ตามรอย “พ่อหลวง” กับ...เศรษฐกิจพอเพียง ตอน ความเป็นมาของ "เศรษฐกิจพอเพียง" [#3]


ละเลิก "การแก่งแย่งผลประโยชน์" หรือ "การแข่งขันทางธุรกิจ" อย่างดุเดือด

ตามรอย “พ่อหลวง” กับ...เศรษฐกิจพอเพียง

ตอน ความเป็นมาของ "เศรษฐกิจพอเพียง"

 

เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความสามารถของชุมชนเมือง รัฐ ประเทศ หรือภูมิภาคหนึ่งๆ
ในการผลิตสินค้า และบริการทุกชนิดเพื่อเลี้ยงสังคมนั้นๆ ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยต่างๆ
ที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ หรือถ้าเป็น "เศรษฐกิจพอเพียง" ในระดับบุคคลนั้น ก็จะหมายถึง...
ความสามารถในการดำรงชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อน มีความเป็นอยู่อย่างประมาณตนตามฐานะ
ตามอัตภาพ และที่สำคัญไม่หลงใหลไปตามกระแสของวัตถุนิยม มีอิสรภาพ เสรีภาพ...
ไม่พันธนาการอยู่กับสิ่งใด...

ซึ่งหากกล่าวโดยสรุปก็คือ...

การหันกลับมายึดเส้นทางสายกลางในการดำรงชีพ

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ชี้แนะชาวไทย...
เกี่ยวกับเรื่องของการดำรงชีวิตอยู่อย่างพอกิน พอใช้...
ซึ่งต่อมามีการนำพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงนี้...
มาเป็นหลักในการดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙

หลักการพึ่งตนเอง...

๑. ด้านจิตใจ ต้องรู้จักคำว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” สร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับตนเอง คือ...
     รู้จักประณีประนอม เอื้ออาทร และเห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง

๒. ด้านสังคม จะต้องมีความสามัคคี และรู้จักการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
     สร้างเครือข่ายชุมชนให้เข้มแข็ง

๓. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต้องรู้จักใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
     และหาทางเพิ่มพูนทรัพยากร โดยยึดหลักของความยั่งยืน

๔. ด้านเทคโนโลยี ควรเลือกนำเทคโนโลยีในด้านดีมาใช้ และเลือกใช้ให้เหมาะสมกับ
     ความต้องการและสภาพแวดล้อม

๕. ด้านเศรษกิจ ใช้วิธีการมุ่งลดรายจ่ายก่อน จากนั้นค่อยหาทางเพิ่มพูนรายได้
     โดยยึดหลัก “พออยู่ พอกิน พอใช้”

แนวทางปฏิบัติตนตามหลักเศรษกิจพอเพียง...

๑. ต้องรู้จักตัดทอนค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในทุกๆ ด้าน...
     ยึดหลักการ "ประหยัด" และงดเว้นการใช้จ่าย "ฟุ่มเฟือย" อย่างจริงจัง

๒. ประกอบอาชีพสุจริต แม้ว่ารายได้จะน้อย หรือมีความจำเป็นต้องใช้เงินแค่ไหนก็ตาม
     ก็ขอให้ประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง

๓. ละเลิก "การแก่งแย่งผลประโยชน์" หรือ "การแข่งขันทางธุรกิจ" อย่างดุเดือด

๔. แสวงหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อใช้ในการพัฒนาตนเองและอาชีพ
     ก่อให้เกิดรายได้มากขึ้นจนถึงขั้นที่เรียกว่า “พอเพียง”

๕. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ละเว้นความชั่ว หรือการกระทำผิดทั้งหลายให้หมดสิ้น

ผลจากการใช้เศรษกิจแบบพอเพียง...

๑. ชาวบ้านมีผลผลิตเพียงพอต่อการบริโภค และมีส่วนที่เหลือ
     ซึ่งสามารถนำไปค้าขายได้เป็นการลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้

๒. เป็นการพึ่งตนเองแบบรวมกลุ่ม ทำให้ชุมชนเข้มแข็งขึ้น...
     เกิดการพัฒนาในด้านต่างๆ และสามารถกระจายรายได้ได้เป็นอย่างดี

๓. ทำให้เกิดการพัฒนาสังคม ทั้งทางด้านครอบครัว ชุมชน
     การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และภูมิปัญญาท้องถิ่น 


ขอขอบพระคุณ: มูลินิธิชัยพัฒนา
http://www.chaipat.or.th/chaipat/index.php

 

++

คาราบาว - ตามรอยพ่อ (Carabao Official Music Video)
Credit: www.facebook.com/carabaoofficial

 

#เศรษฐกิจพอเพียง #SufficiencyEconomic 

หมายเลขบันทึก: 547606เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2013 10:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กันยายน 2013 02:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

...สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ...นะคะ

เรียน อ.ดร.พจนา ขอบพระคุณที่ติดตาม Blog นะคะ
น่าภูมืใจที่ประเทศไทยมีอัจฉริยะที่ทรงคุณค่า แต่คนไทยกลับเห็นคุณค่านี้น้อยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท