ผนึกพลังกัน 3 มหาวิทยาลัย ครั้งที่ 2


สวัสดีครับชาว Blog และลุกศิษย์ที่รักทุกคน

 ห้องเรียนปริญญาเอกของผมวันนี้เรารวมพลังกัน 3 มหาวิทยาลัย ครั้งที่ 2 ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และลูกศิษย์ปริญญาเอกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ซึ่งวันนี้ได้รับเกียรติจาก ม.ร.ว.เบญจาภา ไกรฤกษ์ มาสอนและให้คำแนะนำในการเขียนวิทยานิพนธ์ครับ 

 

หมายเลขบันทึก: 548340เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2013 12:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กันยายน 2013 12:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สรุปการบรรยาย

วันที่ 15 กันยายน 2556

โดย ม.ร.ว.เบญจาภา  ไกรฤกษ์

รวมทั้ง 3 มหาวิทยาลัย

ขอแนะนำวิธีการเลือกหัวข้อทำวิทยานิพนธ์

ม.ร.ว.เบญจาภา  ไกรฤกษ์ทำดุษฎีนิพนธ์เรื่อง แบบภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของอธิการบดีมหาวิทยาลัยไทยในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2556-2565)

แต่ละหัวข้อ อยู่ที่ความสนใจของเรา แล้วอาจารย์ที่ปรึกษาจะเป็นApprove

แบบภาวะผู้นำที่ดี จะเป็นแบบภาวะผู้นำของรัฐและนอกระบบ

อ.วิจิตร ศรีสอ้าน กล่าวว่า ผู้นำที่ดีของอุดมศึกษาที่ดีจะอยู่นอกระบบ

ม.ร.ว.เบญจาภา : ผู้นำในการบริหารคนไทย ต้องมีความเป็นไทย และเข้าใจในวัฒนธรรมและองค์กรของเรา

            วิธีการวิจัย: ต้องมองไปในอนาคต Robert

            กล่าวว่า หากสถานการณ์เปลี่ยนไป ลักษณะของผู้นำจะเปลี่ยนไปหรือไม่ มีคำถามทั้ง 3 ระดับ และถาม 2 รอบ ถามซ้ำ 3 ครั้งอย่างน้อย และถามคนเดียวกัน  ของคุณหญิงน้องถามคนที่เป็น cream 15 คน ว่ามีแนวคิด มีทักษะอย่างไร และสร้างเครื่องมือใน 3 สถานการณ์  ประมาณ 70 ข้อ แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย แล้วกลับไปถามซ้ำ

ดร.จีระ: ประเด็นสำคัญของคุณหญิงน้องคือ มีเครือข่ายกว้าง มีความมุ่งมั่นที่จะทำปริญญาเอก  พวกเราต้องเอาข้อดีของคุณหญิงน้องมาใช้  การทำวิทยานิพนธ์เรื่อง leadership ต้องin-depth interview อยากให้นักศึกษาตั้งโจทย์ที่น่าสนใจ อยากถามว่าคุณหญิงน้องว่าได้แรงบันดาลใจนี้มาจากไหน

คุณหญิงน้อง: เป็นคนชอบอ่านหนังสือเรื่องผู้นำ ได้ให้สอนเรื่องบุคลิกภาพ  ที่เลือกอธิการบดีเพราะประเทศไทยน่าจะพูดได้ว่าล้มเหลวในด้านระบบการศึกษา ผู้นำมีความสำคัญในการสร้างระบบการศึกษาที่ดีให้เกิดขึ้นได้ เพื่อสร้างคนให้เป็นพลังของการทำงาน

ความดี คู่กับความรู้ ให้เป็นทั้งคนเก่งที่ดี

การเปลี่ยนแปลงการศึกษาทุกคนมีส่วนร่วมในการต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

ประเทศไทยอ่อนภาษาอังกฤษ

วัตถุประสงค์ในการวิจัยเน้น เพื่อศึกษาแบบภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของอธิการบดีมหาวิทยาลัยไทยในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2556-2565)

กรอบแนวคิด: ต้องหาทฤษฎีเรื่องภาวะผู้นำ ใช้หลายทฤษฎี

-         คุณลักษณะ

-         แนวคิด

-         ทักษะ

-         ผู้นำเชิงพฤติกรรม

-         ผู้นำตามสถานการณ์

-         ผู้นำการเปลี่ยนแปลง

-         ภาพอนาคตมหาวิทยาลัยไทย  ว่าcampus นั้นยังมีความสำคัญ เพราะเป็นแรงบันดาลใจที่จะสร้างพลัง ส่วนในการเรียนก็มีเรื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่เปลี่ยนแปลงไปเยอะ

            ปัญหาคือ ทำอย่างไรให้เกิดการถกเถียงความรู้กันได้ แต่ยังเคารพซึ่งกันและกันอยู่

การทำเครื่องมือ  ต้องดจากภาษาอังกฤษก่อน ทำเอง ต้องปั้นมากับมือ

            ทฤษฎีไทยสมดุล คือ Thai well balance leadership style  

ลดอัตตา ปิยวาจา กัลยาณมิตร หิริโอตัปปะ ศีล 5  พรหมวิหาร 4 เศรษฐกิจพอเพียง  ตามองดาว

            เป้าหมายทั้ง 3 มหาวิทยาลัย ควรจะเขียนหนังสือกออกมาด้วย

คุณอำนาจ: ขอถามว่ามุ่งไปในเรื่องอธิการมหาวิทยาลัย เรื่องการศึกษาที่เป็นปัญหาอยู่ตอนนี้คือ สังคมขาดความสมดุล เราต้องแก้ปัญหาอย่างไร  อนาคตการสรรหาอธิการเกิดจากการเลือกตั้ง การสรรหา การคัดเลือกเพราะฉะนั้นทำอย่างไรจึงจะได้อธิการแบบคุณลักษณะตามนี้

คุณหญิงน้อง: ต้องแก้ที่ระบบการศึกษา  แต่ส่วนการเลือกสรรหา มีปัญหาเรื่องการเมืองอยู่  แต่ลักษณะนี้จะใช้คุณลักษณะเหล่านี้หลังจากที่ได้ตำแหน่งมาแล้ว จึงทำการอบรมมากกว่า

อ.จีระ: จุดแข็งขอคุณหญิงน้อง คือ ความมีจริยธรรม แต่ปัจจุบันสังคมมีความกดดัน ละเลยเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ทำให้ไม่ได้คนที่มีคุณลักษณะนี้อย่างนี้เข้ามาในระบบ

คุณอำนาจ: ถ้าเรามีเกณฑ์ที่ทำให้เราเลือกคนที่เข้าในระบบการศึกษาพื้นฐานได้จะดีกว่า ผู้บริหารจะต้องผ่านภาวะผู้นำ ที่มีคุณสมบัติแบบไทยสมดุลได้

อ.จีระ: การใช้หน่วยกิตเป็นการวัดผลที่ล้มเหลว  หากลูกศิษย์สนใจในการทำวิทยานิพนธ์เรื่องภาวะผู้นำ ก็ลองศึกษาโมเดลนี้ได้

Well balance สามารถใช้ได้อีกหลายเรื่อง หลายมิติ อย่างเรื่องทฤษฎี กับ การปฏิบัติ หรือเรื่อง formal/informal

            ตัวที่จะไป execution มีความสำคัญที่สุด แต่ปัจจุบันติดที่ความโลภ ติดความขัดแย้งในองค์กร  ต้องมีวิธีการเจรจาต่อรองด้วย

            ดร.สร้อย: มีความยินดีที่ได้รับฟังเรื่องดุษฎีนิพนธ์เรื่องนี้ สนใจและชอบเรื่องความเป็นไทยทั้ง 8 ข้อ  และแสดงเรื่องเอกลักษณ์ความเป็นไทย ออกมาจากแรงบันดาลใจ ทำให้มีความสุข

            ในภาคปฏิบัติ ในการนำเข้าไปสู่ภาครัฐ ต้องมีการฝึกอบรมให้เกิดขึ้นจริง และต่อยอดไปข้างหน้า

            อ.จีระ: นักศึกษาทั้ง 3 มหาวิทยาลัยและอาจารย์ที่ปรึกษา ต้องมี rapport ซึ่งกันและกัน

ขอแนะนำเรื่องความพร้อมในการจัดการกับการไม่แน่นอนกับการทำวิทยานิพนธ์

            คำถาม: แนวคิดทำให้คณะกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิยอมรับอย่างไร

            คุณหญิงน้อง: มีโดนตีเรื่อง Thai Well balance  ต้องพัฒนา และหาการอ้างอิงมาให้ได้ ไม่ใช้พูดมาลอยๆ

            อ.จีระ: ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญมีส่วนร่วมในผลงานครั้งนี้ด้วย ควรบันทึกคำพูดแล้วมาทบทวนเป็นอย่างดี  คำถามต้องเป็นคำถามเชิงลึก อย่าเข้าไปคุยเฉยๆ ต้องเตรียมคำถามเป็นอย่างดี และถามอย่างเป็นระบบ

            - คำถามเชิงลึก ยากที่คำถาม  ต้อง Deep และ Drive  ข้อมูลเชิงลึกและต้องดิ่งลง

คนที่ 1: ในการทำวิจัย ควรจะลงในส่วนเรื่องการคำนวณด้วย

คนที 2: เข้าถึงอาจารย์ที่ปรึกษา ได้คำแนะนำที่ตรงใจในการเข้าหาและปรึกษาที่ปรึกษา

คนที่ 3 : อนาคตเด็กจะด้อยมาก แต่อาชีวะเป็นส่วนที่จะสร้างชาติได้ ผมขอนำแนวคิดนี้ไปใช้กับอาชีวะ ปรัชญาหลักของโรงเรียนผมคือ มีหิริโอตัปปะ

คนที่ 4: ขอคำแนะนำ และวิธีแก้ปัญหาในช่วงที่ทำดุษฎีนิพนธ์ และช่วงไหนเป็นช่วงที่ยากที่สุด

คุณหญิงน้อง: ไม่ใช่เรื่องง่าย  เราต้องการการต่อยอด  ขอบเขตการทำต้องไม่แคบและไม่กว้างเกินไป

คนที่ 5: อยากทราบว่ามีผู้ทรงคุณวุฒิพูดถึงเรืองการเมืองในมหาวิทยาลัยในการสรรหาอธิการบดีหรือไม่

คุณหญิงน้อง: มีพูดเสมอว่า การสรรหามีระบบ แต่ได้มาแล้วจะดีหรือไม่ดี ค่อยมาทำการอบรม ส่วนเรื่องอัตตา ควรทำเป็นการสัมมนา

คนที่ 6: มองเรื่องศาสนา ว่ามีความสมดุล และอ่อนเรื่องศาสนา และจริยธรรม  โดยเฉพาะของผู้นำ การวิจันของคุณหญิงน้องเป็นการนำร่อง จุดอ่อน คือการให้ความรู้กับอธิการ ต้องคิดว่าจะเอาองค์กรไหนมาให้ความรู้  หากมีโอกาส คือ นักการเมือง สส. ควรมีการอบรมการพัฒนาเรื่องทุนมนุษย์ด้วย

คุณหญิงน้อง: ต้องเอาหน่วยงานคลังสมองแห่งชาติมาทำ

อ.จีระ: ขอให้เกิดเป็นข้อเสนอทำทุกปี   นอกจากเป็นอธิการแล้ว ต้องฝึกการเป็นผู้นำ  ต้องหาช่องทางต่อไป ระดับผู้นำท้องถิ่นทำสำเร็จแล้ว แต่ระดับสส. อาจจะยังไม่เข้าใจว่าเขาต้องฝึก  

คุณจ้า: ขอพูด 3 เรื่อง มีคำถามเรื่องวิธีการวิทยานิพนธ์

1.    เรื่องต้องดี ประเด็นดี

2.    ต้องคุม theme ของเรื่อง  : ต้องอ่านเยอะ

3.    หัวข้อ ต้องมีการจัดลำดับความสำคัญ

4.    เครื่องมือ มีkey words, key man

5.    การสรุปแบบเปิดปลาย: เพื่อให้มีการต่อยอดเพื่อให้โยชน์แก่ส่วนรวม

ขอบคุณ ที่ท่านอาจารย์  มาถ่ายทอด บรรยากาศ  การเรียน ได้แนวคิด เกี่ยวกับภาวะผู้นำ ที่น่าสนใจ ค่ะ

ทีมงานวิชาการchiraacademy

สรุปการบรรยาย วันที่ 15 กันยายน 2556 (ต่อ) 

อ.จีระ: วิทยานิพนธ์เปรียบเหมือนการทำ experiment  

การเป็นผู้นำแบบไทยสมดุล ต้องมี stakeholder: ตัวเราเอง อธิการบดี  สังคม

-         ต้องไปทำความเข้าใจกับสังคมไทยว่ามีเรื่องอาวุโส

-         คุณลักษณะ คือ ความสามารถในการสื่อสาร

-         แนวคิด ความรับผิดชอบ

-         ทักษะ   การตัดสินใจ

-         ตัวเราต้องลดอัตตา ต้องยืดหยุ่น ต้องเข้าใจ 

-         ตัวเราต้องมีวิสัยทัศน์ มองไปที่อาเซียน

-         มองไปที่เรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลง

-         สังคมกับประเทศชาติ ต้องมองที่เป้าหมาย พันธกิจ เราต้องมีสุขภาพกายใจ สมบูรณ์ มีความผสมผสาน

-         มีการจัดลำดับที่สำคัญ

-         ทฤษฎีแนวดิ่ง  และแนวนอน

-         Process

คนที่ 7 : สร้างสถาบันในการสร้าง role model ให้เกิดขึ้นจริง เพื่อprove คนก่อนเข้าและหลังเข้า เพื่อให้มีคุณภาพเป็นการยอมรับ

คนที่ 8: คุณเจี๊ยบ จากจุฬา: ชื่นชมในแนวคิด และขอชื่นชมถ้าจะนำเอาภาวะผู้นำเรื่องนี้มาปฏิบัติ เพื่อเข้าสู่โลกาภิวัตน์ได้ วิทยานิพนธ์สนใจหัวข้อเรื่องการนำเอาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เรื่องคอรัปชั่นสิ่งที่อยากเห็นคุณลักษณะผู้นำของสพฐ.

คนที่ 9: คุณแพท จุฬา: เรื่องอาเซียนเน้นเรื่องมาตรฐานการปฏิบัติงานอย่างเป็นสากล ให้ต่างชาติหันกลับมาดู

คนที่ 10: ควรเอาผลงานชิ้นนี้ไปเผยแพร่ต่อ เพราะเป็นพื้นฐานของมนุษย์  ต้องเปลี่ยนจากอุดมคติมาเป็นpractical

คนที่ 11: เรื่องที่อยากศึกษาคือด้านกัลยาณมิตร

คนที่ 12: สิ่งที่ได้ คือ เรื่องภาวะผู้นำ สิ่งที่พบ คือ การมีช่องว่างระหว่างอาจารย์กับลูกศิษย์  ความสมดุลสามารถตอบโจทย์ได้ เพราะในแต่ละคนอาจจะมีทุนไม่ครบ 8 ทุน

 

 

 

 

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท