ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ร้อยเอ็ด
ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ด

การจัดการไข่ไหมภายหลังการวางไข่


การจัดการไข่ไหม

          ไข่ไหมเป็นหนึ่งในปัจจัยพื้นฐานที่สามารถบ่งบอกความสำเร็จในการเลี้ยงไหมของเกษตรกร ทุกขั้นตอนของการผลิตไข่ไหมจึงต้องให้ความสำคัญและเอาใจใส่ดูแล เพื่อให้ได้ไข่ไหมที่ตรงตามพันธุ์ มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และปราศจากโรค อันจะเป็นหลักประกันให้เกษตรกรได้รับผลผลิตรังไหมที่มีปริมาณและคุณภาพสูง

การจัดการไข่ไหมภายหลังการวางไข่

ความรู้ที่ 1 การจัดการไข่ไหมภายหลังการวางไข่

1.   การรวบรวมแม่ผีเสื้อและไข่ไหม

           เมื่อปล่อยให้แม่ผีเสื้อวางไข่ไหมแล้ว เช้าวันต่อมาเวลาประมาณ 09.00 น. ต้องเก็บรวบรวมแม่ผีเสื้อออกจากกระดาษวางไข่ไหมหรือวัสดุที่แม่ผีเสื้อวางไข่ โดยรวบรวมแม่ผีเสื้อที่มีคู่ผสมพันธุ์เดียวกันไว้ด้วยกัน บรรจุลงในถุงกระดาษ เขียนชื่อคู่ผสมและวันที่วางไข่ไหมให้เหมือนกับที่เขียนไว้บนกระดาษวางไข่ไหมหรือวัสดุที่แม่ผีเสื้อวางไข่ พร้อมเขียนหมายเลขแผ่นไข่ไหม (ถ้ามีโดยเฉพาะการวางไข่ไหมบนแผ่นกระดาษ) ถ้าผสมผีเสื้อจำนวนมาก อาจใช้วิธีการสุ่มแม่ผีเสื้อโดยสุ่มตามเกณฑ์ที่กำหนดในแต่ละวัน และแต่ละประเภทของการวางไข่ เพื่อนำไปอบแห้งสำหรับตรวจหาโรคเพบรินต่อไป

 

           ในส่วนของแผ่นไข่ไหมหรือวัสดุที่แม่ผีเสื้อวางไข่ ให้เก็บรวบรวมจำแนกตามพันธุ์ ทั้งนี้แนะนำให้นำไข่ไหมทั้งหมดไปจุ่มสารละลายฟอร์มาลีนความเข้มข้น 3% ประมาณ 5 วินาที เพื่อฆ่าเชื้อที่อาจติดมาบนแผ่นกระดาษหรือเปลือกไข่ไหม จากนั้นนำไปผึ่งในที่ร่มให้แห้ง แล้วจึงนำไปดำเนินการตามขั้นตอนของแต่ละกระบวนการต่อไป สำหรับไข่ไหมที่รวบรวมได้ในแต่ละวัน ให้นำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เพื่อให้การพัฒนาของตัวอ่อนสมบูรณ์ ส่วนระยะเวลาที่เก็บไข่ไหมขึ้นอยู่กับวิธีการเก็บรักษาและใช้ประโยชน์จากไข่ไหมแต่ละชนิด 

คำสำคัญ (Tags): #การวางไข่
หมายเลขบันทึก: 547369เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2013 08:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กันยายน 2013 08:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท