ประชุมวิชาการ เรื่อง “การเสริมสร้างทักษะขั้นสูงสําหรับ APN”


ทักษะแต่ละประเภทเป็นเครื่องมือที่เชื่อว่านำมาใช้พัฒนาตน และพัฒนางานได้... ซึ่งจะใช้ได้ผลจริงหรือไม่ ผู้เข้าอบรมคงต้องพิสูจน์ด้วยตนเอง โดยต้องนำไปใช้ในการปฏิบัติจริงในงานประจำที่ทำอยู่

สมาคมผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (ประเทศไทย) ได้จัดประชุมวิชาการ เรื่อง การเสริมสร้างทักษะขั้นสูงสําหรับ APNสำหรับผู้ที่ได้รับวุฒิบัตร APN และผู้ที่เตรียมตัวขอสอบหนังสืออนุมัติ APN ทุกท่าน รวมทั้งผู้สนใจ ระหว่างวันที่ 9-11 กันยายน 2556 ณ โรงแรม ดิเอ็มเมอรัลด์กรุงเทพฯ

มีการบรรยายและอภิปราย การประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop for skill building) และการนําเสนอกรณีตัวอย่างการแปลงงานประจําสู่ผลงานวิชาการ APNเพื่อให้ผู้ได้รับวุฒิบัตร APN ในระบบเดิม หรือพยาบาลที่เตรียมขอสอบหนังสืออนุมัติ APN ในระบบใหม่ ได้แนวทางในการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานในบทบาท APN ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และได้แนวทางในการเตรียมความพร้อมสําหรับการขอสอบหนังสืออนุมัติ

ใน 2 วันแรกเป็นการฝึกทักษะใน4 ประเด็น ได้แก่

1)Skill Building on Political Skill and Policy Formulation: กลยุทธ์การผลักดันเชิงนโยบาย

ทีมวิทยากร: ดร.นพ.วิชช์ เกษมทรัพย์, ดร.ทพญ.ศริิวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ และ ดร.นารีรัตน์ ผุดผ่อง

2) Skill Building on Multidisciplinary Collaboration: กลยุทธ์การทํางานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ

โดย ดร.ยุวดี เกตุสัมพันธ์ และทีม คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

3)Skill Building on Capstone Project: การทําโครงการบูรณาการการวิจัยกับการปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพบริการ

โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สมจิต หนุเจริญกุล ประธานผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาลและผดุงครรภ์ขั้นสูงแห่งประเทศไทย และรองศาสตราจารย์ประคอง อินทรสมบัติ ผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาลและผดุงครรภ์ขั้นสูงแห่งประเทศไทย

4)Skill Building on Outcome Management and Evaluation : Clinical and Cost Outcomes

โดย ผศ.ดร.ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์ และ ผศ.ดร.พิกุล นันทชัยพันธ์

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ทักษะนั้นๆ ในมุมมองของผู้เขียนเห็นว่ามีความหมายและความสำคัญแตกต่างกันไป ทักษะแต่ละประเภทเป็นเครื่องมือที่เชื่อว่านำมาใช้พัฒนาตนและพัฒนางานได้... ซึ่งจะใช้ได้ผลจริงหรือไม่ ผู้เข้าอบรมคงต้องพิสูจน์ด้วยตนเอง โดยต้องนำไปใช้ในการปฏิบัติจริงในงานประจำที่ทำอยู่

วันสุดท้าย เป็นเรื่อง การแปลงงานประจําสู่บทความวิชาการสําหรับการเผยแพร่ โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สมจิต หนุเจริญกุล

จากนั้นมีการนําเสนอกรณีตัวอย่าง "การแปลงงานประจําสู่ผลงานวิชาการ" โดย APN ธิติดา ชัยศุภมงคลลาภ โรงพยาบาลรามาธิบดี และ APN จุฬารัตน์ สุริยาทัย โรงพยาบาลท่าวังผา จ.น่าน

แบ่งกลุ่มย่อยทํางาน : การสร้างผลงานวิชาการเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่ (ใช้งานของ APN ในกลุ่ม) กลุ่มวิสัญญีพยาบาล มีพี่นิ่มนวล มันตราภรณ์ เป็นผู้นำกลุ่มค่ะ

(ทีมวิสัญญีพยาบาล มากันโดยมิได้นัดหมาย ร่วมทีมกันด้วยความตั้งใจเป็นอย่างมาก น่าชื่นชมจริงๆค่ะ)

ช่วงสุดท้าย เป็นเรื่องการขอสอบหนังสืออนุมัติแสดงความรู้ความชํานาญเฉพาะทางการพยาบาล(APN)ในระบบใหม่โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สมจิต หนุเจริญกุล

จริงๆ แล้วเรื่องที่อาจารย์พยายามสื่อสารให้พวกเราทราบไม่ใช่เรื่องใหม่... แต่เป็นเรื่องเดิมที่นำมาเล่าใหม่ ให้ได้เข้าใจตรงกันมากขึ้น

ตรงนี้ที่สำคัญ คือ หากคิดบวก จะเกิดงานที่พัฒนาเพื่อผู้ป่วยมากมาย

... อย่าบ่นกับผู้เขียนนะว่า ทำไป ไม่เห็นได้อะไร

เพราะชีวิตการทำงานที่ผ่านมาของผู้เขียน ทำให้ (ทำเกิน)...ไปก่อน เสมอ อิ อิ

หมายเลขบันทึก: 549475เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2013 18:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014 09:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ภาคภูมิใจในความเป็นผู้หญิงเรานะคะ

ในรูปล้วนมีความสามารถสูงทุกท่านค่ะ 

และจิตใจดีงามที่เสียสละทำงานเช่นนี้ค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ คุณ Bright Lily

ลักษณะงานพยาบาลของเรา ส่วนใหญ่เป็นหญิงที่ปฏิบัติค่ะ ตอนนี้มีพยาบาลชายมากขึ้นแล้ว โดยเฉพาะในงานวิสัญญี ไม่นานนี้คงได้เห็นผลงานค่ะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท