หลักธรรมเพื่อเข้าใจเรื่องตน - ของตน


ธรรมะนี้มี  ๔ ความหมาย

    เราต้องรู้จักธรรมชาติ  เราต้องรู้จักกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ,เราต้องรู้จักหน้าที่ตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ,

เราจะต้องรู้จักผลที่ควรจะได้รับอย่างถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ

    ถ้าเรารู้  ๔ ประการนี้  เราก็รู้ธรรรมะ  ก็ลองคิดดูเถอะ  ว่ามันไม่มีท่างที่ทำอะไรผิด  เพราะเรารู้จักสิ่งที่เรียกว่าธรรมชาติ

อย่างถูกต้องครบถ้วน  ในทุกแง่ทุกมุม  และจะมีความรู้สูงสุดถึงขนาดที่ว่ามันจะไม่ยึดถืออะไรให้เป็นตัวตน  ที่หมายมั่นด้วยความเป็นตัวตน

     ถ้ามีความรู้สึกว่าเป็นตัวตนอะไรอยู่  มันก็จะหนักเพราะว่ามันต้องเห็นแก่ตน  มันต้องเป็นผลดีแก่ตน  มันก็เป็นเรื่องวิตกกังวน  เป็นเรื่องหนักอกหนักใจ  เดี๋ยวนี้เรามีชีวิตอยู่ด้วยความรู้สึกนึกคิดที่เป็นตัวตนอยู่ตลอดเวลา  จิตใจของเราจะมีความนึกคิดประเภทที่เป็นตัวตน  เป็นของตนอยู่ตลอดเวลา  ไม่ได้ว่างจากความรู้สึกชนิดนี้  มันมีความคิด  แต่ว่ามันมีความหมายแห่งตัวตนอยู่ในความคิด  มันก็หนักอยู่ในความคิด  แต่ถ้าความคิดไม่มีความหมายแห่งตัวตนอยู่ในความคิด  มันก็ไม่หนัก  มันก็เป็นของเบา

คำสำคัญ (Tags): #ตนเป็นใหญ่
หมายเลขบันทึก: 547603เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2013 09:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กันยายน 2013 09:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

กราบนมัสการและขอบคุณข้อคิดดี ๆ ที่พระอาจารย์มีมากมากครับ

   "ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นเพราะเรายึดตัวเอง (ความชอบใจ - ไม่ชอบใจ) เป็นศูนย์กลาง ไม่ได้ยึดธรรม (ชาติ) เป็นศูนย์กลาง"

กราบนมัสการค่ะ  

ชีวิตไม่อาจเรียนรู้ต่างภพกำเนิด

อนุโมทนาบุญทุกความคิดเห็นครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท