ระยะสร้างดอกพืชต้องการแร่ธาตุสารอาหารที่แตกต่างไปจากเดิม


ปัจจุบันเกษตรกรไทยเรามีการพัฒนาด้านความรู้ความสามารถที่เป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้นในการผลิตพืชผักเพื่อการบริโภคภายในประเทศและส่งออกไปขายยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยครั้งหนึ่งเราคงเคยได้ยินสมญานามที่มีเป้าหมายของเราจะเป็น ครัวของโลก (Kitchen of the world) แต่ปัจจุบันความชัดเจนต่างๆค่อยๆลางเลือนและค่อยๆ เงียบไปตามสไตล์ไทยแลนด์โอนลี่นั่นเองครับ
แต่อย่างน้อยก็ทำให้เกษตรกรมีการตื่นตนสนใจที่จะพัฒนาอาชีพของตนเองให้มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น มีการศึกษาทำความเข้าใจในเรื่องแร่ธาตุสารอาหารที่จะนำไปใช้ในการดูแลบำรุงรักษาพืชให้เจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืนและต้นทุนต่ำ โดยที่สามารถทำความเข้าใจได้ว่า แร่ธาตุสารอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชนั้น ไม่ใช่มีเพียงแค่ ไนโตรเจน (N), ฟอสฟอรัส (P), และโพแทสเซียมเพียงเท่านั้น แท้จริงแล้วพืชยังต้องการแร่ธาตุและสารอาหารตัวอื่นๆ ช่วยในการสร้างการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตด้วยเช่นกัน อย่างเช่น ธาตุรอง แคลเซียม (Ca), แมกนีเซียม (Mg), กำมะถัน (S), เหล็ก (Fe), ทองแดง (Co), แมงกานีส (Mn), สังกะสี (Zn), โบรอน, โมลิบดินั่ม (Mo), และคลอรีน (Cl) ถึงแม้ว่าจะมีแร่ธาตุสารอาอารที่สำคัญและพืชยังต้องการใช้ในปริมาณที่มากด้วยก็คือ
คาร์บอนไดออกไซด์ (C), ออกซิเจน (O) และไฮโดรเจน (H) แต่เนื่องด้วยพืชสามารถที่จะรับหรือหาได้เองจากธรรมชาติในรูปของอากาศและน้ำ ส่วนใหญ่เราจึงมิค่อยได้เห็นและศึกษาธาตุที่จำเป็นเหล่านี้มากนัก

แต่ถึงอย่างไรก็ตามพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มีการเพาะปลูกที่ไม่ได้เป็นไปในแบบที่เป็นธรรมชาติคือ การปลูกพืชให้มีผลผลิตเพียงปีละครั้งและมีปล่อยให้พืชมีเวลาสะสมอาหารและสร้างอาหารในดินได้เพียงพอ แต่กลับพบว่าเราพยายามที่จะทำให้เขาออกนอกฤดูบ้าง ปลูกข้าวก็ทำกันสองรอบสามรอบ ทั้งนาปี นาปรัง และไม่ปีและปรังก็ปลูกกันไปอยู่ตลอดเวลาขอให้มีน้ำ มีฝนลงมาเป็นใช้ได้ โดยมุ่งหวังไปที่การให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้นไปเรื่อยๆ โดยมิได้เหลียวมองกลับไปยังแหล่งที่มาของอาหารที่จะผลิตออกมาให้แก่พืชได้นำไปใช้นั้นจะมีเพียงพอหรือไม่ จึงทำให้แร่ธาตุและสารอาหารในดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำและลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆ จนบางครั้งไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้ในบางช่วงบางจังหวะอย่างเช่นในระยะที่พืชกำลังใกล้จะออกดอก

ในระยะนี้ถ้าเราลองสังเกตหรือนึกย้อนกลับไปดูมนุษย์หรือว่าที่คุณแม่ที่ที่อยู่ในระยะกำลังท้องกำลังไส้นั้น จะมีความแปรปรวนในตนเองค่อนข้างมาก ทั้งอารมณ์ จิตใจและร่างกายโดยเฉพาะร่างกายนั้น ถ้าไม่มีการบำรุงด้วยฮอร์โมนวิตามินอย่างเพียงพอจะทำให้คุณแม่ที่กำลังตั้งท้องอยู่นั้นฟันห่าง ผมร่วง หน้าตาซีดอิดโรยอย่างเห็นได้ชัด เช่นกันในพืชก็เช่นเดียวกัน จำเป็นจะต้องมีแร่ธาตุและสารอาหการที่เหมาะสมในภาวะที่กำลังเตรียมความพร้อมต่อการออกดอก โดยเริ่มตั้งแต่การทำให้มีปริมาณคาร์บอนและไนโตรเจนอยู่ในช่วงที่เหมาะสม (C : N Ratio)  จัดแร่ธาตุสารอาหารอย่าง โบรอน (Bo) ให้มีเพียงพอต่อการขยายรังไข่ เมื่อรังไข่ใหญ่ ดอกและผลก็จะใหญ่ตามมา การจัดแร่ธาตุสังกะสีให้เพียงพอต่อการสร้างคลอโรฟิลล์ เพื่อใช้ในการสังเคราะห์ สร้างฮอร์โมนอ๊อกซิน สร้างความเหนียว ให้แก่ขั้วดอกและขั้วผล เพื่อลดการหลุดร่วง  การให้แร่ธาตุวิตามินอี เพื่อช่วยเพิ่มความสามารถในการผสมเกสร
ช่วยให้เกสรไม่เป็นหมัน เกิดการติดดอกออกผลได้มาก ไม่มีปัญหาเรื่องการหลุดร่วงในระยะผลอ่อน และการให้แร่ธาตุซิลิก้า (H4Sio4) เพื่อเสริมการทำงานของแคลเซียมและโบรอน เพื่อช่วยในการทำให้เซลล์แบ่งตัว ยืดช่อได้ดียิ่งขึ้นอีกทั้งช่วยสร้างความแข็งแรงให้แก่ผนังเซลล์ ลดการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟไรแดง ในระยะที่เป็นช่อดอกได้เป็นอย่างดี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 081-313-7559

 

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

 

หมายเลขบันทึก: 546651เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2013 12:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 สิงหาคม 2013 12:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท