหญ่ที่นอนกลางวัน โดยเฉพาะหลังอาหาร ควรระวังภาวะกรดไหลย้อน หรือโรค "เกิร์ด(GERD)" ซึ่งพบในท่านอนมากกว่าท่านั่ง หลังอาหารมากกว่าตอนท้องว่าง
.
โรคนี้อาจทำให้มีอาการอึดอัด แน่นหน้าอก แสบร้อนหน้าอก ท้องอืด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเ้ฟ้อ
.
กรดและน้ำย่อยที่ไหลย้อน จากล่างขึ้นบน จากกระเพาะอาหารไปยังหลอดอาหาร หรือขึ้นไปถึงกล่องเสียง อาจทำให้เกิดอาการระคายคอ ไอเป็นพักๆ เจ็บคอ แสบคอ หรือเสียงแหบได้
.
วิธีป้องกันที่น่าจะดี คือ ถ้าจะนอนหลังอาหาร...
.
(1). ให้กินแต่น้อย
.
(2). ไม่ดื่มน้ำมากระหว่างมื้อ (ไปดื่มตอนท้องว่างแทน)
.
(3). ไม่พูดมากระหว่างมื้อ
.
ยิ่งพูดมาก ยิ่งกลืนลมเข้าไปมาก > ให้เน้นการฟังแทน
.
.
(4). เดินหลังอาหาร
.
เดินหลังอาหาร 10-15 นาที แบบช้าๆ สบายๆ อย่างที่โบราณเรียกว่า "เดินย่อยอาหาร", ไม่ใช่เดินเร็ว หรือเดินเร่งรีบ
.
(5). เลือกนั่งหลับ หรือนอนเก้าอี้พิงแทนเตียงนอนราบ
.
กรดไหลย้อนพบในท่านอนราบมากกว่าท่านั่ง-ยืน-เดิน
.
.
(6). ไม่ควรนอนกลางวันเกิน 15 นาที
.
ถ้านอนเกิน 15 นาที, สมองอาจปรับเข้าสู่วงจรนอนหลับระยะลึกขึ้น
.
วงจรนอนหลับมี 4 ระยะ จากตื้นไปลึก คือ
ขาลงจาก 1 > 2 > 3 > 4
.
ขาขึ้นจากลึกไปตื้น คือ 4 > 3 > 2 > 1
.
วงจรนี้ (1 > 2 > 3 > 4 > 3 > 2 > 1) ใช้เวลาประมาณ 120 นาที
.
.
ถ้านอนไม่ครบวงจรนอนหลับ (เกิน 15 นาที แต่น้อยกว่า 120 นาที),
.
และตื่นขึ้นมาครึ่้งๆ กลางๆ อาจทำให้มีอาการครึ่งหลับครึ่งตื่น หรือตื่นไม่เต็มที่
.
เช่น ตื่นมาแล้วเบลอ มึน งง ฯลฯ
.
ช่วงนี้อาจเสี่ยงอุบัติเหตุ หงุดหงิดง่าย มึนงง หรือตัดสินใจเรื่องต่างๆ ผิดพลาดได้
.

.
จุดอ่อนของการนอนกลางวันอีกอย่างหนึ่ง คือ บางคนนอนกลางวันแล้วหลับยากตอนกลางคืน หรือไม่ก็หลับแล้วตื่นกลางดึกง่าย
.
วิธีที่น่าจะดี คือ ถ้าผู้ใหญ่จะนอนกลางวัน, น่าจะนอนให้สั้นมากๆ คือ ไม่เกิน 15 นาที (ถ้าทำได้)
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

[ Twitter ]

  • ขอขอบพระคุณ / Thank BBC source by BBC http://www.bbc.co.uk/news/health-24202591 Proceedings of the National Academy of Sciences.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์. 30 กันยายน 56. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 549794เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2013 10:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2013 10:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท