"SOAR" อีกหนึ่งทางเลือก...วิเคราะห์องค์กร


        เมื่อวันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมา ได้รับเกียรติจาก มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เชิญให้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อกำหนดกลยุทธ์ความเป็นเลิศของ สถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน (Aviation Personnel Development Institute: APDI)

          สถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน  มีสถานะเทียบเท่าคณะ  คณะหนึ่งของ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เริ่มเปิดการเรียนการสอนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549  จนถึงปัจจุบันผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีไปแล้ว ประมาณ 650 คน และมีผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้น ไม่น้อยกว่า 200 คน ข้อมูลจากการนำเสนอของ อาจารย์ ดร.เมธา เกตุแก้ว ผู้อำนวยการสถาบันฯ ที่ท่าน นำเสนอ แนะนำสถาบันได้อย่างกระชับ ชัดเจน ครอบคลุม อย่างยอดเยี่ยมด้วยเหตุที่ผู้เขียน ได้รับเชิญเป็นอาจารย์พิเศษ ของสถาบันแห่งนี้ มาตั้งแต่เปิดการเรียนการสอน เมื่อปี พ.ศ. 2549 จวบจนปัจจุบัน ทำการสอนนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ชื่อวิชา  Language, Thoughts and Communication    และชั้นปีที่ 4 วิชา Techniques for International Negotiation จึงได้มีโอกาสเข้าร่วมการสัมมนาครั้งนี้ ในฐานะ Stakeholders และรวมทั้งมีคณาจารย์ประจำ ผู้ประกอบการจากสายการบิน ต่างๆ รวมทั้งยักษ์ใหญ่ การบินไทย ที่เป็นทีมคณาจารย์ เกินกว่า 80% รวมทั้ง  นิสิตปัจจุบัน ศิษย์เก่า ผู้บริหาร บุคลากร เจ้าหน้าที่ และผู้ใช้บัณฑิต เข้าร่วมประมาณ ไม่น้อยกว่า 40 คน

          บรรยากาศการประชุมการ เป็นไปโดยกระชับฉับไว เสร็จสับ ภายใน หนึ่งวัน ด้วยแนวทางการทำ SOAR  (ซอร์) ภายใต้ Them ของการสัมมนาในครั้งนี้ คือ “ SOAR into the SKY ” (ทยานสู่ท้องฟ้า)  พระเอก สำคัญของงานที่จะมาถ่ายทอด บอกเล่ากล่าวขาน ให้ฟังคือ กระบวนการ SOAR  ที่นำมาแทนที่ SWOT Analysis ในการวิเคราะห์องค์กร แบบเดิมที่เราเคยเรียนกันมาเป็น Classic ก็ว่าได้

          SOAR   ประกอบด้วย  S = Strengths \ O = Opportunity \ A = Aspirations และ R = Results   SOAR แตกต่างจาก  SWOT  หลายประการ  อาทิ  มุ่งเน้นการปฏิบัติ / เน้นจุดแข็ง และ โอกาส / เน้นความเป็นไปได้ /   เน้นมุ่งหานวัตกรรมใหม่ในองค์กรธุรกิจ / เน้นบริการที่แตกต่าง /เน้นการทำแผนพร้อมลงมือปฏิบัติ / เน้นการสร้างขวัญ กำลังใจ  ฯลฯ

          ผู้เขียน ได้มีโอกาส เข้ากลุ่มและนำเสนอความคิดเห็นไปพอสมควร โดยเฉพาะจุดแข็ง ของสถาบัน เช่น คุณสมบัติและคุณภาพของคณาจารย์ / สิ่งอำนวยความสะดวก / ระบบ HR  / หลักสูตร / .......  สำหรับ โอกาส ก็ถือว่า สถาบัน APDI  มีโอกาส เติบโตเป็นสถาบัน ในการพัฒนาบุคลากรด้านการบินระดับชาติ ผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพเข้าสู่งานธุรกิจการบินได้อย่างสบาย  ด้วยเหตุที่ ผู้บริหารระดับสูงให้ความสำคัญ ดึงมาเป็นจุดเด่น จุดขาย และกล้าลงทุน ทั้งการจัดการเรียนการสอน การสนับสนุนงานวิจัย การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น การให้บริการทางวิชาการ ตลอดรวมทั้งการสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับองค์กรอื่นๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน

         จุดโดดเด่น ที่เป็นอัตลักษณ์ ที่น่าภาคภูมิใจของสถาบัน คือ เมื่อเข้าไปมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต (วิทยาเขตร่มเกล้า) จะพบ เครื่องบินลำใหญ่จอดเด่นเป็นสง่า อยู่ด้านขวามือ ซึ่ง มหาวิทาลัยพัฒนาเป็น เครื่องบินจำลอง สำหรับการฝึกอบรม นักศึกษา  ให้อยู่ในบรรยากาศการทำงานที่เสมือนจริงได้อย่างน่าขื่นชม  อีกทั้ง Uniform ที่สถาบัน APDI   ออกแบบ สำหรับนักศึกษาช่าง เหมาะสม สง่างาม เรียกได้ว่า  “ลูกเรือ” เที่ยวบินใด  ขาดคน / ก็สามารถเรียกลูกศิษย์ของ APDI  ไปขึ้นบินแทนได้เลย ในเที่ยวบินนั้น....

        ดร.เมษา  เกตุแก้ว 

ผู้อำนวยการสถาบันฯ กล่าวต้อนรับ และ บรรยากาศ ในงาน

  


             ในฐานะอาจารย์พิเศษ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้าง บุคลากรด้านธุรกิจการบิน  ขอแสดงความยินดี และชื่นชม ผู้บริหาร ในการกล้าตัดสินใจ กล้าลงทุน กล้าคิด กล้าทำ เพื่อรองรับ งานบริการด้านการบิน เพื่อก้าวเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน  ได้อย่างสง่างาม.....

หมายเลขบันทึก: 546775เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2013 14:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 สิงหาคม 2013 07:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

มาหวิทยาลัยเกษมบัณฑิตเป้นมหาวิทยาลัยที่ก้าวหน้าไปไกลมากเลยนะครับ

ขอชื่นชมเรื่องดีๆที่นำมาเล่าให้ฟังครับ....

-ขอบพระคุณ อาจารย์ขจิต มากค่ะ

ช่วงนี้ ฝนฟัา มามากมาย..../อาจารย์ ดูแลสุขภาพ  ด้วยนะคะ

ขอขอบคุณ ที่นำประสบการณ์ดีๆมาแบ่งปัน ขอชื่นชมครับ

สวัสดีค่ะ  คุณสายัณห์

ด้่วยความยินดียิ่ง ค่ะ

ขอเป็นกำลัะงใจให้คนขยัน  และน่ารัก  

อยากให้อาจารย์เขียนเรื่อง SOAR อย่างละเอียดจะได้ไหมครับ สนใจแนวคิดมาก ๆ เลยครับ

ขอบคุณบันทึกดีไว้ ณ โอกาสนี้ครับผม 

ผมต้องขอขอบพระคุณ อาจารย์ ดร. จอย ทองกล่อมสี อย่างสูงครับ ที่ได้ให้ความกรุณากับมหาวิทยาลัยเล็กๆ ของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับสถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน ตั้งแต่ที่เราเริ่มกางปีกบิน อยู่ในลักษณะของสาขาวิชาเล็กๆ ภายใต้คณะศิลปศาสตร์ ถ้าจะถามว่า SOAR ดีกว่า SWOT หรือไม่ ผมเห็นประโยชน์ที่ การมองในมุมของด้านบวก ด้านสร้างสรรค์ ทั้งสองแบบมีจุดดีจุดด้อยที่ต่างกันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท