เห็ดให้ผลผลิตดี เมื่อมีความชื้นที่คงที่


เราเคยสังเกตกันไหมครับว่า ทุกฤดูฝนจะมีเห็ดจากธรรมชาติออกมาให้เราได้บริโภครับประทานกันทุกฤดูกาลและมีหลากหลายชนิดของเห็ดเท่าที่คนเก็บของป่าจะนำออกมาขายได้ และในฤดูกาลนี้ก็มักจะมีข่าวชาวบ้านบริโภคเห็ดพิษเห็ดเมาเจ็บป่วยและตายลงไปด้วยเช่นกัน เนื่องด้วยว่ามีเห็ดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติออกมามากมายหลากหลายชนิดให้เราได้เลือกเก็บเลือกกิน  สภาพแวดล้อมและอุณหภูมิที่เหมาะสมช่วยเกื้อหนุนค้ำจุนให้เห็ดเจริญเติบโตได้อย่างสม่ำเสมอ ความชื้นช่วยทำเส้นใย (mycelium) ของเห็ดสามารถที่จะพัฒนาเจริญเติบโตไปตามกระบวนการได้อย่างสม่ำเสมอและรวดรวดเร็ว เมื่อพัฒนาจนครบระยะก็จะเกิดดอกเห็ดออกมา

ในการเพาะเห็ดที่เลียนแบบธรรมชาติทุกชนิดจึงควรให้ความเอาใจใส่กับความชื้นเป็นพิเศษ คือพยายามให้สภาวะแวดล้อมที่เพาะเห็ดนั้นสามารถกักเก็บ ควบคุม อุณหภูมิให้มีความชื้นได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ผันแปรไปตามสภาวะแวดล้อมภายนอก ซึ่งในปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงค่อนข้างสูงและหลากหลาย วันหนึ่งมีหลายบรรยากาศเดี๋ยวเช้าหนาว กลางวันร้อน เย็นฝนตก เป็นต้น ถ้าปล่อยให้เห็ดเป็นไปตามยถากรรมก็จะทำให้ผลผลิตเห็ดออกมาน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดอีกทั้งทำให้ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน
อันนี้ผู้เพาะเห็ดรายใหม่จึงต้องระมัดระวังและให้ความสนใจเป็นพิเศษเนื่องด้วยประการณ์ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ นั้นยังน้อยอยู่

การให้ความชื้นแก่เห็ดจะแตกต่างจากการให้น้ำพืช ที่สามารถใช้น้ำรดให้เปียกชุ่มโชกเหมือนฝนตก สัมผัสได้ทุกสัดส่วนของต้นไม้ก็ไม่เป็นไร แต่เห็ดถ้าทำอย่างกรณีเดียวกันบางครั้งอาจจะทำให้เห็ดบอบช้ำเน่าเสียได้ง่าย ความจริงถ้าเป็นการเพาะแบบโรงเรือนก็ควรที่จะรักษาความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเรือนให้สม่ำเสมอ ด้วยการราดรดที่พื้น ด้านข้างก้อน หรืออาจจะใช้ทรายมารองพื้นเพื่อกักเก็บดูดซับรักษาความชื้นไว้ให้ได้นานที่สุด  โดยที่ไม่จำเป็นต้องฉีดพ่นเสปรย์ผ่านหน้าก้อนอยู่ตลอดเวลาทุกครั้งก็ได้ (ถ้ามีความชื้นสัมพันธ์ในโรงเรือนที่เพียงพอ และอากาศตามฤดูกาลไม่ร้อนจัดมากเกินไป)  การใช้สารอุ้มน้ำ “โพลิเมอร์” (Crosslinked Copolymer  of Acrylamide and Potassium Acrylate) ซึ่งมีความสามารถดูดกักเก็บน้ำได้มากถึง 200 เท่า เมื่อนำไปไว้ในโรงเรือนเห็ดสามารถที่จะให้ความชื้นระเหยออกมาสู่บรรยากาศภายในโรงเรือนได้ตลอดเวลา เมื่อสภาพอากาศเริ่มเหือดแห้งลดลงไป อีกทั้งการนำโพลิเมอร์ ไปโรยบนหน้าก้อนเห็ดที่เดินเต็มก้อนแล้วโดยพับหรือตัดปากถุงให้เหลือพื้นที่เหนือก้อนเชื้อประมาณ 1 ถึง 2  เซนติเมตร ก็จะเป็นการคลุมผิวหน้าก้อน (Casing) เพื่อรักษาความชื้นให้แก่ก้อนเห็ดได้ตลอดเวลาเมื่อวางไว้ตามใต้ร่มไม้ชายคาหรือสวนยางสวนปาล์มก็จะสามารถให้ผลผลิตเห็ดออกมาได้โดยที่ไม่ต้องใช้โรงเรือนที่อาจจะเป็นการสิ้นเปลืองต้นทุนมากเกินไป
เหมาะสำหรับผู้ที่มีสวนป่า สวนยาง สวนปาล์ม และต้องการให้มีเห็ดไว้รับประทานใต้โคนต้นไม้

 

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปอลดสารพิษ  www.thaigreenagro.com

 

หมายเลขบันทึก: 546649เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2013 11:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 สิงหาคม 2013 11:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท