592. จากรัตติกาลสู่ "อนันตกาล"


โลกเรามีเพียงสิ่งที่เราเห็นจริงๆเหรอ..  นี่คือสิ่งที่คุณจะรู้สึกฟินหน่อย เมื่อไปดูหนังเรื่อง นักรบครึ่งเทวดา หนังสร้างจากหนังสือดังที่ผมรอมานานว่าเมื่อไหร่จะเอามาทำหนังซะที แล้วก็สมหวังได้ไปดูมาเมื่อวาน  ผมว่าตัวหนังเองพยายามอย่างดีที่จะสร้างจุดเด่นให้ต่างจากหนัง Twilight  ...ซึ่งก็ไม่ผิดหวังต่างกันจริงครับ.. ตัวเรื่องเริ่มจากการที่นางเอกอยู่ดีๆ ก็เหมือนได้เห็นอะไรแปลก.. ที่ตอนแรกคิดว่าคนอื่นเห็นด้วย ไปๆมาๆกลับพบเหตุการณ์ประหลาดอยู่คนเดียว  

                                                                                              

 

 และเมื่อเริ่มรู้ตัวก็เจอภัยคุกคามที่น่าสะพึงกลัว แม่ถูกทำร้ายและลักพาตัวโดยกลุ่มคนลึกลับ และในขณะเดียวกันก็มีคนลึกลับอีกกลุ่มหนึ่งได้เข้ามาช่วยเหลือ จึงได้เริ่มรู้ว่าตนเองมีพลังอำนาจพิเศษ.. เป็นคนครึ่งเทพ ที่ต้องคอยปกป้องถ้วยศักดิ์สิทธิ์ ที่หากคนเลวได้ไปครอบครองโลกอาจวิบัติได้.. และคนที่ครอบครองเจ้าถ้วยนี่ คนล่าสุดคือคุณแม่ของเธอนั่นเอง  .. แต่ต่อมาก็พบว่าศัตรูได้แม่เธอไปจริง โดยคิดว่าได้ถ้วยไปด้วย จริงๆ ไม่ใช่ แม่เธอซ่อนถ้วยไว้ที่แห่งหนึ่ง ที่แม้นางเอกที่เป็นลูกสาวก็ไม่รู้ ไม่มีใครรู้จริงๆ ตัวนางเอกเลยต้องทั้งหนีจากการไล่ล่า  ทั้งต้องค้นหาถ้วยศักดิ์สิทธ์ ระหว่างทางก็เจออุปสรรค และปริศนามากมาย  ที่สุดก็สามารถค้นพบถ้วยศักดิ์สิทธิ์ และช่วยแม่เธอได้ แถมเจอรักใหม่ กับคนครึ่งเทพด้วยกัน...  หนังน่าตื่นเต้นมาก

                                                                         

 ผมประทับใจเกือบทุกฉาก ดีมากๆ แต่ที่ฟินมาก.. ในมุมของการพัฒนาองค์กร (OD) ที่ผมถนัดนั้น กลับเป็นตอนสั้นๆ ตอนหนึ่ง คือตอนที่พระเอกประมาณว่าอินเลิฟกับนางเอก แต่ไม่แน่ใจว่าเธอฟินด้วยหรือไม่.. นั่งเล่นเปียนโน ... ผมก็เล็งแล้ว มันจะคล้าย Twilight ไปไหม..ก็ไม่มากนัก คนละอารมณ์ครับ ... แต่สิ่งที่พระเอกนักรบครึ่งเทวดาพูดสิ นี่น่าสนใจครับ.. คือพระเอกบอกนางเอกว่า รู้ไหมนี่คือเพลงของบาร์ค คีตกวีชื่อก้องของโลก เพลงของบาร์ค สร้างมาด้วยจังหวะ ที่เหมือนเป็นคณิตศาสตร์ มีความแปลกในตัวไม่เหมือนใคร โดยสิ่งที่มนุษย์ทั่วไปไม่มีวันรู้ก็คือ.. จังหวะในเพลง จะสร้างความร้อนรนให้พวกปีศาจ จนถึงกับทนไม่ได้ ไม่ว่าจะซ่อนตัวอยู่รูปใด ก็จะเผยตัวออกมาให้เห็น..  แล้วพระเอกก็บอกว่า  “กลิ่นกะเทียมอาจจางหาย (ผีฝรั่งกลัวกะเทียม-ผู้เขียน)  หากแต่เสียงเพลงไม่มีวันตาย”...  นางเอกตกใจ ถึงกับบอกว่า “ที่แท้บาร์คเองก็เป็นนักรบครึ่งเทวดาเองหรือนี่”...

 สุดยอดครับ เรื่องนี้ บาร์คตายไปแล้ว แต่ในขณะมีชีวิตอยู่ได้สร้างเสียงเพลง ที่นอกจากไพเราะแล้ว ยังทำให้ปีศาจทนไม่ได้ ต้องเผยตัวออกมา ทำให้ปราบได้ง่ายๆ”   ซึ่งตอนหลังพระเอกก็ได้เล่นเพลงนี้ แล้วทำให้ปีศาจเผยตัวออกมาได้จริงๆ

 ประเด็นที่ผมอยากเชื่อมโยงถึง OD หรือศาสตร์ของการพัฒนาองค์กรคือ.. การทำ OD ที่เราทำอยู่ เรามีวัตถุประสงค์คือ เราต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลง.. แน่นอนครับ ก็เหมือนกับที่คุณเจอสิ่งดีๆ ทั้งหลายในชีวิต คุณจะอินมันอยู่ช่วงหนึ่ง พอเวลาผ่านไปมันก็กลับมาเหมือนเดิม ชาว OD ก็คิดกันครับ. ว่าทำอย่างไร สิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นจะคงอยู่ต่อไป..  ไม่ว่าคุณจะพัฒนาองค์กรด้วยเครื่องมือใด Whole Brain Litercy, Action Research, Dailogue, Appreciative Inquiry, Coaching .. จิตตปัญญาศึกษา.. (Contemplative Science) .. ตอนจัด Workshop ก็มันส์สุดเหวี่ยง ตื่นเต้นกันดีแหละครับ. พอเวลาผ่านไป ทุกอย่างก็ถูกลืมลงไปโดยง่าย.. ทำอย่างไรครับ..   ขั้นตอนนี้คุณอาจไม่ค่อยได้ยินนัก เราเรียกว่าขั้นตอน Institutionalisation  คือการตั้งคำถามว่าทำอย่างไร การเปลี่ยนแปลงจะยังคงเติบโตต่อไป.. องค์กรพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ โดย “ไม่มีคุณ” หรือ OD Consultant  อยู่ตรงนั้น...

 เรียกว่าทำอย่างไร เมื่อคุณไม่อยู่ อะไรบางอย่างที่คุณทิ้งไว้ ยังทำงานต่อไป เหมือนบาร์ค ที่ตายไปก็ยังทิ้งบทเพลงอมตะไว้ ที่ไม่ว่ากี่ร้อยกี่พันปี ถ้าบังเอิญบ้านคุณไม่มีกะเทียมแต่มีเปียนโนตั้งอยู่ คุณมีสิทธิรอดแน่ ยิ่งสมัยนี้มี Iphone อัดเพลงบาร์คเข้าไปก็ยังพอไหว ..

แล้วทำอย่างไรล่ะ.. วิธีการด้าน Appreciaitve Inquiry (AI) ที่ผมทำและถนัดที่สุดในบรรดาเครื่องมือ OD ทั้งหลายในจักรวาล.. AI เน้นการตั้งคำถามดีๆ ซึ่งจะทำให้ค้นพบสิ่งดีๆ ครับ.. โจทย์นี้ยากหน่อยต้องตีความนิดนึง. ง่ายๆ ลองนึกถึงประสบการณ์ที่ดีที่สุดของคุณเกี่ยวกับองค์กร จะเป็นองค์กรของคุณก็ได้ ของคนอื่นก็ได้.. จากนั้นตั้งคำถามว่าคุณชอบ หรือฟินในองค์กรนั้นตรงไหนที่สุด และเน้นนำครับฟินขนาดเอาแนวคิดเขามาทำต่อ โดยเขาไม่ต้องจ้าง ไม่ต้องมากำหนดเงื่อนไขอะไรกับคุณ แต่คุณเต็มใจทำตามอะไรบางอย่าง ที่เป็นเรื่องดีๆ ของเขา.. 

 สำหรับผม ผมนึกถึง AI Common ของศาสตราจารย์เดวิด คู๊ปเปอร์ไรเดอร์เจ้าของทฤษฎี AI ครับ.. ที่แจกทุกอย่างรวบรวมทุกอย่างแล้วแจกความรู้เรื่อง AI ฟรีครับ... นี่ไงครับ เรียกว่ายากดีมีจนอย่างไรคุณมีสิทธิได้เข้าถึงความรู้ด้าน AI ได้อย่างเท่าเทียมกัน.. สุดยอดไหมครับ..

                             

จะว่าไปดูๆ ไปแล้วผมว่าอาจารย์เดวิด ที่ท่านเป็นอาจารย์ของผม ท่านอาจเป็นนักรบครึ่งเทวดาก็ได้ เพราะอะไรครับ.. ท่านไม่ต้องอยู่เมืองไหนครับ ท่านก็อยู่อเมริกาของท่าน แต่ท่านกลายเป็นปูชนียะของโลก คนเอา AI ของท่านไปเผยแพร่ ผมเองเพิ่มเคยเรียนกับท่านเมื่อปีก่อน.. แต่ก็ตั้งเครือข่ายเผยแพร่ AI โดยที่ท่านไม่ต้องจ้างผม... ต่อมาผม ก็เริ่มตรึกนึกว่าทำอย่างไร เมื่อผมไม่อยู่ AI จะยังคงโตต่อไปแบบไม่หยุดยั้ง.. ตอนนั้นคิดก่อนจบปริญญาเอก (อ้อเรื่องนี้อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ของผมสั่งให้เขียนก่อนจบเล่มครับ) ...ที่สุดผมก็กลับไปมองหาต้นแบบชีวิต OD ผมคือซึ่งก็คือ อาจารย์เดวิด และจากองค์กรอีกสองสามแห่ง เช่น Open Source Ecology (เด่นเรื่องการสานคนมาสร้างเทคโนโลยีราคาถูก แล้วยกให้ชาวโลก)  และ Barefoot College (เด่นเรื่องการสร้างคน ทุกระดับวรรณะ เช่นเอาแม่บ้านไม่รู้หนังสือมาฝึกเป็น Solar Engineer... ที่ผมอินสไปร์มาก) 

                                    

 ที่สุดผมถอดโมเดลออกมา กลายเป็นพันธกิจขององค์กร AI Thailand ของผม นั่นคือ สร้าง สาน สลัก สละ  คือผมเน้นสี่ข้อครับ สร้างคนให้เก่ง ทำ AI ให้เป็น สานคือประสาน แนะนำให้คนเก่งๆ มาเจอกันแล้วสร้างสรรค์อะไรดีๆ ร่วมกัน สลัก แปลว่าจะพยายามบุกเบิก AI ให้ไปใช้ในแวดวงต่างๆ สุดท้าย คือสละ หรือให้ความรู้เป็นทาน ... เอาแค่ประการหลังเรื่อง “สละ”  เขียน Blog แบบไม่ปิดบังเลย ปีละ 100 ตอน... (ตอนนี้ตอนที่ 592 กำลังจะครบ 600 ตอนตามความตั้งใจในปีนี้) งานเขียนพวกนี้แหละทำงานแทนผม เรียกว่านอนหลับสนิทอยู่บ้าน ก็สอนคนได้ เอาเป็นว่าใครบางคน ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของโลก นอนไม่หลับ ตื่นขึ้นมาตีสาม ก็สามารถค้นหาบทความของผมเจอจาก Google และเรียนรู้เรื่อง AI ไปนี่ก็ทำได้.  นี่ไงครับ ผมไม่อยู่ตรงนั้นเลย AI ผมก็ยังไปได้..  

 

 “สลัก” หรือ การบุกเบิกเอา AI ไปใช้ในด้านต่างๆ นี่ก็ช่วยได้มากๆ เช่นล่าสุดไม่กี่วันนี้ผมก็อาจารย์โอ๋ อาจารย์จาก Organization Development Instituite ของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เราได้เริ่มตั้งเครือข่าย Positive Deviance Practitioner ซึ่งก็คล้าย AI .. และอาจารย์โอ๋ก็กำลังทำปริญญาเอกเรื่องนี้อยู่ สักพักเมื่ออาจารย์โอ๋จบปริญญาเอก.. AI ในมุม Positive Deviance ก็จะเผยแพร่ไปอีก โดยไม่ต้องมีผมอยู่ตรงนั้นอีกต่อไป.. ผมเชื่อว่าโอ๋จะไปสร้างคนรุ่นใหม่อีกนับไม่ถ้วนให้ทำ AI ในแบบ Positive Deviance เป็น

                              

สรุปคือเราเริ่มจากค้นหาความประทับใจต่อองค์กร อาจจะองค์กรเดียว หรือหลายองค์กรก็ได้.. แล้วเอามาทำเป็น Vision Mission ของคุณไปเลยก็ได้ นี่แหละครับอยู่ยาว .. Vision Mission ที่ง่ายๆ สร้าง สาน สลัก สละ มันแปลงเป็น Action ได้ง่ายๆ ครับ เพราะมันมาจากแรงบันดาลใจ.. ถามถึงเรื่อง KPI ได้ครับ.. ใส่ไปทีหลังก็ได้.. ผมเองมีเป้าหมาย “สร้าง” คนทำ AI ในระดับปริญญาเอก 40 คนใน 10  ปี.. มาถึงวันนี้ 10 แล้วครับ นี่ในระดับการสร้างการเปลี่ยนแปลงในมิติที่ใหญ่คือหน่อย.. แต่ในเรื่องเล็กๆ ล่ะ.. ก็เช่นกัน ตั้งคำถามแบบเดียวกัน ไม่ใช่กับคุณคนเดียว ลองหาคนที่คุณพบว่าเขาทำตามอะไร ทำตามใคร อย่างเต็มใจ โดยที่คนเริ่มต้นไม่ต้องมาบังคับเลย... ผมนึกถึงเหตุการณ์ล่าสุด ที่ผมไปบวชที่วัดป่าธรรมอุทยานขอนแก่น มีคนไปบวชเก้าคน.. แต่ละคนมาจากที่ต่างๆกัน เกินครึ่งมาจากที่อื่นเช่นกรุงเทพ มีท่านหนึ่งมาจากยะลา เอาไปว่าหลวงพ่อไม่เคยเทศน์ที่นั่น แล้วมาได้ไง เลยลองถาม.. ทุกท่านพูดเหมือนกันว่า เคยดูคลิ๊ปวิดีโอของท่านอาจารย์ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ ที่ท่านเป็นศิษย์วัดหลวงพ่อกล้วย (วัดป่าธรรมอุทยาน) ... ท่านพูดถึงวัดนี้บ่อยๆ... และทุกคนก็ตามรอยท่านมา..  เห็นไหมครับ สรุปแล้วท่านดร.วรภัทร์ ได้ทิ้งคลิ๊ปธรรมะไว้ให้ทำงานแทนท่านครับ ...นี่คือการทำ Institutionalization อย่างหนึ่ง.. 

                                                                           

 มาไกล้ตัวท่านคณบดี MBA ตอนสมัยผมจบเอกใหม่ๆ ท่านก็บอกว่า.. สมันคุณจบโท ผมไม่เรียกร้องอะไร เรื่องวิจัยจากคุณหรอก รู้ว่ายังไงก็งง.. ผมส่งคุณเรียนเอก.. จบเอกแล้วเดี๋ยวคุณก็ทำวิจัยเป็น... ตอนนี้ท่านเบาแรงไปเลย.. ผมจบเอกแล้วแบ่งเบาท่านได้มาก.. คุณวิทยานิพนธ์ได้ ทำอะไรแทนได้เพียบ นี่ไงท่านคณบดี MBA มข.ทำ Institutionalization เข้าให้แล้ว... 

 ผมแนะนำครับ ลองจัด Workshop แล้วตั้งคำถามนี้ดู คุณจะได้วิธีการดีๆ จากคนจำนวนมาก มาพัฒนาการสร้าง Institutionalization  ... ใครจะไปรู้ คุณอาจเจอเข้ากับนักรบครึ่งเทวดาอย่างบาร์คโดยบังเอิญ. และแน่นอน คุณจะไม่ต้องกลัวปีศาจอีกต่อไป.. เพราะคุณจะมีเครื่องมือดูแลโลกของคุณ สิ่งที่คุณสร้างขึ้นมา โดยเป็นสิ่งดีๆนั้น เปรียบได้กับคุณได้จุดคบเพลิง ส่องสว่างไล่ความมืด แต่ถ้าไม่ทำอะไรไม่จุดต่อก็ดับ แต่หากคุณไม่สร้างกลไก สร้างอะไรบางอย่าง คุณจะต้องไปจุดเองทุกครั้ง ซึ่งยากนักที่จะรักษาความต่อเนื่องได้ แต่หากคุณหยุดคิด มอง ตั้งคำถาม คุณอาจเจอคำตอบที่จะช่วยให้คบเพลิง ถูกจุดต่อ และถูกส่งต่อกันไปเรื่อยๆ และไปที่ไหนก็ได้ มันจะส่องสว่าง ไม่มีวันดับ แม้ไม่มีคุณอยู่ตรงนั้น..

 

วันนี้พอเท่านี้ครับ  เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูนะครับ

Reference: 

The first picture retrieved Sept 4, 2013 from http://www.movieweb.com/news/the-mortal-instruments-city-of-bones-character-posters

The second picture retrieved Sept 4, 2013 from http://www.themortalinstrumentsinmovies.com/2013/05/uk-poster-of-mortal-instruments-city-of.html 

The third picture retrieved Sept 4, 2013 from http://appreciativeinquiry.case.edu/

The fourth picture retrieved Sept 4, 2013 from http://www.thepositivespirit.org/bunker-roy-and-the-work-of-the-barefoot-college-2/

The fifth picture retrieved Sept 4, 2013 from http://www.418qe.com/positive-deviance

The sixth picture retrieved Sept 4, 2013 from http://www.manager.co.th/mgrWeekly/ViewNews.aspx?NewsID=9530000044672  

หมายเลขบันทึก: 547370เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2013 08:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กันยายน 2013 21:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ่านบทความอาจารย์เป็นประจำ  และนำเรื่องดีดีไปใช้พัฒนาครูของโรงเรียนบ่อยๆค่ะ

 

สุดยอดค่ะ อาจารย์ 

อ่านเรื่องราวยาวๆ ได้จนจบค่ะ ปกติจะแว๊ปๆ ค่ะ เห็นทีต้องไปดูแล้วล่ะค่ะ Chosen

ท่านถอดบทเรียนจากหนังได้อย่างน่าสนใจค่ะ ความสามารถพิเศษคือแรงจูงใจที่ได้มา โดยมิต้องสั่ง มิต้องบังคับ แต่เต็มใจทำ

เพราะได้เล็งเห็นถึงประโยชน์และคุณค่าค่ะ

 

ขอบคุณนะคะ   มิได้เป็นมืออาชีพในองค์กรคนอื่นนานแล้ว  แต่อยากทำให้องค์กรเล็กๆ ของตัวเองสมบูรณ์ขึ้นค่ะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท