ปัญหาของไม้กระถาง


การปลูกพืชในปัจจุบันของประเทศไทยนั้น นับว่ามีความก้าวหน้าค่อนข้างมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก น้องๆ ประเทศไต้หวัน
ไม่ว่ามหาวิทยาลัยใดๆ ในโลกต่างก็ให้ความสนใจเข้ามาศึกษาดูงาน  ทั้งอินเดีย  ยุโรป อเมริกา และโดยกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนใกล้เคียงไม่ต้องพูดถึง แทบจะใช้ไทยเป็นต้นแบบในการบริหารจัดการเลยด้วยซ้ำ (ยกเว้นการเมืองนะครับ) ที่พูดแบบนี้ก็เพราะว่า รูปแบบการปลูกพืชของบ้านเรานั้นจะเห็นได้ว่ามีหลากหลายรูปแบบ ทั้งใต้ดิน  (under soil) บนดิน (up soil) บนอากาศ (air roots) ในน้ำ(Hydroponics)  ไร้ดิน (soilless)  ในภาชนะปลูก (container soil) โดยเฉพาะอย่างหลังสุดนี้คือวิธีการปลูกที่จะนำมาพูดถึงในวันนี้ คือก่ารปลูกพืชไม้ในภาชนะปลูกหรือไม้กระถาง ในบ้านเรานั้นก็มีหลากหลาย ทั้งไม้กระถางที่สวยงามหรือจะใช้ภาชนะเหลือใช้อย่างถ้วย ถัง กะละมัง หม้อ ที่ชำรุด แตกหัก เสีย หาย ก็นำมาใช้เป็นภาชนะปลูกได้ทั้งนั้น

ถือว่าเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างคุ้มค่าทั้งในรูปแบบ รียูส (Reused) และรีไซเคิล  (recycle แถมยังดูมีความเก๋
เท่ห์ แปลกตา เคลื่อนย้ายไปตามจุดต่างๆ ได้ตามความต้องการ จึงมีผู้นิยมปลูกไม้กระถางประดับประดาบ้านเรือนให้สวยงามอยู่มากมาย แต่ปัญหาของการปลูกไม้กระถางคือการที่ต้องหมั่นเติมแร่ธาตุสารอาหารให้พืชอยู่ตลอดเวลา เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่มักจะใช้เวลาอยู่กับเหย้าเฝ้าเรือนเป็นส่วนใหญ่ แถมต้องมีรสนิยมชมชอบต้นไม้เป็นพิเศษอีกด้วยเพราะต้องมีเวลาหมั่นดูแลบำรุงรักษา
สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ว่าพืชจะขาดน้ำ ขาดปุ๋ย เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที

ปัญหาของไม้กระถางส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องการเปลี่ยนดิน การเติมปุ๋ย น้ำ เพราะรากพืชไม่สามารถหาอาหารได้จากพื้นดินธรรมชาติได้ ต้องคอยรับจากการป้อน การเติมจากเจ้าของผู้ปลูกอยู่ตลอดเวลา (อาจจะสัปดาห์ละครั้ง เดือนละครั้ง ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินในกระถาง)  การที่ไม้กระถางจะต้องเปลี่ยนดินอยู่บ่อยๆ นั้น เพราะเมื่อรดน้ำลงไปในกระถาง น้ำก็จะพัดพาเอาอินทรียวัตถุ (organic matter) ที่อยู่ภายในไหลออกไปข้างนอกอยู่ตลอดเวลา อินทรียวัตถุเมื่อรวมตัวอยู่กับดิน ก็จะช่วยทำให้โครงสร้างดิน โปร่ง ร่วน ซุย เป็นอาหารของจุลินทรีย์นานาชนิด เมื่อถูกชะล้างไปก็ทำให้โครงสร้างดินแน่นแข็ง จุลืนทรีย์ดีมีประโยชน์ก็ลดน้อยถอยลง ทำให้พืชอ่อนแอได้ง่าย เพราะฉะนั้นเกษตรกรจะต้องหมั่นเติมอินทรีย์วัตถุลงไปอย่างสม่ำเสมอ
หรือไม่ก็ต้องใช้กาบมะพร้าววางทาบขัดรูก้นกระถางเพื่อให้เกิดการชะล้างอินทรีย์วัตถุออกไปได้ยาก  การใช้หินแร่ภูเขา พูมิชซัลเฟอร์ (Pumish Sulpher) คลุกผสมกับดิน ร่วมกับ โพแทสเซียมฮิวเมท (Humic acid) ในอัตรา 2 : 0.5 : 10 (พูมิชซัลเฟอร์ : โพแทสเซียมฮิวเมท : ดิน) จะช่วยทำให้ดินเหมาะสมต่อการปลูกไม้กระถางเป็นอย่างมาก เพราะจะทำให้การแน่นแข็งเกิดขึ้นได้ยากขึ้น  จากคุณสมบัติของหินแร่ภูเขาไฟที่มีความโปร่งพรุน และกลุ่มอินทรียวัตถุที่อยู่ในรูปฮิวมัส ฮิวมิค ซึ่งพร้อมต่อการเจริญเติบโตของพืชและช่วยให้โครงสร้างดินไม่ขาดอินทรียวัตถุ ในระยะยาวไม่ต้องเปลี่ยนดินบ่อย พืชแข็งแรงจากซิลิก้า ได้รับแร่ธาตุสารอาหารที่ครบถ้วน พืชเขียวนาน เขียวทน

 

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
 

 

หมายเลขบันทึก: 546641เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2013 11:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 สิงหาคม 2013 11:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณมากค่ะสำหรับความรู้ด้านการเกษตรหลาย ๆบันทึกที่นำมาให้ในวันนี้

จะนำไปใช้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท