การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) ตอนที่ 3/4


2. การกำหนดทิศทางขององค์กร (Set Organization Direction)                            

การกำหนดทิศทางขององค์กร เป็นการนำข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการวิเคราะห์ โดยโอกาสและข้อจำกัด มาทำการประมวลผลเพื่อใช้กำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ขององค์กร  โดยการกำหนดทิศทางขององค์กร สามารถกระทำได้ในลักษณะการกำหนดภารกิจ และการตั้งเป้าหมาย (Mission and Goal Establishment) ขององค์กร จุดมุ่งหมายขององค์กร มีระดับความชัดเจนและความเฉพาะเจาะจงแตกต่างกัน  ซึ่งสามารถจำแนก จุดมุ่งหมายสำคัญในการกำหนดกลยุทธ์  4  ประการ ได้แก่

1.1วิสัยทัศน์ (Vision)  หมายถึง ภาพความคิดและความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการในอนาคต  วิสัยทัศน์มีลักษณะเป็นเป้าหมายที่มีลักษณะกว้าง เป็นข้อเสนอที่ไม่เจาะจงในรายละเอียด และไม่กำหนดวิธีการดำเนินงานที่ชัดเจน

1.2 พันธกิจ(Mission)  หมายถึง จุดมุ่งหมายเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ขององค์กร พันธกิจเป็นเครื่องกำหนดขอบเขตการดำเนินงานขององค์กร  ทิศทางก่อนการกำหนดกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ และโครงการ
          1.3  เป้าหมาย (
Goal)  หมายถึง จุดมุ่งหมายที่เป็นรูปธรรมขององค์กร  เป้าหมาย ที่เกี่ยวกับการอยู่รอด  การเจริญเติบโต  การทำกำไร การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ   ซึ่งเป็นปัจจัยกำหนดทิศทางกลยุทธ์ขององค์กร

1.4 วัตถุประสงค์ (Objective) หมายถึง เป้าหมายที่มีความเฉพาะเจาะจงและมีผลลัพท์ที่สามารถวัดได้อย่างเป็นรูปธรรม

      

               ภาพที่2  การกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจ (ธนาคารทหารไทย)

3. การกำหนดกลยุทธ์ (Strategic  Formulation)

  การกำหนดกลยุทธ์ เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องจาการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญต่อความสำเร็จของการดำเนินการเชิงกลยุทธ์ในแต่ละองค์กร ตลอดจนสามารถรู้ทิศทางขององค์กรในอนาคต มาจัดทำเป็นกลยุทธ์ในระดับต่างๆ

3.1 กลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate Strategic) เป็นกลยุทธ์รวมขององค์กร ซึ่งจะถูกกำหนดโดยผู้บริหารระดับสูง ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับแนวทางการดำเนินงานขององค์กร  ซึ่งโดยทั่วไปกลยุทธ์ระดับองค์กร แบ่งออกเป็น  3  ประเภท 

   3.1.1 กลยุทธ์การเจริญเติบโต (Growth Strategic)

   3.1.2 กลยุทธ์การรักษาเสถียรภาพ (Stability Strategic)

   3.1.3 กลยุทธ์การตัดทอน (Retrenchment Strategic) 

 3.2 กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategic) หรือกลยุทธ์แข่งขัน (Competitive Strategic) ใช้ในการดำเนินงานที่มุ่งปรับปรุงฐานะการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ หรือบริการของแต่ละองค์กร  ซึ่งแบ่งเป็น

   3.2.1 กลยุทธ์ต้นทุนต่ำ (Low Cost Strategic) เป็นการใช้ความสมารถด้านการมีต้นทุนต่ำมาเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขัน
             3.2.2 กลยุทธ์ความแตกต่าง (
Differentiation Strategic) เป็นการใช้ความสามารถด้านการสร้างมูลค่าที่เหนือกว่าในการตอบสนองความต้องการของตลาดมาเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขัน

3.3 กลยุทธ์ระดับหน้าที่ ( Functional Strategic) จะเป็นกลยุทธ์ของแต่ละหน้าที่ ซึ่งสามารถจำแนก ได้ 6 ประเภท  ดังนี้ การจัดหาวัตถุดิบเทคโนโลยี การผลิตการตลาด  การเงินและการบริหารทรัพยากรมนุษย์(กิ่งแก้ว ทองใบ:2549)
4.การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (Strategic Implementation)    

การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ เป็นขั้นตอนที่ดำเนินงานต่อจาการกำหนดกลยุทธ์ เพื่อให้กลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นเป็นความจริงและประสบความสำเร็จตามต้องการ

 องค์ประกอบของการนำกลยุทธิ์ไปปฏิบัติ อนิวัช แก้วจำนง(2551)  ได้กล่าวไว้ 4 ประการ  ได้แก่ 

1. การจัดสรรทรัพยากร  เป็นขั้นตอนการวางแผนใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อบรรลุกลยุทธ์

2. การปรับโครงสร้างองค์กร เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของการใช้กลยุทธ์ และการใช้ทรัพยากร ซึ่ง

การปรับโครงสร้างองค์กร จะต้องพิจารณาความเป็นไปได้และความคุ้มค่า

          3. การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในส่วนของระบบและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อให้สอดคล้องกับ
กลยุทธ์ที่ใช้ในการบรรลุสู่แผนและทิศทางขององค์กร โดยคำนึงถึง ระบบข้อมูลข่าวสาร  ระบบบริหารบุคคล การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร เป็นต้น

          4. การกระจายกลยุทธ์ เป็นการกระจายแผนไปยังทุกๆส่วนทั่วทั้งองค์กร โดยต้องสอดประสานกับบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ อย่างชัดเจน และเข้าใจ 

          ขั้นตอนในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ณัฏฐพันธ์  เขจรนันทน์ (2552) ได้กล่าวไว้ 4 ประการ

          1. ทำความเข้าใจกลยุทธ์  ต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับทิศทางและกลยุทธ์องค์กร เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับความต้องการและปรัชญาขององค์กร

2. กำหนดแผนปฏิบัติการ  โดยวางแผนปฏิบัติงานที่เป็นรูปธรรม โดยกำหนดรายละเอียดของขั้นตอนการดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างชัดเจน

           3. ดำเนินงานตามแผน ผู้บริหารโครงการต้องตรวจสอบตามขั้นตอนที่กำหนด  ตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแผน ตลอดจนกระตุ้นให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดความเข้าใจ  ตื่นตัวและให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน

          4. ประเมินโครงการ ผู้บริหารโครงการต้องติดตามตรวจสอบผลลัพท์จากขั้นตอนการดำเนินงาน เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และประเมินว่างานบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดเพียงใด มีปัญหาหรืออุปสรรคในการทำงานอย่างไร

  สรุปการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ผู้มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ต้องมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการปฏิบัติการที่ดี เพื่อสร้างแนวความคิดให้เกิดเป็นผลงานที่เป็นรูปธรรม  สิ่งที่ต้องกระทำในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ การทำความเข้าใจกลยุทธ์    กำหนดแผนปฏิบัติการ    ดำเนินงานตามแผน

และประเมินโครงการ  

หมายเลขบันทึก: 548150เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2013 11:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2013 11:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท