การปฏิเสธในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง!


      เมื่อวานผู้เขียนไปงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ Thailand Research Expo ๒๐๑๓” ซึ่งในงานดังกล่าวก็จะมีการออกบูธจัดนิทรรศการทางด้านผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์จากมหาวิทยาลัยรวมถึงหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศ
      ผู้เขียนเองก็ไปเที่ยวเยี่ยมชมหลายบูธ ซึ่งแต่ละบูธก็จะมีเอกสารหรือหนังสือไว้คอยแจกผู้เข้าเยี่ยมชม... ที่บูธของ ปปช. ผู้เขียนได้หนังสือมาเล่มหนึ๋งชื่อ “นิทานคุณธรรม” ซึ่งแปลและเรียบเรียงโดย ศ.ดร.เขียน ธีระวิทย์ และ นิทัศน์ ธีระวิทย์...
      ในหนังสือเล่มดังกล่าวก็จะแฝงคุณธรรมด้านต่าง ๆ ไว้ ๙ ด้าน คือ ความเพียร, กิริยามารยาท, ความซื่อสัตย์, เชาว์และไหวพริบ, การพึ่งตนเอง ใฝ่รู้ ฟังคำแนะนำ, ความโลภความพอเพียง, ความเสียสละและความเที่ยงธรรม, ความสามัคคีและความแตกแยก และ ความกตัญญู รวมทั้งหมด ๖๐ เรื่อง...

                                  


      ผู้เขียนขออนุญาตนำเรื่องราวของ “ความซื่อสัตย์” มาถ่ายทอดหนึ่งเรื่อง...ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับข้าราชการผู้ซื่อสัตย์ ชื่อ “หยางเจิ้นปฏิเสธทอง” เรื่องมีอยู่ว่า...
      หยางเจิ้นเป็นข้าราชการมือสะอาดที่มีชื่อเสียงแห่งราชวงศ์ฮั่น แม้ท่านจะมีฐานะเป็นข้าราชการชั้นสูง แต่ตัวท่านและครอบครัวกลับใช้ชีวิตอย่างประหยัด ปรกติไม่กินปลาและเนื้อ ไม่ขึ้นยานพาหนะ
      ญาติมิตรแนะนำให้ท่านซื้อที่ดินไว้บ้าง สร้างบ้านไว้บ้าง เหลือไว้ให้แก่ลูกหลานและคนรุ่นหลัง...แต่ท่านส่ายหัวพร้อมกับพูดว่า “ให้คนรุ่นหลังเรียกลูกหลานของฉันว่าเป็นทายาทของข้าราชการมือสะอาด...จะไม่มีความหมายที่ดีกว่าให้ทรัพย์สมบัติแก่พวกเขาหรอกหรือ?”


       ครั้งหนึ่ง...หยางเจิ้นถูกย้ายไปเป็นผู้ว่าการมณฑลซานตง เดินทางผ่านอำเภอเมืองที่หว่างมี่ (เพื่อนรัก) เป็นข้าราชการอยู่ที่นั่น
       กลางดึก หยางเจิ้นกำลังจะเข้านอน หวางมี่หอบของเดินเข้ามา พูดต่อท่านอย่างเคารพนบนอบว่า “ถ้าไม่ได้ท่านส่งเสริม วันนี้ข้าพเจ้าเป็นข้าราชการระดับอำเภอนี้ไม่ได้หรอก ทองสิบช่างนี้เป็นน้ำเล็กน้อยจากข้าพเจ้า กรุณารับไว้เถิด”
       ได้ยินดังนั้นแล้ว หยางเจิ้นเปลี่ยนสีหน้า พูดอย่างไม่พอใจว่า “ข้าฯ ส่งเสริมเจ้าเพราะรู้ว่าเจ้าเป็นเป็นข้าราชการที่ดีได้คนหนึ่ง แต่ทำไมเจ้าไม่เข้าใจข้าฯ”
        หวางมี่พูดขึ้ว่า “ตอนนี้เป็นเวลาดึก ไร้ผู้คน ท่านรับทองเอาไว้ก็ไม่มีใครเห็น”
        หยางเจิ้นลุกขึ้นพรวดพร้อมกับกล่าวด้วยความโกรธ “ฟ้ารู้...ดินรู้...ข้าฯรู้... เจ้ารู้...แล้วทำไมเจ้าจึงกล่าว่าไม่มีใครรู้?”
        หวางมี่ละอายใจอย่างมาก จึงถอยออกไป
        หยางเจิ้นมีความประพฤติดีซื่อตรง เป็นข้าราชการมือสะอาด ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากประชาชน เรื่องเล่าของท่านยังสืบทอดกันมาจนถึงทุกวันนี้...
     

         เมื่อหันมองดูในสังคม (บางประเทศ) ภูมิคุ้มกันด้านความซื่อสัตย์เสื่อมถอยลงจริง ๆ...

 

เครดิตภาพ : https://sites.google.com/site/shsshryh/download

หมายเลขบันทึก: 546777เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2013 14:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 สิงหาคม 2013 14:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

"ความซื่อสัตย์" ถือเป็นคุณธรรมที่พึงมีในสังคมไทยมาก ๆ ครับ ;)...

เห็นด้วยครับ

เมื่อหันมองดูในสังคม (บางประเทศ) ภูมิคุ้มกันด้านความซื่อสัตย์เสื่อมถอยลงจริง ๆ...

 

ขอบคุณครับ เป็นข้อคิดที่มีประโยชน์ครับ

สาระอัดแน่นมากเลย ครับ อาจารย์

เป็นกำลังใจให้ในบันทึกต่อไปนะครับ

ขอบคุณ : อ.Waswat Deemarn, คุณพ. แจ่มจำรัส, คุณเขียวมรกต และคุณแสงแห่งความดี มากครับ...สำหรับการมาเยี่ยมเยือนและให้กำลังใจ...:)

ขอบคุณมากครับ : สำหรับกำลังใจจากทุกท่านที่มอบผ่านดอกไม้...:)

ซื่อสัตย์ บางคน สะกด ไม่กูก ครับ น่าสงสาร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท