ความเหมือนและความแตกต่างของอดีตและปัจจุบัน


ความเข้มข้นของสารเคมีทางการเกษตรอยู่ในขั้นวิกฤติ การโหยหาอดีตอาจเป็นเรื่องที่ยากและสายเกินไปหรือไม่

ผมจำได้ว่าเคยเห็นภาพแบบนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อตอนที่เรียนอยู่มัธยมต้น (พ.ศ. 2530) หลังจากนั้นมาก็ไม่เกิดภาพในลักษณะนี้ให้เห็นอีกเลย ในปี พ.ศ. 2531 เป็นปีที่ผมเห็นความแห้งแล้งเป็นครั้งแรกในชีวิต ไม่มีน้ำทำนา ไม่มีน้ำหล่อเลี้ยงต้นข้าวตลอดฤดูกาลปักดำ เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดภาพแห่งความแห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วง ฝนตกน้อย และความไม่แน่นอนของฤดูกาล ซึ่งเป็นภาพที่เห็นจนชินชาเรื่อยๆ มา จนถึงปัจจุบัน ภาพน้ำนองเต็มท้องทุ่ง และภาพน้ำไหลเอ่อล้นคันนาในวันนี้ ดูเหมือนจะเป็นเพียงภาพเดียวที่เป็นความเหมือนกันของปัจจุบันและอดีต ภาพเดียวกันต่างเวลากันมีสิ่งที่เป็นความแตกต่างดังต่อไปนี้ ข้อแรก ในอดีตปลูกข้าวโดยวิธีการปักดำ ต้นทุนต่ำ ปัจจุบันหว่านเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ต้นทุนสูง ข้อสอง ความอุดมสมบูรณ์ของกุ้ง หอย ปู ปลา ในอดีตมีมากกว่า ปัจจุบันสิ่งมีชีวิตดังกล่าวหายาก ขาดแคลน และบางชนิดอาจถึงขั้นสูญพันธุ์ ข้อสุดท้าย ความเข้มข้นของสารเคมีทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ย ยาฆ่าหญ้า ยาป้องกันกำจัดโรคและแมลงอื่นๆ ปัจจุบันอยู่ในขั้นวิกฤติ การโหยหาอดีตอาจเป็นเรื่องที่ยากและสายเกินไปหรือไม่

หมายเลขบันทึก: 549731เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2013 19:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ตุลาคม 2013 21:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ใส่เบ็ด หาปลา ได้ไหมครับทุกวันนี้

ในท้องถิ่นของผมทำไม่ได้แล้วครับ  สาเหตุสำคัญ คือ  ฝนแล้ง  ฝนมาล่าช้า  ฝนตกน้อย  แหล่งน้ำประจำไร่นาแห้ง  ทำให้ปลาไม่มีแหล่งน้ำอาศัย  ปีนีมีน้ำในช่วงกลางเดือนกันยายน  ก่อนหน้านี้จะแห้งแล้งยาวนาน  หอย  ปู  ลดจำนวนลงอย่างมาก  เนื่องมาจากการใช้ยาฆ่าหญ้า

...ทำให้นึกถึงอดีตนะคะ...ยังไงก็ขอเป็นกำลังใจในการรักษา...และคืนสู่ความเป็นธรรมชาตินะคะ...ขอบคุณค่ะ

เป็นกำลังใจให้ได้เห็นภาพนี้อีกนานๆค่ะ

เป็นเหมือนกันทั่วถึงจริงๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท