"ยุทธศาสตร์ในการใช้ศาสนธรรมเพื่อพัฒนาชีวิต" โดย พระราชธรรมนิเทศ ระแบบ ฐิตญาโน


เรียนรู้เอาไว้เพื่อที่จะปรับตัวเองให้อยู่ได้ในสภาวะสังคมนั้นๆ

พระเทพดิลก(ระแบบ ฐิตญาโน) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร

ประมาณปีพ.ศ. ๒๕๔๒
ผู้เขียนโชคดีมากที่ได้รับมอบหมายให้สอนวิชา "ความจริงของชีวิต"
เป็นวิชาในหลักสูตรระดับปริญญาตรีใหม่ของสถาบันราชภัฏทั่วประเทศ
วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดชุมพรขณะนั้นจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีหลักสูตรวิทยาศาสตร์การกีฬา
โดบสมทบกับสถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี(ขณะนั้นยังไม่ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย)
(วิทยาลัยพลศึกษาทั่วประเทศทั้ง ๑๗ แห่ง ต้องขอใช้หลักสูตรป.ตรีของสถาบันราชภัฏ)
และเมื่อเป็นหลักสูตรใหม่ วิชาใหม่ จำเป็นที่ต้องฝึกอบรมอาจารย์ผู้สอน
ผู้เขียนจึงได้ไปอบรมเนื้อหาและได้เข้าฟังการบรรยายธรรม
จากท่านพระเดชพระคุณเจ้าพระราชธรรมนิเทศ  (สมศักดิ์ในปีพ.ศ. ๒๕๔๒) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
จัดขึ้นที่สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
บันทึกนี้เมื่อผู้เขียนย้ายห้องทำงาน จะเก็บไว้ในลิ้นชักตลอด
เมื่อจากชุมพรมาอยู่ที่ม.วลัยลักษณ์ เวลาสอนนักศึกษาก็จะนำการอบรมที่ได้รับไปปรับใช้
แม้ในวันนี้ การสอนพลศึกษา วิชากีฬา นันทนาการและการออกกำลังกาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
ผู้เขียนก็ยังได้ใช้ประโยชน์จากบันทึกนี้
จะขอบันทึกไว้ ณ  gotoknow
ยุทธศาสตร์ในการใช้ศาสนธรรมเพื่อพัฒนาชีวิต
โดย พระราชธรรมนิเทศ(ระแบบ  ฐิตญาโน) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร

ปัจจุบันท่านดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพดิลก
(บันทึกนี้หากมีความผิดพลาดบกพร่องประการใดผู้เขียนขอน้อมรับไว้แต่เพียงผู้เดียว)

ชีวิต โดยความหมาย แปลว่า การเป็นอยู่ ทางบาลีเรียก นามรูป
รูป  คือ สิ่งมีชีวิตที่ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย
เกิดขึ้น ดำรงอยู่ ดับไปตามสภาวะธรรมทั้งหลาย
นาม คือเรื่องของจิต  หมายถึงขันธ์ ๕  ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ความเป็นอริยสัจจ์อยู่ในตัวเราครบ แต่ไม่บริบูรณ์ เป็นการมองภาพรวมของสิ่งทั้งหลาย
ในสากลโลกไม่มีอะไรที่ดำรงอยู่ได้อย่างต่อเนื่อง จะถูกแผดเผาด้วยปัจจัยทั้งหลาย
สิ่งที่ดำรงอยู่ ดำรงอยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง
- เรียนรู้เอาไว้เพื่อที่จะปรับตัวเองให้อยู่ได้ในสภาวะสังคมนั้นๆ

ต่อมาท่านยกตัวอย่างการสอนธรรมะ ว่าการสอนธรรมะมีสูตรโดย
๑.สอนโดยสภาวะธรรม
ท่ายกตัวอย่าง  สอนให้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น เช่น หลวงพ่อพุทธทาส
สำหรับพระพุทธเจ้า
๒.สอนด้วย "บุคลิกภาพ"  มีศิษย์ ๔ สาย
๑.รูปะภมังคลา  มีรูปสะดุดตา
๒.(บาลี..ผู้เขียนจดไม่ทัน)   เสียงอันไพเราะ
๓. ธรรมะ      ธรรมะอันจับใจ
๔(บาลี)   ลักษณะชีวิตอันเรียบง่าย
 พระเดชพระคุณเจ้ายกตัวอย่างว่า พระพุทธเจ้านั้น ปราศจากหมดจดแล้วซึ่งกิเลศ
เริ่มต้นจากจักรพรรดิสู่ศาสดา
ผิดกับมนุษย์ทุกวันนี้ที่มุ่งจาก......ไปสู่ จักรพรรดิ
บนเส้นทางของศาสนาเป็นเส้นทางของการละวาง
คุณค่าเป็นกระบวนการของเหตุผลที่เกี่ยวเนื่องกันไป
และคุณค่ามาจากตัวคุณภาพของสิ่งเหล่านั้น
อะไรก็ตามที่มีคุณสมบัติหลากหลายจะมีคุณภาพ
คุณภาพมาจากคุณธรรม
คุณธรรมมาจากการเสาะแสวงหาความรู้
พูดอย่างไรก็ทำอย่างนั้น
มองสิ่งทั้งหลายจากสิ่งที่ปรากฏจนไม่ปรากฏ
มองให้เห็นถึงความจริงที่เกิดขึ้น
ถ้าตั้งความหวังไว้แนวเดียว พอผิดหวังก็จะSHOCK!

สิ่งทั้งหลายเราควบคุมไม่ได้หมด ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามสภาวะ เราแก้ไขไม่ได้ทั้งหมด
"ธรรมะ ไม่ต้องมาก มีข้อเดียวพอ! เวลาจะเกิดมันจะแตกฉานเอาเอง
แต่จะรับรองผลที่ตอนปลาย และให้ดอกผลอยู่เรื่อยๆ!"

ท่านบรรยายต่อไปว่า
๑.คุณภาพประชากร (ความยากไร้)
๒. การศึกษา (ความรู้,ความคิด ความสามารถ,คุณธรรม)
  ในส่วนของคุณธรรมแยกเป็น  - ความรับผิดชอบ
                                    - ความซื่อสัตย์สุจริต
                                    - ความตรงเวลา
ปุพเพกตปุญญตา  บุญที่เราทำไว้กาลก่อน
(บางคนทำอย่างไรก็ได้แค่นี้ แต่จะทำอย่างไรให้เขาตั้งตนไว้ชอบ!)
๑. ปะละโตโกสะ  เรียนรู้จากบุคคลอื่น
๒ โยนิโสมนสิการ  เรียนรู้โดยทำใจให้แยบคาย
หลักสูตรสมัยใหม่ยกเลิกการท่องจำ เดินตามก้นฝรั่ง ตวามจริงแล้วการสอนของไทย
ที่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ให้ท่องจำนั้น เป็นสิ่งดีมาก

การท่องเป็นกระบวนการทางจิต
การท่องจะสร้างลักษณะนิสัยการซึมซับ
ทำให้พบบ่อยๆ เห็นบ่อยๆ ได้ยินบ่อยๆ
การทำซ้ำบ่อยๆ จะทำให้เราคิด การคิดทำให้เรามีความรู้
คุณคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น
แต่คิดเป็นต้องคิดดีด้วย ทำเป็นต้องทำดีด้วย แก้ปัญหาเป็นแล้วต้องให้ดีด้วย!!
เราอิงคนอื่นมาตลอด( เล็กๆ อิงพ่อแม่) พอเราโตขึ้น ควรให้คนอื่นได้พึ่งพิงเราบ้าง
(ติดตามตอน ๒) มะม่วงดิบและมะม่วงสุก

หมายเลขบันทึก: 548151เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2013 11:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กันยายน 2013 16:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

วิชานี้น่าเรียนมากค่ะ "ความจริงของชีวิต"

ขอบคุณครับ จะติดตามตอนต่อไปครับ

 

ขออนุญาตอาจารย์มะนาวหวาน  เสริมบันทึกนี้นิดหนึ่งนะครับ ในฐานะเป็น “พี่หนาน” ที่เคยเรียนรู้อยู่ใกล้วัดมานานพอสมควร

 

ส่วนตัวหนังสือสีแดงที่ยังไม่มั่นใจนั้น ความจริง คือ

 พระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้ที่ศรัทธาเลื่อมใสบุคคลก็ด้วยเหตุ ๔ อย่างคือ

๑.  รูปปฺปมาณิกา  เลื่อมใสเพราะเห็นรูปร่าง (เช่น พระพุทธเจ้า หรือปัจจุบัน พระศรราม  พระฟิลม เป็นต้น)

๒.  โฆสปฺปมาณิกา  เลื่อมใสเพราะได้ยินเสียง (เช่น พระราชันทร์  พระมหาตุ้ยนุ้ย พระปลัดธีรเดช เป็นต้น)

๓.  ลูขปฺปมาณิกา  เลื่อมใสเพราะเห็นเครื่องนุ่งห่มที่เศร้าหมอง การประพฤติวัตรปฏิบัติของพระ (เช่น หลวงตามหาบัว หลวงพ่อชา พระไพศาล เป็นต้น)

๔.  ธมฺมปฺปมาณิกา  เลื่อมใสเพราะธรรมะที่ประทับใจ (เช่น พระราชวิจิตรปฏิภาณ พระราชธรรมนิเทศ  พระมหาวุฒิชัย เป็นต้น)

 มาจาก ตรงนี้  http://www.dharma-gateway.com/ubasok/satien/ubasok-10.htm

 

 

ส่วนข้อความตรงที่เขียนไว้ว่า

         “...๑. ปะละโตโกสะ  เรียนรู้จากบุคคลอื่น

            ๒ โยนิโสมนสิการ  เรียนรู้โดยทำใจให้แยบคาย...”

 

ข้อ ๑. ที่ถูกต้องคือ  ปรโตโฆสะ ครับ  ข้อ ๒. ถูกต้องแล้วครับ

 มาจากตรงนี้    http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=34

 

ขอบพระคุณ "พี่หนาน" มากๆค่ะ
ที่จุดเทียนในความมืดให้!!!
และเติมบันทึกที่ "พร่อง"อยู่ให้สมบูรณ์ขึ้น
ขอบคุณอีกครั้งค่ะพี่!
(ถ้าเก็บบันทึกไว้ไม่เอามาลงในgotoknow ก็จะไม่ได้รับความรู้นี้เลย..ขอบคุณgotoknow ด้วยค่ะ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท