Msu digest : ค่ายอาสารักบ้านเกิด เศรษฐกิจพอเพียง เรียนรู้วิถีชีวิตเรียบง่าย จับจอบเขียนกระดานดำ


ในความยุ่งเหยิง วุ่นวายในแต่ละวัน หากมีช่วงเวลาหนึ่ง ได้กลับไปสู่ความเป็นตัวของตัวเอง ได้สัมผัสวิถีชีวิตที่เรียบง่ายเหมือนกลุ่มคนรุ่นใหม่บ้าง..
ช่วงชีวิตที่เป็นนิสิตนักศึกษา วัยแห่งการแสวงหา เป็นช่วงเวลาที่หลายคนได้ทำในสิ่งที่อยากทำ
แต่ในช่วงที่ทำงาน มีรายได้เป็นของตัวเอง จะทำอะไรก็ได้ กลับไม่สามารถทำสิ่งที่อยากทำได้ เหมือนช่วงนิสิตนักศึกษา

วันที่ ๒๔ ถึง ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ นิสิต มมส กลุ่มหนึ่งได้จัด ค่ายอาสารักบ้านเกิด        เป้าหมาย   เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น และได้ดำเนินตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ฝึกใช้ชีวิตที่เรียบง่าย

ต้องยอมรับว่า ความคิดของกลุ่มคนรุ่นใหม่ มีความคิดที่ดีๆหลายอย่าง หลายคนที่มีประสบการณ์ทำงานมากขึ้น มีความรู้สูงขึ้น หลายครั้ง กลับคิดเรื่องหลายเรื่องไม่ออก ในขณะที่คนรุ่นใหม่คิดไม่นาน กลับหาทางออกของปัญหาได้อย่างลงตัว

ทั้งๆที่พวกเขาอายุน้อยกว่าท่าน กำลังขวนขวายหาความรู้ตามหลังหลายท่านอยู่

พลังของคนรุ่นใหม่ มีหลายอย่างที่มีคุณค่าต่อสังคม
ถ้าหลายท่านจะทำกิจกรรมอย่างที่นิสิตจัดค่ายอาสารักบ้านเกิด คงจะต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมากทีเดียว ต่างคนต่างมีเงื่อนไข ข้อจำกัดที่ต่างคนต่างสร้างขึ้นมาเป็นกรอบครอบตัวของคุณเองทั้งนั้น

ถึงแม้ว่าจะทำอย่างคนรุ่นใหม่ไม่ได้ แต่การที่ได้ติดตามเส้นทางการเดินทางไปตามความฝัน สู่เป้าหมายที่ตั้งใจ ในแบบง่ายๆ ตรงไปตรงมา น่าจะให้แง่คิดหลายอย่างกับชีวิตได้บ้าง

สำหรับคนทำงานแล้ว อย่างน้อย เมื่อนึกถึงอดีต ในช่วงวันเวลาที่อยู่ในวัยเดียวกับพวกเขาเหล่านั้น อย่างน้อยก็ย่อมจะทำให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่าขึ้นมาได้บ้าง

หลายคนทำงานหนัก คิดหลายชั้น คิดอย่างซับซ้อนจนลืมการลงมือทำในสิ่งที่ง่ายๆตรงไปตรงมา

ในความยุ่งเหยิง วุ่นวายในแต่ละวัน หากมีช่วงเวลาหนึ่ง ได้กลับไปสู่ความเป็นตัวของตัวเอง ได้สัมผัสวิถีชีวิตที่เรียบง่ายเหมือนกลุ่มคนรุ่นใหม่ในค่ายอาสารักบ้านเกิดบ้าง..

อาจจะไม่ต้องไปร่วมออกค่ายอาสากับกลุ่มคนรุ่นใหม่ แต่แนวคิดที่ได้รับ น่าจะหยิบกลับมาถามตัวเองบ้างว่า วันนี้ เราห่างไกลจากสิ่งต่างๆที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่จะไปออกค่ายอาสานี้ไปนานแค่ไหนแล้ว

ข้อมูลคร่าวๆ.... * * * * *

ชื่อโครงการ "เข้าค่ายอาสารักบ้านเกิด เศรษฐกิจพอเพียง เรียนรู้วิถีชีวิตที่เรียบง่าย จับจอบเขียนกระดานดำ"

ลักษณะของการปฏิบัติงาน
        เป็นการทำงานร่วมกับชุมชน โดยเป็นชุมชนของนิสิตเอง ซึ่งนิสิตมีความสนิทสนมกับคนในชุมชนอยู่แล้ว และวันเวลาที่จัดกิจกรรมคือ ในช่วงปิดภาคเรียนหลังสอบปลายภาค คือวันที่ 24 -28 ตุลาคม การเดินทางคือจะเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง วันแรกเป็นกิจกรรมบายศรีสู่ขวัญรับขวัญนิสิต ส่วนในตอนเย็นของทุกวันเป็นกิจกรรมเกษตร ปลูกผัก หาปลา เลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู เลี้ยงปลา บางวันก็ออกศึกษาดูพื้นที่ของเกษตรกร วันที่สองเป็นการรับฟังคำบรรยายเรื่องเกษตรทฤษฏีใหม่จากเกษตรอำเภอ และเป็นกิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างปราชญ์ชาวบ้านกับนิสิต ฟังคำบรรยายจากเกษตรกรตัวอย่างในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมศิลปวัฒนธรรมพื้นเมือง เช่น ผญา สรภัญญะ และการลำปอบผีฟ้า วันที่สามเป็นกิจกรรมดูแลรักษาป่าเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นกิจกรรมเต็มวัน วันที่สี่เป็นกิจกรรมสอนเด็กนักเรียน ซึ่งเป็นเด็กในท้องถิ่น ในระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ที่โรงเรียนบ้านหนองตานา ตอนบ่ายเป็นกิจกรรม walk rally ของเด็กในท้องถิ่น ซึ่งจะมอบหมายให้นิสิตเป็นผู้ดูแล วันที่ห้าเป็นกิจกรรมเกษตร ออกศึกษาพื้นที่แปลงเพาะปลูกของเกษตรกร และเป็นพิธีปิด

        ระยะเวลาการปฏิบัติงาน
        ๕ วัน ๔ คืน คือวันที่ ๒๔ ตุลาคม ถึง วันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๔๙
        สถานที่ปฏิบัติงาน
        บ้านหนองตานา ต.โสกปลาดุก อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ
        จำนวนผู้ที่เข้าร่วมโครงการ ....... คน
        อาจารย์ที่ปรึกษา ............ คน
        นิสิต 15 คน
        นักเรียนจากโรงเรียนบ้านหนองตานา จำนวน 100 คน
        ชาวบ้านบ้านหนองตานา 50 คน
        ผลที่คาดว่าจะได้รับ
        นิสิตได้รับการปลูกฝังให้มีใจรักชุมชน ภูมิใจที่ได้เป็นอยู่อย่างพอเพียงตามแนวพระราชดำริของในหลวง นิสิตได้ทำงานเพื่อชุมชน และนิสิตเกิดความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมโครงการในครั้งนี้




หมายเลขบันทึก: 54906เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2006 11:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท