น้ำท่วม “อุดรธานี” กับวิธีแก้ปัญหารากเน่า


วันนี้มีเสียงโทรศัพท์มาปลุกแต่เช้ามืด (ตีห้าของวันที่ 07/08/2556) แจ้งเรื่องน้อง “น้ำ” ได้ไหลเอ่อท่วมเข้ามาในตัวร้านที่สาขาอุดรธานี จนเกิดความเสียหายต่อตัวผลิตภัณฑ์ไปบางส่วน เนื่องด้วยฝนได้ตกกระหน่ำลงมาอย่างหนักตั้งแต่เที่ยงวันยันเที่ยงคืน
ท่านใดที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอุดรธานีหรือภาคอีสานในระยะนี้ก็ต้องสำรวจตรวจตราเก็บข้าวของที่สำคัญไว้บนที่สูงแต่เนิ่นๆ นะครับ มิฉะนั้นแล้วจะพบกับความผิดหวังเสียดาย เสียใจเหมือนกับชาวกรุงเทพฯในปี 54 ที่พบกับมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ในรอบหลายสิบปี 
จนบางคนถึงกับต้องเริ่มต้นชีวิตใหม่เพราะสิ้นเนื้อประดาตัว ข้าวของสิ่งละอันพันละน้อยที่ค่อยๆ สะสมมาทั้งชีวิตต้องมลายหายไปกับสายน้ำ ที่คาดไม่ถึงว่าจะมาได้รวดเร็วปานนี้ ชาวอุดรธานีก็ระวังไว้นะครับ น้อง “น้ำ” เขาเร็วจริงๆ  

 

ในช่วงที่ฝนตกลงมาอย่างหนักนั้น ทำให้พื้นดินอ่อนนุ่ม ต้นไม้หักโค่นได้ง่าย เพราะฉะนั้นต้องสำรวจตรวจตราต้นไม้ใหญ่ที่มิได้ปลูกโดยใช้เม็ดมาตั้งแต่เริ่มต้น เพราะอาจจะทำให้เกิดอันตรายจากต้นไม้ใหญ่ที่นำมาปลูก  จะไม่สำคัญเลยถ้าเค้าล้มโดยไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็น คนหรือสัตว์  เพราะฉะนั้นต้องดูแลและแก้ไขด้วยการทำคันล้อมหรือไม้ค้ำยันเข้ามาช่วยเสริมทำให้สภาพต้นไม่โงนเงนจากดินเลนที่มีโครงสร้างดินชั้นล่างไม่แข็งแรง   ในกลุ่มของไม้ผลไม้ยืนต้นก็สามารถใช้เทคนิคนี้ได้ด้วยเช่นกันนะครับ
จะช่วยทำให้มะม่วง มะนาว ลองกอง ลางสาด เงาะ ทุเรียน ฯลฯ ไม่เสียหายไปกับลม กับฝนที่ตกกระหน่ำแบบลืมหูลืมตาอยู่ในขณะนี้

อีกเรื่องหนึ่งนะครับการที่ฝนตกความชื้นสูง ทั้งพืชและเห็ดจะพบกับปัญหาที่เกี่ยวกับเชื้อรา ไม่ว่าจะเป็น ฟัยท็อบทอร่า   (Phytopthora spp.) ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่า โรคยอดเน่าดำ ใบดำ, ฟิวซาเรียม  (Fusarium spp.)ที่เป็นสาเหตุทำให้พืชเกิดโรคกล้าไหม้ รากเน่าโคนลำต้นหรือกอเน่าแห้ง  ผลเน่าโรคหี่ยวต่างๆ , พิธเธียม (Pythium spp) เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคแคงเกอร์ที่ลำต้น (ส่วนใหญ่จะมาจากเชื้อ แซนโธโมแนส (Xanthomonas campestris pv citri Hasse .))
โรคยอดเน่าของต้นกล้า โรครากเน่า โคนเน่า โรคเน่าคอดิน, ไรซอกโทเนีย (Rhyzogtonia Spp.) เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเมล็ดเน่า เน่าระดับคอดิน กล้าไหม้ กล้าไหม้ รากเน่า หัวเน่าและแคงเกอร์บนลำต้น, สเคอโรเทียม (Sclerotium spp.) ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคกล้าเน่ายุด โรคเน่าคอดิน,  และคอลเลกโททริคุม (Collectotrichum spp.) ทำให้เกิดโรคแอนแทรกโนสในพืชผัก ผลไม้ต่างๆ  ข้อมูลเพิ่มเติมอ่านได้ที่ ศูนย์บริหารศัตรูพืชขอนแก่น  ( http://www.pmc04.doae.go.th
)  ก็อย่าลืมรีบซื้อหาเตรียมไตรโคเดอร์ม่า (tricoderma spp.) , บีเอสพลายแก้ว(Bacillus Subthilis Plaikaew spp.) เตรียมพร้อมไว้สำหรับพายุที่โหมกระหน่ำในครั้งนี้ด้วยนะครับ แว่วๆมาว่าพายุที่ชื่อว่า “น้องมังคุด” กำลังจะเข้ามาอีกลูกนึงนะครับ ทั้งหนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี และละแวกใกล้เคียงโปรดจงทำใจระวัง...เฮ้อ!

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com

 

หมายเลขบันทึก: 546640เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2013 11:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 สิงหาคม 2013 11:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท