การบริหารจัดการชุมชน


การบริหาร การจัดการ ชุมชน

ควรจัดทำอย่างระมัดระวังเพราะชุมชนคือพื้นฐานการพัฒนา

สรฤทธ จันสุข

หมายเลขบันทึก: 54616เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2006 23:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มีนักวิชาการหลายท่านที่ได้ศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบการพัฒนาชุมชนไว้ตามแนวคิดการพัฒนาชุมชน ดังต่อไปนี้

สนธยา พลตรี (2533 : 65-68) ได้กล่าวถึงการพัฒนาชุมชนว่ามีองค์ประกอบ 2 ประการ สรุปได้ดังนี้ 1. การเข้ามีส่วนร่วมของประชาชนเอง เพื่อที่จะปรับปรุงระดับความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น โดยจะต้องพึ่งตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ และควรเป็นความริเริ่มของชุมชนเองด้วย 2. การจัดให้มีบริการทางเทคนิคและบริการอื่นๆ ที่จะเร่งเร้าให้เกิดความคิดริเริ่มการช่วยตนเอง ช่วยเหลือกันและกัน อันเป็นประโยชน์มากที่สุด

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2539 : 1-2) ได้กล่าวถึงลักษณะการพัฒนาคนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจถือว่าเป็นองค์การพัฒนาชุมชนด้วย สรุปได้ดังนี้ 1. การพัฒนาคน ประกอบด้วย 4 ด้าน ดังนี้ 1.1 ด้านจิตใจ 1.2 ด้านร่างกาย 1.3 ด้านสติปัญญา 1.4 ด้านบุคลิกภาพ 2. การพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนา ประกอบด้วย 4 ด้าน ดังนี้ 2.1 ด้านเศรษฐกิจ 2.2 ด้านครอบครัวและชุมชน 2.3 ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม 2.4 ด้านการบริหารจัดการและการเมือง

สุพัตรา สุภาพ (2536 : 124-126) ได้กล่าวถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งเป็นองค์ประกอบการพัฒนาชุมชน ว่ามี 7 ประการ ดังนี้ 1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ หากมีสมบูรณ์จะส่งผลให้ชุมชนมีการพัฒนาได้รวดเร็วและมั่นคง 2. การเปลี่ยนแปลงด้านประชากร การเพิ่ม ประชากรมีคุณภาพ สามารถสร้างให้เกิดการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองทันสมัยขึ้น 3. การอยู่โดดเดี่ยวและติดต่อเกี่ยวข้อง ชุมชนใดที่มีการติดต่อกันทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็ว 4. โครงสร้างของสังคมและวัฒนธรรม ชุมชนที่มีการเคารพผู้อาวุโสจะมีการเปลี่ยนแปลงน้อย ค่านิยมอื่นๆ ช่วยให้รู้ว่าชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงเกิดการพัฒนาขึ้นมากน้อยเพียงไร 5. ทัศนคติและค่านิยม การมีค่านิยมด้านอาชีพ ด้านบริโภค เป็นส่วนของการชัดการพัฒนาในชุมชนนั้นได้ 6. ความต้องการรับรู้ การยอมรับสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ จะเป็นเครื่องชี้ทิศทางและอัตราการเปลี่ยนแปลงของชุมชน 7. พื้นฐานทางวัฒนธรรม ถ้ามีฐานที่ดีสิ่งใหม่ที่จะเกิดขึ้นย่อมดีตามพื้นฐานเดิมด้วย

พลายพล คุ้มทรัพย์ (2533 : 44-47) ได้กล่าวถึงปัจจัยที่สามารถใช้ในการพัฒนาชุมชน ซึ่งเป็นองค์ประกอบการพัฒนาชุมชน ว่าประกอบด้วย 3 ปัจจัย ดังนี้ 1. โครงสร้างทางสังคม ครอบครัวที่มีขนาดเล็กและมีโครงสร้างไม่ซับซ้อนจะส่งผลให้ชุมชนนั้นพัฒนาได้ดีกว่าชุมชนที่มีโครงสร้างทางครอบครัวที่ซับซ้อน 2. โครงสร้างทางชนชั้น ในชุมชนที่มีโครงสร้างแบบเปิด ที่สามารถเปลี่ยนแปลงฐานะทางสังคมได้ง่ายชุมชนนั้นจะเกิดการพัฒนา 3. ความแตกต่างทางเผ่าพันธุ์ เชื้อชาติ และศาสนา ความแตกต่างหากเกิดขึ้นในชุมชนใดย่อมเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา ตามระดับของความแตกต่าง

ยุวัฒน์ วุฒิเมธี (2531 : 58-63) กล่าวถึงปัจจัยที่เกื้อกูลให้การพัฒนาชนบทบรรลุความสำเร็จ จำเป็นต่อการพัฒนา ว่าประกอบด้วยองค์ประกอบ และส่วนประกอบย่อยขององค์ประกอบ ดังนี้ 1. นโยบายระดับชาติ ฝ่ายบริหารจะสามารถดำเนินการแผนพัฒนาได้ต่อเนื่อง และมีเวลาพอที่จะเห็นความถูกต้อง คุ้มค่า มีแนวทางประสานประโยชน์ระหว่างรัฐและเอกชน และความร่วมมือระหว่างประเทศจะต้องเกื้อกูลต่อการพัฒนา 2. องค์การบริหารการพัฒนาชนบท ที่มีองค์กรกลางทำหน้าที่ประสานนโยบายแผนงานและโครงการอย่างมีประสิทธิภาพและมีอำนาจเด็ดขาดในการลงทุน ในหน่วยปฏิบัติต้องดำเนินการตามนโยบาย แผนงาน และโครงการในแผนระดับชาติ และจัดระบบงบประมาณการติดตามควบคุมที่มีประสิทธิภาพ 3. วิทยาการที่เหมาะสมและการจัดการบริการที่สมบูรณ์ เลือกพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับความเป็นจริง และเลือกวิทยาการที่ประชาชนจะได้รับให้เหมาะสม 4. การสนับสนุนระดับท้องถิ่น ความรับผิดชอบของการสนับสนุนงานในท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพจะเกิดการพัฒนาอย่างแท้จริงในระยะยาว 5. การควบคุมดูแลและติดตามผลการปฏิบัติงาน ควรเป็นไปตามแผนงานและโครงการทุกระดับและครอบคลุมทุกพื้นที่ พร้อมทั้งให้สถาบันการศึกษาท้องถิ่นติดตามประเมินผล

อัชญา เคารพาพงศ์ (2541 : 82-83) กล่าวถึงปัจจัยส่วนประกอบที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนา สรุปได้ดังนี้ 1. ผู้นำ ได้แก่ ผู้นำท้องถิ่น ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการในหมู่บ้าน และจากองค์กรภาครัฐ มีส่วนให้ชุมชนพัฒนาในทางที่ดีขึ้น เป็นประโยชน์ ชุมชนมีเจตคติที่ดียอมรับสิ่งใหม่และสร้างพลังต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง 2. สังคม-วัฒนธรรม การได้รับวัฒนธรรมจากสังคมเมืองมาปฏิบัติทำให้ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลง 3. สิ่งแวดล้อม การปรับปรุงสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ชุมชนส่งผลให้ที่ดินอุดมสมบูรณ์ราคาสินค้าเกษตรดี ความเป็นอยู่สะดวกสบายกว่าเดิม 4. ประวัติศาสตร์ เหตุการณ์สำคัญในอดีตมีผลต่อการพัฒนา ความสามัคคี รักพวกพ้อง ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

ปรียา พรหมจันทร์ (2542 : 25) ได้สรุปองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยการพัฒนาชุมชน ดังนี้ 1. ด้านเศรษฐกิจ ชุมชนที่เศรษฐกิจดีการพัฒนาชุมชนสามารถพัฒนาให้ดีได้ด้วย 2. ด้านสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม เป็นบริบทที่ปรับเปลี่ยนสภาพชุมชนไปตามปัจจัย 3. ด้านการเมือง หมายรวมถึงการเมืองระดับชาติและระดับชุมชนท้องถิ่น 4. ด้านประวัติศาสตร์ โดยอาศัยประสบการณ์และวิกฤตของชุมชนเป็นฐานและบทเรียนการพัฒนาชุมชน นอกจากนี้ ปรียา พรหมจันทร์ ยังได้จำแนกออกเป็นองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยการพัฒนาชุมชน ปัจจัยโดยตรง เช่น คน ทุน ทรัพยากร การจัดการ เป็นต้น และปัจจัยโดยอ้อม เช่น ภาวะเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง เป็นต้น

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม (2549) ได้กล่าวถึงการสร้างและพัฒนาคนรุ่นใหม่เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น มีปัจจัยสำคัญ 4 ประการ ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบการพัฒนาชุมชน ดังนี้ 1. สังคมดี สิ่งแวดล้อมดี มีโอกาสในอาชีพ และกิจกรรมที่หลากหลาย รวมไปถึงวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม ความอบอุ่น ความสุข ความเจริญก้าวหน้าที่พึงคาดหวังในอนาคตด้วย 2. ระบบการศึกษาของชาติ มีเป้าหมายในการผลิตคนเพื่อการพัฒนาชุมชนหรือท้องถิ่น ให้เป็นที่พึงปรารถนาของท้องถิ่นเพียงไร 3. รัฐธรรมนูญและนโยบายของรัฐ ที่เอื้อต่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้เป็นที่พึงปรารถนาน่าอยู่ 4. บทบาทของชุมชน มีสิ่งสำคัญ 3 ประการ คือ ความรักและความดี การเรียนรู้ที่มากกว่าความรู้ และการจัดการกับปัจจัยชุมชนต่างๆ

อยากทราบว่าไพบูลย์ วัฒนศิริธรรมเขียนไว้ในหนังสืออะไรสำนักพิมพ์ไหน

กรมการพัฒนาชุมชน : ได้กำหนดวิสัยทัศน์"ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง " มี logic Model   ดังนี้

INPUT      ๑.กลไกการพัฒนา (มีศักยภาพและขีดความสามารถ ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน อาสาสมัคร กลุ่ม/องค์กร และเครือข่าย)
PROCES  ๒.การบริหารจัดการชุมชน(เป็นระบบและมีประสิทธิ์ภาพ) ประกอบด้วย
                      ๒.๑ ระบบการบริหารจัดการชุมชน (มีองค์กรบริหารการพัฒนา  มีแผนชุชน และมีข้อมูลเพื่อการ   พัฒนา)
                      ๒.๒ กระบวนการพัฒนา (มีการวิเคราะห์  มีการวางแผน  มีการปฏิบัติตามแผน มีการแบ่งปันผลประโยชน์ และมีการติดตามผล)

                      ๒.๓ กระบวนทัศน์การพัฒนา (มีกระบวนทัศน์เศรษฐกิจพอเพียง มีกระบวนทัศน์ทุนชุมชน มีกระบวนทัศน์มุ่งสู่อนาคตร่วมกัน และมีกระบวนทัศน์พึ่งตนเอง)
OUTPUT  ๓ ชุมชนเข้มแข็ง (จัดการตนเองได้ ปรับตัวทันการเปลี่ยนแปลง และประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข) เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง (ทุนชุมชนเป็นธรรมาภิบาล และเศรษฐกิขชุมชนพึงตนเองได้)
  

 


ทั้ง ๓ กระบวนการ สิ่งที่สนับสนุนให้บรรลุวิสัยประกอบด้วย การจัดการความรู้ (KM) การจัดการทรัพยากรบุคคล (HRM) การวิจัยและพัฒนา (R and D) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD) การมีวัฒนธรรมองค์กร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท