สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ ม.6/4


สวัสดีค่ะ นักเรียนชั้น ม.6/4 โรงเรียนอุทัยวิทยาคม
     การเรียนการสอนวิชาโครงงานคอมพิวเตอร์ ชั้น ม.6 นักเรียนปฏิบัติโครงงาน ตามแนวคิด บันได 5 ขั้น ของการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนมาตรฐานสากล ซึ่งในขั้นที่ 5 นักเรียนต้องมีการบริการสังคมและจิตสาธารณะ (Public Service) ให้นักเรียนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ได้รับจากการไปสัมภาษณ์ รวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเขียนสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากภูมิปัญญาท้องถิ่นฯในเรื่องที่นักเรียนจัดทำโครงงาน พร้อมใส่ภาพประกอบให้สวยงาม เป็นการเผยแพร่แลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ อันเป็นการช่วยกันอนุรักษ์และส่งเสริมให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นคงอยู่คู่เมืองอุทัยธานีต่อไป

ดังตัวอย่าง นักเรียนทำโครงงานเรื่อง "ผ้าทอหนองขาหย่าง" ให้นักเรียนบันทึกส่งดังนี้ค่ะ
1. เขียนสรุปองค์ความรู้เป็นความคิดรวบยอดบอกลักษณะสำคัญ/กระบวนการทำงานของภูมิปัญญาท้องถิ่น
2. ส่งภาพภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นักเรียนจัดทำ 1 ภาพ
3. พิมพ์ชื่อกลุ่ม ชื่อ-สกุล เลขที่ ของสมาชิกทุกคน และที่อยู่เว็บไซต์ ที่ด้านล่างของภาพภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานี
 

เช่น

     จากการศึกษา เรื่อง ผ้าทอหนองขาหย่าง พบว่าเริ่มก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ.2544 เป็นกลุ่มชาวบ้านที่รวมกันตั้งขึ้นมา การทอผ้าถือว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามารถเผยแพร่ให้คนอื่นได้รู้จักและสามารถสร้างรายได้เลี้ยงชีพให้กับคนที่สืบสานภูมิปัญญานี้ได้ ผ้าทอหนองขาหย่าง เป็นการทอผ้าในลายแบบต่างๆ ซึ่งมีลายสวยงามตามราคาที่กำหนด และยังเป็นอาชีพเสริมจากการทำนาที่เป็นอาชีพหลักด้วย  และจากการศึกษาทำให้ได้รู้ถึงภูมิปัญญาของจังหวัดอุทัยธานีว่ามีอะไรบ้างได้รู้วิธีการขั้นตอนว่ากว่าจะมาเป็นผ้าทอสวยๆ มีที่มาอย่างไร  ได้รู้จักการทำงานอย่างเป็นระบบและความสามัคคีในการทำงาน ซึ่งเป็นคุณธรรมที่ควรนำมาเป็นแบบอย่างในการทำงาน

ผ้าทอหนองขาหย่าง

สมาชิกในกลุ่ม

1.  นางสาว กนกวรรณ เอกขระ

2. นางสาว ญาณิศา เมฆพัฒน์

3.  นางสาว ปัทมาสน์ โพธิวัลย์

4.  นางสาว กนกวรรณ ยังช่างเขียน

ที่อยู่เว็บไซต์ : http://202.143.169.20/utw2555/5561group11/

หมายเลขบันทึก: 547516เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2013 00:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 00:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)
นางสาวชนิกานต์ มุจรินทร์

จากการศึกษาค้นคว้า "ก๋วยเตี๋ยวต้นไทร" เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานี ที่มาจากทางบ้านของนายประดิษฐ์ สุวรรณภาพ

มีพื้นฐานการทำก๋วยเตี๋ยวมาช้านาน โดยเริ่มจากร้านก๋วยเตี๋ยวเล็กๆ อยู่หน้าบ้าน โดยนายประดิษฐ์ สุวรรณภาพ

ได้ปรับปรุงสูตรมาเรื่อยๆจนเป็นที่ถูกปากของคนส่วนใหญ่ จนต้องขยายร้านอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

และได้ขยายสาขา 2 ที่บริเวณห้าแยกวิทยุอำเภอเมืองอุทัยธานีและมีหลานสาว

ของผู้ประกอบการคนแรกเป็นคนสืบต่อทั้ง2สาขาที่มาของชื่อร้านว่าต้นไทร เพราะ

แม่ปลูกต้นไทรไว้หน้าบ้านหลายปี และต้นไทรนี้ก็อยู่ติดถนนใครผ่านไปผ่านมาน่าจะสะดุดตาและแวะเข้ามาทาน

ก๋วยเตี๋ยวต้นไทร

 

สมาชิกในกลุ่ม

1.นางสาวชนิกานต์  มุจรินทร์  เลขที่  16

2.นางสาวชุติมา  นัยเนตร  เลขที่  17

3.นางสาวฑิฆัมพร  ธรรมชีวัน  เลขที่  18

4.นางสาวอรัญญา  มากสิน  เลขที่  41

ม.6/4 

กนกวรรณ สมัครเขตต์การ

จากการศึกษาค้นคว้า "ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดอุทัยธานีเรื่อง เครื่องหนังรักการดี" พบว่า เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีการจัดตั้งขึ้นมาแต่ช้านานสืบทอดจนมาถึงปัจจุบัน พบว่าเครื่องหนังรักการดีเป็นภูมิปัญญาที่มีประโยชน์ที่ใช้ในการศึกษาหาความรู้ในเรื่องวิธีการทำเครื่องหนังต่างๆ เช่น กระเป๋าสะพาย กระเป๋าสตางค์ เข็มขัด ซองใส่แว่น เครสโทรศัพท์ เป็นต้น เป็นสิ่งที่ทุกคนทั่วไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน เครื่องหนังที่ทำนำมาจากหนังสัตว์ มีทั้งหนังจระเข้ หนังงู ปากนก ฯลฯ วัสดุพวกนี้ นำมาจากธรรมชาติ กลุ่มของข้าพเจ้าจึงนำเรื่องราวความเป็นมาของเครื่องหนังรักการดี ของจังหวัดอุทับธานีมาเผยแพร่ เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้ ให้อยู่คู่กับผืนแผ่นดินไทยสืบไป

เครื่องหนังรักการดี

สมาชิกในกลุ่ม

1. นางสาวกนกวรรณ  สมัครเขตต์การ  เลขที่ 11

2. นางสาวธนสุกาญจ์   กล่อมแส   เลขที่ 20

3. นางสาวเนตรสกาว   สีม่วง  เลขที่ 22

4. นางสาวพู่กัน   สิทธิรักษ์   เลขที่  37

 

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่   6/4

หทัยรัตน์ ม่วงอิ่ม

จากการศึกษาค้นคว้า"ขนมข้าวเกรียบปากหม้อ"พบว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มาแต่ช้านานและสืบสอดกันมาจนถึงปัจจุบันพบว่าขนมข้าวเกรียบปากหม้อเป็นขนมที่หาทานได้ยากและไม่ใครนิยมทำเพราะคิดว่ามีขั้นตอนการทำที่ยุ่งยากและอุปกรณ์ที่ทำหายากแต่หารู้ไม่ว่ามีขั้นตอนที่การทำที่ง่ายและไม่ยุ่งยากวัสดุอุปกรณ์ก็หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดและสามารถสร้างรายได้ให้กับเราได้เป็นอย่างดีและไม่มีคู่แข่งที่ทำขนมข้าวเกรียบปากหม้อมากนักกลุ่มของข้าพเจ้าจึงนำเรื่องราวความเป็นมาของขนมข้าวเกรียบปากหม้อของจังหวัดอุทัยธานีมาเผยแพร่ในเว็บไซต์เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้ให้อยู่คู่กับผืนแผ่นดินไทยสืบไป

ข้าวเกรียบปากหม้อ

ผู้จัดทำ

น.ส.วราภรณ์ ภิรมย์ชุ่ม เลขที่ 28

น.ส.เสาลักษณ์ เรืองวงษ์งาม เลขที่ 30

น.ส.หทัยรัตน์ ม่วงอิ่ม เลขที่ 31

น.ส.ณัชชา ชื่นเรือง เลขที่ 33

 

ชั้นม.6/4

นางสาวธนัญญา ว่องการไถ

สมุนไพรวัดหนองหญ้านาง เป็นภูมิปัญญาที่มีการสืบทอดกันมาช้านาน โดยมีหลวงพ่อสมัยเป็นผู้ก่อตั้งขึ้น 
เพื่อเป็นประโยชน์แก่ชาวบ้าน หรือผู้ป่วย โดยการนำเอาตำราแพทย์สมุนไพรโบราณที่ได้ร่ำเรียนมา มาใช้ในการรักษาผู้ป่วย ด้วยจิตเมตตาและจากคำเล่าปากต่อปากทำให้สมุนไพรวัดหนองหญ้านางเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปและมีผู้มาใช้บริการมากมาย กลุ่มของข้าพเจ้าจึงนำเรื่องราวเกี่ยวกับสมุนไพรวัดหนองหญ้านางมาเผยแพร่ โดยการจัดทำเป็นเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานี เพื่อเป็นการเผยแพร่และอนุรักษ์ให้ยังคงมีการใช้สมุนไพรไทยต่อไป จากแบบการประเมินระดับความพึงพอใจบอกได้ว่าสมุนไพรวัดหนองหญ้านางเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ดีสมควรที่จะนำไปเผยแพร่ให้กับผู้อื่นเหมาะแก่การประกอบอาชีพเสริม เนื่องจากสมุนไพรมีสรรพคุณในการรักษาโรคได้มากมาย ทั้งยังมีการนวดและการอบอีกด้วย

สมุนไพรวัดหนองหญ้านาง

สมาชิกในกลุ่ม

1. นางสาวนบชนก  ยศสมบัติ เลขที่ 21

2. นางสาวธนัญญา ว่องการไถ เลขที่ 35

3. นางสาวนันทวัน จันทร์ศรี เลขที่ 36

 4. นางสาวสุนีย์ พะระนะพันธ์ เลขที่ 40

ชั้น ม.6/4

 

จากการศึกษาค้นคว้า “หัวเข็มขัดงาช้าง”

พบว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมาแต่ช้านานตั้งแต่อดีต และสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน
พบว่าสืบทอดมาจากนายมาโนช จีนหยอง โดยมีภรรยาเป็นผู้สืบทอด  ชื่อนางแหวน ดวงจิต เป็นเจ้าของร้านคนปัจจุบันเมื่อก่อนช่างเปี๊ยก(คุณมาโนช)เคยผลิตปืนเถื่อนมาก่อนแต่ราชการไม่สนับสนุน
จึงหันมาทำากรรไกรตัดกิ่งทำมีดต่างๆจนพัฒนามาเป็นหัวเข็มขัดงาช้างที่สวยงาม
และมีชื่อเสียงอยู่ทุกวันนี้กลุ่มของข้าพระเจ้าจึงนำเรื่องราวความเป็นมาของหัวเข็มขัดงาช้างของจังหวัดอุทัยธานี
มาเผยแพร่ในเว็บไซต์ เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้ให้อยู้คู่กับผืนแผ่นดินไทยสืบไป

หัวเข็มขัดงาช้างช่างเป๊ยกโบวี่

สมาชิกกลุ่ม

1.นายคมสัน จันตะเภา ม.6/5  เลขที่ 1

2.นายภาณุวัชร รุ่งราษี ม.6/5 เลขที่ 8

3.นายวรานนท์ วงษ์ไทย ม.6/5 เลขที่ 9

4.นายประพฤทธิ์ เชี่ยวกิจ ม.6/5 เลขที่ 17

นางสาวจุไรรัตน์ บุญศรี

จากการศึกษาค้นคว้า  “ข้าวหลามป้าเล็ก” ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านสมัยโบราณเป็นอาหารว่างชนิดหนึ่งที่ชาวล้านนานิยมกินกันในฤดูหนาวหรือเมื่อได้ข้าวใหม่ใช้ไผ่ข้าวหลามเป็นกระบอกใส่ข้าวหลามแบบชาวบ้าน ใช้ข้าวหลามกับน้ำเปล่าและเกลือเท่านั้น สำหรับข้าวหลาม ที่ทำขายกันโดยทั่วไป จะใส่น้ำกะทิและเติมถั่วดำ หรือ งาขาว การทำข้าวหลามประเพณีนิยมของชาวล้านนาจะเป็นพิเศษ เพื่อถวายพระในวันเพ็ญเดือนสี่ หรือประมาณเดือนมกราคม ซึ่งเป็นการ ทานร่วมกับการทานข้าวจี่ และใส่บาตร กลุ่มของข้าพเจ้าจึงนำเรื่องราวความเป็นมาของข้าวหลามของจังหวัดอุทัยอุทัยธานีมาเผยแพร่ในเว็บไซต์ เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้ให้คู่กับผืนแผ่นดินไทยสืบไป

ข้ามหลามป้าเล็ก

สมาชิกกลุ่ม

1.นายอิทธิพัทธ์ อ่วมเอี่ยม ม.6/5 เลขที่ 20

2.นางสาวจุไรรัตน์ บุญศรี ม.6/5 เลขที่ 24

3.นางสาวทิพย์วรรณ มัชบัณฑิต ม.6/5 เลขที่ 25

4.นางสาวสุธินี ครุฑธานุชาติ ม.6/5 เลขที่ 28

สืบพงศ์ ทิพย์ศิริ

จากการศึกษาค้นคว้า “บ้านวาดภาพ” พบว่าเป็นศิลปะที่มีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พบว่าบ้านวาดภาพ เป็นสถานที่สอนวาดภาพอันเลื่องลือ ในจังหวัด อุทัยธานี เป็นการสอนที่เรียนง่าย เข้าใจศึกษาและได้ความรู้การศึกษาได้ง่าย ทั้งนี้สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ในอนาคตเกี่ยวกับงานศิลปะชิ้นนี้ กลุ่มของข้าพเจ้าจึงนำประวัติความเป็นมาของบ้านวาดภาพ มาถ่ายทอดเจตนารมณ์ ให้ประชาชนรุ่นหลังได้ศึกษาหาความรู้บ้านวาดภาพตรอกโรงยา

สมาชิกกลุ่ม

1. นาย สืบพงศ์ ทิพย์ศิริ เลขที่ 13

2. นาย ธนพล กิ่มเกิด เลขที่ 16

3. นางสาว ศุภวรรณ โพธิ์บัณฑิต เลขที่ 30

ชั้น ม.6/5

นาย พันธ์ศักดิ์ เอี่ยมมา
จากการศึกษาค้นคว้า “ขนมหวานป้าเนา” พบว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เราควรจะเก็บรักษาเอา เพราะว่าขนมไทยได้มีการกำเนิดมาแต่ช้านานพวกเราจึงจะต้องรักษา และสืบทอด ขนมหวานของไทยเรานี้ เพื่อที่จะได้มี ขนมหวานไทยของเรานี้ ได้เป็น มรดกโลก เพราะว่า ขนมไทยเป็นสินค้าที่ พวกเราคนไทยควรที่จะอนุรักษ์ เพราะว่าเป็นขนมของคนโบราณ สอนพวกของลูกหลานมาจนถึงปัดจุบัน กลุ่มของข้าพเจ้าจึงนำเรื่องราวความเป็นมาของขนมหวานป้าเนาของจังหวัดอุทัยธานีมาเผลแพร่ในเว็บไซต์ เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบสารทอดภูมิปัญญาท้องถิ่งนี้ให้อยู่คู้กับผืนแผ่นดินไทยสือไป  
 
ขนมหวานป้าเนา
 
 

สมาชิกในกลุ่ม

1.  นาย พันธ์ศักดิ์ เอี่ยมมา เลขที่ 7 ม.6/5

2.  นาย ณฐกร ศรีจันอ่อน เลขที่ 3   ม.6/5

3.  นาย ศุภชัย นาควิสุท เลขที่ 11   ม.6/5

4.  นาย พลภัทร คล้ายแตง เลขที่ 18  ม.6/5

ที่อยู่เว็บไซต์ http://202.143.169.20/utw2556/5665group1/

นางสาวปัทมา พิสณุพงศ์

จากการศึกษาค้นคว้า “ มีด หัวเข็มขัด ช่างหรั่ง”

พบว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมาตั้งแต่อดีต และสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน พบว่า มีด หัวเข็มขัด ช่างหรั่ง เป็นอาวุธและเครื่องประดับ ที่ใช้ป้องกันตัวและเป็นเครื่องประดับ และเป็นสินค้าส่งออก เพื่อค้าขายของคนอุทัยธานี มีวิธีการเก็บรักษาที่ง่ายดายไม่ยุ่งยาก และขายในราคาที่ไม่แพง สามารถซื้อเก็บไว้โชว์ และขายได้ มีดและหัวเข็มขัดช่างหรั่ง เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่หมู่บ้านอื่นสามารถไปลองทำเองได้จริง ขายได้จริง เพราะวัสดุที่ทำเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายไม่ยุ่งยาก ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเหล็กและงาช้าง เพราะคนส่วนใหญ่นิยมงาช้างกันมาก การไปซื้อสินค้าก็สดวก

มีขายที่ โอท็อป และร้านช่างหรั่ง ในจังหวัดอุทัยธานี กลุ่มของข้าพเจ้าจึงนำเรื่อวงราวความเป็นมาของ มีดและหัวเข็มขัด ช่างหรั่งของจังหวัดอุทัยธานี

มาเผยแพร่ในเว็บไซต์ เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้ให้อยู่ควบคู่กับผืนแผ่นดินไทยสืบไป

เว็บไซต์ : 202.143.169.20/utw2556/5661group12
ครูจงรัก  เทศนา  โรงเรียนอุทัยวิทยาคม จ.อุทัยธานี

หัวเข็มขัดมีดช่างหรั่ง

              สมาชิกกลุ่ม

1.นายสายชล      ยิ้มแย้ม      เลขที่12

2.นางสาวขนิษฐา  แสงอินทร์    เลขที่21

3.นางสาวปัทมา    พิสณุพงศ์    เลขที่26

        ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/5 

วราวุฒิ จันทร์ครุธ
จากการศึกษาค้นคว้าก๊วยจั้บเจ้งึ้งพบว่าเป็นภิมปัญญาท้องถิ่นที่มีมาแต่ช้านนานตั้งแต่อดีตและสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
พบว่าก๋วยจั๊บเจ้งึ้งอาหารเพื่อค้าขายในสมัยก่อนจนถึงปัจจุบันโดยสืบทอดมาจากบรรพบรุษและเป็นอาชีพในการค้า
ผู้คนนิยมมารับประทานก๋วยจั๊บเจ้งึ้งเพราะมีความสะดวกสบายใกล้กับถนนสายหลัก กลุ่มของข้าพเจ้า
จึงนำเรื่องราวความเป็นมาก๋วยจั๊บเจ้งึ้งขอจังหวัดอุทัยธานีมาเผยแพร่ในเว็บไซค์เพื่อเป็นอนุรักษ์และ
สืบทอดภูมิปํญญาของบรรพบุรุษให้คู่กับจังหวัดอุทัยธานีต่อไป
ก๋วยจั๊บเจ้งึ้ง

สมาชิก

  1.นายเจษฏา    อัมรนันท์    เลขที่ 2
   2.นายวราวุฒิ   จันทร์ครุธ  เลขที่ 10
   3.นายสุรศักดิ์   ทองดุลย์    เลขที่ 14
   4.นายอภิสิทธิ์   พืชขุนทด   เลขที่ 19

ชันมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6/5
นายธนยง กลิ่นจุ้ย

จากการศึกษาพบว่า

“หัวเข็มขัด” พบว่าภูมิปัญญาหัวเข็มขัดงาช้างเป็นภูมิปัญญาของจังหวัดอุทัยธานีโดยเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกนมาช้านานซึ่งตั้งเดิมทามีดและพัฒนาเป็นหัวเข็มขัดงาช้าง 
  ในอดีตชาวบ้านกลุ่มหนึ่งในเมืองอุทัยฯได้ลักลอบทำปืนเถื่อนเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2518 รัฐบาลประกาศให้ผู้มีปืนในครอบครองต้องเอาปืนไปขึ้นตั๋ว หรือ ขึ้นทะเบียน ทำให้ผู้คนทั่วประเทศต่างมุ่งมาที่อุทัยธานีเพื่อหาซื้อปืนเถื่อนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งช่วงนั้นถือว่าเป็นยุคทองของเหล่าช่างทำปืนเถื่อนเลยก็ว่าได้ แต่หลังจากนั้นไม่นาน ในปี พ.ศ.2519-2520 ทางการก็ได้ประกาศปราบปรามปืนเถื่อน และได้ทำการล้างบางอย่างหนักทั้งทางบกและทางอากาศโดยใช้เฮลิคอปเตอร์ไล่จับ พวกทำปืนต้องหนีหัวซุกหัวซุน ในขณะที่ช่างแขกได้เล่าว่าเขาเองก็ต้องโดดหนีลงแม่น้ำสะแกกรังว่ายข้ามฝั่งเกือบแย่ หลังจากนั้นอาชีพทำปืนเถื่อนในอุทัยฯก็ค่อยๆหมดไป
                 ปี พ.ศ.2520 หลังจากปราบปรามปืนเถื่อนแล้ว สมเด็จย่าได้เสด็จมาเยี่ยมเยียนและได้ทรงดำริให้ช่างปืนเถื่อนทั้งหลายเปลี่ยนอาชีพมาทำกรรไกรแทน และได้ทรงจัดตั้งศูนย์ฝึกอาชีพทำกรรไกรขึ้น
                 จากนั้นมาตำนานปืนเถื่อนเมืองอุทัยจึงได้ปิดฉากลง พร้อมๆกับตำนานใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น เนื่องจากการทำกรรไกร ช่างหลายคนแตกแขนงออกมาทำหัวเข็มขัด และมีด ซึ่งช่างแขกได้เล่าถึงสาเหตุที่ตนหันมาทำมีดจากนั้นจึงได้ทำหัวเข็มขัด

หัวเข็มขัด ช่างเล็ก

 

สมาชิกในกลุ่ม 

1.นายไทนสิริ กองมี เลขที่ 4

2.นายธนพล สุดสะอาด เลขที่ 5

 3.นายธนยง กลิ่นจุ้ย เลขที่ 6

4.นายสุวิทย์ ภู่ไหมพรม เลขที่ 15

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/5

นางสาวศุภาภรณ์ จูเปีย

 จากการศึกษาค้นคว้า   “ลูกประคบ”

      พบว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานีซึ่งมีมา มากกว่า40กว่าปี ลูกประคบ คือสิ่งที่เกิดจากภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษ ที่ใช้พืชสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นนำมาใช้ในการรักษาหรือเพื่อช่วยในการไหลเวียนของโลหิต ต่อมาก็ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาลูกประคบเรื่อยมา เพื่อประโยชน์ในการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คนที่ปวดเมื่อยมักจะใช้รูปประคบช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยของผู้ที่มารักษา ผู้ป่วยมีอายุตั้งแต่3ปีจนถึงวัยชรา การนำลูกประคบมาใช้หากยังไม่ต้องการนำลูกประคบมาใช้งาน เราสามารถเก็บไว้ได้ประมาณ 3-5 วัน ควรเก็บให้อยู่ในที่แห้ง และเมื่อต้องการนำลูกประคบออกมาใช้งาน เราเพียงแค่นำมานึ่งก่อนนำไปใช้งานประมาณ 10-15 นาที และก่อนใช้งานควรทดสอบก่อนด้วยว่าลูกประคบร้อนเกินไปหรือไม่ 

 

ลูกประคบสมุนไพร

 

สมาชิกกลุ่ม

1.นางสาวจิดาภา  นาคหัสดี ชั้นม.6/5 เลขที่ 22

2.นางสาวจิราภรณ์  วงค์เกิด ชั้น ม.6/5 เลจที่ 23

3.นางสาวสุดารัตน์ กระต่ายจันทร์ ชั้น ม.6/5 เลขที่ 27

4.นางสาวศุภาภรณ์  จูเปีย ชั้น ม.6/5 เลขที่ 29

 

นาย อนุรักษ์ อินหุ่น

จากการศึกษาค้นคว้า ฟาร์มเห็ดชัยกร พบว่าในปัจจุบันภูมิปัญญาท้องถิ่นของเราเห็ดเป็นอาหารประเภทผักที่คนนิยมนำมาปรุงเป็นอาหารมาช้านานแล้ว มีรสชาติดี คุณค่าอาหารสูงนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายชนิดและยังมีคุณสมบัติทางยาสามารถป้องกันและรักษาโรคได้อีกด้วยผู้ที่รับประทานเห็ดเป็นประจำจะทำให้กรดไขมันในเส้นเลือดไม่สูงหรือต่ำเกินไปที่สำคัญต่อต้านมะเร็งได้ (อันนี้สำคัญ)การเพาะเห็ดเป็นอาชีพมีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 โดยอาจารย์ก่าน ชลวิจารณ์ เป็นผู้บุกเบิกเพาะเห็ดฟางในประเทศไทย ซึ่งแต่เดิมไม่มีการเพาะเห็ดในลักษณะการค้า เนื่องจากมีเห็ดป่าอุดมสมบูรณ์มากและยังมีผู้นิยมบริโภคเห็ดน้อย ปัจจุบันการเพาะเห็ดใช้เทคโนโลยีในการเพาะสูง ทำให้ได้ผลผลิตดีเพาะได้ง่าย ระยะเวลาสั้น ไม่จำเป็นต้องอาศัยน้ำฝนและแสงแดด ใช้วัสดุที่เหลือใช้จากการเกษตรสามารถเพาะได้ทุกฤดูกาล เมื่อมีปริมาณมากๆ สามารถทำเป็นเห็ดตากแห้งได้ ที่นิยมเพาะกันในปัจจุบันจะใช้ขี้เลื่อยเป็นวัสดุเพาะเป็นหลัก ดังนั้นการเพาะเห็ดจึงง่ายไม่ยุ่งยาก ทำได้ทุกคน ทุกสถานที่ ทุกฤดู 

นายอนุรักษ์  อินหุ่น  เลขที่ 7

นายกฤษดา  บาระมี  เลขที่ 8

นางสาวปวีณา จันทร์เอี่ยม  เลขที่  25

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4

นายณัฐวุฒิ กระเทศ

จาการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ เม้งเป็ดพะโล้ พบว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอุทัยธานี ที่มีมาแต่ช้านาน ตั้งแต่อดีตและสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันโดยปัจจุบันเจ้าของกิจการคือ นายวีรชัย พิทักษ์ธำรง พบว่าเม้งเป็ดพะโล้เป็นอาหารที่ได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากสมัยก่อนคนจีนไม่นิยมให้ลูกหลานเรียนจึงนิยมทำการค้าขายจึงริเริ่มการทำเป็ดพะโล้เพื่อนำมาขาย กลุ่มของข้าพเจ้าจึงนำเรื่องราวความเป็นมาของเม้งเป็ดพะโล้ของจังหวัดอุทัยธานีมาเผยแพร่ในเว็บไซต์ เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้ให้อยู่คู่กับลูกหลานชาวอุทัยสืบต่อไป ใครที่สนใจสามารถแวะมาลองรับประทานไดที่ร้านเม้งเป็ดพะโล้หน้าถนนคนเดินจังหวัดอุทัยธานี

สมาชิกในกลุ่ม

นายณัฐพงษ์ พงษ์มา เลบที่ 1

นายณัฐวุฒิ กระเทศ เลขที่ 2

นายพัลลภ อินทร์น้อย เลขที่ 5

นายวุฒิชัย มยุเรศ เลขที่ 6

นายธนโชติ ศรีสุขศุภพิพัฒน์

จาการศึกษาค้นคว้า ยาหอมหมอวิรัตพอว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมาแต่ช้านานตั้งแต่อดีต และสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน พบว่า ยาหอมหมอวิรัต เป็นยารักษาโรค เพื่อค้าขายในสมัยก่อน และเป็นยาที่รักษาโรคต่างๆ ได้ ผู้คนสมัยก่อน ชอบใช้ยาหอมในการรักษาโรค เพราะยาหอมรักษา ได้หลายโรค  กลุ่มของข้าพเจ้า จึงนำเรื่องราวความเป็นมาของยาหอมหมอวิรัตของจังหวัดอุทัยธานีมาเผลแพร่ในเว็บไซต์ เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้ให้อยู่กับคนไทยสืบไป

สมาชิกในกลุ่ม

1.นายธนโชติ ศรีสุขศุภพิพัฒน์  เลขที่ 3

2.นายวรกาน คุ้มสุวรรณ  เลขที่4

3.นายพุทธพร ชนัทนาวา  เลขที่9

4.นายธนัชฑา อินทร์มั่น  เลขที่10

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4

ณัฐชิตา เอี่ยมสำอางค์

         เสื่อกกบ้านท่าซุง

จากการศึกษาค้นคว้า "เสื่อกกบ้านท่าซุง" พบว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมาแต่ช้านานตั้งแต่อดีต และสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน พบว่าการทอเสื่อกกเป็นการนำทรัพยากรที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และสามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตประจำวัน อีกทั้งยังเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกทางหนึ่ง กลุ่มของข้าพเจ้าจึงนำเรื่องราวความเป็นมาเสื่อกกบ้านท่าซุงของจังหวัดอุทัยธานีมาเผยแพร่ในเว็บไซต์ เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

สมาชิก

1.นางสาวจุฑามาศ นุ่นงาม เลขที่ 15

2.นางสาวณัฐชิตา เอี่ยมสำอางค์ เลขที่ 34

3.นางสาววริศรา วิเลปะนะ เลขที่ 38

นางสาวกรกมล ยอดนาค

จากการค้นคว้า ''ก๋วยเตี๋ยวไก่ตรอกโรงยา" พบว่าเป็นภูทิปัญญาท้องถิ่นที่มีมาแต่ช้านาน ตั้งแต่อดีตและสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันพบว่าก๋วยเตี๋ยวไก่ตรอกโรงยาเป็นก่วยเตี๋ยวที่มีรสชาติดี และมีคุณภาพ สะอาดถูกหลักอนามัย มีประโยชน์เป็นอาหารที่ครบ 5 หมู่ การเดินทางก็สะดวก ไปมาง่ายเพราะอยู่ในตัวเมืองคือที่ตรอกโรงยา แล้วก๋วยเตี๋ยวไก่ตรอกโรงยาเป็นวิถีชีวิตของ คนจีนซึ่งอยู่ในจังหวัดอุทัยธานีนั้นมีคนจีนอาศัยอยู่มากอีกอย่างหนึ่งผู้คนในจังหวัดอุทัยธานี ยังนิยมรับประทานก๋วยเตี๋ยวจึงทำให้ก๋วยเตี๋ยวไก่ตรอกโรงยาเป็นที่นิยมชมชอบกันมาก กลุ่มของข้าพเจ้าจึงนำก๋วยเตี๋ยวไก่ตรอกโรงยามาเผยแพรในเว็บไซต์เพื่อเป็นการอนุรักษ์ และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้ให้อยู่คู่กับจังหวัดอุทัยธานีต่อไป

 

ก๋วยเตี๋ยวไก่ตรอกโรงยา

สมาชิก

1.นางสาวกมลา ประพันธ์ เลขที่ 12

2.นางสาวกรกมล ยอดนาค เลขที่ 13

3.นางสาวประภัสสร ศิริบูรณ์ เลขที่ 23

4.นางสาวพรสุดา เทียบพร้อม เลขที่ 26

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4

จากการศึกษาค้นคว้า "ปุ๋กาแฟสด" บว่ากาแฟสดเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมของคนไทยมาตั้งแต่อดีตเป็นอย่างมาก
และวิธีการทำก็ง่ายอีกทั้งยังมีสรรพคุณที่เป็นคุณประโยชน์อีกด้วย
กลุ่มของข้าพเจ้าจึงนำเรื่องราวความเป็นมาและวิธีการทำกาแฟสดของร้านปุ๋มกาแฟสด เนื่องจากร้านนี้เป็นร้านที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับจากคนในท้องถิ่นว่าเป็นร้านที่ดี
เพื่อเป็นการสืบสานและอนุรักษ์ไม่ให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำกาแฟสดสูญหายไป

ปุ๋มกาแฟสด

สมาชิกกลุ่ม ม.6/4

นางสาวทิพากร ศรีพุฒ เลขที่ 19

นางสาวศศิธร กลัดกนก เลขที่ 29

 

นางสาวอัญชนา สุขเกษม เลขที่ 42

นางสาวกัญญาภัค กองแก้ว

การทำนามีจุดเด่นเเสดงถึงอาชีพหลักของคนไทยมีขั้นตอนวิธีการ

ทำที่ยุ่งยากทำสภาพเเวดล้อมที่เเสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ซึ่งถือได้

ว่าเป็นจุดเด่นของอาชีพการท่ำนาไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนตั้งเเต่เตรียมพื้นที่

ปลูกข้าวการหว่านเเละการดูเเลรักษารวมไปถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่

ผ่านขั้นตอนต่างจนได้มาเป็นพื้นนา

การทำนา

สามชิกกลุ่ม

1 นางสาวจีนภา   อยู่รอง   ม 6/4   เลขที่   14

2   นางสาวกัญญาภัค   กองแก้ว   ม 6/4   เลขที่   27

3   นางสาวกัญญารัตน์   ต่อมภักดิ์   ม   6/4   เลขที่   32

4  นางสาวสมหญิง   เหล่าคุ้ม   ม   6/4   เลขที่  39

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท