นุชรัตน์
ดร. นุชรัตน์ ประสิทธิศิลป์ชัย

การศึกษาไทย กับ ลำดับที่ 8 ของอาเซียน


คิดไว้อยู่ ว่า จะต้องมีวันนี้ สักวัน   ไม่แปลกใจเลย ถ้าใครได้คลุกคลี อยู่กับวงการศึกษา และเห็นพัฒนาการมาโดยลำดับ ข้อค้นพบ จากประสบการณ์ ซึ่งสักวัน อาจจะทำเป็นวิจัยเล็กๆ เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ ..สำหรับการสนับสนุนเหตุผลว่า ทำไม..เราจึงได้อยู่ลำดับท้ายสุด ตัวปัญหาสำคัญ อันดับ ต้นๆ คือ

1. นโยบายการศึกษา การเมือง ระดับชาติ .ไม่นิ่ง ขยับตลอด หาจุดเด่น เน้นประเด็นดัง สำหรับตัวเอง เพื่อจะให้คนจดจำ ครั้งแล้ว ครั้งเล่า เคยถาม  คนข้างล่าง สักนิดไม๊ว่า เขาต้องการหรือไม่ 


2. ระดับกระทรวง หรือ กรม โดยเฉพาะ สพฐ. คิดค้น วิธีการ กระบวนการทำงาน ไปศึกษาดูงาน study งานวิจัย บทความใหม่ ๆ ของต่างประเทศ  ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่ดี แต่ ดูบริบท ของเรา ไม๊ว่า มันใกล้เคียงกับ สิ่งที่เขา ต้องการให้เกิดหรือไม่ และ กระบวนการทำงาน ที่ สั่งตูม ครั้งเดียว ทำเหมือนกันทั่วประเทศ ..เป็นไปได้อย่างไร .ทุก ร.ร.จะมีศักยภาพ ทำสิ่งที่ท่านคาดหวังได้อย่างไร  ร.ร.เหมือนกัน แต่แตกต่างกันราวฟ้ากับดิน ใช้มาตรฐานเดียวกัน (สมศ. , ภายใน , หลักสูตร  ) ที่เป็น มฐ.เดียวกัน .. บอกได้ คำเดียวว่า ได้ผลการประเมินที่เพี้ยน ..การวัดและประเมินผล o-net NT PISA  ที่ นำมาเชื่อมโยง ตัดสิน วุ่นวาย ทำเป็นเรื่องใหญ่ จน ครู หลงประเด็น ไปหมดแล้ว หมกมุ่นกับเรื่อง ผลสัมฤทธิ์ ตราบใดที่ ทาง สพฐ. ไม่ยอมรับว่า เราต้องมีหลายมาตรฐาน และ เลิกวุ่นวายกับ ผสฤ. เสียที ทำในสิ่งที่ควรทำ .... การ ถ่ายโอนสู่ท้องถิ่น ..เป็นอีกเรื่อง ที่อยากให้ท่าน ทบทวน 

3. โชค ไม่ดี ที่เราได้คนที่มี คุณภาพ ประสิทธิภาพ น้อยลง และอยู่ส่วนบน เสียด้วย ..ทั้ง ปลัด เลขา ผอ.สำนัก ผอ.กลุ่ม  ทั้งการทำงานเป็นทีม  การขาด วิสัยทัศน์ (มองแต่ไปข้างหน้า แต่เท้าไม่ติดดิน)  และที่สำคัญ ขาดคุณธรรม จริยธรรม

4. งบประมาณ มันละเลง อยู่ที่กระบวนการ ถึงนักเรียน ซักเท่าไหร่กัน   และ ยังผูกพันกับ ผลประโยชน์ อะไร ที่เราไม่ทราบอีกมหาศาล . สำนักพิมพ์ ระบบต่างๆ  การเข้าสู่ตำแหน่ง การโยกย้าย ฯลฯ ใครขึ้นมา ก็อดที่จะหาผลประโยชน์ ใส่ตัวเองไม่ได้ สพฐ.ใหญ่ เทอะทะเกินไป บุคลากรก็เยอะเกินไป  ของบประมาณมาณ ที อ้างแต่เด็ก บังหน้า จริง ๆ แล้ว ลงสู่เขาสักเท่าไหร่ เราไปใช้จ่าย กับสิ่งที่ไม่ควร เท่าไหร่ ......กัน

5. สภาพสังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี มันยากเกินจะแก้ไข เด็ก ร้อยละ 95 (ตามชนบท) ไม่ได้ได้อยู่กับ ครอบครัว ที่อบอุ่น ยังมีความเหลื่อมล้ำกับสูง ระหว่าง ในเมือง กับ ชนบท .. เคยมีครั้งนึง ครูเล่าให้ฟังว่า " แค่ เขาอนุญาต ให้เด็กคนนึงที่ไม่มีพ่อกับแม่  เรียก ครู ว่าแม่ พฤติกรรมก้าวร้าว ของเด็ก ก็ลดลงทุกวัน " ... 

6. คุณภาพ ของ ครู และบุคลากรทางการศึกษา .. เราได้คน สมัยเก่า เข้ามาอยู่ในระดบบเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่  ไม่เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง และ ที่สำคัญไม่พยายามเรียนรู้ ในสิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ขาดการเสียสละ .  

         อีกมากมาย ประสบการณ์ แต่ไป พบครู นักเรียน เป็นความจริง ที่มีนักเเรียนอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้อยู่เป็นจำนวนมาก . เราเรียน ภาษาอังกฤษตั้งแต่ อนุบาล แต่เป็นความจริง เด็ก มัธยม ยังไม่รู้อักษรภาษาอังกฤษเลย  ครู รักและทุ่มเท ให้กับ นักเรียน แต่บางครั้ง ก็รู้สึกว่า เขาไม่ เรียนรู้วิธีการ ที่จะ แก้ปัญหา

          ขอเคารพ บูชา ครู ที่ ยังทุ่มเทเพื่อศิษย์ แต่สิ่งที่รู้สึกได้ คือ เด็กเขา บริสุทธิ์ จริงๆ และพร้อมรับ ทุกสิ่ง ..แต่ สิ่งที่เราใส่ ลงไปให้กับเขา ..โตขึ้นมาเขาจะเป็นอะไร ขึ้นอยู่กับ วาสนาจริงๆ  

 

หมายเลขบันทึก: 547623เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2013 13:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กันยายน 2013 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

บทวิเคราะห์น่าสนใจมากครับ คุณครู ;)...

น่าสนใจมาก ผมว่าข้อแรกสำคัญมากเลยครับ

เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา แถมคนที่มาก็ไม่ได้มีความรู้เรื่องการศึกษา

เวรกรรม...

ขอบคุณท่าน ศน มากครับ

เป็นกำลังใจให้คุณครูทุกท่านครับ

สักวันเราจะอยู่แถวหน้า ผมเชื่ออย่างนั้นจริงๆครับ...

ชีวิตราชการครูสอนมา 20  กว่าปีไม่เคยนิ่ง แถมยิ่งสร้างปัญหามากขึ้นทุกวัน

ออกข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยโคตรโหต..สสวทอัดแน่เนื้อหา

ครูวิทยาท่าจะบ้าถ้าปลงไม่ตก...มีแต่ปัญหาที่รุมเร้า..ถึงตอนนี้กำลังจะเปลี่ยนอีกแล้ว

วิ่งตามกันไม่ทัน

หนาวเหน็บเจ็บลึกจริงๆ

ในความคิดเห็นส่วนตัว...น่าจะเป็นเรื่องของเวทีเพื่อธุรกิจการค้าทางวิชาการ...เพราะหลายประเทศในอาเซียเป็นลูกค้าของเขา...ระดับอุดมศึกษาใช้โปรแกรม ตำราการเรียนการสอนของเขา...แข่งกับตัวเองดีกว่าเพราะโลกนี้มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราไม่จำเป็นต้องวิ่งตามให้เหนื่อยนะคะ...ยังมีความมั่นใจว่าคนไทยมีความรู้ความสามารถค่ะ...

จริงค่ะ แข่งกับตนเองดีกว่า

WEF จัดอันดับ 8 ให้ไทยต่ำอีก 7 ประเทศ  วัดจาก 2 ส่วนคือ 1. ข้อมูลของแต่ละประเทศ

2. ความคิดเห็นของภาคเอกชนและนักธุรกิจในประเทศนั้น ๆ    เช่น คิดว่าระบบการศึกษาทำให้ธุรกิจง่ายขึ้นหรือไม่  ทำให้ได้พนักงานตามที่ต้องการหรือไม่ ทำให้พนักงานมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์หรือไม่ ฯลฯ

    คำตอบเหล่านี้เป็นการรับรู้ของผู้ตอบจึงไม่ใช่ข้อเท็จจริงทั้งหมด อย่างดีก็อธิบายได้ว่าแต่การศึกษาในแต่ละประเทศตอบสนองความต้องการของกลุ่มนักธุรกิจเพียงใด เช่นนักธุรกิจเขมรมองการศึกษาของเขมรดีกว่านักธุรกิจไทยมองการศึกษาของไทย (น่าคิดว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ??) แต่คงสรุปไม่ได้ว่าคุณภาพการศึกษาดีกว่าของประเทศไทย

   ถ้าพิจารณาข้อมูลของแต่ละประเทศ เช่นดูจากคะแนนข้อสอบพิซ่า ประเทศที่นำมาจัดอันดับก็ไม่ได้สอบข้อสอบนี้กันหลายประเทศแล้วจะนำมาเปรียบเทียบกันได้อย่างไร    

                               

   การปรับปรุงคุณภาพการศึกษาเราต้องทำอยู่อย่างต่อเนื่องไม่ใช่เต้นกันทุกครั้งที่มีผลการจัดอันดับออกมาโดยไม่วิเคราะห์ให้ดีว่าอยู่บนฐานของข้อสอบหรือวิธีการที่เหมาะสมหรือยัง 

 

 

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท